วันพุธที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2553

อวสานนักประดิษฐ์ผู้สิ้นชีพเพราะผลงานตนเอง

อวสานนักประดิษฐ์ผู้สิ้นชีพเพราะผลงานตนเอง

Free Shoes
Gold Dress Shoes
High Heels Shoes
Ivory Shoes
Josef Seibel Shoes
Keene Shoes
Light Up Shoes
New Balance Women's Shoes
Rocketdog Shoes
Wolky Shoes
All Star Shoes
Audio Shoes
Borne Shoes
Dunk Shoes
Easy Street Shoes
Funky Shoes
Mens Golf Shoes
Punk Shoes
Rain Shoes
Retro Jordan Shoes
Womans Shoes
Authentic Jordan Shoes
Burlington Shoes
Cheap Wedding Shoes
Chinese Shoes
Converse Tennis Shoes
I Love Comfort Shoes
Rain Boots Shoes
White Dress Shoes
Kids Basketball Shoes
Jordan 23 Shoes
Baseball Cleats Shoes
Frye Women's Shoes
Gold Women's Shoes
Shox Women's Shoes
Stuart Weitzman Women's Shoes
Baby Athletic Shoes
Boys Athletic Shoes
Loafers Shoes
Spikeless Golf Shoes
Baby Walking Shoes
Famous Brand Shoes
Primigi Shoes
Rubber Shoes
Soft Shoes
Wilson Tennis Shoes
Asic Shoes
Ballet Flat Shoes
Bear Feet Shoes
Brand Name Shoes
Bridesmaids Shoes
Cheap Running Shoes
Converse Women's Shoes
Large Size Shoes
Name Brand Shoes
Pageant Shoes
Plantar Fasciitis Shoes
Salsa Dance Shoes
Shoe Carnival Shoes
Swing Dance Shoes
Vans Classic Slip On Shoes
Women's Wide Shoes
Yellowbox Shoes
Aerosoles Women's Shoes
Af1 Shoes
And 1 Shoes
Bcbg Girl Shoes
Clarke Shoes
Crocodile Shoes
Customized Shoes
Es Skate Shoes
Haflinger Shoes
Keen Women's Shoes
Manolo Shoes
Most Comfortable Shoes
Ninewest Shoes
Prada Men Shoes
Steven Shoes
Stilettos Shoes
Vera Wang Shoes
Bite Golf Shoes
Boy Shoes
Wallabee Shoes
Rockport Men's Shoes
Tom Shoes
Silver Prom Shoes
Brooks Men's Adrenaline Gts 7 Running Shoe
Brown's Shoes
Running Women's Shoes
Sugar Women's Shoes
School Shoes
Girls Athletic Shoes
Homecoming Shoes
Cheap Vans Shoes
Discount Dance Shoes
L Amour Shoes
Aerosol Shoes
Bloch Dance Shoes
Discount Dansko Shoes
Footjoy Shoes

โดยทั่วไปแล้ว
โลกมัก จารึกนามของนักประดิษฐ์ผู้ประสบความสำเร็จจากการสร้าง สิ่งประดิษฐ์
ที่ มีคุณูปการแก่โลก แต่กระนั้น ประวัติศาสตร์ก็ยังมี
พื้นที่ให้นัก ประดิษฐ์ บางท่านรวมถึงนักวิทยาศาสตร์ที่โลก
ยกย่องเพื่อให้เราร่วมกัน จดจำ และรำลึก ถึงท่านเหล่านั้นในอีก มุมหนึ่ง
นั่นก็คือในฐานะที่ผลงาน การประดิษฐ์คิดค้นปลิดชีวิตของพวกเขา



ในโลกนี้มีนักประดิษฐ์มากมายที่ทำ งานไม่สำเร็จ แม้บางคนจะทำงานสำเร็จ
แต่ ก็ต้องเสียชีวิตไปเนื่องจากสิ่งที่ตนคิดค้นขึ้น อาจจะเป็นโดยอุบัติเหตุ
โดย ความบังเอิญ โดยความไม่รู้ถึงโทษภัย
หรือโดยความตั้งใจเดิมพันด้วยชีวิต ก็ตาม แต่ พวกเขาจากเราไปแล้ว
ทิ้งชื่อเสียงเรียงนาม และผลงานให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และต่อยอด
มาดูกันว่าบุคคลเหล่านี้ เป็นใครกันบ้าง และมีผลงานอะไร
ที่นำไปสู่การสิ้นชีพของพวกเขา



เฮนรี วินสแตนลีย์


ชาย ผู้สร้างประภาคารท่านนี้ถือเป็น “บุคคลฟ้าประทานแห่งศตวรรษที่ 17”
ซึ่ง เป็นยุคแห่งการประดิษฐ์ เป็นยุคเริ่มต้นของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่
ซึ่ง เป็นยุคเดียวกับนิวตันและเครื่องจักรไอน้ำ

เฮนรี
วิ นสแตนลีย์ เกิดที่แซฟฟรอน วอลเดน, เอสเซ็ก เข้ารับศีลจุ่มเมื่อวันที่ 31
มีนาคม ค.ศ. 1644 บิดาของเขาเป็นผู้ดูแลที่ดินให้เอิร์ลแห่งซัฟโฟล์ก
เจ้าของ อัดลีย์เอนด์ เฮาส์ ใน ค.ศ. 1652
เฮนรีซึ่งอยู่ในวัยเด็กก็ทำงานที่อัด ลีย์เอนด์ในตำแหน่งคนเฝ้าประตู
จากนั้นก็ได้เป็นเลขานุการ
วิ นสแตนลีย์มีความสนใจในวิชาแกะ
สลักหลังจากเยือนยุโรปในช่วง ค.ศ.1669-1674 หลังจากนั้นสองปีคือ ค.ศ. 1676
เขาก็ลงมือออกแบบและทำงาน แกะสลักงานสถาปัตยกรรมที่ อัดลีย์เอนด์
ซึ่งใช้เวลานานถึงสิบปีกว่าจะ เสร็จสมบูรณ์
และสถานที่นั้นก็กลายเป็นคฤหาสน์ขุนนางหลังแรกๆ ที่แกะสลักอย่างสวยงาม
นอกจากนี้ เขายังออกแบบไพ่ ซึ่งปรากฏว่าได้รับความนิยม
ระหว่างนี้วินสแตนลีย์ก็ยังคงทำงานเสมียน ที่ อัดลีย์เอนด์
โดยรับช่วงงานมาจากพ่อของเขาจนถึง ค.ศ. 1701


วินสแตนลีย์นั้นมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในเอสเซ็ก
เนื่องจากเขา ประดิษฐ์อุปกรณ์ทั้งแบบกลและและไฮดรอลิกได้อย่างน่าทึ่ง
เขาสร้างบ้าน ไว้ที่ลิตเติลบิวรีซึ่งมีแต่กลไกแปลกประหลาดที่ออกแบบและก่อ
สร้างเอง บ้านหลังนี้กลายเป็น “บ้านมหัศจรรย์แห่งเอสเซ็ก”
ซึ่งเป็นสถานที่ท่อง เที่ยวอันสำคัญ ในช่วงทศวรรษ 1690
เขาเปิดโรงมหรสพธาราคณิตศาสตร์ (Mathematical Water Theatre)
ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “การแสดงน้ำของ วินสแตนลีย์แห่งพิคะดีลดี
ลอนดอน” นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมที่นี่จะได้ชมการแสดงดอกไม้ไฟ
น้ำพุที่พุ่ง ไม่หยุด มนุษย์กล กลไกฉลาด รวมทั้ง “ถังมหัศจรรย์”
ที่คอยเสิร์ฟเครื่อง ดื่มร้อนเย็นให้แก่ผู้มาเยี่ยมชม
บ้านหลังนี้สร้างรายได้อย่างงามให้แก่ วินสแตนลีย์


เมื่อวินสแตนลีย์ร่ำรวยขึ้น ก็ลงทุนในกิจการเรือสินค้า
เขาเป็นเจ้าของเรือสินค้าถึงห้าลำ
แต่ เรือสินค้าสองลำก็ต้องอับปางลงเมื่อชนกันหินโสโครกเอดดีสโตน
ใกล้กับพลี มัท
ก่อนหน้านี้ก็มีเรือสินค้าล่มเป็นประจำโดยที่ไม่มีใครคิดทำอะไรให้ ดีขึ้น
ทำให้วินสแตนลีย์ตัดสินใจที่จะสร้างประภาคารขึ้นที่นั่นด้วยตัว ของเขาเอง
โดยได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมอาชีพ


การ ก่อสร้างเริ่มต้นในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1696
เป็นหอคอยรูปแปดเหลี่ยม ใช้หินแกรนิตจากมณฑลคอร์นวอลล์และไม้
มีการประดับตกแต่งเป็นศิลปะแบบโร โคโค ซึ่งเต็มไปด้วยสีสันและมีความประณีต
และมีห้องกระโจม ไฟ ซึ่งจุดเทียนให้แสงสว่าง
ประ--ภาคารนี้ยึดกับก้อนหินด้วยเสาค้ำเหล็ก ขนาดใหญ่จำนวน 12 ต้น
เดือนมิถุนายนปีถัดมา เกิดสงครามระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส
ทหารเรือต้องส่งกำลังมาคุ้มครองการ ก่อสร้าง
แต่สุดท้ายก็ถูกทหารฝรั่งเศสโจมตี และวินสแตนลีย์ถูกจับตัวไป
แต่ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14
แห่งฝรั่งเศสมีพระบรมราชโองการให้ปล่อยตัววิ นสแตนลีย์ทันที
พร้อมกับรับสั่งว่า “ประเทศฝรั่งเศสทำสงครามกับอังกฤษ ไม่ได้ทำสงครามกับ
มนุษยชาติ”
จาก นั้นวินสแตนลีย์ก็ทำงานก่อสร้างประภาคารของเขาต่อไปจนกระทั่งแล้วเสร็จใน
เดือน พฤศจิกายน ค.ศ. 1698


หลังจากก่อสร้างเสร็จก็เข้าสู่ฤดู หนาวที่ทำให้ตัวประภาคารเสียหาย
แสงจากประภาคารก็ขมุกขมัว จึงต้องมี การบูรณะกันใหม่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ
โดยขยายประภาคารให้ใหญ่ขึ้น และมีการประดับตกแต่งมากขึ้น
หลังจากเสร็จสมบูรณ์ และใช้งานในช่วงห้าปี
ก็ปรากฏว่าไม่มีเรือสินค้าลำใดต้องอับปางลงที่บริเวณแนวหินโสโครกเอดดี สโตน
อีกเลย


วินสแตนลีย์ได้รับชื่อเสียงและความ เชื่อถือเป็นอย่างมาก
เขามีความปรารถนาจะอยู่ในประภาคารในระหว่างที่ เกิดพายุใหญ่
และในที่สุดความปรารถนาของเขาก็เป็นจริงในคืนวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1703
เกิดพายุใหญ่ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 8,000 คน
รวม ทั้งสร้างความเสียหายต่างๆ วินสแตนลีย์ไป ที่ประภาคารเพื่อทำการซ่อมแซม
พายุ พัดจนประภาคารพัง รวมถึงจบชีวิตของผู้สร้างมันขึ้น
มีการสร้างประภาคาร ขึ้นใหม่แทนที่ประภาคารเก่าที่พัง หลังแรกเป็นไม้
ต่อมาเป็นคอนกรีต ปัจจุบันประภาคาร เอดดีสโตน เป็นประภาคารหลังที่ห้า
ลักษณะหอคอยดูขึง ขัง สร้างจากคอนกรีต ทาสี เหลืองอ่อน สร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ.
1882 ความสูง 180 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล




คาวเพอร์ ฟิปปส์ โคลส์


กัปตันเรือแห่งราชนาวี อังกฤษและนักประดิษฐ์ป้อมปืนติดเรือรบ
ซึ่งจบชีวิตลงพร้อมกับเรือรบติด ป้อมปืนที่เขาออกแบบ
คาวเพอร์
ฟิปปส์ โคลส์ (ค.ศ. 1819-7 กันยายน ค.ศ. 1870)
เข้าทำงานในราชนาวีอังกฤษตั้งแต่อายุ 11 ปี วันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1846
เมื่ออายุ 27 ปี ก็ได้เลื่อนยศเป็นนายเรือโท
โคลส์ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักเนื่องจากการประดิษฐ์
เรือปืนที่ออกแบบใหม่ให้ มีป้อมปืนที่หมุนได้ และมีชัยต่อข้าศึกใน
สงครามไครเมีย ในวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ.1854
ก็ได้รับการเลื่อนยศเป็นนาวาโท

ใน ค.ศ. 1856
โคลส์ได้เป็นกัปตันเรือ
รวมถึงออกแบบเรือที่มีป้อมปืน พร้อมทั้งจดสิทธิบัตรการออกแบบไว้ด้วย ซึ่ง
กระทรวงกองทัพเรือของอังกฤษ ก็เห็นดีเกี่ยวกับการประดิษฐ์ป้อมปืนบนเรือ
แต่ไม่ยอมรับการออกแบบเรือ ของเขา เนื่องจากเห็นว่าไม่สามารถทำได้จริง
ในที่สุดโคลส์ก็ได้รับ อนุญาตให้ออกแบบเฉพาะป้อมปืนบนเรือเท่านั้น


แต่ในที่สุดก็มีการสร้างเรือ HMS Caption ที่โคลส์เป็นผู้ดูแลโครงการ
ซึ่ง ออกแบบเรือให้ตัวเรือโผล่พ้นน้ำเพียง 2.4 เมตร
แต่การออกแบบที่ผิดพลาด ทำให้ลำเรือจมลงไปจาก เดิมอีก 35 เซนติเมตร
ตัวเรือมีใบเรือชุดใหญ่และ เสาเรือสูงที่สุด เมื่อสร้างเสร็จในเดือนมกราคม
ค.ศ. 1870 การลองแล่นเรือครั้งแรกประสบความสำเร็จ
เดือนสิงหาคมปีเดียวกันมีการ แล่นเรืออีกครั้งโดยมีโคลส์อยู่บนเรือด้วย
ในเวลานั้นสภาพอากาศไม่ค่อย ดี เรือต้องเจอกับพายุลมแรงที่คาดเดาไม่ได้
นั่นเป็นตัวบ่งชี้ว่า ตัวเรืออาจพลิกคว่ำได้ง่าย
หากถูกลมพัดเอียงไปเพียงไม่กี่องศา เนื่องจากป้อมปืนที่ออกแบบติดตั้งบนเรือ
ทำให้จุดศูนย์กลางมวลของเรืออยู่ในตำแหน่งที่สูง
ด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำ ให้เรือล่ม เมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1870
ซึ่งโคลส์และลูกเรือก็จบ ชีวิตลงพร้อมกัน




อเล็กซาน เดอร์ บ็อกดานอฟ

นักคิด
นักปฏิวัติทางการ เมือง
ความคิดของเขาเป็นต้นธารความคิดของวิชาไซเบอร์เนติกส์
แต่สุด ท้ายก็จบชีวิตลงเนื่องจากการทดลองถ่ายเลือด

อเล็กซานเดอร์ บ็อกดานอฟ นามเดิม Alyaksandr Malinouski เกิดเมื่อวันที่ 22
สิงหาคม (นับแบบเดิมจะตรงกับวันที่ 11 มีนาคม) ค.ศ. 1873
ที่เมืองหลวงของจักร วรรดิ์ รัสเซีย (ปัจจุบันคือเบลารุส)
บ็อกดานอฟมีความเก่งกาจและสนใจใน หลายเรื่อง
ช่วงต้นของชีวิตบุตรชายของครูในชนบท
คนนี้ศึกษาวิชาแพทย ศาสตร์และจิตเวชศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยมอสโก
ขณะเรียนแพทย์ก็ถูกจับหลาย ครั้งเนื่องจากเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง
ช่วงที่อยู่ในเรือนจำก็ศึกษา เรื่องทางปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์
(การต่อสู้ทางการเมืองเป็นเหตุ ให้เขาต้องใช้ชื่อปลอมหลายชื่อ รวมทั้งชื่อ
บ็อกดานอฟ ซึ่งหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในรัสเซีย
ก็ใช้ชื่อนี้มาตลอด) บ็อกดานอฟเข้าร่วมในคณะบอลเชวิกเมื่อ ค.ศ. 1903 (พ.ศ.
2466) ซึ่งภายในหกปี เขาก็มีความสำคัญอันดับสองรองจาก เลนิน
มีผลงานตีพิมพ์ ด้านปรัชญาลัทธิมาร์กซ
ซึ่งมีอิทธิพลต่อนักทฤษฎีลัทธิมาร์กซในยุโรปหลาย ท่าน


ต่อมาเกิดความขัดแย้งระหว่างบ็อกดานอฟกับเลนินจน ถึงขั้นที่ไม่สามารถร่วมงาน
ได้อีกต่อไป เขาลี้ภัยการเมืองไปอยู่ยุโรป ก่อนจะกลับเข้ารัสเซียอีกครั้งใน
ค.ศ. 1914 (พ.ศ. 2457)
ซึ่ง ระหว่างที่อยู่ยุโรปก็มีผลงานศึกษาเปรียบเทียบระหว่างเศรษฐ--
ศาสตร์และ กำลังทหารของชาติยุโรป
ซึ่งถือเป็นการบูรณาการเอาการวิเคราะห์ระบบเข้า มาใช้เป็นครั้งแรก
ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1913-22 (พ.ศ. 2456-65)
บ็อกดา นอฟหมกมุ่นอยู่กับการเขียนแนวคิด Tectology : Universal Organization
Science ซึ่งเกี่ยวกับแนวคิดพื้นฐานต่างๆ ของการวิเคราะห์ระบบ
ซึ่งต่อ มาเป็นต้นธารความคิดของวิชาไซเบอร์เนติกส์ ช่วง ค.ศ. 1918-20 (พ.ศ.
2461-63) หลังจากเป็นศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยมอสโก
เขาก็ยังคง บรรยายและผลิตงานเขียนด้านการเมือง
เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมของชนชั้นคน งานอย่างแท้
ซึ่งทำให้เขาต้องถูกปลดออกจากทุกตำแหน่ง

นอกจากเป็น
นักคิดและนักเคลื่อนไหวทางการเมืองแล้ว
บ็อกดานอฟในฐานะ แพทย์ก็ยังคงสนใจศึกษาสิ่งใหม่ในทางการแพทย์ด้วย
และนี่คือสาเหตุที่ทำ ให้เขาต้องจบชีวิตลง

ค.ศ. 1924 (พ.ศ.
2467) บ็อกดานอฟ เริ่มทดลองถ่ายเลือด
เขามองว่าการถ่ายเลือดไม่ใช่แค่การรักษาโรคเท่า นั้น
แต่ยังเป็นตัวกระตุ้นเลือดใหม่จะสร้างความอ่อนเยาว์ให้ร่างกาย ในการนี้มี
มาเรีย ยูเลียโนวา
น้องสาวของเลนินเป็นหนึ่งในอาสาสมัคร ที่เข้ารับการทดลองถ่ายเลือดด้วย
รวมทั้งบ็อกดานอฟก็ทดลองกับตนเอง หลังจากถ่ายเลือดได้ 11 ครั้ง
เขาแสดงความคิดเห็นในเชิงพึงพอใจว่า สายตาของเขาดีขึ้น
อาการศีรษะล้านก็ชะลอลง อาการอื่นๆ ก็เป็นไปในทางที่ดี เลโอนิด กราซิม
หนึ่งในคณะทำงานเล่าไว้ว่า “บ็อกดานอฟดูเป็นหนุ่มขึ้น 7-10 ปี” ในช่วง ค.ศ.
1925 (พ.ศ. 2468-9) บ็อกดานอฟก่อตั้งสถาบันโลหิตวิทยาและการถ่ายเลือดขึ้น
ซึ่งต่อมาภายหลัง ก็เปลี่ยนชื่อตามนามของเขา แต่ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1928
(พ.ศ. 2471) บ็อกดานอฟก็เสียชีวิตหลังจากการทดลองถ่ายเลือด
โดยได้รับเลือดจากนัก เรียนคนหนึ่งที่มีเชื้อมาลาเรียและวัณโรค นัก
วิชาการบางท่านให้ความ เห็นว่า อาจเป็นการตั้งใจฆ่าตัวตายของบ็อกดานอฟเอง
ส่วนความเห็นจากคน อื่นๆ ระบุว่า อาจเป็นไปได้ว่าเกิดภาวะเลือดเข้ากันไม่ได้
ซึ่งในสมัยนั้นความรู้ทาง ด้านนี้เกี่ยวกับเลือดยังมีไม่มากนัก




มา รี กูรี




ยอดนักวิทยาศาสตร์ หญิงท่านนี้จากไปเพราะภัยกัมมันตรังสีที่เธอพากเพียรศึกษา

มาดามกูรี (7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1867-4 กรกฎาคม ค.ศ. 1934)
เป็นนักฟิสิกส์ และนักเคมีชาวโปแลนด์ ซึ่งเปลี่ยนสัญชาติเป็นฝรั่งเศส
เธอเป็นผู้ บุกเบิกในสาขาวิชากัมมันตรังสี
และเป็นบุคคลแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลถึง สองครั้งในสาขาฟิสิกส์และสาขาเคมี
ตามลำดับ
และถือเป็นผู้หญิงคนแรก ที่ได้ตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยปารีสอีก
ด้วย แต่ในท้ายที่สุดก็จบชีวิตลงจากผลงานการค้นพบของเธอนั่นเอง


มารี สโกโดวสกา กูรี เกิดที่กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์
ในวัยเด็กได้รับ การศึกษาจากโรงเรียนในท้องถิ่น และได้รับ
การฝึกฝนทางด้านวิทยาศาสตร์ จากบิดา จนกระทั่งอายุ 24 ปี ค.ศ. 1891
เธอจึงย้ายตามพี่สาวมาเรียนต่อ ที่ปารีส
ซึ่งเธอก็ได้เรียนต่อและทำวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่นั่น มารีพบกับ ปีแอร์
กูรี ซึ่งเป็นศาสตร์ตราจารย์ของภาควิชาฟิสิกส์ ทั้งคู่แต่งงาน กันใน
ค.ศ.1895 การวิจัยในช่วงแรกๆ ของมาดามกูรีและสามีนั้น
มักจะทำภายใต้สภาวะที่ยากลำบาก ห้องปฏิบัติการขาดแคลนทุน
ต้องหารายได้จากการสอนมาเลี้ยงชีพ แต่ก็ไม่ทำให้เธอย่อท้อ
ยังสร้างผลงานที่ทรง คุณค่าออกมามากมาย
มาดาม กูรีและสามีได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์พร้อมกันจากผลงานการศึกษาการ
แผ่ รังสีอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับรางวัลร่วมกับ เบกเคอเรล ค.ศ 1906 (พ.ศ.
2449) เมื่อ ปีแอร์ กูรี เสียชีวิต
เธอก็เข้ารับตำแหน่งศาสตราจารย์ฟิสิกส์ ทั่วไปที่คณะวิทยาศาสตร์แทน สามี
นับเป็นผู้หญิงคนแรกที่ก้าวขึ้นสู่ ตำแหน่งดังกล่าว ใน ค.ศ. 1911 (พ.ศ.
2454) ก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีซึ่งเป็นผลงานเกี่ยวกับกัมมันตภาพ
บุตรสาว และบุตรเขยของเธอก็ทำวิจัย จนได้รับรางวัลโนเบลด้วยเช่นกัน


ผลงานของมาดามกูรีนั้นมีทั้งการสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับกัมมันตรังสี
เทคนิค การแยกไอโซโทปของสารกัมมันตรังสี การค้นพบธาตุใหม่สองชนิด
คือพอโลเนียม และเรเดียม
และโดยแนวทางที่เธอศึกษาก็มีการใช้ไอโซโทปของกัมมันตรังสีมา รักษาโรคมะเร็ง
เป็นครั้งแรกของโลก
ผลงานของมาดามกูรีนั้นเป็นที่ ยกย่องจากนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก
เธอได้รับรางวัลต่างๆ มากมายทั้งในทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และกฎหมาย


มาดามกูรีเสียชีวิตในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 (พ.ศ. 2477) ที่ปารีส
จาก อาการโรคโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดไม่เจริญ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่า
เกิด จากการได้รับรังสี ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่ทราบว่าเป็นอันตราย
ผลงานของเธอ ส่วนใหญ่ก็เก็บไว้ในที่เก็บซึ่งไม่มีการตรวจวัดปริมาณรังสี
มาดามกูรีก็ มักจะนำหลอดทดลองใส่สารกัมมันตรังสีไว้ในกระเป๋า
หรือไม่ก็เก็บไว้ที่ ลิ้นชักโต๊ะ
สารกัมมันตรังสีเหล่านี้ก็ส่งแสงเรืองสีเขียวแกมน้ำเงินใน ความมืด
มีการตรวจวัดปริมาณรังสีในรายงานการทดลองของมาดามกูรีที่ทำใน ช่วงทศวรรษ
1890 พบว่า รายงานเหล่านั้นปนเปื้อนรังสีในระดับอันตราย
แม้ แต่ตำราอาหารก็ปนเปื้อนกัมมันตรังสี
จึงต้องเก็บเอกสารเหล่านี้ไว้ใน กล่องตะกั่ว ใคร ที่อยากจะศึกษาผลงานต่างๆ
ของเธอก็ต้องใส่ชุดป้องกัน รังสีอย่างดี




คาเรล ซูเซ็ก

เขาบอกว่าเขาเป็น
“ผู้ กล้าคนสุด ท้ายแห่งไนแองการา” ผู้เดิมพันความกล้าด้วยชีวิตของตนเอง

คาเรล ซูเซ็ก เป็นนักแสดงผาดโผน อายุ 37 ปี จากแฮมิลตัน ออนแทริโอ
ก่อน หน้านี้ เขาเป็นนักแสดงผาดโผน เช่น ขี่จักรยานยนต์ข้ามรถยนต์ เป็นต้น
ซู เซ็กเสียชีวิตจากการแสดงผาดโผนเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2528


วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 ซูเซ็กประดิษฐ์ถังทรงกระบอกความสูง 2.7 เมตร
เส้น ผ่านศูนย์กลาง 1.5 เมตร ตัวถังหุ้มไฟเบอร์กลาส ปิดหัวท้ายด้วยโฟมเหลว
ติด ตั้งหน้ากากช่วยหายใจ และมีช่องเล็กสำหรับมองออกด้านนอก ตัวถังสีแดง
ที่ ข้างถังเขียนว่า “ผู้กล้าคนสุดท้ายแห่งไนแองการา”
เขาเข้าไปอยู่ในถัง นั้น จากนั้นก็ให้ทีมงานกลิ้งถังลงมาจากความสูงประมาณ
305 เมตร ลงไปยังแอ่งน้ำตกเกือกม้า (Horseshoe Waterfall) เขาใช้เวลาเพียง
3.2 วินาที แต่หลังจากนั้นถังยังคงอยู่ในกระแสน้ำอันเชี่ยวกรากเป็นเวลา 45
นาที จึงกู้ถังขึ้นมาได้ ซูเซ็กออกจากถังในสภาพบาดเจ็บเล็กน้อย
หลังจากนั้น เขาก็สร้างพิพิธภัณฑ์เล็กๆ ขึ้นที่บริเวณน้ำตกไนแองการา
จัดแสดงของใช้ ในการแสดงผาดโผน

หกเดือนต่อมา ในวันที่ 19
มกราคม พ.ศ. 2528 ซูเซ็กจัดการแสดงผาดโผนอีกรอบ
คราวนี้จัดการแสดงที่แอสโตรโดม เท็กซัส ซูเซ็กเข้าไปอยู่ในถัง
แล้วปล่อยถังลงมาจากระดับความสูงเกือบ 59 เมตร
โดยถังจะตกลงเหนือแทงก์น้ำขนาดใหญ่ แต่ก็เกิดข้อผิดพลาดในการปล่อยถัง
ทำให้ถังหมุน และตกลงกระแทกขอบแทงก์น้ำแทนที่จะตกลงตรงๆ ในน้ำ
ซูเซ็กบาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตในวันถัดมา




ฟรองซ์ แรเชลต์


ในยุคของสิ่งประดิษฐ์เกี่ยวกับ การเหาะเหินเดินอากาศ
ก็ต้องบันทึกชื่อฟรองซ์ แรเชลต์ไว้ในประวัติศาสตร์แห่งการ ประดิษฐ์ชุดชูชีพ
แต่ชื่อนี้ต้องแลกมาด้วยชีวิต

ฟรองซ์ แรเชลต์ (ค.ศ
.1879-4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912) ผู้ประดิษฐ์ชุดชูชีพ
เป็นที่รู้จักเนื่องจากเขา เสียชีวิตจาก
การทดสอบชุดที่เขาออกแบบขึ้นมาเองขณะทดสอบชุดโดยกระโดดจาก หอไอเฟล
ตัวแรเชลต์นั้นมีความสนใจที่
จะพัฒนาชุดของคนขับเครื่องบิน ให้เปลี่ยนไปเป็นร่มชูชีพ ได้ หากเครื่องบินตก
ตัวนักบินก็จะรอด การทดลองครั้งแรกๆ นั้น
แรเชลต์ทดลองกับหุ่นโดยทิ้งหุ่นลงมาจากชั้น
ห้า ของอพาร์ตเมนต์ที่เขาอาศัยอยู่ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จด้วยดี
แต่เขาก็ ไม่ประสบความสำเร็จอีกเลยในการออกแบบชุดในรุ่นต่อๆ มา


แรเชลต์เชื่อว่าเขาไม่มีสถานที่ที่สูงพอที่จะใช้ทดสอบ
จึงยังไม่ประสบ ความสำเร็จเสียที เขาจึงทำเรื่องขออนุญาตจากทางการตำรวจปารีส
เพื่อทำการทดลองที่หอไอเฟล
ในที่สุดเขาก็ได้รับอนุมัติให้ทำการทดลองใน ช่วงต้น ค.ศ 1912 (พ.ศ. 2455)
และในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ วันทำการ ทดลอง
เขาก็ตัดสินใจสวมชุดและทดสอบด้วยตนเอง แทนที่จะใช้หุ่น
ในวันนั้น มีสื่อมวลชนมาทำข่าว และมีประชาชนมาเฝ้าดูกันอย่างหนาแน่น
แม้เพื่อนๆ และผู้มาชมจะห้ามไม่ให้เขาทำการทดสอบ แต่ก็ไม่สำเร็จ
แรเชลต์กระโดดลง จากแท่นทดสอบแท่นแรกของหอไอเฟล ที่ระดับความสูง 60 เมตร
ปรากฏว่าชุด ชูชีพไม่กาง ร่างแรเชลต์กระแทกพื้นอย่างจัง เขาเสียชีวิตทันที
วันต่อมา หนังสือพิมพ์ต่างพากันลงข่าว เรื่องราวของนักประดิษฐ์ผู้บุ่มบ่าม
ผู้ เสียชีวิตจากผลงานของตนเอง




ออตโต ลิเลียนทาล





วิศวกรชาวเยอรมัน
ผู้ เป็นอีกความพยายามหนึ่งในประวัติศาสตร์การบิน
เขาบินสู่ท้องฟ้าได้ด้วย เครื่องร่อนที่ประดิษฐ์ขึ้น
เก็บเกี่ยวความรู้สึกของการล่องลอย อยู่กลาง อากาศ โดย ปราศจากเครื่องยนต์


ออตโต ลิเลียนทาล
นับ เป็นนักประดิษฐ์ที่มีบทบาทอย่างยิ่งในการพัฒนาการบินที่หนักกว่าอากาศ
ลิ เลียนทาลประสบความสำเร็จในการร่อนไปในอากาศกว่า 2,000 ครั้ง จาก ค.ศ.
1891-6 โดยเครื่องร่อนที่แตกต่างกันถึง 16 แบบ


ในการประดิษฐ์ เครื่องร่อนนั้นลิเลียนทาลศึกษาข้อมูล
อย่างละเอียดเกี่ยวกับการบินของ นก โดยเฉพาะนกกระสา และใช้ polar diagram
มาอธิบายหลักการอากาศพลศาสตร์ ของปีก
เขาทำการทดลองหลายต่อหลายครั้งเพื่อ เก็บข้อมูล
เกี่ยวกับ การบินที่เชื่อถือได้ ทั้งหมดบันทึกไว้ในหนังสือชื่อ Birdflight
as the Basis for Aviation ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1889
ซึ่งเน้นว่าความโค้งของ ปีกนกนี่เองที่เป็นความลับของการยก ตัว
หนังสือของลิเลียนทาลมี อิทธิพลอย่างยิ่งต่อการออกแบบ ทางการบิน
และถือเป็นคัมภีร์แห่งการออก แบบเครื่องบินของ
พี่น้องตระกูลไรท์และนักออกแบบเครื่อง บินยุคแรก
แม้ ข้อมูลของลิเลียนทาลจะไม่ถูกต้องทั้งหมดก็ตาม


เครื่อง ร่อนของลิเลียนทาล
นั้นควบคุมด้วยการเปลี่ยนตำแหน่งจุด ศูนย์ถ่วงโดยการ ขยับตำแหน่งร่างกาย เช่น
เดียวกับเครื่องร่อนในปัจจุบัน
แต่มันก็ ยากในการควบคุมและมักจะถลำไปข้างหน้า เหตุผลหนึ่งก็คือ
เครื่องร่อนของ ลิเลียนทาลติดอยู่ที่ไหล่ มีเพียงส่วน
ขาและร่างกายช่วงล่างเท่านั้นที่ เคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ
ไม่เหมือนกับเครื่องร่อนปัจจุบัน
จึงเป็น เหตุให้มีข้อจำกัดเรื่องการถ่ายน้ำหนักที่ทำได้น้อย


ลิเลียนทาลพยายามแก้ปัญหานี้เพื่อเพิ่มเสถียรภาพ
โดยประสบความสำเร็จ มากบ้างน้อยบ้าง เช่น
การทำเครื่องร่อนสองปีกเพื่อเพิ่ม พื้นที่ของปีก ติดส่วนหางให้เป็นแบบบานพับ
เพื่อยกตัวเครื่องได้ง่ายขึ้น ลิเลียนทาลคิดว่า
การที่นกกระพือปีกอาจมีส่วนช่วยในการ บิน เขาจึงคิดประดิษฐ์เครื่องร่อนที่
มีเครื่องยนต์ขึ้น

ในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1896
ลิเลียนทาลพร้อม จะทดสอบการบินที่มีเครื่องยนต์
โดยสร้างเครื่องร่อนที่กระพือปีกได้ โดยอาศัยพลังงานจากมอเตอร์เล็กๆ
ที่เกิดจากการอัดก๊าซ คาร์บอนิกทดสอบการบินตามปกติ
เครื่องร่อนของเขาสูญเสียการทรงตัว ร่วงลงพื้นจากความสูง 17 เมตร
ลิเลียนทาลกระดูกหลังหัก และเสียชีวิตในวันถัดมา





ทอมัส มิดจ์ลีย์ จูเนียร์


นักเคมีผู้ค้นพบ สาร เคมีที่นำมาทำประโยชน์ แต่เกิดโทษในท้ายที่สุด
แต่สิ่งที่ทำให้ เขาเสีย ชีวิตกลับเป็นกลไกช่วยชีวิตที่เขาประดิษฐ์ขึ้น

ทอมัส มิดจ์ลีย์ จูเนียร์ เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1889
เขาจบการ ศึกษาจากมหาวิทยาลัยคอร์แนลล์ในค.ศ. 1911 (พ.ศ. 2454)
จากนั้นไปทำงาน ที่บริษัทเดลโก ในเดย์ตัน โอไฮโอ ค.ศ. 1916 (พ.ศ. 2459)
มิดจ์ลีย์ได้ รับมอบหมายให้หาวิธีการกำจัดเสียงน็อกที่เกิดขึ้นในเครื่องยนต์
หลังจาก ทำวิจัยอยู่หลายปี มิดจ์ลีย์ค้นพบว่า การเติมเตตระเอทิลเลด
(สาร ตะกั่ว) ลงในน้ำมันจะกำจัดเสียงน็อกของเครื่องยนต์ได้
แต่ก็โชคร้าย ที่ว่าตะกั่วทำให้เกิดตะกอนมาเกาะที่วาล์วของเครื่องยนต์
ทำให้เครื่อง หยุดเดินได้
มิดจ์ลีย์จึงเติม เอทิลีนไดโบรไมด์ลงไปยังเครื่องยนต์เอทิล
ซึ่ง จะป้องกันการเกิดตะกอนตะกั่วได้


แต่การเติมตะกั่ว ลงใน น้ำมันก็ทำให้เกิดการปลดปล่อยตะกั่วสู่บรรยากาศ
ทำให้เกิดปัญหา สุขภาพไป ทั่วโลก
ตัวมิดจ์ลีย์เอง ก็ต้องหยุดพักยาวเพื่อรักษาตัวจากการได้รับพิษ ตะกั่ว


ใน ค.ศ. 1924 (พ.ศ. 2467) มีการสร้างโรงงานผลิต
เตตระเอทิลเลดโดย วิธีอุณหภูมิสูง ซึ่งมีอันตรายอย่างยิ่ง
เพียงสองเดือนที่ โรงงานเริ่มการผลิต ก็มีผู้เสียชีวิตเพราะพิษตะกั่ว
มิดจ์ลีย์เองก็ สาธิตการดมเตตระเอทิลเล ดในการแถลงข่าว
เพื่อแสดงให้เห็น ว่าสารเคมีนี้ไม่มีอันตราย
แต่หลัง จากนั้นเขาก็ต้องพักยาวไปอีกเกือบปี
เพื่อรักษาตัวจาก พิษตะกั่วที่ได้ จากการสูดดมสารเคมีในคราวนั้น


ค.ศ. 1930 (พ.ศ. 2473)
มิดจ์ลีย์ ได้รับการว่าจ้างจากเจเนอรัลมอเตอร์เพื่อพัฒนาสารทำความเย็นที่ไม่
มีพิษ และปลอดภัยสำหรับใช้กับเครื่องใช้ในบ้าน
เขาค้นพบสารไดคลอ โรไดฟลูออโร มีเทน ซึ่งเรียกว่า ฟรีออน
สารนี้เข้ามาใช้ แทนสารพิษระเบิดง่ายที่ใช้ใน ปั๊มและตู้เย็น นอกจากนี้ยัง
ใช้เป็นสารขับดัน ในกระป๋องสเปรย์ ยาพ่นรักษาหอบหืด และอื่นๆ
ซึ่งมิดจ์ลีย์ได้ รับรางวัลเหรียญเพอร์กินจาก ผลงานนี้ ในค.ศ. 1937 (พ.ศ.
2480) ด้วย นอกจากนี้เขายังได้รับรางวัลต่างๆ อีกหลายรางวัล
รวมทั้งเป็นผู้ บริหาร สมาคมเคมีแห่งสหรัฐอเมริกาด้วย


แต่โชคร้ายที่ใน ค.ศ. 1941 (พ.ศ. 2484) ขณะอายุได้ 51 ปี
มิดจ์ลีย์ป่วย เป็นโปลิโอ ทำให้เขากลายเป็นผู้พิการ
นี่เป็นเหตุให้ เขาคิดประดิษฐ์ระบบเชือกและรอก ที่จะช่วยยกตัวเขาออกจากเตียง
แต่ระบบที่เขา ประดิษฐ์ขึ้นมาก็ทำให้เขา เสียชีวิต
เนื่องจากเชือก เข้ามาพันตัวเขาจนทำให้หายใจไม่ออกและเสีย ชีวิตในที่สุด
สิริรวมอายุได้ 55 ปี ผลงานตลอดชีวิตของเขามีการจดสิทธิบัตรไว้ถึง 170
เรื่อง โดยเรื่องของน้ำมันเอทิล
และสารคลอโร ฟลูออโรคาร์บอนที่ใช้เป็นสารทำความ เย็น
เป็นสิ่งประดิษฐ์ ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด





วิลเลียม บุลล็อก


ผู้ประดิษฐ์ กระบวนการพิมพ์แบบ โรตารีซึ่งป้อนกระดาษแบบม้วน
ถือเป็นการ ปฏิวัติอุตสาหกรรมการพิมพ์ให้ เร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เปิดศักราชการ พิมพ์หนังสือพิมพ์ให้ พิมพ์จากกระดาษม้วน ป้อนกระดาษต่อเนื่อง
และพิมพ์ได้ทั้ง สองหน้า แต่ก็ต้องจบชีวิตเนื่องจากผลงานของตนเอง


วิลเลียม บุลล็อก (ค.ศ. 1813-12 เมษายน ค.ศ. 1867) เกิดที่กรีนวิลล์
รัฐนิวยอร์ก บุลล็อกเป็นเด็กกำพร้าตั้งแต่อายุยังน้อย
แต่ก็ได้พี่ชาย เลี้ยงดู
วัย เด็กเขาทำงานกับพี่ชายในตำแหน่งคนดูแลเครื่องจักรและช่างหล่อเหล็ก
บุ ลล็อกเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือ ทำให้เขาได้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องกลต่างๆ
มากมาย เมื่ออายุได้ 21 ปี เขาเปิดร้านขายเครื่องจักรที่จอร์เจีย
แต่ ก็ล้มเหลว


บุลล็อกย้ายกลับ มาที่นิวยอร์กหลังจากแต่งงาน มีครอบครัว
ที่นี่เขายังคงทำ งานออกแบบเครื่องจักร เช่น เครื่องอัดฝ้าย/หญ้าแห้ง
เครื่องหยอดเมล็ด พืช เครื่องกลึงตัด นอกจากนี้
เขายังประดิษฐ์ สว่านเจาะเมล็ด
ซึ่งเป็นผลงานที่ ได้รับรางวัลจาก สถาบันแฟรงกลินเมื่อ ค.ศ. 1849
หลังจากนั้นไม่ นานบุลล็อกก็ก้าวเข้าสู่ โลกของหนังสือพิมพ์
(คงเป็นเพราะเขา ชอบอ่านหนังสือ)
และเริ่มต้นทำ งานเป็นบรรณาธิการให้หนังสือพิมพ์ฟิลาเดลเฟียที่ชื่อ The
Banner of the Union

ค.ศ. 1853
บุลล็อกเริ่มทำ งานกับเครื่องพิมพ์ไม้ ที่มีที่ป้อนกระดาษได้เอง
ซึ่งเป็นแนวคิด เบื้องต้นสำหรับการพัฒนาการ พิมพ์ของเขา
เจ็ดปีต่อมาบุ ลล็อกย้ายไปพิตส์เบิร์ก ขณะนั้น ริชาร์ด มาร์ช โฮ
ประดิษฐ์ระบบการ พิมพ์แบบโรตารีสำหรับกระดาษม้วนเป็นผลสำเร็จ
แต่ ผลงานบุลล็อกก็เหนือกว่าผลงานของโฮ
โดยรองรับกระดาษ ม้วนใหญ่อย่างต่อ เนื่องโดยอัตโนมัติ
ไม่ต้องมีคนมาคอย ป้อนกระดาษเหมือนการพิมพ์สมัยเก่า
เครื่อง พิมพ์ก็ปรับได้เอง พิมพ์ได้ทั้งสองหน้า พับกระดาษได้ และ
ใบมีดฟัน เลื่อยที่คมทำให้ไม่ต้องลับบ่อยก็ตัดกระดาษอย่างแม่นยำ
เครื่องพิมพ์นี้ พิมพ์ได้ 12,000 แผ่นภายในเวลาหนึ่งชั่วโมง
การปรับปรุงต่อมา ก็เพิ่ม ความเร็วได้ถึง 30,000 แผ่นต่อชั่วโมง


แต่สุดท้ายบุลล็อกประสบอุบัติเหตุเนื่องจากสิ่งประดิษฐ์ของเขาเอง ในวันที่
3 เมษายน ค.ศ. 1867
ขณะที่กำลัง จัดการปรับแต่งเครื่องพิมพ์ใหญ่ที่ เพิ่งติดตั้ง
บุลล็อกพยายามเตะ สายพานที่กำลังหมุนให้เข้าที่
ขาของ เขาโดนเบียดและติดอยู่กับเครื่อง
หลังจากนั้นสอง สามวันก็มีอาการเนื้อ ตาย ในวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1867
เขาก็เสียชีวิต ระหว่างการผ่าตัดขา นั่นเอง





เจ.จี. พาร์รี-ทอมัส
วิศวกรชาวเวลส์ และนักขับรถแข่ง
ผู้เคยครองสถิติ เร็ว ที่สุดในสนามแข่ง
เขาเป็นนักขับรถ แข่งคนแรกที่เสียชีวิตจากอาชีพขับรถ แข่ง
จอห์น
กอดเฟรย์ พาร์รี-ทอมัส (6 เมษายน ค.ศ. 1884 - 3 มีนาคม ค.ศ. 1927)
เป็นบุตรของนัก บวช เกิดที่เร็กซ์แฮม
พาร์รี-ทอ มัสมีความหลงใหลในวิชาวิศวกรรม
และศึกษาด้านนี้ ที่วิทยาลัยในลอนดอน
หลัง จากทำงานมาหลายอย่างก็มาเป็นหัวหน้าวิศวกรที่เลย์แลนด์มอเตอร์ส
ซึ่ง ผลิตรถยนต์หรูราคาแพง หน้าที่อย่างหนึ่งของเขาก็คือ
ทดลองขับรถยนต์ หรู คันนี้ที่ความเร็ว 160
กิโลเมตรต่อ ชั่วโมงก่อนส่งมอบให้ลูกค้า
ประสบการณ์ เช่นนี้ทำให้เขาลาออกจากงาน และก้าวมาเป็นนักขับรถแข่ง เต็มตัว


พาร์รี-ทอมัสใช้ชีวิตเรียบง่ายอยู่ในกระท่อมใกล้สนามแข่ง
ซึ่งในการขับ รถแข่งของเขาก็ประสบความสำเร็จโดยชนะการแข่งขัน 38
ครั้งในห้าฤดูกาล และสร้างสถิติต่างๆ ไว้มากมาย

ค.ศ. 1925
(พ.ศ. 2468)
พา ร์รี-ทอมัสมุ่งความสนใจไปการขับรถแข่งเพื่อทำลายสถิติเพียงอย่างเดียวเท่า
นั้น เขาลงมือสร้างรถแข่งขึ้นเองเพื่อไว้สร้างสถิติทำความเร็วสูงสุด
ปีต่อ มา รถยนต์ที่ชื่อ แบบส์ ก็เสร็จเรียบร้อย ทำสถิติ 273 กิโลเมตร
ต่อ ชั่วโมง
สถิตินี้ยืนอยู่ นานเกือบปีกว่าจะมีนักขับรถแข่งรายอื่นมาโค่น สถิติลงได้
ซึ่งพาร์รี-ทอมัส
ก็ยังคงต้องพัฒนา และปรับปรุงรถแข่งของ เขาอยู่สม่ำเสมอจนกระทั่งในเดือน
มีนาคม ค.ศ. 1927 (พ.ศ. 2470) ซึ่งจะมีการทดสอบสถิติความเร็วกันใหม่
ที่ริมชายหาดเพ็น ดีนแซนด์ เมื่อรถเริ่มออกตัวก็ลื่นไถล
หมุนคว้างตีลังกา หลายตลบ และมุ่งหน้าไปยังทะเล
โดยที่พาร์รี-ทอ มัสยังคงอยู่ในรถ
ตัวรถเกิดไฟ ไหม้ทำให้เจ้าหน้าที่คนอื่นไม่อาจช่วยเขาออกมาได้
ศพของเขาถูก ประกอบ พิธีฝัง ส่วนเจ้าแบบส์ ก็ถูกฝังไว้ที่ชายหาดนั่นเอง
สี่สิบปีต่อมามี การ ขุดซากแบบส์ขึ้นมา และใช้เวลาอีก 15
ปีจึงจะนำมาจัด แสดงในพิพิธภัณฑ์ แห่งความเร็วที่เพ็นดีน


Free TextEditor

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ