วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เปิดใจนักวิทย์หญิงไทยคนแรก ตามฝันร่วมสำรวจขั้วโลกใต้

เปิดใจนักวิทย์หญิงไทยคนแรก ตามฝันร่วมสำรวจขั้วโลกใต้



โลกใบนี้ดนตรีไทย -  เรื่องนี้ปี่มวย สถาบันฝึกอาชีพแบบไม่มีรั้ว
เปิดใจนักวิทย์หญิงไทยคนแรก ตามฝันร่วมสำรวจขั้วโลกใต้

ผศ.ดร.สุ ชนา สตรีไทยวัย 37 ปี ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ สตรีไทยคนแรกที่จะร่วมเดินทางกับโครงการสำรวจทวีปแอนตาร์กติกของสถาบันวิจัย ขั้วโลก ประเทศญี่ปุ่น...

ร่วมภูมิใจกับนักวิทยาศาสตร์สตรีไทยคนแรก ที่จะเดินทางสำรวจทวีปแอนตาร์กติก โดย บริษัท ลอรีอัล ประเทศไทย และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดงานแสดงความยินดีและสนับสนุนการเดินทางสำรวจผลกระทบอันเกิดจากการ เปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Climate Change) ที่สถานีวิจัยโชวะ ประเทศญี่ปุ่น ณ ทวีปแอนตาร์กติก ของ ผศ.ดร.สุชนา ชวนิตย์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ.ดร.สุ ชนา ชวนิตย์ สตรีไทยวัย 37 ปี ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ สตรีไทยคนแรกที่จะร่วมเดินทางกับโครงการสำรวจทวีปแอนตาร์กติกของสถาบันวิจัย ขั้วโลก ประเทศ ญี่ปุ่น ได้เผยว่า รู้สึกตื่นเต้น ที่จะได้ไปสัมผัสทวีปแอนตาร์กติก เพราะเป็นความฝันของนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงาน ด้านธรรมชาติทุกคนที่อยากไปสัมผัสที่นั่น การเดินทางครั้งนี้ ตนจะไปศึกษาในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นการสำรวจร่วมและสนับสนุนกับกลุ่มวิจัยชีววิทยา และกลุ่มสำรวจสมุทรศาสตร์เป็นหลัก โดยจะสำรวจสิ่งมีชีวิตพวกแบคทีเรียและจุลินทรีย์ในตะกอนดินแถบชายฝั่งทะเล และในทะเลสาบ ซึ่งยังมีนักวิจัยทำกันน้อย รวมถึงเก็บตัวอย่างปลา, ดินและน้ำ รวมถึงการศึกษาจำนวนประชากรเพนกวินด้วย

อ.สุชนาบอกด้วยว่า ความเป็นผู้หญิงคงไม่เป็นอุปสรรค เพราะก่อนเดินทางได้มีการเตรียมตัวอย่างดี ทั้งการตรวจเช็กสุขภาพ การฟิตร่างกายให้แข็งแรง เพราะ ต้องมีการเดินสำรวจหลายกิโลเมตร พร้อมทั้งต้องจัดตารางเวลาการทำงานให้ละเอียดและยังต้องเข้ารับการฝึกฝนการ ปฐมพยาบาลเบื้องต้น การป้องกันอุบัติเหตุ เรียนรู้เรื่องทิศทาง เพื่อมิให้เกิดการพลัดหลง การฝึก อบรมนี้มี 2 ครั้ง คือหน้าหนาวและหน้าร้อน เพื่อเรียนรู้สภาพ การเดินทางครั้งนี้ตนจะออกเดินทางจากประเทศไทยในวันที่ 24 พ.ย. ไปยังประเทศออสเตรเลีย เพื่อไปขึ้นเรือตัดน้ำแข็ง AGB ShiraseII ที่เมือง Fremantle ทางตอนใต้ของออสเตรเลียฝั่งตะวันตก โดยไปร่วมกับนักวิจัยคนอื่นๆในคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกญี่ปุ่นที่ 51 ซึ่งมีทั้งหมด 80 คน มาจากหลาย ประเทศทั้งญี่ปุ่น, เกาหลี, อินเดีย และแอฟริกา มีผู้หญิง เพียง 8 คน จากประเทศญี่ปุ่น 6 คน ประเทศไทย 2 คน โดยคนไทยอีกคนจะเดินทางไปทำสารคดี

สำหรับการเดินทางนั้น อ.สุชนาเล่าว่า ระยะเวลาการเดินทางอยู่ช่วงเดือน พ.ย. 2552 ถึง มี.ค. 2553 จะใช้เวลาเดินทางอยู่บนเรือประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อเข้าถึงสถานีวิจัยโชวะ ในทวีปแอนตาร์กติก ซึ่งถือเป็นจุดที่เข้าถึงยากที่สุดจุดหนึ่งของทวีปนี้ จากนั้นจะใช้ เวลาศึกษาวิจัยที่แอนตาร์กติก ประมาณ 8-9 สัปดาห์ โดยจะเดินทางกลับออกมาในช่วงกลางเดือน ก.พ. ปี 2553 ก่อนที่ทะเลจะกลายเป็นน้ำแข็งอีกครั้งในฤดูหนาว และใช้เวลาเดินทางกลับประเทศออสเตรเลียประมาณ 4-5 สัปดาห์ อ.สุชนากล่าวว่า การที่เดินทางไปสำรวจถึงทวีปแอนตาร์กติกนี้อยากให้คิดกันว่าเป็นเรื่องใกล้ ตัว เพราะทวีปนี้เป็นด่านแรกที่จะบอกเราว่า สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงจะส่งผลกระทบอะไรต่อธรรมชาติ การที่เราได้ทราบล่วงหน้าจะได้เตรียมตัวได้และอยากจะบอกว่า มนุษย์เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เมื่อธรรมชาติมีการเปลี่ยนแปลง มนุษย์ก็ต้องได้รับผลกระทบนั้นไปด้วย จึงอยากให้เราตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและสามารถอยู่คู่ กันตลอดไป.


ขอบคุณข้อมูลจาก ไทยรัฐ
ไทยรัฐ
วันที่โพส : 2009-10-05 10:07:42

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ