เสริมแคลเซียม ด้วยอาหารไทย
ในบรรดาแร่ธาตุที่ประกอบขึ้นเป็นร่างกายของคนเรา ‘แคลเซียม’
ทั้งนี้กระดูกเป็นแหล่งสะสมของแคลเซียม แต่ถ้าแคลเซียมในของเหลวและเนื้อเยื่อลดปริมาณลง แคลเซียมในกระดูกซึ่งเสมือนเป็นคลังสำรองก็จะถูกดึงออกมาใช้
ในช่วงของการเจริญเติบโตเนื้อกระดูกจะมีอัตราการสร้างมากกว่าการทำลาย แต่เมื่อก้าวสู่ช่วงวัย 40 ปีอัพ อัตราการทำลายจะเพิ่มสูงกว่า กระดูกจะสูญเสียความแข็งแรงและความหนาแน่นอย่างมากในช่วงใกล้หมดประจำเดือน และเมื่อเสียแคลเซียมนานติดต่อกันเป็น 10-20 ปี จะส่งผลให้สตรีวัยหมดประจำเดือน รวมทั้งผู้สูงอายุ มีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุน เสี่ยงต่อการเกิดอาการกระดูกหักได้ง่าย
ผู้ใหญ่อายุตั้งแต่20 ปีขึ้นไป และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ควรได้รับแคลเซียมวันละ 800 มิลลิกรัม ส่วนหญิงตั้งครรภ์และใหนมบุตรควรได้รับแคลเซียมวันละ 1,200 มิลลิกรัม
การบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมสูงให้ได้อย่างน้อยร้องละ75 ของแคลเซียมที่ควรได้รับใน 1 วัน จะเป็นการช่วยเพิ่มแคลเซียมให้กับร่างกาย และช่วยป้องกันการดึงแคลเซียมจากกระดูกไปใช้ แหล่งแคลเซียมที่เรารับรู้กันดี อีกทั้งเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดูดซึมได้ดีด้วย ได้แก่ นม การดื่มนม 1 กล่อง (ขนาด 250 ซีซี) จะทำให้ได้รับแคลเซียม 300 มิลลิกรัม ดังนั้นการดื่มนมวันละ 2 กล่องเล็ก (400 ซีซี) จะทำให้ได้แคลเซียมถึง 2 ใน 3 ที่ร่างกายต้องการต่อวัน
‘อาหารไทย’ นับเป็นแหล่งอันอุดมของแคลเซียมด้วยเช่นกัน วันนี้ เราจะลองมาไล่เรียงเมนูน่ารับประทาน เพื่อเป็นการเสริมแคลเซียมแบบเอร็ดอร่อย อาทิ
น้ำพริกกะปิ-ปลาทู
น้ำพริกปราร้า : ปลาร้ามีแคลเซียมสูงพอๆ กับกะปิ กินแล้วรับรองว่าฟันและกระดูกจะแข็งแรง แถมมีวิตามินบี 2 ที่ช่วยป้องกันปากนกกระจอก
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiJcy1AqINzuMv6ytlIJZPUN1XV3ddo3644QUf-xLSm5Rmtpwy87Drk8baE1JdtA1ZiDh-nsWBwHbSbDw3FX2uR4kokziD1VRu3bAzNnkihRZMwTesNcfRxu3vxiE1zL4g1dzuCPr2ieLI/s400/%E0%B8%A2%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2.jpg)
ยำยอดคะน้า,ยำผักกระเฉด : ผักคะน้าและผักกระเฉดเป็นผักที่มีธาตุแคลเซียมสูง และดูดซึมได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับผักชนิดอื่น การกินผักเหล่านี้แต่ละครั้งจะทำให้ได้แคลเซียมประมาณ 50-90 มิลลิกรัม และเมื่อกินในรูปแบบของอาหารที่มีความเป็นกรดอ่อนๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำพริก ยำ แกงส้ม หรือเมี่ยง จะช่วยให้แคลเซียมละลายและดูดซึมได้ดี
แกงส้มผักกระเฉด,แกงส้มดอกแค, แกงส้มผักรวม : ผักกระเฉด และดอกแค ให้แคลเซียมสูง และยังมีเส้นใยอาหาร ช่วยให้การขับถ่ายของร่างกายเป็นปกติ ส่วนผสมของน้ำพริกแกงส้ม ประกอบด้วย พริกแห้งและหอมแดง ช่วยขับลม
ลาบเต้าหู้ทรงเครื่อง,แกงจืดเต้าหู้, ผัดเต้าหู้กับถั่วงอก
มีข้อมูลด้วยว่าแคลเซียมร้อยละ 30-80 ถูกดูดซึมที่ลำไส้ส่วนต้น โดยอาศัยปัจจัยสำคัญได้แก่ ‘วิตามินดี’ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้แคลเซียมผ่านลำไส้ได้ดีขึ้นและเร่งการเกาะของเกลือ แคลเซียมในกระดูก ซึ่งหมายถึงการสะสมของแคลเซียม ดังนั้น การขาดวิตามินดีก็จะมีผลเป็นการขาดตัวกระตุ้นการดูดซึมแคลเซียม
รวมทั้งการบริโภคอาหารที่มี ‘ไขมัน’ สูงมากๆ ก็จะเป็นเหตุให้ไขมันไปรวมกับแคลเซียมเกิดเป็นสารที่ไม่ละลายจึงไม่ถูกดูดซึมด้วยเช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
อารายเหรอ