วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ประเภทของสมุนไพร




ประเภทของสมุนไพร



กาแฟ



ชื่อทางพื้นเมืองอื่น : -
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Coffea arabica Linn,Coffea Liberica Hiern,Coffea robusta Linden
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : ประโยชน์ของกาแฟคล้ายกับชา เพราะมีสารสำคัญเป็นคาเฟอีนเช่นกัน เพียงแต่ปริมาณคาเฟอีนในกาแฟมีน้อยกว่าในใบชา คาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้ร่างกายตื่นตัว กล้ามเนื้อทำงานดีขึ้นและยังมีฤทธิ์กระตุ้นระบบการหายใจและระบบขับปัสสาวะ อีกด้วย ดังนั้นเมื่อดื่มกาแฟจึงรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ



หญ้าหนวดแมว


ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : พยัพเมฆ,บางรักป่า (ประจวบคีรีขันธ์)
อีตู่ดง (เพชรบูรณ์)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Orthosiphon aristatus Miq
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : ใช้ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว ใบอ่อนใช้เป็นยาขับปัสสาวะที่มีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากมี เกลือโปแตสเซียมมาก สามารถรักษาได้ทั้งนิ่วด่างที่เกิดจากแคลเซียม(หินปูน) นิ่วกรด ซึ่งเกิดจากกรดยูริก ใช้แก้โรคปวดตามสันหลังและบั้นเอว ใช้รักษาโรคเบาหวาน และลดความดันโลหิตอีกด้วย


ว่านหางจระเข้



ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ) หางตะเข้ (กลาง)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Aloe barbaclensis Mill
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

แผลไหม้เกรียมจากแสงแดด แผลไฟไหม้จากการฉายรังสี รักษาแผลในกระเพาะอาหาร มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบ ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางค์หลายชนิด ยางสีเหลืองจากบริเวณเปลือกในมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย ยาระบาย




บัวบก




ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : ผักหนอก (ภาคเหนือ) จำปาเครือ กะบังนอก,
ผักหมอกช้าง ผักแว่น (จันทบุรี, ภาคใต้)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Centella asiafic (Linn) Urban
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : ใช้ในการสมานแผลและลดการอักเสพทำ

ให้แผลหายเร็ว ใบและต้นสดตำคั้นน้ำพอก แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลฝีหนองยับยั้ง
การแข่งตัวของเซลล์มะเร็ง ชนิด Ehnlich

ascites และ Dalton's Lymyhoma ascites
เจ็บอกแก้ช้ำใน พกซ้ำ และบำรุงกำลัง


ขิง




ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : ขิงเผือก(เชียงใหม่), ขิงแดง ขิงแกลง (จันทบุรี) สะเอ (แม่ฮ่องสอน)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Zingiber officnale Rose
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : มีฤทธิ์ เป็นยากันบูด กันหืน แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด ขับลม
บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน แก้ไอ
ขับเสมหะ ช่วยป้องกันการเกิดแผล
ในกระเพาะอาหาร



บุก


ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : บุกดาบดก (ชลบุรี) เมีย, เบือ (แม่ฮ่องสอน) บุกบ้าน, มันซูรัน (กลาง) หัวบุก (ปัตตานี)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Amorphohallus cam panulatus BL.ex Decne
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา: สาร ที่มีความสำคัญที่พบได้ในหัวบุกบางพันธุ์ได้แก่ สารกลูโดแมนแนน ซึ่งใช้ประโยชน์ เป็นอาหาร ใช้ชื่ออุตสาหกรรมยา และเครื่องสำอางค์ เป็นสารที่ให้พลังงานต่ำช่วยลดน้ำตาลในเลือด ลดปริมาณโคเลสเตอรอลในเลือด และต้มได้อีกทั้งยังทำให้การดูดซึมของกูลโคสจากทางเดินอาหารลดลง

กระเจี๊ยบแดง


ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว ส้มพอเหมาะ
(ภาคกลาง) ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง(ภาคเหนือ) ส้มตะเลงเครา(ตาก) ส้มปู (แม่ฮ่องสอน)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Hibiscus Sabdariffa Linn
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยขับปัสสาวะ รักษา นิ่วและโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ช่วยย่อยอาหารประเภทไขมัน ช่วยระบาย ขับกรดยูริก ช่วยรักษาและป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ลดอัตราการดูดซึมแอลกอฮอล์ สามารถยับยั้งการเจริญเติบโต และการสร้างสารพิษ แอลฟาทอกซินของเชื้อรา



คำฝอย


ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : ดอกคำ คำ คำหยุม คำยอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carthamus tinetorius Linn
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : มีฤทธิ์ยับยั้งไวรัสและเชื้อแบคทีเรียบำรุงโลหิต บำรุงประสาท แก้โรคผิวหนังลดไขมันในเลือด และช่วยป้องกันไขมันอุดตัน ช่วยลดปริมาณโคเลสเตอรอลในเลือด




ชุมเห็ดเทศ


ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : ชุมเห็ดใหญ่ ชุมเห็ด(ภาคกลาง), ลับมื่นหลวง ขี้คาก ขี้เหล็กสาร หมากกะลิ่งเทศ(ภาคเหนือ) ส้มเห็ด(เชียงราย) ตะสีพอ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Cassia alata Linn
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : ใช้เป็นยาระบายแก้โรคท้องผูกได้ใบสดใช้ รักษาโรคกลาก และโรคผิวหนังอื่นๆ เช่นฝี แผลพุพองที่เป็นหนอง และโรคน้ำกัดเท้าได้




ตะไคร้





ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : ตะไคร้แกง(ภาคกลาง) ไคร(ภาคเหนือ)

ไครไพเล็ก(ภาคใต้) คาหอม(เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus (DC.) Stapf
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ ลดความร้อนในร่างกาย
มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด




ทองพันชั่ง


ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่ (ภาคกลาง)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Rhinacanthus nasutus Kurz
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : ต้น ใบ ราก มีสารประกอบออกซีเมททิล

แอนทราควิโนน (Oxymethylanthraquinone) ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา สารสกัดจากต้นและใบทองพันชั่งด้วยแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังต่างๆ รวมทั้งกลากได้ผลดี ในส่วนของใบชงน้ำดื่มเป็นยาระบายและขับปัสสาวะ




ยอ


ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : ยอบ้าน (ภาคกลาง) มะตาเสือ (ภาคเหนือ)
แยใหญ่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Morinda Citrifolia Linn
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : ใช้เป็นยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ผลยอสุกใช้รับประทานได้เพื่อช่วยบำรุงธาตุ เช่น ขับลม




หญ้าปักกิ่ง


ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : หญ้าเทวดา
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Murdannia Ioriformis (Hassk) Rolla Rao et Kammathy
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : ใช้รักษาอาการของโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งในลำคอ ตับ มดลูก ลำไส้ ผิวหนัง และเม็ดเลือด โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และช่วยลดอาการข้างเคียงจากการฉายแสง




ใบเตย


ชื่อทางพื้นเมืองอื่นๆ : เตยหอม, หวานข้าวไหม้, ทังลั้ง(จีน)
ปาะแบ๊ะออริง (ปัตษ์ใต้)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Pandanus Odorus
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : เตยหอมมีรสเย็น หอม บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้น จิตใจผ่องใส ส่วนต้นและรากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กษัยช้าเบาพิการได้ดี



หม่อน




ชื่อทางพื้นเมืองอื่นๆ : หม่อน, ซึงเฮียะ (จีน)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Morus Alba Linn
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : ใบต้มเอาน้ำมาล้างตา แก้ตาแดง ตาแฉะ

ฝ้า ฟาง รับประทานเป็นยาแก้ไอ และ
ระงับประสาท




มะตูม






ชื่อทางพื้นเมืองอื่นๆ : มะตูม (ไทยภาคกลาง) มะปีน(เหนือ) กะทันตาเถร, ตุ่มตัง(ลานช้าง) ตูม
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Aegle Marmelos
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : ผลอ่อนๆใช้เป็นยาบำรุงธาตุให้เจริญอาหารและขับลม ผลแก่แก้เสมหะและลม บำรุงธาตุไฟย่อยอาหารให้ละเอียด แก้ลมเสียดแทงในท้อง แก้มูกเลือด ส่วนรากมะตูมแก้พิษฝี พิษไข้ แก้สติเผลอ รักษาน้ำดี




มะนาว





ชื่อทางพื้นเมืองอื่นๆ : มะนาว(ภาคกลาง) ส้มนาว(ภาคเหนือ)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Citrus Aurantifolia
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : ใบมะนาวใช้เป็นยากัดฟอกโลหิตระดูเมล็ด มะนาวคั่วให้เหลืองผสมเป็นยาขับเสมหะแก้โรคทรางของเด็ก รากใช้เป็นยาถอนพิษไข้กลับ หรือไข้ซ้ำ ฝนกับสุราทาแก้ปวดฝีได้ดีถอนพิษสำแดง แก้สติหลงลืม น้ำมะนาวให้
วิตามินซี แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน




ฝรั่ง






ชื่อทางพื้นเมืองอื่นๆ : มะแกล(แพร่), ย่ามู(ใต้) มะมั่น(เหนือ)

มะสี ดา(อีสาน) ชมพู(ปัตตานี)
มะปุ่น (สุโขทัย)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Psidium guajava Linn
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : ขับลม แก้ท้องเสีย ดับกลิ่นปาก มีวิตา มิน ซี สูง แก้โรคลักปิดลักเปิด ใบไม่แก่
ไม่อ่อนนัก 10-15 ใบ ปิ้งไฟพอเหลืองชง

กับน้ำร้อนดื่มแก้ท้องเสีย ผลดิบ 1 ผล
ฝานตากแดด บด




รางจืดหรือรางเย็น



ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : รางจืด รางเย็น ฮางจืด ฮางเย็น เถายาเขียว เครือเช้าเย็น
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Milletia Kityana
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา : รางจืดมีรสเย็น ถอนพิษ และผาเบื่อเมา แพทย์ตามชนบทใช้ปรุงเป็นยาเขียวถอนพิษไข้ และพิษทั้งปวง รากและเถาใช้เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำแก้พิษร้อนทั้งปวง




บรรณานุกรม

จันทน์ขาว. 2526. ของดีจากพืชสมุนไพร-ว่านยา.
กรุงเทพฯ: ชีวิน. 199 หน้า.
ธารธรรมแก้ว เชื้อเมือง, เรียบเรียง. 2537. น้ำดื่มสมุนไพรจากพืช และผลไม้. พิมพ์ครั้งที่ 7.
กรุงเทพฯ: กำแก้ว. 111 หน้า.
"ประวัติสมุนไพร". สมุนไพรเพื่อสุขภาพ. 1,2 (ธ.ค. 43)
91-95.
พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ. 2524. คู่มือการใช้สมุนไพร.
กรุงเทพฯ: เมดิคัล มีเดีย. 256 หน้า.
พรสวรรค์ ดิษยบุตร. 2543. สมุนไพร: การใช้อย่างถูกวิธี.
กรุงเทพฯ: คัมปายอิมเมจจิ้ง จำกัด. 88 หน้า.
มูลนิธิโกมลคีมทอง. 2530. สมุนไพรชาวบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพฯ: โกมลคีมทอง. 168 หน้า
วันดี กฤษณพันธ์. 2539. สมุนไพรน่ารู้. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. 267 หน้า.
หมอเสงี่ยม พงษ์บุญรอด. 2519. ไม้เทศเมืองไทยสรรพคุณของยาเทศและยาไทย.
กรุงเทพฯ: เกษมบรรณกิจ. 595 หน้า.
อมราภรณ์ วงษ์ฟัก. น้ำผลไม้และเครื่องดื่มสมุนไพร.
กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แม่บ้าน. 41 หน้า.


webmaster
Super Administrator
*********

Posts: 791
Registered: 8/1/08
Member Is Offline

View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 21/7/08 at 10:47 Reply With Quote





กระเทียม ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์



ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium sativum Linn.
ชื่อวงศ์ Alliaceae
ชื่ออังกฤษ Garlic
ชื่อท้องถิ่น เทียม, หอมเทียม, หัวเทียม

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์

1. ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้
สารสกัดกระเทียมด้วยแอลกอฮอล์ 95% มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้กระต่าย (1, 2)

2. ฤทธิ์ขับน้ำดี
กระเทียมเมื่อรับประทานเข้าไป จะไปเพิ่มน้ำย่อยและน้ำดี

3. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุอาการแน่นจุกเสียด
มีรายงานว่ากระเทียมออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาการแน่นจุก เสียด เช่น E. coli, Shigella เป็นต้น โดยสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ คือ allicin

4. ฤทธิ์ลดการอักเสบ
กระเทียมสามารถช่วยบรรเทาอาการอักเสบ จึงช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร อันจะเป็นผลช่วยลดการแน่นจุกเสียด ในผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะ โดยต้านการสังเคราะห์ prostaglandin

5. การทดลองทางคลินิก ใช้รักษาอาการแน่นจุกเสียด
ทางอินเดียทดลองให้สารสกัดกระเทียมด้วยบิวธานอลกับคนไข้ 30 คน ที่มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ พบว่าระงับอาการปวดท้องและขับลม
มีรายงานผลการทดลองในคนไข้ 29 ราย เมื่อได้รับยาเม็ดกระเทียมในขนาด 0.64 กรัม วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารกลางวันและเย็น เป็นเวลา 2 สัปดาห์ สามารถขับลมและลดอาการจุกเสียด คลื่นไส้หลังอาหาร พบว่าใช้ได้ดีทั้งอาการจุกเสียดแบบธรรมดา และเนื่องจากอาการทางประสาท จากการถ่าย X-ray พบว่าสามารถเพิ่มการบีบตัวแบบขับเคลื่อนของกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก ทำให้ลมกระจายตัว ผู้วิจัยเรียกสารออกฤทธิ์นี้ว่า gastroenteric allechalcone

6. ฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบ
กระเทียมสามารถป้องกันตับอักเสบเนื่องจาก carbon tetrachloride , dimethylhydrazine , galactosamine สารสำคัญในการออกฤทธิ์คือ S-propyl cysteine , S-allyl mercaptocysteine , S-methyl-mercaptocysteine , ajoene , diallyl sulfide

7. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา
มีผู้ทดลองฤทธิ์ต้านเชื้อราของกระเทียมมากมาย พบว่าสารสกัดด้วยน้ำและน้ำมันหอมระเหย สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา อันเป็นสาเหตุของโรคกลาก คือ Trichophyton , Epidermophyton และ Microsporum ได้ดี

8. สารสำคัญในการออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา
สารสำคัญเป็นสารที่ไม่คงตัว พบได้น้อยในพืชในรูปของ alliin เมื่อเซลลูโลสพืชถูกทำลาย alliin ถูกเปลี่ยนเป็น allicin ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ และ allicin ที่อุณหภูมิต่ำๆ จะเปลี่ยนเป็น ajoene ซึ่งยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา เช่นเดียวกับ allicin

9. การทดสอบความเป็นพิษ
9.1 ให้หนูกินสารสกัดกระเทียมด้วยอีเธอร์ขนาด 2-4 กรัม ทุกวัน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ไม่พบว่ามีพิษต่อตับ หัวใจ ไต ต่อมหมวกไต ม้าม ไทรอยด์

9.2 เมื่อป้อนสารสกัดกระเทียมด้วยแอลกอฮอล์ 95% แก่หนูขาว ซึ่งขาดน้ำดี ไม่พบพิษ

9.3 ฉีดสารสกัดสีขาวไม่มีกลิ่น ละลายน้ำ พบว่ามีฤทธิ์ลดปริมาณแคลเซียม หนูมีอาการกระวนกระวาย เดินไม่ตรง เคลื่อนไหวช้า และเกิดอาการโคม่า ปริมาณที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่ง คือ 222 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดกระต่าย โดยค่อยๆ เพิ่มขนาด ทำให้กระต่ายตายในขนาด 100-200 มิลลิกรัม% น้ำมันหอมระเหยขนาด 0.755 ซี.ซี./ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทำให้เกิดอาการงง

9.4 สารสกัดกระเทียมด้วยน้ำ, แอลกอฮอล์ หรืออะซิโตน ทำให้เกิดอาการแพ้ในคน

9.5 Uemori ได้ทดลองให้สารสกัดแอลกอฮอล์ขนาด 0.755 มิลลิกรัม แก่กระต่ายทางหลอดเลือด พบว่าทำให้เกิดอาการกระตุ้นการหายใจตอนแรก ต่อมาเกิดอาการกดระบบหายใจ และระบบหายใจล้มเหลวในที่สุด เมื่อทดลองให้สารสกัดนี้กับหัวใจกบที่ตัดแยกจากตัว พบว่าจะลดการบีบตัวของหัวใจ และหยุดในที่สุด แต่อาการพิษจะกำจัดได้โดยการล้างหัวใจ Caffeine จะช่วยลดอาการพิษได้บางส่วน Adrenaline ไม่ได้ผล

แต่เมื่อใช้ atropine จะยับยั้งพิษได้สมบูรณ์ ถ้าใช้ในขนาดน้อยๆจะทำให้หลอดอาหารกระต่ายที่ตัดแยกจากตัวลดการบีบตัว เมื่อฉีดสารสกัดเข้าหลอดเลือดกระต่าย จะพบอาการต่างๆ ดังนี้ ขนาด 10 มิลลิลิตร ทำให้หัวใจเต้นแรง ขนาด 4 มิลลิลิตร เกิดอาการความดันโลหิตลดลงชั่วคราว และขนาด 8 มิลลิลิตร มีฤทธิ์เพิ่มความดันโลหิตและฤทธิ์อยู่ได้นาน

10. ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์
เมื่อทดลองฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์ของเซลล์ไขกระดูก โดยใช้กระเทียมสด ใน ขนาด 1.25, 2.5, 5.0 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ น้ำคั้นกระเทียมสด และสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ มีผลลดจำนวน micronucleated cell ของเซลล์ไขกระดูก และ polychromatocytes ในหนูและ Chinese hamster

11. ต้านการก่อกลายพันธุ์
สารสกัดน้ำกระเทียมทำให้เกิดการสูญเสียของ chromatin จากสายใยของ cell nuclei และต้านการก่อกลายพันธุ์ซึ่งเกิดจาก cumol hydroperoxide, ter-butyl hydroperoxide, hydrogen peroxide และ gamma-irradiation แต่ไม่สามารถต้านฤทธิ์ของ antibiotic, NaN3, 2-nitrofluorene, 1,2-epoxy-3,3,3-trichloropropane หรือ Alpha-methyl hydronitrosoguoamidine

ดังนั้นสารสกัดน้ำด้วยกระเทียม มีผลต่อต้านการก่อกลายพันธุ์จากปัจจัยซึ่งเป็นปฎิกริยาทางรังสี มากกว่าต้านการทำลายของ DNA นอกจากนี้การทดลองการต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ของกระเทียม ด้วยสารสกัดต่างๆ ให้ผลดังนี้ สารสกัดกระเทียมด้วยน้ำ ให้ผลต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ใน E. coli สารสกัดกระเทียมด้วยอะซิโตน ให้ผลต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ใน Salmonella typhimurium strain TA89, TA100 ที่เกิดจาก aflatoxin B1 สารสกัดสามารถลดการก่อกลายพันธุ์ได้ 73-93% กระเทียมดิบบด ต้านการก่อกลายพันธุ์ของ 4-metroquinoline-1-oxide แต่ไม่เกิดปฎิกริยาการก่อกลายพันธุ์ของ UV-irradiation

การใช้กระเทียมรักษาอาการแน่นจุกเสียด
1. นำกระเทียม 5-7 กลีบ บดให้ละเอียด เติมน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ เกลือและน้ำตาลนิดหน่อย ผสมให้เข้ากัน กรองเอาน้ำดื่ม

2. นำกระเทียมปอกเปลือก นำเฉพาะเนื้อใน 5 กลีบ ซอยให้ละเอียด รับประทานกับน้ำหลังอาหารทุกมื้อ แก้ปวดท้องอาหารไม่ย่อย

การใช้กระเทียมรักษากลาก เกลื้อน

1. นำกระเทียมมาขูดให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือบดให้แหลก พอกที่ผิวหนัง แล้วปิดด้วยผ้าพันแผลไว้นานอย่างน้อย 20 นาที จึงแก้ออก แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ทำซ้ำเช้าเย็นเป็นประจำทุกวัน

2. นำใบมีดมาขูดผิวหนังส่วนที่เป็นเกลื้อนให้พอเลือดซึม แล้วใช้กระเทียมทาลงไป ทำเช่นนี้ทุกวัน 10 วันก็จะหาย



เคล็ดลับของกระเทียม


นักวิจัยสองชาติค้นพบเคล็ดของการปรุงอาหารด้วยกระเทียม ให้ได้คุณค่าอันเป็นคุณประโยชน์แก่ร่างกายมากที่สุด ต้องทุบกระเทียมให้แหลกเสียก่อนใช้

นักวิจัยคลอเดีย อาร์.กัลมารินนีกับคณะในอาร์เจนตินาและที่อเมริกา ได้รายงานผลการศึกษาในวารสาร “เคมีวิทยาทางอาหารและการเกษตร” ว่า สาเหตุที่ต้องทุบกระเทียมให้แหลกก่อน ไปปรุงอาหารนั้น ก็เพื่อไม่ให้คุณค่าที่เป็นคุณแก่ร่างกายของสารประกอบในกระเทียมสูญเสีย

คณะนักวิจัยชุดนี้ได้พบ

เมื่อหันมาศึกษาอิทธิพลของความร้อนในการปรุงอาหาร กับสารประกอบทางเคมีที่มีคุณค่าในกระเทียม แทนการศึกษา ของคณะนักวิจัย ก่อนหน้านี้ ที่มักทำแต่กับกระเทียมดิบๆ เท่านั้น

ในการศึกษาคณะนักวิจัยได้พบว่า เพียงถูกความร้อนแค่เพียงไม่กี่นาที คุณค่าของสารประกอบของกระเทียม จะสูญเสียลงแทบหมด โดย เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้กระเทียมใส่ลงไปทั้งหัว จึงควรทุบมันให้ แหลกเสียก่อน กระเทียมที่ถูกทุบหรือสับให้แหลก

พวกเขาเชื่อว่าการเตรียมทุบกระเทียมขึ้นก่อน จะประกอบอาหาร จะช่วยให้สารอัลลินนาสได้ทำงาน ก่อนจะโดนถูกความร้อนฆ่าฤทธิ์ของเอนไซม์ลงเสีย รายงานได้แนะนำว่า จึงควรปล่อยกระเทียมที่โดนทุบก่อนจะใช้ปรุงทิ้งไว้นานสัก 10 นาที จะยิ่งช่วยส่งเสริมให้เกิดการสร้างสารประกอบเหล่านั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ก่อนที่จะโดนถูกความร้อนฆ่าฤทธิ์ลง.

“กระเทียม” ที่หลายคนเชื่อว่าจะช่วยลดคอเลสเทอรอลได้ด้วย

แต่ว่ารายงานการศึกษาล่าสุดจากสหรัฐอเมริกา พบว่า ไม่ว่ากระเทียมในรูปแบบที่กินสดๆ หรือแบบที่เป็นอาหารเสริมนั้น ไม่ได้ ลดระดับคอเลสเทอรอลแต่อย่างใด

(เรื่องนี้ตีพิมพ์ ผลการศึกษาไว้ในวารสารวิชาการ “อาร์ไคฟ์ ออฟ อินเทอร์นัล เมดิซิน” ที่รายงานว่าจากการศึกษาเปรียบเทียบกระเทียมสดกับกระเทียมที่เป็นอาหารเสริม 2 ชนิด นั้นพบว่าทั้งหมดไม่ได้มีผลต่อการลดคอเลสเทอรอลในร่างกาย)



กระชายดำ

รายละเอียด: ชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia parviflora Wall. Ex Baker
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ส่วนที่ใช้ : เหง้า / หัว
สารสำคัญ : สารที่พบในเหง้ากระชาย ได้แก่ borneol, sylvestrene ซึ่งแสดงฤทธิ์ต้านจุลชีพ และสาร 5,7 –ไดเมธอกซีฟลาโวน (5,7- dimethoxyflavone = 5,7 DMF) ซึ่งแสดงฤทธิ์ต้านอักเสบ นอกจากนี้ รายงานการวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่นปี 2547 พบสารพวกฟลาโวนอยด์ 9 ชนิด เช่น สาร 5,7,4’-trimethoxyflavone, 5,7,3’,4’-tetramethoxyflavone , 3,5,7,4’ –tetramethoxyflavone เป็นต้น
ผลการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

1. ฤทธิ์ต้านอักเสบ
สาร 5,7 –ไดเมธอกซีฟลาโวน (5,7-DMF) ที่แยกได้จากเหง้ากระชายดำ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบเทียบได้กับยามาตรฐานหลายชนิด คือ แอสไพริน , อินโดเมธาซิน, ไฮโดรคอร์ติโซน และเพรดนิโซโลน จากการศึกษาฤทธิ์ต้านอักเสบของสารนี้ในสัตว์ทดลองด้วยวิธีการต่าง ๆ พบว่าสาร 5,7-DMF สามารถต้านการอักเสบแบบเฉียบพลันได้ดีกว่าแบบเรื้อรัง
โดยแสดงฤทธิ์ยับยั้งการบวมของอุ้งเท้าหนูขาวจากสารคาราจีนแนนและเค โอลินได้ดีกว่าฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง granuloma จากการฝังสำลีใต้ผิวหนัง นอกจากนี้ พบว่า สาร 5,7-DMF มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิด exudation และการสร้างสาร prostaglandin อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบในช่องปอดของหนูขาว (rat pleurisy)

2. ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์
สาร 5,7,4’-trimethoxyflavone และ 5,7,3’,4’ –tetramethoxyflavone แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Plasmodium falciparum ที่เป็นสาเหตุของโรคมาลาเรีย ส่วนสาร 3,5,7,4’-tetramethoxyflavone และ 5,7,4’-trimethoxyflavone แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Candida albicans และแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Mycobacterium อย่างอ่อน

3. พิษต่อเซลล์มะเร็ง (cytotoxic activity)
จากการทดสอบผลของฟลาโวนอยด์ 9 ชนิดของกระชายดำต่อเซลล์มะเร็ง เช่น KB , BC หรือ NCI-H187 ไม่พบว่ามีสารใดทำให้เกิดพิษต่อเซลล์มะเร็งที่ทดสอบ

4. ฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดง
มีรายงานการวิจัยว่า สารสกัดด้วยเอธานอลของกระชายดำมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta)ละลดการหดเกร็งของลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) ของหนูขาว และยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดของคน

การศึกษาทางพิษวิทยา
การศึกษาพิษเรื้อรังระยะเวลา 6 เดือน ของผงกระชายดำในหนูขาว ในขนาด 20 , 200 , 1000 และ 2000 มก/กก./วัน เทียบกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับน้ำ พบว่า หนูที่ได้รับกระชายดำทุกกลุ่มมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น อาการและสุขภาพไม่แตกต่างจากลุ่มควบคุมหนูที่ได้รับกระชายดำขนาด 2000 มก./กก. มีน้ำหนักสัมพันธ์ของตับสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ

อาจเนื่องจากมีน้ำหนักตัวที่ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม และมีเม็ดเลือดขาวอิโอสิโนฟิสต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ แต่ยังคงอยู่ในช่วงค่าปกติ ในหนูเพสเมียที่ได้รับกระชายดำขนาด 2000 มก./กก. มีระดับโคเลสเตอรอลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ หนูทั้งสองเพสที่ได้รับกระชายดำ 2000 มก./กก. มีระดับซีรั่มโซเดียมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญแต่ยังอยู่ในช่วงค่า ปกติ ผลการตรวจอวัยวะทางจุลพยาธิวิทยานั้นไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่บ่งชี้ว่าเกิด จากความเป็นพิษของกระชายดำ

รายงานการวิจัยทางคลินิก
ยังไม่มีรายงานศึกษาวิจัยเพื่อประเมินประสิทธิผลของกระชายดำในคน

ขนาดที่ใช้ และวิธีใช้
ตามตำรายาแผนโบราณ กระชายดำมีสรรพคุณแก้โรคบิด ปวดท้อง ลมป่วงทุกชนิด และเป็นยาอายุวัฒนะ ซึ่งมีวิธีใช้ดังนี้

กระชายดำแบบหัวสด ใช้เหง้า (หัวสด) ประมาณ 4-5 ขีด ต่อสุราขาว 1 ขวด ดองสุราขาวดื่มก่อนรับประทานอาหารอาหารเย็นปริมาณ 30 ซีซี. หรือฝานเป็นแว่นบาง ๆ แช่น้ำดื่ม หรือจะดองกับน้ำผึ้ง ในอัตราส่วน 1: 1

กระชายดำแบบหัวแห้ง หัวแห้งดองกับน้ำผึ้งแท้ในอัตราส่วน 1:1 นาน 7 วัน แล้วนำมาดื่มก่อนนอน

กระชายดำแบบชาชง ผงแห้งกระชายดำ 1 ซอง ชงน้ำร้อน 1 แก้ว (ประมาณ 120 ซีซี.) แต่งรสด้วยน้ำตาล หรือน้ำผึ้งตามต้องการ



เอกสารอ้างอิง

1. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544) พิมพ์ครั้งที่ 2 : กรุงเทพฯ : บริษัทประชาชน จำกัด , 2544
2. http://www.doa.go.th/data-agri/02_LOCAL/oard3/kachaidum/main.html
3. ณาตยา ธนะศิริวัฒนา, สุนิดา ณ ตะกั่วทุ่ง, ธนนันต์ ฐานะจาโร “องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ต้านจุลชีพของน้ำมันหอมระเหยกระชายดำ เปราะหอม และเฒ่าหนังแห้ง”, คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
4. Yenchai C, Prasanphen K, Doodee S, et al. Bioactive fla-vonoids from Kaempferia Parvifor. Fitoterapia 2004; 75(1) : 89-92.
5. วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล และอำไพ ปั้นทอง. “การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของ 5,7-DMF “ วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2528.
6. Wattanapitayakul S, Nawinprasert A, Herunsalee A, et al. Vasodilation, antispasmodic and antiplatelet actions of Kaempferia parviflora. The Sixth JSPS-NECT Joint Seminar : Recent Advances in Natural Medicine Research. December 2-4, 2003 Bangkok, Thailand (Poster presen-tation)
7. ทรงพล ชีวะพัฒน์, ณุฉัตรา จันทร์สุวาณิชย์, ปราณี ชวลิตธำรง และคณะการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของผงกระชายดำ. วารสารกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2547 (รอตีพิมพ์)
8. ของดีจากพืชสมุนไพร-ว่านยา โดย จันทน์ขาว หน้า 135-137

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ