วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553

บทเรียนจากแบงค์พันเยน…ดร. โนงูจิ ฮิเดโยะ

บทเรียนจากแบงค์พันเยน…ดร. โนงูจิ ฮิเดโยะ


noguchi0
เรื่องของ ดร. โนงูจิ ฉบับการ์ตูน

จัดจำหน่ายในไทยโดยสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ



การ์ตูน เก่าเล่มหนึ่งสภาพโทรมสุดๆ ชื่อ ดร.โนงูจิ ด้วยใจนักสู้ เขียนโดย อ. โตชิยูกิ มุสึ ผลิตโดยสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ เป็นการ์ตูนเรื่องเยี่ยมที่ยังอยู่ในดวงใจ อยากจะให้ใครๆ ได้ลองอ่านบ้างแล้วจะรู้เลยว่า ความสุขในชีวิตนี้มันอยู่ไม่ไกลเกินมือเอื้อมเลย... เป็นการ์ตูนที่สร้างจากเรื่องจริง


การ์ตูน เรื่องนี้เล่าเรื่อง ราวชีวิตของบุคคลสำคัญคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น สำคัญถึงขนาดที่มีรูปท่านผู้นี้ปรากฎในธนบัตรฉบับละ ๑,๐๐๐ เยน เพื่อเป็นที่ระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน ดร. โนงูจิ เดิมชื่อ โนงูจิ เซซากุ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น โนงูจิ ฮิเดโยะ (แปลว่าดวงอาทิตย์หรือในความหมายที่ว่าผู้ส่องแสง ผู้มีความเจิดจ้า)


ท่านเกิดในครอบครัวชาวนาที่ยากจนในหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งที่จังหวัดฟุคุชิมะ กำพร้าบิดาแต่เล็ก มีคุณแม่ชิกะเป็นผู้เลี้ยงดูมาตลอด เมื่อท่านยังเด็กได้ประสบอุบัติเหตุตกลงไปในเตาหลุม (เตาไฟสำหรับหุงหาอาหารและสร้างความอบอุ่น มักตั้งอยู่บริเวณกลางบ้าน พบในบ้านแบบโบราณของชาวญี่ปุ่น)


เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้มือซ้ายของท่านโดนไฟลวกจนพุพองและไม่สามารถใช้งาน ได้ ซึ่งทำให้คุณแม่ชิกะโทษตัวเองอยู่ตลอดเวลาที่เป็นต้นเหตุทำให้ลูกชายต้อง พิการแต่เล็ก คุณแม่ชิกะจึงตั้งปณิธานแน่วแน่ว่าจะเลี้ยงดูท่านอย่างดีที่สุดเท่าที่จะ สามารถทำได้



noguchi1
ธนบัตรฉบับละ ๑,๐๐๐ เยน ที่มีภาพของ ดร. โนงูจิ



ครอบ ครัวของท่านอาจเรียกได้ ว่าเป็นครอบครัวที่ยากจนที่สุดในหมู่บ้าน โชคดีที่สังคมในยุคเก่ายังคงมีการเจือจานแบ่งปันกันตามประสังคมชนบท ตัวท่านเองแม้จะพิการแต่น้อยแต่ก็เป็นเด็กเฉลียวฉลาด มีแววเก่งตั้งแต่เด็ก ท่านมักจะช่วยเหลืองานคุณแม่ชิกะอยู่เสมอ แต่คุณแม่มักจะปรามด้วยเหตุผลที่ว่า “ลูกทำงานหนักแบบชาวนาไม่ไหวดอก ดังนั้นลูกต้องตั้งใจเรียนให้มากๆ” คุณแม่ชิกะทำงานหนักอย่างไม่ยอมพักเพื่อชดเชยความรู้สึกผิดที่ทำให้ท่านต้อง เสียมือซ้ายไป แต่กระนั้นก็ห้ามมิให้ท่านแสดงความกตัญญูด้วยการแบ่งเบาภาระไม่ได้อยู่ดี

ท่าน โนงูจิเข้าเรียนที่ โรงเรียนประจำหมู่บ้าน เมื่อเริ่มโตขึ้น ความพิการก็เริ่มส่งผล ท่านมักจะถูกเพื่อนๆ ล้อเลียนอยู่เสมอและมันก็ยังเป็นอุปสรรคต่อการเรียนด้วย ความลำบากทางกายนั้นพอทนได้ แต่ความลำบากใจนั้นยากเกินจะทน ท่านถูกเพื่อนๆ กลั่นแกล้งจนทนไม่ไหว จึงหนีโรงเรียนแต่แสร้งว่าไปโรงเรียนทุกๆ เช้า จนเมื่อคุณชิกะรู้ความจริง แทนที่จะโกรธ กลับรู้สึกเห็นใจลูกชายและยังคงโทษตัวเองว่าเป็นคนผิดเอง เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ท่านรู้สึกผิดและสัญญาว่าจะไม่หนีเรียนอีกไม่ว่าจะ ถูกกลั่นแกล้งสักเพียงใดก็ตาม จากวันนั้นเป็นต้นมาผลการเรียนของท่านก็ดีขึ้นและไม่เคยสอบได้ต่ำกว่าที่ ๑ เลยสักครั้ง

แม้ จะยากจนและลำบากมากเพียงใด แต่ท่านก็ยังโชคดีที่ได้พบแต่คนดีๆ เมื่อผ่านชั้นประถมปลาย ท่านได้พบกับคุณครูโคบายาชิ ซึ่งต่อมากลายเป็นผู้มีพระคุณต่อท่านมากที่สุดคนหนึ่ง คุณครูโคบายาชิทึ่งในความสามารถด้านการเรียนของท่านและรู้สึกเห็นใจในชะตา ชีวิตของครอบครัวโนงูจิ จึงอาสาเป็นผู้อุปการะส่งเสียให้เรียนจนถึงชั้นมัธยม ต่อมาคุณครูโคบายาชิได้ร่วมมือกับเพื่อนๆ เรี่ยไรเงินเพื่อใช้เป็นค่ารักษาในการผ่าตัดมือซ้ายของท่านจนหายดีเป็นปรกติ นับเป็นจุดเริ่มต้นในการอุทิศตนเพื่อเป็นแพทย์ผู้คอยช่วยเหลือผู้ยากไร้ตลอด จนวาระสุดท้ายในชีวิตของท่าน


noguchi4



หลัง จากจบมัธยมปลายด้วยผลการ เรียนดีเยี่ยม ท่านขอร้อง ดร. คานาเอะ วาตานาเบ แพทย์ผู้ทำการผ่าตัดมือของท่านให้รับท่านเข้าทำงานที่โรงพยาบาลไคโยะใน ตำแหน่งนักการภารโรง แลกกับการได้ศึกษาวิชาแพทย์ไปด้วย เพราะคงเป็นไปไม่ได้ที่เด็กยากจนอย่างท่านจะได้รับการศึกษาในระดับสูงตาม โรงเรียนทั่วไป ท่านได้ทุ่มเทชีวิตให้การศึกษาวิชาแพทย์อย่างหนัก แต่ก็ยังคงทำงานในฐานะภารโรงอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง และยังศึกษาภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมันด้วยตนเองอีกด้วย!

ต่อ มาเมื่อญี่ปุ่นทำสงครามกับ จีน ดร. วาตานาเบ จึงต้องทิ้งโรงพยาบาลไคโยะเพื่อไปประจำการที่ประเทศจีน ท่านได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่ดูแลโรงพยาบาลแทนทั้งที่อายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีด้วยซ้ำ ระหว่างนี้เองที่ท่านได้มีโอกาสพบปะกับนายแพทย์เก่งๆ ที่ล้วนแต่ชื่นชมในความกระตือรือร้นของท่าน และได้ถ่ายทอดความรู้ทางการแพทย์ให้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งนับเป็นความโชคดีอย่างที่สุด

ท่าน ได้รับโอกาสดีอีกครั้ง เมื่อติดตาม ดร.ชิวากิ มายังโตเกียวเพื่อเตรียมสอบคัดเลือกเป็นแพทย์ (ในสมัยนั้นยังไม่มีสถาบันการศึกษาวิชาแพทย์อย่างเช่นมหาวิทยาลัยต่างๆ เหมือนปัจจุบัน แต่มีการทดสอบความรู้สำหรับวิชาแพทย์จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ) ระหว่างที่รอการสอบท่านได้ทำงานที่โรงเรียนทันตแพทย์ทาคายามะ โดยทำหน้าที่เป็นภารโรงและร่ำเรียนเพิ่มเติม ในช่วงนั้นท่านต้องอาศัยอยู่ในโรงเรียนเนื่องจากไม่มีเงินพอที่จะหาที่อยู่ ข้างนอกได้

ความ ยากจนยังคงเป็นอุปสรรค สำคัญในชีวิตของท่าน ท่านยังคงสวมเสื้อผ้าเก่าซอมซ่อเพราะมีอยู่ชุดเดียว แม้กระทั่งวันสอบ ท่านไม่มีแม้กระทั่งชุดหูฟัง (Stethoscope) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือจำเป็นสำหรับแพทย์ จนต้องยืมเอาจากผู้คุมสอบ ผลการสอบนั้น จากจำนวนผู้เข้าสอบ ๘๐ คน มีผู้ผ่านเพียง ๔ คน และท่านก็เป็นหนึ่งในนั้น หมายความว่าท่านเป็นแพทย์อย่างเต็มตัวเมื่ออายุเพียง ๒๐ เศษเท่านั้น

เมื่อ กลับมายังโรงเรียน ทันตแพทย์ทาคายามะ ท่านได้รับการเลื่อนชั้นเป็นอาจารย์ผู้สอนท่ามกลางความงงงวยของบรรดานัก เรียน ที่จู่ๆ ภารโรงก็กลายมาเป็นอาจารย์ แต่ท่านก็แสดงความสามารถจนเป็นที่ยอมรับของนักเรียนทุกคน



noguchi3
คุณแม่ชิกะ แม่ผู้ทุ่มเททุกอย่างให้ลูก จนกระทั่งวาระสุดท้ายของตัวเอง



ท่าน ยังคงศึกษาวิชาแพทย์เพิ่ม เติมอยู่ตลอดเวลาควบคู่ไปกับความก้าวหน้าในอาชีพ แม้ว่าท่านก็ยังได้รับการดูถูกเหยียดหยามเหมือนเมื่อครั้งวัยเยาว์อยู่เสมอ แต่ท่านก็หนักแน่นพอที่จะพิสูจน์คุณค่าของตัวเองด้วยการกระทำจนเป็นที่ยอม รับของคนในสังคม ท่านเริ่มสนใจสาขาวิชาระบาดวิทยาและทำการวิจัยอย่างจริงจัง และได้รับโอกาสให้เดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อทำวิจัย

แม้ ว่าที่ญี่ปุ่น ท่านจะได้รับการยอมรับในฐานะแพทย์ผู้มีเกียรติ แต่ที่อเมริกา ท่านกลับได้รับแต่การดูแคลน เนื่องด้วยความรังเกียจของชาวอเมริกันที่มีต่อชาวเอเชียว่าเป็นชนชาติที่ต่ำ ต้อย ไร้วัฒนธรรม ท่านก็ยังคงใช้วิธีเดิม คือนิ่งเฉยและตอบโต้ด้วยผลงานจนเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

ท่าน ได้รับเลือกจาก ดร. เฟลกซ์เนอร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการแพทย์คนแรกของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) ให้เป็นผู้ช่วย โดยขณะนั้นท่านมีอายุเพียง ๒๘ ปี ท่านได้กลายเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในระดับโลกไปเสียแล้ว

จาก เด็กพิการยากจนในชนบทที่ บ้านเกิด บัดนี้ท่านได้กลายเป็นนายแพทย์ผู้มีผลงานวิจัยในระดับโลก แต่ท่านก็ไม่เคยลืมเลือนอดีต ในปี ๒๔๕๘ เป็นเวลากว่า ๑๕ ปีที่ท่านจากประเทศญี่ปุ่น ท่านได้เดินทางกลับแผ่นดินเกิดอีกครั้งในฐานะผู้มีชื่อเสียงระดับโลก ที่แรกที่ท่านเดินทางไปคือที่บ้านโกโรโกโสหลังเดิม ที่มีคุณแม่ชิกะเฝ้ารอในชุดเก่าซอมซ่อเหมือนเดิม แม้ว่าในระหว่างที่ท่านประสบความสำเร็จยังต่างประเทศ แต่คุณแม่ชิกะก็ยังคงทำงานหนักเหมือนเช่นเดิม ท่านให้เหตุผลว่า ตอนนี้ เซซากุ กำลังทุ่มเททำงานอย่างลำบาก ตัวฉันเองก็ต้องทุ่มเททำงานเท่าที่ฉันจะทำได้เหมือนกัน

คุณ แม่ชิกะเสียชีวิตด้วยโรค ไข้หวัดใหญ่ ขณะที่ ดร. โนงูจิ กำลังทำงานวิจัยอยู่ที่ปานามา ก่อนจะสิ้นลมท่านยังเพ้อถึง ดร. โนงูจิ ให้พยายามต่อสู้ต่อไป ห้ามสิ้นหวังอย่างเด็ดขาด นับเป็นการปลดปล่อยตัวเองจากความผิดที่ท่านโทษตัวเองมาตลอดชีวิตที่ทำให้ลูก ชายต้องผจญกับความยากลำบาก

ที่ ทวีปแอฟริกาเกิดการระบาด ของโรคไข้เหลือง ดร. โนงูจิ ได้เดินทางไปเพื่อทำการวิจัยและผลิตวัคซีน ท่ามกลางเสียงทัดทานจากหลายฝ่าย เพราะนอกจากจะยังไม่มีวัคซีนป้องกันแล้วยังมีโอกาสติดเชื้อสูง ซึ่งนั่นหมายถึงชีวิต แต่ท่านก็ยืนยันที่จะเดินทางไป จนที่สุดแล้วท่านก็เสียชีวิตที่แอฟริกานั่นเอง ด้วยวัย ๕๒ ปี



noguchi5
noguchi6

รูปปั้นของ ดร. โนงูจิ ตั้งเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ประเทศกาน่า
ภาพถัดมาเป็นบรรยากาศในสถาบันวิจัยใน กาน่า

ที่ก่อตั้งขึ้น เพื่อเป็นเกียรติ แก่ท่าน


ทั้งสองภาพ มาจาก
http://semaru.web.infoseek.co.jp/gana.htm



ปัจจุบันชื่อของ ดร. โนงูจิ กลายเป็นชื่อที่คนญี่ปุ่นรู้จักกันดี เป็นชื่อที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับใครก็ตามที่คิดว่าตนเองสิ้นหวัง ไม่เพียงแต่ชาวญี่ปุ่นเท่านั้น บนแผ่นดินแอฟริกา ชื่อของท่านก็เป็นที่รู้จักและให้ความเคารพมาจนถึงทุกวันนี้ เพราะท่านคือผู้ที่สามารถพิชิตโรคร้าย อาทิ กาฬโรค ไข้เหลือง ซิฟิลิส ที่ระบาดอย่างรุนแรงไปทั่วทวีป


หมายเหตุ


ไข้ เหลือง เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดการระบาดใหญ่ในทวีปอัฟริกา และอเมริกา มาตั้งแต่ ๔๐๐ ปีก่อน อาการของโรคมีได้ตั้งแต่อาการเล็กน้อยจนถึงรุนแรงและเสียชีวิต คำว่า “เหลือง” มาจากอการตัวเหลืองหรือดีซ่าน (Jaundice) ที่มักพบในผู้ป่วย ถึงแม้จะมีวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิผลดีใช้มานาน ๖๐ ปี แต่จำนวนของผู้ติดเชื้อในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาก็ยังเพิ่มขึ้น ทำให้โรคไข้เหลืองกลับมาเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบัน ติดตามรายละเอียดได้จาก
สำนัก โรคติดต่อทั่วไป กระทรวงสาธารณสุข


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ