วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553







พระ คาถาชินบัญชร
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )



กำเนิดพระคาถาชินบัญชร


กำเนิดพระคาถาชิน บัญชร เรียบเรียงโดยคุณปัญญานี้

ได้คัดลอกมาจากหนังสือ พระคาถาชินบัญชร

เมื่อ ครั้งนั้น สมเด็จ (โต) ได้มีโอกาสเดิทางไปยัง จังหวัดกำแพงเพชร ท่านได้เดินทางไปที่วัดเก่าแห่งหนึ่งซึ่งมีกรุโบราณ ที่นั่นท่านได้พบคัมภีร์โบราณผูกหนึ่งฝังอยู่ในเจดีย์หัก สมเด็จจึงนำคัมภีร์ผูกนั้นมาเก็บไว้ที่กุฏิ ขณะนั้นสมเด็จ (โต) ท่านมีจิตดำริที่จะสร้างพระเครื่องเพื่อมอบให้แก่เจ้าปิยะ (ร.5) หรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นสมบัติในยุคสมัยครองราชย์ ระหว่างครุ่นคิดสมเด็จ (โต) ท่านก็ได้จำวัดหลับไป

ในคืนนั้นราวๆประมาณตี 3 สมเด็จ (โต) ได้นิมิตว่าท่านได้ตื่นขึ้น เห็นชายหนุ่มรูปงามรูปหนึ่งมายืนอยู่ที่หัวนอนในชุดนุ่งขาวห่มขาว มีรูปลักษณ์งดงามหาที่ติมิได้เลย สมเด็จ(โต) ท่านก็มองขึ้นตามกำหนดของจิต ทราบว่าหนุ่มรูปงามนี้คงจะไม่ใช่มนุษย์อย่างแน่นอน

สมเด็จ (โต) จึงถามว่า "ท่านผู้เจริญ การที่อาตมาได้มีโอกาสชมท่านนับว่าเป็นขวัญตาเหลือเกิน ท่านมาในสถานที่แห่งนี้ มีสิ่งใดที่อาตมาปฏิบัติผิดพลาดในหลักพระพุทธศาสนาเล่า ? ขอให้ท่านจงประสาทประทานการสอนให้อาตมาแจ่มแจ้งในพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าเถิด"

ชายหนุ่มผู้นั้นจึงกล่าวขึ้นด้วยคำพูดที่เย็นกังวาน "ท่านโต วิธีการที่ท่านดำเนินงานอยู่นี้คล้ายกับองค์สมณะโคดมอยู่ แต่การที่ท่านคิดจะสร้างพระให้เป็นสิ่งที่ระลึกของมนุษย์นั้น สร้างแล้วสิ่งนั้นจะต้องดี ท่านโตเชื่อในเรื่องวิญญาณ เพราะฉะนั้นควรจะปฏิบัติตามกฏของโลกวิญญาณ คือวิธีการตั้งให้ถูกหลักการในการปลุกเสก"

สมเด็จ(โต) ท่านจึงกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ขรัวโตนี้รับฟังความคิดเห็นของทุกคนหากแม้นท่านโปรดข้านี้ ขอได้โปรดบอกมาเถิด จะด่าว่าตักเตือนเราก็ไม่ว่า"

หนุ่มรูปงามผู้มี ความสงบแลดูเป็นที่เลื่อมใส จึงได้แนะวิธีการต่างๆในเรื่องทิศทางว่าทิศใดเป็นทิศมงคล ในการวาง เทียน ธูป ดอกไม้ เทียนชัย ให้ตรงตามหลักของกฏระเบียบแห่งโลกวิญญาณ เรียกว่าเทวบัญญัติ หรือพรหมบัญญัติ
ระหว่างนั้นสมเด็จ (โต) ยังคุมสติสัมปชัญญะอยู่ทุกเมื่อ จึงได้ถามหนุ่มรูปงามนั้นว่า

"ท่านผู้รูปงามท่านนี้มีนามว่ากระไรหรอ?"

"หม่อมฉันนี้คือลูกศิษย์ องค์พระโมคคัลลานะ หม่อมฉันสำเร็จเป็นอรหันต์เมื่ออายุ 7 ขวบ แต่ด้วยทิ้งสังขารก่อนอายุขัยจึงมิได้สู่แดนอรหันต์ คงยังอยู่ในแดนพรหมโลก เพราะหม่อมฉันไม่อยากติดสตรีมิชอบสตรี เพราะสตรีทำลายพรหมจารีย์ของหม่อมฉัน หม่อมฉันจึงทิ้งสังขารก่อนอายุขัย ทางโลกวิญญาณถือว่าสิ้นก่อนอายุขัย จึงอยู่รูปพรหม ถ้าท่านโตต้องการปรึกษาจากหม่อมฉัน ก็จงระลึกถึงชินนะบัญจะระ" มานพหนุ่มรูปงามกล่าวต่อสมเด็จ (โต) อย่างสำรวม

ต่อ มาไม่ว่าสมเด็จ (โต) จะทำงานสิ่งใด

จึงมักระลึกถึงท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระทีไร ท่านก็ปรากฎร่างทันที

ช่วยเหลือสมเด็จ (โต) ประกอบพิธีต่างๆ

จึงทำให้เครื่องรางของขลังของสมเด็จ (โต) มีความศักดิ์สิทธิ์มาก

สมเด็จ (โต) ท่านปลุกเสกพระสมเด็จรุ่นสุดท้าย 84,000 องค์ เรียกว่าสมเด็จอิทธิเจ ท่านได้แปลคาถาจากคัมภีร์ ซึ่งท่านพบจากกรุวัดที่กำแพงเพชร ซึ่งคัมภีร์นั้นเขียนด้วยภาษาสิงหลได้ความบ้าง มิได้ความบ้าง จับใจความได้ว่าเป็นชื่ออรหันต์แปดสิบองค์ จึงได้ตัดต่อแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อง่ายต่อการสวด จึงแปลใหม่ได้ความว่า "คาถาชินบัญชร" ซึ่งตรงกับชื่อท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระ สมเด็จ (โต) ท่านจึงถือคาถาบทนี้เป็นการเทิดทูนท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระ ที่ท่านได้ช่วยเหลือตลอดมา และพระคาถาบทนี้เป็นบทสวดในการนั่งปลุกเสกพระอิทธิเจรุ่นสุดท้าย ซึ่งสมเด็จ (โต) ท่านนั่งปลุกเสกอยู่เพียงผู้เดียว





ส่วนบทความนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่ง

คาถาชินบัญชร?

นิตยสารศิลปวัฒนธรรมเคยตอบคำถาม เรื่องคาถาชินบัญชรไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2530 ในบทความชื่อ "ประวัติคาถาชินบัญชร" โดยคัดย่อจากหนังสือ "ประวัติคาถาชินบัญชร" ของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ขณะมีสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร

โดยสมเด็จพระสังฆราชฯ ได้ทรงเขียนคำอธิบายไว้ว่า "คาถาชินบัญชรนี้ นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ได้เคยนำมาขอให้แปลเพื่อพิมพ์ในหนังสือประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหมฺรํสี) ครั้งหนึ่งเมื่อนานปีมาแล้ว แต่ก็ยังสงสัยในถ้อยคำและประโยคหลายแห่ง เพราะไม่อาจจับความได้ ทั้งเมื่อได้พบหลายฉบับจากหลายสำนักเข้า ก็ได้พบคำที่ผิดเพี้ยนบ้างเกือบทุกฉบับ ไม่อาจตัดสินได้ว่าที่ถูกเป็นอย่างไร ได้เคยนึกสงสัยมานานแล้วว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯได้เรียบเรียงขึ้นเอง หรือได้ต้นฉบับมาจากไหน

เมื่อ ไม่นานมานี้ ได้มีผู้นำหนังสือมาเล่มหนึ่ง เป็นหนังสือขนาดเล็กพิมพ์ในประเทศศรีลังกา ชื่อหนังสือ The Mirror of the Dhamma (กระจกธรรม) โดยพระนารทมหาเถระและพระกัสสปเถระ ฉบับที่ได้มานี้พิมพ์เมื่อ พ.ศ.2504 (ของลังกา ตรงกับ พ.ศ. 2503) ค.ศ.1961...


(ซ้าย) หนังสือสำหรับสวดพระปริตต์ ชื่อว่าปิรุวาณาโปตวะหันเส (กลาง) เทพนาถะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับคาถาชินบัญชร (ขวา) ศิลปวัฒนธรรม เดือนมีนาคม 2552

เมื่อได้อ่านชินบัญชรใน หนังสือนี้แล้ว ก็ได้พบคำและประโยคที่เคยสงสัยในฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ซึ่งจับความได้หายข้องใจ จึงได้คิดว่าจะคัดฉบับลังกามาพิมพ์เพื่อผู้ที่ต้องการทราบจะได้อ่านพิจารณา และคิดปรับปรุงฉบับที่สวดกันในเมืองไทย อนุวัตร ฉบับลังกาเฉพาะที่เห็นว่าสมควรจะปรับปรุงด้วย

ทั้งสองฉบับนี้ เมื่อเทียบกันแล้วก็รู้สึกว่า ต้นฉบับเดิมนั้นเป็นอันเดียวกันแน่..."



ชิน บัญชรไทย-(ศรี) ลังกา

นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนมีนาคมนี้ นำเสนอเรื่องเกี่ยวกับคาถาชินบัญชรอีกครั้ง ในบทความชื่อ "เล่าเรื่องเมือง (ศรี) ลังกา คาถาชินบัญชรมาจากไหน?" โดยลังกากุมาร-ผู้เขียนชาวไทยที่ไปศึกษาอยู่ที่ประเทศศรีลังกา โดยระบุว่าคาถานี้มีกำเนิดจากลังกา

การกำเนิดขึ้นของชินบัญชรคาถามี ผลสืบทอดต่อมาจากการสวดปริตต์-การสวดเพื่อดับทุกข์เข็ญของประเทศชาติประชาชน โดยเริ่มครั้งแรกในสมัยอาณาจักรอนุราธปุระตอนกลาง ตรงกับสมัยพระเจ้าอุปติสสะที่ 1 (พ.ศ.908-949) ในสมัยนั้นการสวดปริตต์เป็นที่นิยมแพร่หลาย คณะพระเถระได้แต่งคัมภีร์สำหรับสวดปริตต์โดยรวบรวมพระสูตรจากพระไตรปิฎก ที่เหมาะสมจะเป็นบทสวดเรียกว่า "จตุภาณวารบาลี"

ในยุคอาณาจักรต่อมา การสวดปริตต์เป็นที่นิยมสูงสุด โดยเฉพาะประเพณีสวดพระปริตต์ตลอดคืนจนถึงเช้า ขณะที่เนื้อหาในพระสูตรจำนวน 22 บท ที่กำหนดไว้ในคัมภีร์คงไม่เพียงพอกับเวลาอันยาวนาน จึงเพิ่มพระสูตรขึ้นให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่สวด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ "มหาชินปัญชระ" บทสวดว่าด้วยการเชิญพระพุทธเจ้าทั้งปวงและพระมหาสาวกมาประดิษฐานทั่ว สรรพางค์กาย นิยมสวดเพื่อคุ้มครองป้องกันภยันตราย



ที่มา ชินบัญชร

แต่ก็ยังไม่สามารถระบุชัดเจนได้ว่า คาถาชินบัญชรเกิดมีขึ้นยุคใด นักปราชญ์ส่วนใหญ่ต่างมีข้อสันนิษฐานที่แตกต่างกัน หากแต่ละท่านเห็นสอดคล้องกันว่าคาถาชินบัญชรได้รับคติความเชื่อมาจากลัทธิ มหายานแบบตันตระ ส่วนผู้เขียน (ลังกากุมาร) อธิบายเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียดในบทความค้นคว้าชิ้นนี้ของท่าน

นอก จากจะเปรียบเทียบคาถาชินบัญชรฉบับลังกากับฉบับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)

อย่างคำต่อคำ บทต่อบทแล้ว ผู้เขียนยังได้เสนอคาถาจุลชินบัญชรไว้สำหรับผู้สนใจด้วย

ฤทธานุภาพ และพุทธานุภาพ ของพระคาถาชินบัญชร เป็นไปตามเหตุปัจจัยของสภาพแวดล้อม

และคติความเชื่อของสังคมพุทธนั้นๆ เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้


จากhttp://www.dhammakid.com






พระคาถานี้มีอนุภาพ ศักดิ์สิทธิ์มาก ผู้ใดสวดมนต์หรือภาวนาอยู่เป็นประจำ

ไม่ว่าจะ กิน เดิน นั่งนอน หรือภาวนาแม้ยามอาบน้ำ แปรงฟัน หรือทำงาน

จะมีอนุภาพดังนี้ คือ



1. หากสวดมนต์อย่างน้อยวันละ 3 จบ อานุภาพจะคุ้มครองผู้นั้นไป 1 วัน กับ 1 คืน

2. เวลานั่งรถ เรือ หรือขับขี่รถ หรือเดินทาง ให้นึกภาวนาไปในใจ จะทำให้คลาดแคล้ว ปลอดภัยจากอุบัติเหตุทั้งปวงได้ชงัดนักเคยพ้นมามากต่อมากแล้ว
3.ผู้สวด มนต์ พระคาถานี้เป็นประจำ จะเป็นเสน่ห์มงคลด้วยประการทั้งปวง ไม่ว่าท่านจะอยู่ในเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างใด ให้ภาวนาจะปลอดภัย แม้คนถูกกระทำของใส่คุณ หากเรารู้ตัวแล้วภาวนามิได้ขาด รับรองได้ว่าเขาทำอะไรเราไม่ได้เลย

4. หากภาวนาประจำมิได้ขาดเลยเรามักมีอะไรพิเศษ เช่น อาจฝันรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า หากนอนแล้วภาวนาจนกระทั่งหลับ (ในใจ) คืนนั้นจะนอนหลับสบายเป็นพิเศษ ตื่นขึ้นมาจะมีความสุขปลอดโปร่งแจ่มใสเป็นพิเศษ บางทีกลางคืนจะมีอะไรดีๆ มาสอนเราด้วย

5. ผู้ที่มีอำนาจสมาธิจิตสูง สามารถจะภาวนาพระคาถานี้ ทำน้ำมนต์รักษาโรคบางชนิด ที่แพทย์ปัจจุบันรักษาไม่หายให้หายได้

6. ใครเจ็บไข้อยู่หากมีคนอื่น (แม้มิใช่ญาติ) บนบานกล่าวว่าจะสวดมนต์ให้ร้อยเที่ยว ห้าร้อยเที่ยว หรือหนึ่งพันเที่ยว ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรเขามักจะหายป่วยจริงๆ (เคยทดลองมาแล้วแม้คนต่างศาสนากัน) หากผู้เจ็บป่วยที่นอนรักษาตัวอยู่ที่ไหนก็แล้วแต่หากภาวนาพระคาถานี้อยู่ เรื่อยๆจะทำให้เขาหายป่วยเร็วขึ้น มากจนน่าแปลกใจ

7. ผู้ประกอบอาชีพต่างๆ หากยามว่างให้ภาวนาพระคาถาบทนี้จะทำให้อาชีพดีขึ้น เช่น ค้าขายดีขึ้นแม้ปลูกพืช ปลูกผักผลผลิตจะดีขึ้นหรือรายได้ดีขึ้น เด็กๆ นักเรียนหากสวดมนต์บทนี้ได้และสวดประจำบ่อยๆ หรือทุกคืนก่อนนอน จะเรียนเก่ง จำดีอย่างแน่นอนรับรอง

8. ผู้สวดมนต์พระคาถาบทนี้เป็นประจำแล้ว ประกอบอาชีพสุจริตไปด้วย จะทำให้ลดวิบากกรรมตัวเองให้เบาลงกว่าที่จะได้รับจริง หากกุศลส่งก็จะหนุนให้กุศลส่งแรงขึ้น หากใช้ไปนานชั่วชีวิตจะประสบสุขตามกุศลแน่นอน

9. เมื่อร่วมกันสวดอธิษฐานพร้อมๆ กันหลายคน หรือเวลาเดียวกัน จะมีอานุภาพบริสุทธิ์แผ่ออกไปกว้างไพศาลมากทำให้ผู้สวดก็ดี สถานที่บริเวณก็ดี รวมไปถึงประเทศชาติจะได้เจริญ และรอดพ้นจากภัยพิบัติทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นแก่ประเทศ เราได้ ทำให้ประเทศเราเด่นดังในที่สุดได้

(อานุภาพของพระคาถายังมีอีกมาก หากทุกท่านหมั่นสวดมนต์ภาวนา ความเจริญ ความเมตตา หากินคล่องก็จะอยู่กับท่าน)






ผู้ใดได้สวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรนี้เป็น ประจำอยู่สม่ำเสมอ จะทำให้เกิดความสิริมงคลสมบูรณ์พูนผล ศัตรูหมู่พาลไม่กล้ำกราย ไปทางใดย่อมเกิดเมตตามหานิยม เกิดลาภผลพูนทวี ขจัดภัยจากภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสยต่างๆ ทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริตแก้สรรพโรคภัยหายสิ้น เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนา ดังคำโบราณว่า "ฝอยท่วมหลังช้าง" จะเดินทางไปที่ใดๆ สวด 10 จบ แล้วอธิษฐานจะสำเร็จสมดังใจ


ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงสมเด็จโตและตั้งคำอธิษฐานแล้วเริ่มสวดคาถาชินบัญชร

ตั้ง นโม 3 จบ


นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ระลึกถึงสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แล้วตั้งอธิษฐาน


ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง

อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ


เริ่มบทพระคาถาชินบัญชร


ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง

จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.

ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา

สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.

สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน

สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.

หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ

โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.

ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล

กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.

เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร

นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว

กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก

โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร.

ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี

เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.

เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา

เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง

ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง

ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง

อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา

ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา

วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.

อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา

วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล

สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.

อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข

ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.

ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรนี้เป็นประจำสม่ำเสมอ
จะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม
ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ คาถาชินบัญชร ดีนักแล






http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=icyiceberg&group=7&page=3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ