"พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ"
โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
ตึกพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ
เดี๋ยวนี้กล้องถ่ายรูปมักจะเป็นของติดกระเป๋าของใครหลายๆ คนไปแล้ว ใครไม่มีกล้องต้องถือว่าเชย เพราะกล้องดิจิตอลสมัยนี้ราคาไม่แพงมากแถมยังตัวเล็กพกพาสะดวก ถ่ายปุ๊บเห็นรูปปั๊บ ไม่ชอบใจก็ลบทิ้งถ่ายใหม่ เสร็จแล้วโหลดลงคอมพิวเตอร์ ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ยังใช้กล้องฟิล์มกัน ฟิล์มม้วนละเป็นร้อยบาท จะถ่ายเล่นพร่ำเพรื่อก็ต้องคิดกันหน่อย มักจะได้งัดเอาออกมาใช้ก็เฉพาะตอนมีงานพิเศษ หรือไปเที่ยวไหนต่อไหน ไม่ได้เอาไว้ถ่ายเล่นทุกสถานการณ์เหมือนกล้องดิจิตอลทุกวันนี้
การเกิดของกล้องดิจิตอล ทำให้กล้องฟิล์มชักจะกลายเป็นของไม่จำเป็นเข้าไปทุกที ฉันจึงอยากจะพาไปย้อนอดีตกล้องฟิล์มกันอีกครั้งที่ "พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา" ที่ตั้งอยู่ในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีตึกพิพิธภัณฑ์มองเห็นได้ชัดเจน ที่ตึกนี้บนชั้น 3 ถือเป็นสวรรค์ของคนรักกล้องถ่ายรูปเลยก็ว่าได้ เพราะนอกจากจะได้ทราบถึงประวัติศาสตร์ของการถ่ายภาพแล้ว ก็ยังมีกล้องนานาชนิดที่หาชมได้ยากยิ่งอีกด้วย
และเพื่อให้ได้อรรถรสในการชม ฉันขอแนะนำให้มีเจ้าหน้าที่นำชมจะดีที่สุด เพราะเดินชมเองอาจจะไม่รู้เรื่องราวเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยสนุกสนาน ในวันนี้เจ้าหน้าที่พาฉันมารู้จักกับประวัติศาสตร์ของการถ่ายภาพในยุคก่อน ที่จะมีกล้องถ่ายภาพ ซึ่งยังต้องใช้กล้องรูเข็มในการบันทึกภาพ โดยหลักการก็คือ เมื่อเราปล่อยให้ลำแสงผ่านเข้าไปทางรูเล็กๆ ในห้องมืด แล้วใช้กระดาษสีขาวเป็นตัวรับภาพ ภาพที่ได้จะเป็นภาพหัวกลับ และช่างถ่ายภาพก็จะร่างภาพด้วยมือตามรูปที่เห็นบนกระดาษนั้น ก่อนจะมีพัฒนาการต่อมาโดยการใช้กระดาษที่เคลือบด้วยสารไวแสง ทำให้สามารถบันทึกภาพลงบนกระดาษได้ทันที แต่ภาพที่ออกมาก็ยังไม่มีคุณภาพดีนัก อีกทั้งยังไม่คงสภาพเดิมเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ
ตู้จัดแสดงกล้องถ่ายรูปของในหลวง ร.5 และ ร.7 รวมทั้งกล้องของสมเด็จพระพี่นางเธอฯ
ที่นี่ฉันได้เห็นภาพถ่ายภาพแรกของโลกที่ถ่ายโดยชาวฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ.1826 เป็นภาพที่เขาถ่ายจากหน้าต่างบ้านตัวเองและใช้สารไวแสงฉาบลงบนแผ่นโลหะ ภาพนี้ใช้เวลาถ่ายนานถึง 8 ชั่วโมง โดยภาพที่ออกมาก็ยังเป็นภาพกระดำกระด่าง หากไม่เพ่งดีๆ ก็จะดูไม่ออก แต่เมื่อนำภาพนี้มาตั้งคอนทราสต์เสียใหม่ในปัจจุบัน ก็เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นภาพหลังคาบ้านเรือนต่างๆ ถือเป็นภาพประวัติศาสตร์ภาพหนึ่งของโลก
วิวัฒนาการของการถ่ายภาพยังมีมาอย่างต่อเนื่อง แต่ที่กระบวนการถ่ายภาพที่คนสมัยก่อนใช้กันมากที่สุดก็คือ "กระบวนการดาแกโรไทป์" ที่พัฒนาขึ้นโดยนายหลุยส์ แจคกัวส์ มันเด ดาแกร์ ชาวฝรั่งเศส ซึ่งรูปถ่ายที่เขาพัฒนาขึ้นนั้นมีความคมชัดมากขึ้น และสามารถคงตัวเป็นรูปอยู่ได้นานมากขึ้นอีกด้วย กระบวนการถ่ายรูปแบบดาแกโรไทป์นี้แพร่หลายไปทั้งในฝรั่งเศสและทั่วยุโรปไปจน ถึงอเมริกา และไม่กี่ปีต่อมาก็ได้ข้ามน้ำข้ามทะเลมาแพร่หลายในประเทศสยามด้วย
ตู้จัดแสดงกล้องโกดัก
โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
ตึกพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ
เดี๋ยวนี้กล้องถ่ายรูปมักจะเป็นของติดกระเป๋าของใครหลายๆ คนไปแล้ว ใครไม่มีกล้องต้องถือว่าเชย เพราะกล้องดิจิตอลสมัยนี้ราคาไม่แพงมากแถมยังตัวเล็กพกพาสะดวก ถ่ายปุ๊บเห็นรูปปั๊บ ไม่ชอบใจก็ลบทิ้งถ่ายใหม่ เสร็จแล้วโหลดลงคอมพิวเตอร์ ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ยังใช้กล้องฟิล์มกัน ฟิล์มม้วนละเป็นร้อยบาท จะถ่ายเล่นพร่ำเพรื่อก็ต้องคิดกันหน่อย มักจะได้งัดเอาออกมาใช้ก็เฉพาะตอนมีงานพิเศษ หรือไปเที่ยวไหนต่อไหน ไม่ได้เอาไว้ถ่ายเล่นทุกสถานการณ์เหมือนกล้องดิจิตอลทุกวันนี้
การเกิดของกล้องดิจิตอล ทำให้กล้องฟิล์มชักจะกลายเป็นของไม่จำเป็นเข้าไปทุกที ฉันจึงอยากจะพาไปย้อนอดีตกล้องฟิล์มกันอีกครั้งที่ "พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา" ที่ตั้งอยู่ในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีตึกพิพิธภัณฑ์มองเห็นได้ชัดเจน ที่ตึกนี้บนชั้น 3 ถือเป็นสวรรค์ของคนรักกล้องถ่ายรูปเลยก็ว่าได้ เพราะนอกจากจะได้ทราบถึงประวัติศาสตร์ของการถ่ายภาพแล้ว ก็ยังมีกล้องนานาชนิดที่หาชมได้ยากยิ่งอีกด้วย
และเพื่อให้ได้อรรถรสในการชม ฉันขอแนะนำให้มีเจ้าหน้าที่นำชมจะดีที่สุด เพราะเดินชมเองอาจจะไม่รู้เรื่องราวเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยสนุกสนาน ในวันนี้เจ้าหน้าที่พาฉันมารู้จักกับประวัติศาสตร์ของการถ่ายภาพในยุคก่อน ที่จะมีกล้องถ่ายภาพ ซึ่งยังต้องใช้กล้องรูเข็มในการบันทึกภาพ โดยหลักการก็คือ เมื่อเราปล่อยให้ลำแสงผ่านเข้าไปทางรูเล็กๆ ในห้องมืด แล้วใช้กระดาษสีขาวเป็นตัวรับภาพ ภาพที่ได้จะเป็นภาพหัวกลับ และช่างถ่ายภาพก็จะร่างภาพด้วยมือตามรูปที่เห็นบนกระดาษนั้น ก่อนจะมีพัฒนาการต่อมาโดยการใช้กระดาษที่เคลือบด้วยสารไวแสง ทำให้สามารถบันทึกภาพลงบนกระดาษได้ทันที แต่ภาพที่ออกมาก็ยังไม่มีคุณภาพดีนัก อีกทั้งยังไม่คงสภาพเดิมเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ
ตู้จัดแสดงกล้องถ่ายรูปของในหลวง ร.5 และ ร.7 รวมทั้งกล้องของสมเด็จพระพี่นางเธอฯ
ที่นี่ฉันได้เห็นภาพถ่ายภาพแรกของโลกที่ถ่ายโดยชาวฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ.1826 เป็นภาพที่เขาถ่ายจากหน้าต่างบ้านตัวเองและใช้สารไวแสงฉาบลงบนแผ่นโลหะ ภาพนี้ใช้เวลาถ่ายนานถึง 8 ชั่วโมง โดยภาพที่ออกมาก็ยังเป็นภาพกระดำกระด่าง หากไม่เพ่งดีๆ ก็จะดูไม่ออก แต่เมื่อนำภาพนี้มาตั้งคอนทราสต์เสียใหม่ในปัจจุบัน ก็เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นภาพหลังคาบ้านเรือนต่างๆ ถือเป็นภาพประวัติศาสตร์ภาพหนึ่งของโลก
วิวัฒนาการของการถ่ายภาพยังมีมาอย่างต่อเนื่อง แต่ที่กระบวนการถ่ายภาพที่คนสมัยก่อนใช้กันมากที่สุดก็คือ "กระบวนการดาแกโรไทป์" ที่พัฒนาขึ้นโดยนายหลุยส์ แจคกัวส์ มันเด ดาแกร์ ชาวฝรั่งเศส ซึ่งรูปถ่ายที่เขาพัฒนาขึ้นนั้นมีความคมชัดมากขึ้น และสามารถคงตัวเป็นรูปอยู่ได้นานมากขึ้นอีกด้วย กระบวนการถ่ายรูปแบบดาแกโรไทป์นี้แพร่หลายไปทั้งในฝรั่งเศสและทั่วยุโรปไปจน ถึงอเมริกา และไม่กี่ปีต่อมาก็ได้ข้ามน้ำข้ามทะเลมาแพร่หลายในประเทศสยามด้วย
ตู้จัดแสดงกล้องโกดัก
ในสมัย รัชกาลที่ 3 เป็นช่วงที่การถ่ายภาพเริ่มแพร่เข้ามา แต่ก็ยังไม่ได้รับความนิยมนักเนื่องจากยังติดความเชื่อที่ว่าการถ่ายรูปจะทำ ให้อายุสั้น แต่พอมาถึงในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงเปิดรับวิทยาการสมัยใหม่จากต่างประเทศเข้ามา หลายเรื่อง และเรื่องการถ่ายภาพก็เป็นเรื่องที่พระองค์โปรดเช่นกัน โดยได้ทรงฉายพระรูปส่งไปพระราชทานให้ประธานธิบดีของสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น ซึ่งปัจจุบันทางสหรัฐได้เก็บรักษาไว้อย่างดีที่พิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน และทางพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพฯ ก็ได้ไปขอก๊อปปี้พระบรมฉายาลักษณ์นั้นมาให้ชมกันอีกด้วย
ต่อมาในรัชกาลที่ 5 การถ่ายภาพก็ยิ่งได้รับความนิยมยิ่งขึ้นไปอีก พระองค์เองถึงกับรับสั่งให้มีการสร้างห้องมืด สั่งกล้องออบสคูร่า เพลท เคมีต่างๆ เข้ามาใช้ในราชสำนักมากมาย อีกทั้งพระองค์ยังทรงเป็นช่างภาพเอง ดังที่เราได้เห็นภาพถ่ายฝีพระหัตถ์หลายๆ รูป และรัชกาลที่ 7 ก็เป็นอีกพระองค์หนึ่งซึ่งสนพระทัยทั้งการถ่ายภาพ และการถ่ายภาพยนตร์ ความสนพระทัยของพระองค์นั้นมีมากขนาดที่ว่าทรงออกแบบแก้ไขกล้องถ่ายภาพเสีย ใหม่เพื่อให้ตรงตามพระราชประสงค์ของพระองค์เลยทีเดียว โดยภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็ได้มีกล้องถ่ายภาพส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ จัดแสดงไว้ให้ชมกันด้วย
กล้องฟิล์มตัวแรกของโลก
ต่อมาในรัชกาลที่ 5 การถ่ายภาพก็ยิ่งได้รับความนิยมยิ่งขึ้นไปอีก พระองค์เองถึงกับรับสั่งให้มีการสร้างห้องมืด สั่งกล้องออบสคูร่า เพลท เคมีต่างๆ เข้ามาใช้ในราชสำนักมากมาย อีกทั้งพระองค์ยังทรงเป็นช่างภาพเอง ดังที่เราได้เห็นภาพถ่ายฝีพระหัตถ์หลายๆ รูป และรัชกาลที่ 7 ก็เป็นอีกพระองค์หนึ่งซึ่งสนพระทัยทั้งการถ่ายภาพ และการถ่ายภาพยนตร์ ความสนพระทัยของพระองค์นั้นมีมากขนาดที่ว่าทรงออกแบบแก้ไขกล้องถ่ายภาพเสีย ใหม่เพื่อให้ตรงตามพระราชประสงค์ของพระองค์เลยทีเดียว โดยภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็ได้มีกล้องถ่ายภาพส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ จัดแสดงไว้ให้ชมกันด้วย
กล้องฟิล์มตัวแรกของโลก
| |
| |
ฉันฟังเจ้าหน้าที่เล่าถึงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการถ่ายภาพเสียเพลินจนมา หยุดอยู่ที่หน้าตู้จัดแสดงกล้องถ่ายภาพของ Kodak อันเป็นยุคเริ่มต้นของการถ่ายภาพด้วยฟิล์ม โดยกล้อง Kodak ของอเมริกา เป็นกล้องถ่ายรูปใช้ฟิล์มตัวแรกของโลก และกล้องตัวแรกของโลกนั้น ก็ตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้นั่นเอง!!
กล้องถ่ายรูปใช้ฟิล์มตัวแรกของโลกนี้เป็นแบบ Box Camera ดูๆไปก็คล้ายลำโพงขนาดเล็กสีดำ ไม่มีช่องมองภาพ ไม่มีชัตเตอร์ การถ่ายภาพก็คือการเปิดฝาให้แสงเข้าไปในกล้องและบันทึกลงบนฟิล์ม เวลาจะล้างฟิล์มก็ต้องยกกล้องทั้งตัวกลับไปที่ร้าน ทางร้านจะล้างฟิล์มให้และบรรจุฟิล์มม้วนใหม่ให้เจ้าของกล้องใช้ถ่ายกันต่อ
กล้องถ่ายรูป Leica กล้องที่ว่ากันว่าดีที่สุดในโลก
แค่ตาลุกยังไม่พอ คราวนี้ตากล้องต้องน้ำลายหกหากได้มายืนอยู่ตรงหน้าตู้จัดแสดงกล้อง Leica จากประเทศเยอรมัน ที่ถือว่าเป็นกล้องถ่ายรูปที่คุณภาพดีที่สุดในโลก ทั้งคุณภาพของเลนส์ ระบบแสง ระบบชัตเตอร์ กล้อง Leica ทำได้เหนือกว่ากล้องยี่ห้ออื่นๆ โดยสิ่งหนึ่งที่ทำให้ Leica เป็นกล้องถ่ายรูปคุณภาพสูงก็เพราะตัวเลนส์ทำมาจากแร่ควอร์ตซ์ที่มีความโปร่ง ใสต่อแสงอัลตร้าไวโอเลต และทำให้ภาพถ่ายมีความคมชัดสดใส และแน่นอนว่าราคาก็ย่อมแพงตามไปด้วย แต่ปัจจุบันกล้อง Leica ไม่ได้ใช้แร่ควอร์ตซ์ทำเลนส์กล้องทุกตัว แต่ก็ใช้กระจกคุณภาพสูงซึ่งทำให้ภาพออกมามีคุณภาพเช่นเดิม
Spy Camera กล้องเล็กจิ๋วสำหรับสายลับ
กล้องของทางฝั่งประเทศรัสเซียก็น่าสนใจ เพราะเป็นกล้องต้นแบบของกล้องโลโม่ที่กำลังฮิตในปัจจุบัน และยังมีกล้องอีกหลายยี่ห้อในโลกที่เคยผลิตขึ้นแต่ปัจจุบันไม่มีให้เห็นอีก แล้วก็มี
แต่กล้องที่ฉันชอบมากก็เห็นจะเป็นแบบ Fotosniper หรือกล้องที่ติดกับอุปกรณ์ช่วยถ่ายที่หน้าตาเหมือนปืนยาวเป็นที่สุด กล้องแบบนี้มักจะใช้กันในแถบประเทศรัสเซีย ตัวกล้องจะวางอยู่บนเครื่องมือที่หน้าตาคล้ายปืน แถมเวลากดชัตเตอร์ถ่ายภาพก็ยังต้องกดที่ไกปืน มีขาตั้งให้เรียบร้อยเพื่อกันการสั่นสะเทือน ผลพลอยได้ก็คือเอาไว้ข่มขวัญคนโดนถ่ายได้ดีทีเดียว
เลนส์ขนาดต่างๆ ที่ช่างภาพต้องอยากเป็นเจ้าของ
กล้องอีกแบบหนึ่งที่ถูกใจฉันเป็นหนักหนาก็คือ Spy Camera กล้องสายลับที่ใช้กันในช่วงสงครามเย็น กล้องเหล่านี้หน้าตาน่ารัก บางอันดูเหมือนเครื่องเล่น mp3 บางอันทำเป็นรูปยางลบก้อนเล็กๆ บ้างทำเป็นรูปซองบุหรี่ เป็นกล้องส่องทางไกล สารพัดจะทำเอาไว้หลอกล่อเพื่อสืบข้อมูลลับ เห็นเล็กๆแบบนี้แต่ก็เป็นกล้องฟิล์มที่ต้องใช้ฟิล์มชนิดพิเศษ ซึ่งราคาของกล้องสายลับนี้จะแพงกว่ากล้องธรรมดากว่า 3 เท่า และตัวฟิล์มขนาดพิเศษนั้นก็จะราคาแพงกว่าตัวกล้องอีก 3 เท่า คิดจะเป็นสายลับก็ต้องจ่ายแพงกว่าชาวบ้านเขาหน่อย
แฟลชที่ใช้กันในสมัยก่อน
นอกจากสิ่งต่างๆ ที่ฉันเล่าให้ฟังแล้วนี้ ภายในพิพิธภัณฑ์ก็ยังมีกล้องโพลารอยด์ กล้องพาโนรามา กล้องวิดีโอ กล้องดิจิตอลแบบที่ใช้กันในปัจจุบัน และกล้องทั้งตัวที่โดนผ่าพิสูจน์ให้เห็นถึงอุปกรณ์นับพันชิ้นที่อยู่ภายใน อุปกรณ์บางชิ้นเล็กกระจิ๋วเท่าปลายปากกา แต่หากขาดไปก็อาจทำให้ระบบภายในกล้องขัดข้องได้ นอกจากนั้นก็ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ร่วมกับกล้อง เช่น แฟลช ชัตเตอร์ เครื่องวัดแสง และอุปกรณ์ใช้ในห้องมืดมาจัดแสดงให้ชมกัน เรียกว่าครบเครื่องเรื่องกล้องถ่ายภาพ ที่แม้แต่ฝรั่งต่างชาติก็ยังต้องมาชมที่ประเทศไทยที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้กัน เลยทีเดียว
เมื่อแยกชิ้นส่วนกล้องออกมาก็จะเจอแบบนี้
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
"พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพฯ" ตั้งอยู่ในภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กทม. เปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์-ศุกร์ ในเวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท นักเรียนนักศึกษา 10 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท หากต้องการผู้นำชมให้ติดต่อล่วงหน้า สอบถามรายละเอียดที่โทร.0-2218-5583
กล้องถ่ายรูปใช้ฟิล์มตัวแรกของโลกนี้เป็นแบบ Box Camera ดูๆไปก็คล้ายลำโพงขนาดเล็กสีดำ ไม่มีช่องมองภาพ ไม่มีชัตเตอร์ การถ่ายภาพก็คือการเปิดฝาให้แสงเข้าไปในกล้องและบันทึกลงบนฟิล์ม เวลาจะล้างฟิล์มก็ต้องยกกล้องทั้งตัวกลับไปที่ร้าน ทางร้านจะล้างฟิล์มให้และบรรจุฟิล์มม้วนใหม่ให้เจ้าของกล้องใช้ถ่ายกันต่อ
กล้องถ่ายรูป Leica กล้องที่ว่ากันว่าดีที่สุดในโลก
แค่ตาลุกยังไม่พอ คราวนี้ตากล้องต้องน้ำลายหกหากได้มายืนอยู่ตรงหน้าตู้จัดแสดงกล้อง Leica จากประเทศเยอรมัน ที่ถือว่าเป็นกล้องถ่ายรูปที่คุณภาพดีที่สุดในโลก ทั้งคุณภาพของเลนส์ ระบบแสง ระบบชัตเตอร์ กล้อง Leica ทำได้เหนือกว่ากล้องยี่ห้ออื่นๆ โดยสิ่งหนึ่งที่ทำให้ Leica เป็นกล้องถ่ายรูปคุณภาพสูงก็เพราะตัวเลนส์ทำมาจากแร่ควอร์ตซ์ที่มีความโปร่ง ใสต่อแสงอัลตร้าไวโอเลต และทำให้ภาพถ่ายมีความคมชัดสดใส และแน่นอนว่าราคาก็ย่อมแพงตามไปด้วย แต่ปัจจุบันกล้อง Leica ไม่ได้ใช้แร่ควอร์ตซ์ทำเลนส์กล้องทุกตัว แต่ก็ใช้กระจกคุณภาพสูงซึ่งทำให้ภาพออกมามีคุณภาพเช่นเดิม
Spy Camera กล้องเล็กจิ๋วสำหรับสายลับ
กล้องของทางฝั่งประเทศรัสเซียก็น่าสนใจ เพราะเป็นกล้องต้นแบบของกล้องโลโม่ที่กำลังฮิตในปัจจุบัน และยังมีกล้องอีกหลายยี่ห้อในโลกที่เคยผลิตขึ้นแต่ปัจจุบันไม่มีให้เห็นอีก แล้วก็มี
แต่กล้องที่ฉันชอบมากก็เห็นจะเป็นแบบ Fotosniper หรือกล้องที่ติดกับอุปกรณ์ช่วยถ่ายที่หน้าตาเหมือนปืนยาวเป็นที่สุด กล้องแบบนี้มักจะใช้กันในแถบประเทศรัสเซีย ตัวกล้องจะวางอยู่บนเครื่องมือที่หน้าตาคล้ายปืน แถมเวลากดชัตเตอร์ถ่ายภาพก็ยังต้องกดที่ไกปืน มีขาตั้งให้เรียบร้อยเพื่อกันการสั่นสะเทือน ผลพลอยได้ก็คือเอาไว้ข่มขวัญคนโดนถ่ายได้ดีทีเดียว
เลนส์ขนาดต่างๆ ที่ช่างภาพต้องอยากเป็นเจ้าของ
กล้องอีกแบบหนึ่งที่ถูกใจฉันเป็นหนักหนาก็คือ Spy Camera กล้องสายลับที่ใช้กันในช่วงสงครามเย็น กล้องเหล่านี้หน้าตาน่ารัก บางอันดูเหมือนเครื่องเล่น mp3 บางอันทำเป็นรูปยางลบก้อนเล็กๆ บ้างทำเป็นรูปซองบุหรี่ เป็นกล้องส่องทางไกล สารพัดจะทำเอาไว้หลอกล่อเพื่อสืบข้อมูลลับ เห็นเล็กๆแบบนี้แต่ก็เป็นกล้องฟิล์มที่ต้องใช้ฟิล์มชนิดพิเศษ ซึ่งราคาของกล้องสายลับนี้จะแพงกว่ากล้องธรรมดากว่า 3 เท่า และตัวฟิล์มขนาดพิเศษนั้นก็จะราคาแพงกว่าตัวกล้องอีก 3 เท่า คิดจะเป็นสายลับก็ต้องจ่ายแพงกว่าชาวบ้านเขาหน่อย
แฟลชที่ใช้กันในสมัยก่อน
นอกจากสิ่งต่างๆ ที่ฉันเล่าให้ฟังแล้วนี้ ภายในพิพิธภัณฑ์ก็ยังมีกล้องโพลารอยด์ กล้องพาโนรามา กล้องวิดีโอ กล้องดิจิตอลแบบที่ใช้กันในปัจจุบัน และกล้องทั้งตัวที่โดนผ่าพิสูจน์ให้เห็นถึงอุปกรณ์นับพันชิ้นที่อยู่ภายใน อุปกรณ์บางชิ้นเล็กกระจิ๋วเท่าปลายปากกา แต่หากขาดไปก็อาจทำให้ระบบภายในกล้องขัดข้องได้ นอกจากนั้นก็ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ร่วมกับกล้อง เช่น แฟลช ชัตเตอร์ เครื่องวัดแสง และอุปกรณ์ใช้ในห้องมืดมาจัดแสดงให้ชมกัน เรียกว่าครบเครื่องเรื่องกล้องถ่ายภาพ ที่แม้แต่ฝรั่งต่างชาติก็ยังต้องมาชมที่ประเทศไทยที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้กัน เลยทีเดียว
เมื่อแยกชิ้นส่วนกล้องออกมาก็จะเจอแบบนี้
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
"พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพฯ" ตั้งอยู่ในภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กทม. เปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์-ศุกร์ ในเวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท นักเรียนนักศึกษา 10 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท หากต้องการผู้นำชมให้ติดต่อล่วงหน้า สอบถามรายละเอียดที่โทร.0-2218-5583
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
อารายเหรอ