วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สโลแกนหญิงสวยทำได้ แฟชั่นจาก Rosie the Riveter

สโลแกนหญิงสวยทำได้ แฟชั่นจาก Rosie the Riveter



ไม่รู้ หญิงไทย ใครบ้าง รู้จัก ประวัติ “Rosie the Riveter” ซึ่งได้พัฒนาการ กันจนเป็น สโลแกนWe can do it” สโลแกน ที่มัน เกื่อนบ้าน เกื่อนเมือง และเป็นคำที่ หลายคน นิยม นำมาปลุกใจ เวลาหลังชนฝา วันนี้ งดไร้สาระ อยากจะ นำเรื่องดีๆ ในอดีต ของ วีรกรรม สาวๆ มาเล่าให้ฟัง ปลุกอก ปลุกใจ สาวที่กำลัง ต้องการ กำลังใจ ไม่ว่า จะปัญหา ที่ทำงาน อกหัก หรือกำลัง เตรียมสอบ O-net หรือ Cu-Tep เพราะไม่มี ส่วนหนึ่งส่วนใด ในตัวคนเขียน จะแบ่งไปให้ได้ นอกจาก ความหวังดี และกำลังใจ ที่มีให้เต็มๆ ใจและหัวใจ ให้สาวที่บ้าน ไปหมดแล้ว ก็เริ่ม กันเลย ( ภาพล่าง ของ J. Howard Miller ไม่ใช่ ภาพแรกใน ประวัติศาสตร์ )
Rosie the Riveter
เรื่องมัน มีอยูว่า ก่อนที่ สหรัฐอเมริกา จะเข้าไปร่วมใน สงครามโลก ครั้งที่ 2 หลายบริษัท ที่มีสัญญา กับ รัฐบาลที่จะต้อง ผลิตอุปกรณ์ ที่ใช้ ในการ ทำสงคราม กับพันธมิตร ในระยะเวลา แค่เพียงสั้นๆที่ สหรัฐอเมริกา เข้าไปร่วม ในสงคราม กระบวนการผลิต สิ่งสนับสนุ่น ต้องเพิ่มมากขึ้น ในระยะ อันสั้น เป็นจำนวนมาก โรงงานผลิตรถยนต์ ได้เปลี่ยนไป สู่โรงงาน ผลิตเครื่องบินแทน มีการขยายตัว อย่างรวดเร็ว และโรงงาน ก็ได้ถูกสร้างขึ้น ใหม่ โดยสิ่ งอำนวยความสะดวก และสนับสนุ่นทั้งหมดเหล่านี้ ก็ต้องการคนงาน ด้วยนะซิ บริษัทแรกๆ ที่ไม่คิดว่า สหรัฐอเมริกา จะต้องมีการขาดแคลนแรงงาน อย่างหนัก ดังนั้น พวกเขา จึงไม่ได้ เอาความคิด ที่จะมีการว่าจ้างผู้หญิง กันอย่าง จริงจังเสียที ในท้ายที่สุด เนื่องจาก ตอนนี้ เหล่าผู้ชาย ต้องไปรบกัน ในสงคราม ทั้งหมด
Rosie the Riveter
สหรัฐอเมริกา ในขณะนั้น การทำงาน ก็มิได้เป็นอะไร ใหม่เลย กับผู้หญิง แม้ผู้หญิงซึ่งต้องทำงาน อาจจะ อยู่ในสถานะภาพ เป็นชนชั้นล่าง แต่อย่างไรก็ตาม ทางวัฒนธรรม โดยการทำงานจริงๆ มันแบ่งแยกแรงงานด้วยเพศ เช่นกัน คือผู้หญิง ที่เป็นคนชั้นกลาง มักต้องทำงาน แต่ในบ้าน แต่ว่าสถานะการณ์ ของสหรัฐอเมริกา ในขณนั้นได้เกิดปัญหา ของการว่างงานสูง และเป็นช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ คนส่วนใหญ่ เห็นว่า การที่ผู้หญิง ต้องออกไปทำงาน ก็เพราะมันเป็นการงาน ที่เหลือจากคนว่างงาน

ในช่วงเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 อาจบอกได้ว่า มันเป็นการทดสอบ ความคิดต่างๆเหล่านี้. ทุกคนก็เห็นพ้องต้องกันว่า คนงานจำนวน ที่เป็นอย่างมาก มีความต้องการ และผู้หญิง จะต้องไปทำงานใน โรงงานอุตสาหกรรม สนับสนุนสงครามก็ทำแค่เพียงชั่วคราวเท่านั้น
Rosie the Riveter
รัฐบาลสหรัฐอเมริกาต้องเอาชนะความท้าทายอันนี้ ในเรื่องการว่าจ้างแรงงาน จากผู้หญิง ในช่วงต้นของสงคราม รัฐบาลจึงไม่พอใจนักกับการตอบสนองของผู้หญิง รัฐบาลตัดสินใจที่จะเรียกใช้ การโฆษณาเพื่อการรณรงค์ที่จะขายค็อนเซ็ป ความสำคัญของสงคราม และผลกระทบ เพื่อจูงใจให้ผู้หญิงเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำงาน

คณะรัฐบาล ได้นำเอาสโลแกน รูปภาพและบุคคลิกของ “Rosie the Riveter“ เป็นตัวชูโรง เพื่อทำการตอกหมุดแนวความคิดใหม่ โดยสร้างอุดมคติของแรงงานหญิงที่สวยสุดๆ จงรักภักดี มีประสิทธิภาพ คือสวยสุดๆ แล้วรักชาติบ้านเมือง ว่างั้นเถอะ ในสมัยนั้น และมีเพลง “Rosie the Riveter“ ออกมาด้วย และก็ได้กลายมาเป็นที่นิยมอย่างมากในปี 2485 นอร์แมน ( Norman Rockwel )นักเขียนรูป ก็ทำรูปภาพ เป็นหน้าปก และลงหนังสือพิมม์ แพร่ไปในวันเสาร์เย็นวันที่ 29 พฤษภาคม 1943 เป็นครั้งแรก ภาพชิ้นนี้ไดเผยแพร่ออกไปรวดเร็วและกว้างขวาง
We can do itr
ภาพ ตัวแทนของ Rosie ใหม่ๆภาพอื่นๆก็มีการแก้ไข และระบาดออกไปเป็นจำนวนมาก สาวๆในสหรัฐอเมริกามากมาย ก็ได้เข้าร่วม ในกระบวนการผลิตสิ่งสนับสนุ่น สามีที่อยู่แนวหน้าก็ตั้งอกตั้งใจรบเพราะของทุกชิ้นที่ใช้ มันเป็นแรงงานจากแฟน หรือภรรยาของตนที่ทำส่งมาให้ เมื่อสงครามโลกจบลง ทุกคนก็มักจบเรื่องราวลง อย่างแฮปปี่เอ็นดิ้ง

อย่าเห็นความยิ่งใหญ่ของ “We can do it” สโลแกรนนั้นไม่ยาก คุณลอง serch ใน google นอก ด้วยคำนี้ “We can do it poster” เช่น

http://images.google.com/images?hl=en&um=1&q=We+can+do+it+poster&sa=N&start=0&ndsp=21

แล้วคุณ ก็จะงงเองเลยว่า พบแต่ภาพที่สาม ตัวอย่าง ข้างนี้เต็มไปหมด จนแทบทุกๆหน้า อยากจะ เอาหน้าตนเองใส่ไปแทน เช่นคนอื่นๆ ทำการปลุกใจ ให้ไปลุย เรื่องอะไร ก็เลือกเอาเอง พวกเด็ก ที่อยู่เมืองนอก หลายบ้านก็มีกัน เต็มไปหมด เพราะพวกเขา รู้ความเป็นมาของมันกัน เด็กไทย หรือสาวไทย จะสร้างสโลแกรน ให้กับชีวิต ไปทำเรื่องดีๆ ก็ไม่เสียหาย

Rosie the Riveter
ปัจจุบันภาพเขียน “Rosie the Riveter“ขนาดเมตร x เมตร ชิ้นของ นอร์แมน ( อันสุดท้าย อันนี้ ) ถูกเก็บไว้ที่ Crystal Bridges museum โดยหามาได้ในปี 2002 ราคา $4,959,500

( อย่าลืม อ่าน Rosie the Riveter บทวิเคราะห์ ผู้หญิงเก่งของโลก ประวัติวีรสตรีที่คุณไม่รู้เลย เร็วๆนี้)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ