วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สุนัขมองเครื่องบิน

ในโลกนี้มีหลายเรื่องที่เป็นกรณีพิเศษ-เรื่องของไลก้าก็เป็นอีกเรื่องนึง

(แต่ถึงจะได้ขึ้นจรวดก็ตาม--ไลก้าน่าสงสารนะ)

อ่านเรื่องของไลก้า

v

v

v

v

ไลก้า (สุนัข)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ไลก้า

ไลก้า (อังกฤษ: Laika; รัสเซีย: Лайка) เป็นชื่อของสุนัขตัวแรกของโลกที่เดินทางไปกับยานอวกาศสปุตนิก 2 ของโซเวียต ขึ้นไปในวงโคจรรอบโลกเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 หนึ่งเดือนหลังการส่งสปุตนิก 1 ขึ้นสู่อวกาศ ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2500

ไลก้าเป็นสุนัขเพศเมีย เดิมชื่อว่า Kudryavka (รัสเซีย: кудрявка) เป็นสุนัขข้างถนนที่ถูกพบในกรุงมอสโก ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นไลก้า ตามชื่อพันธุ์สุนัขที่ใช้ล่าสัตว์ในรัสเซีย ไซบีเรีย และสแกนดิเนเวีย ไลก้าเป็นสุนัขหนึ่งในสามตัวที่ได้รับการฝึกสำหรับปฏิบัติภารกิจนี้ อีกสองตัว มีชื่อว่า Albina และ Mushka


สาเหตุการตาย

หลังจากสปุตนิก 2 เข้าสู่วงโคจรแล้ว ทางการโซเวียตแถลงว่าภารกิจนี้จะไม่มีการนำไลก้ากลับมายังพื้นโลก มันจะต้องตายในอวกาศ หลังจากนั้นทางการโซเวียตแถลงว่า ไลก้ามีชีวิตอยู่ในอวกาศนานถึงสี่วัน ก่อนจะตายอย่างสงบ ยานอวกาศสปุตนิก 2 โคจรรอบโลกเป็นจำนวน 2,570 รอบ ก่อนจะตกลงสู่บรรยากาศโลกในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2501

สาเหตุการตายของไลก้าถูกปกปิดเป็นความลับเป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งมีการเปิดเผยโดย Dimitri Malashenkov แห่ง Institute for Biological Problems กรุงมอสโคว์ เมื่อเร็วๆ นี้ [1] ระบุว่าหลังจากถูกส่งขึ้นไปในอวกาศไม่นาน ไลก้ามีชีพจรสูงผิดปกติ หลังจากอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก กลับมีชีพจรต่ำลง แสดงให้เห็นว่าไลก้ามีความเครียดสูง จากนั้นระบบควบคุมอุณหภูมิของยานอวกาศทำงานผิดปกติ ทำให้ไลก้าตายด้วยความร้อนสูง และอาการตื่นตระหนก ประมาณ 5-7 ชั่วโมง หลังจากเริ่มปล่อยยาน [2]

อย่างไรก็ตาม การที่มันสามารถมีชีวิตอยู่ในอวกาศ ในสภาวะไร้น้ำหนักในช่วงแรกของการเดินทาง และข้อมูลที่ตรวจวัดได้ ถือเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวงการสำรวจอวกาศ ด้วยนักบินอวกาศในเวลาต่อมา

หลังจากการส่งสปุตนิก 2 โซเวียตได้ส่งสุนัขขึ้นไปในอวกาศอีกครั้ง กับยานอวกาศสปุตนิก 5 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2503 พร้อมกับสุนัขพันธุ์ผสม 2 ตัว ชื่อ เบลก้า (Belka, Белка) และ สเตรลก้า (Strelka, Стрелка) กับหนูและต้นไม้จำนวนหนึ่ง ยานกลับสู่บรรยากาศโลกอย่างปลอดภัยในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2503 หลังจากนั้น สเตรลก้า มีลูกครอกหนึ่ง ทางการโซเวียตได้จัดส่งลูกของสเตรลก้า ให้เป็นของขวัญแก่ แจกเกอลีน เคนเนดี ภริยาประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี

อ้างอิง

  1. ^ http://news.bbc.co.uk/2/hi/sci/tech/2367681.stm
  2. ^ http://www.space.com/news/laika_anniversary_991103.html

http://23.media.tumblr.com/T4KM0ocMGccbowza54DyGJCq_400.jpg

แหล่งข้อมูลอื่น



,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,


LAIKA



I CAN GO THE DISTANCE


วัน ที่ 3 พฤศจิกายน คศ.1957 ยานอวกาศ Sputnik 2 ของรัสเซีย ได้เดินทางออกโคจรรอบโลกพร้อมกับสุนัขตัวเล็กๆตัวหนึ่ง นับเป็นก้าวแรกของวิวัฒนาการทางอวกาศของโลก เนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีใครรู้ว่าเมื่อสิ่งมีชีวิตออกไปนอกอวกาศแล้วจะมี สภาพเป็นเช่นไร




สุนัข เล็กๆตัวนั้นชื่อ LAIKA (c.1954–November 3, 1957) ไลก้าเป็นสุนัขจรจัดเพศเมียที่เดินตุหรัดตุเหร่อยู่ในกรุงมอสโคว ที่บังเอิญให้โชคชะตาพามาพบกับนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียคนหนึ่งที่กำลังคิด การทดลองพาสุนัขออกไปนอกอวกาศ ทั้งนี้เพื่อให้แตกต่างจากสหรัฐอเมริกาที่ทดลองโดยใช้ลิงชิมแปนซี เขาคิดเอาเองว่าสุนัขข้างถนนอย่างไลก้านั้นเหมาะสมเพราะชีวิตจรจัดของมันได้ ผ่านความหนาวเย็นและความหิวโหยมาแล้วนั่นเอง แรกเริ่มสุนัขน้อยๆตัวนี้ได้ชื่อภาษารัสเซียว่า Kudryavka (Little Curly-Haired One) แต่เมื่อมันส่งเสียงเห่าทักทายประชาชนใส่ไมโครโฟนในวันแถลงข่าวเปิดตัว ก็เลยได้ชื่อใหม่ว่า LAIKA ซึ่งเป็นภาษารัสเซียแปลว่า "เห่า"




ไล ก้าได้รับการฝึกฝนเพื่อภารกิจนี้กับเพื่อนหมาอีก 2 ตัว ชื่อ Albina และ Mushka แต่มีเพียงไลก้าเท่านั้นที่ได้รับเกียรติให้เดินทางด้วยตั๋วเที่ยวเดียวใน ครั้งนี้ บันทึกของนักวิทยาศาตร์ผู้ดูแลการทดลองครั้งนี้บอกว่า เขารู้สึกสงสาร "ไลก้า" เพราะรู้ว่ามันต้องตายอย่างแน่นอน เนื่องจากยานสปุตนิกไม่ได้ถูกออกแบบให้เดินทางกลับโลกได้ เวลาของมันที่จะอยู่ในโลกเหลืออยู่น้อยเต็มที เขานำมันกลับบ้านไปเล่นกับลูกๆของเขาเป็นครั้งสุดท้าย วันที่เขาพา "ไลก้า" ไปส่งที่สถานีทดลอง มันเดินเข้าไปประจำในแคปซูลอย่างเงียบๆ และสง่าผ่าเผย ระหว่างการเดินทางไลก้าต้องอยู่ในแคปซูลเล็กๆและถูกล่ามเอาไว้เพื่อป้องกัน มันหมุนตัว อาหารที่เตรียมไว้ก็อยู่ในรูปของเยลลี่




เรา เชื่อกันมาหลายสิบปีว่าไลก้ามีชีวิตอยู่ในอวกาศได้นานถึง 4 วัน ก่อนจะจากไปอย่างสงบตามที่ทางการรัสเซียแถลง แต่แล้วความจริงอันโหดร้ายก็ได้เปิดเผยเมื่อ เดือนตุลาคม คศ.2002 โดย Dimitri Malashenkov แห่ง Institute for Biological Problems กรุงมอสโคว์ เขาระบุว่าไลก้าตายหลังจากถูกส่งขึ้นไปในอวกาศได้ 5-7 ชั่วโมง ความจริงก็คือภายหลังจากปล่อยยาน ไลก้ามีชีพจรสูงผิดปกติ หลังจากอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก กลับมีชีพจรต่ำลง ซึ่งแสดงว่าไลก้ามีความเครียดสูง มิหนำซ้ำระบบควบคุมอุณหภูมิของยานอวกาศก็ทำงานผิดปกติ ทำให้ไลก้าตายอย่างทรมานด้วยความร้อนสูง และอาการตื่นตระหนก ยานอวกาศสปุตนิก 2 โคจรรอบโลกพร้อมร่างไร้วิญญาณของไลก้า จำนวน 2,570 รอบ ก่อนจะเผาไหม้และตกลงสู่บรรยากาศโลกในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2501




Oleg Gazenko ผู้ฝึกไลก้า ก่อนขึ้นยาน ได้กล่าวไว้ในปี 1998 ว่า
“ยิ่ง เวลาผ่านไปผมก็ยิ่งรู้สึกเสียใจกับสิ่งที่ได้ทำกับไลก้า เราไม่น่าทำอย่างนั้นเลย... ในโครงการนี้ เราไม่ได้เรียนรู้อะไรมากพอที่จะเป็นข้อแก้ตัว ในการพรากชีวิตของหมาตัวนี้ิเลย”


ถึง อย่างไรก็ตามการเดินทางของไลก้าก็ถือเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวงการสำรวจ อวกาศ ด้วยนักบินอวกาศในเวลาต่อมา จนวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1961 สหภาพโซเวียตก็ประสบความสำเร็จในการส่ง "ยูริ กาการิน" มนุษย์คนแรกของโลกให้ขึ้นไปบนอวกาศ กาการินกล่าวอย่างติดตลกไว้ว่า
"ผมไม่เข้าใจว่าผมเป็นใครกันแน่ ระหว่างมนุษย์คนแรกในอวกาศหรือสุนัขตัวสุดท้ายในอวกาศ"




เกือบ 50 ปีให้หลังภารกิจที่กล้าหาญของไลก้า วันที่ 11 เมษายน คศ.2008 รัสเซียได้เปิดอนุสาวรีย์เล็กๆใกล้กับสถาบันวิจัยทางการทหาร เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ไลก้าสุนัขอวกาศตัวแรกของโลก แต่หลายคนบอกว่า "มันสายเกินไป"
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=yanutsa&date=05-03-2009&group=1&gblog=3




Laika trainers Sputnik-2 Спутник-2


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ