ล่องเจ้าพระยา
แม่น้ำเจ้าพระยา เป็น แม่น้ำสายหลักของประเทศไทย ถือเป็นเส้นเลือดใหญ่โดยเฉพาะของคนภาคกลาง เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของแม่น้ำ 4 สายจากภาคเหนือ คือ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน โดยแม่น้ำวังนั้นไหลมาลงแม่น้ำปิงที่จังหวัดตาก แม่น้ำยมไหลมาลงแม่น้ำน่านที่จังหวัดนครสวรรค์ แล้วแม่น้ำปิงกับแม่น้ำน่านก็ไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลปากน้ำ โพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
จากต้นแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ แม่น้ำเจ้าพระยาได้ไหลลงใต้ ผ่านใจกลางของประเทศไทย ตั้งแต่พื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และไหลลงสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ เทศบาลนครสมุทรปราการ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ รวมความยาวของแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสิ้นประมาณ 372 กิโลเมตร
แม่น้ำเจ้าพระยานั้นบางช่วงมีความคดเคี้ยวมาก ไม่สะดวกแก่การสัญจรไปมา โดยเฉพาะช่วงที่ไหลผ่านกรุงเทพมหานคร จึงได้มีการขุดคลองลัดขึ้นตัดระหว่างส่วนที่คดเคี้ยว เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง และภายหลังแม่น้ำเจ้าพระยาเส้นเดิมก็ตื้นเขินลงเป็นคลอง ส่วนคลองลัดที่ขุดขึ้นใหม่ก็กลายเป็นเส้นทางเดินของแม่น้ำเจ้าพระยาใน ปัจจุบัน
จากต้นแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ แม่น้ำเจ้าพระยาได้ไหลลงใต้ ผ่านใจกลางของประเทศไทย ตั้งแต่พื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และไหลลงสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ เทศบาลนครสมุทรปราการ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ รวมความยาวของแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสิ้นประมาณ 372 กิโลเมตร
แม่น้ำเจ้าพระยานั้นบางช่วงมีความคดเคี้ยวมาก ไม่สะดวกแก่การสัญจรไปมา โดยเฉพาะช่วงที่ไหลผ่านกรุงเทพมหานคร จึงได้มีการขุดคลองลัดขึ้นตัดระหว่างส่วนที่คดเคี้ยว เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง และภายหลังแม่น้ำเจ้าพระยาเส้นเดิมก็ตื้นเขินลงเป็นคลอง ส่วนคลองลัดที่ขุดขึ้นใหม่ก็กลายเป็นเส้นทางเดินของแม่น้ำเจ้าพระยาใน ปัจจุบัน
การขุดคลองลัดครั้งสำคัญๆ มี 4 ครั้ง คือ (ดูภาพประกอบ)
- ครั้งแรก ขุดในรัชสมัย สมเด็จพระไชยราชาธิราช (ครองราชย์ พ.ศ.2077 - 2089) โดยโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดโค้งเกือกม้าบริเวณปากคลองบางกอกน้อยลงไปถึงปากคลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบัน
-
- ครั้งที่สอง ขุดในรัชสมัย สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (ครองราชย์ พ.ศ.2091 - 2111) โดยโปรดเกล้าฯ ให้ขุดเชื่อมระหว่างคลองบางกรวยกับคลองบางกอกน้อยในปัจจุบัน
-
- ครั้งที่สาม ขุดในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ครองราชย์ พ.ศ.2173 - 2198) โดยโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดโค้งเกือกม้าบริเวณปากคลองบางกรวยกับปากคลองอ้อมนนท์ในปัจจุบัน
-
- ครั้งที่สี่ ขุดในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ (ครองราชย์ พ.ศ.2251 - 2275) โดยโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดโค้งเกือกม้าบริเวณบางบัวทอง - ปากเกร็ด จนเกิดเป็นเกาะกลางน้ำขึ้น เรียกว่า เกาะเกร็ด จนถึงทุกวันนี้
นอกจาก แม่น้ำเจ้าพระยาจะเป็นเส้นทางคมนาคมหลักทางน้ำ เชื่อมระหว่างอ่าวไทย ภาคกลาง และภาคเหนือเข้าด้วยกันแล้ว ยังเป็นเส้นทางท่องเที่ยวทางน้ำที่สำคัญ สามารถดึงดูดเม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้เป็น จำนวนมหาศาลในแต่ละปี
ทุกวันนี้ในกรุงเทพมหานคร นอกจากการเยี่ยมชมวัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวังแล้ว การล่องเรือชมบรรยากาศของแม่น้ำเจ้าพระยาและคูคลองต่างๆ ก็ดูจะเป็นเรื่องน่าสนใจอันดับแรกๆ ของชาวต่างประเทศที่เดินทางมาเที่ยวประเทศไทย และไม่เว้นแม้แต่คนไทยเองที่ยังคงตื่นตาตื่นใจอยู่เสมอเมื่อได้มีโอกาสนั่ง รับประทานอาหารค่ำบนเรือที่กำลังล่องไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา
ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีเรือล่องแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองสาขาให้บริการอยู่ หลายบริษัท ทั้งของบริษัททัวร์ โรงแรม และร้านอาหาร มีเรือหลากหลายประเภททั้งเรือหางยาว เรือด่วนเจ้าพระยา ไปจนถึงเรือสำราญลำใหญ่โต
จากเรือที่ล่องไปตามลำน้ำเจ้าพระยา สองฟากฝั่งของแม่น้ำจะเต็มไปด้วยสถานที่สำคัญที่มีคุณค่าทั้งในด้านประวัติ ศาสตร์ วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรม ตัวอย่างเช่น
โรงแรมโอเรียลเต็ล ซอยเจริญกรุง 40 ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก เป็นโรงแรมเก่าแก่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2419 ที่ได้รับรางวัลสุดยอดโรงแรมอันดับหนึ่งของโลกมาแล้วหลายปี ถือเป็นโรงแรมไทยที่ได้รับความยอมรับในระดับโลกอย่างแท้จริง มีความเป็นเลิศในด้านบริการจนชาวต่างชาติติดอกติดใจ และยังมีความงดงามในด้านสถาปัตยกรรมไทยผสมตะวันตก
วัดแม่พระลูกประคำ หรือ โบสถ์กาลหว่าร์ ซอยวานิช 2 ถนนโยธา เขตสัมพันธ์วงศ์ อยู่ข้างๆ กับท่าน้ำสี่พระยา เป็นวัดที่ชาวโปรตุเกสและผู้นับถือศาสนาคริสต์จากกรุงศรีอยุธยาอพยพหนีพม่า ในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 มาตั้งหลักปักฐานใหม่ในย่านนี้ และได้ร่วมกันสร้างโบสถ์คริสต์แห่งนี้ขึ้นมา ตัวโบสถ์มีสถาปัตยกรรมแบบโกธิกที่สวยงาม ภายในตกแต่งกระจกสีเป็นเรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลทั้งพระธรรมใหม่และพระธรรม เก่า
สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ หรือ สะพานพุทธ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสะพานแรกของกรุงเทพมหานคร เชื่อมถนนประชาธิปกฝั่งธนบุรีกับถนนตรีเพชรฝั่งพระนคร สร้างขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณใน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) มีเอกลักษณ์โดดเด่นอยู่ที่ตัวสะพานเป็นโครงเหล็กสีเขียว 3 ตอน ตอนกลางสามารถสามารถยกเปิดปิดให้เรือใหญ่ผ่านได้ ที่ปลายสะพานฝั่งพระนครมีพระปฐมบรมราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอด ฟ้าจุฬาโลกที่สร้างขึ้นในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 150 ปี เมื่อ พ.ศ.2475
วัดซางตาครูส ซอยกุฎีจีน ถนนเทศบาลสาย 1 เขตธนบุรี ตั้งอยู่ภายใน ชุมชนกุฎีจีน เป็นโบสถ์คริสต์ที่สร้างโดย บาทหลวงยาโกเบ กอรร์ (Jacgues Corrre) ผู้นำชาวคริสต์เชื้อสายโปรตุเกสที่อพยพตาม สมเด็จพระเจ้าตากสิน มาจากกรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2313 นับเป็นโบสถ์คริสต์เก่าแก่ที่สุดในย่านฝั่งธนบุรี และถือเป็นวัดในคริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิกแห่งแรกในฝั่งธนบุรีด้วย วัดแห่งนี้ภายหลังได้รับการบูรณะใหม่อย่างใหญ่โต สวยงาม ตัวโบสถ์มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิกผสมกับเรเนอซองส์ มีจุดเด่นที่หอคอยของอาคารซึ่งเป็นรูปโดม มีลักษณะเหมือนกับพระที่นั่งอนันตสมาคม
ตลาดกลางผักและผลไม้ปากคลองตลาด กรุงเทพมหานคร หรือที่รู้จักกันในชื่อ ปากคลองตลาด ตั้งอยู่ที่ถนนจักรเพชร เขตพระนคร ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยากับวังซางตาครูส เป็นตลาดค้าผลผลิตทางการเกษตรที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร พ่อค้า - แม่ค้าจากทุกสารทิศจะขนผลผลิตทางการเกษตรของตนมาขายกันที่นี่ตลอดทั้งวัน และจะมีพ่อค้า - แม่ค้าจากที่อื่น รวมทั้งประชาชนทั่วไปมาเลือกซื้อสินค้าตลอดทั้งวันเช่นกัน
ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ปากคลองบางกอกใหญ่ ภายในกองทัพเรือ ถนนวังเดิม เป็นป้อมที่สร้างขึ้นในรัชสมัย สมเด็จพระนารายณ์ โดย เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (Constantine Phaulkon) จึงได้ชื่อว่า ป้อมวิไชยเยนทร์ สร้างขึ้นเพื่อป้องกันและต่อสู้กับเรือข้าศึกที่มาจากทางทะเล ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อมาเป็น ป้อมวิชัยประสิทธิ์ อยู่ในความดูแลของกองทัพเรือ ถือเป็นป้อมปืนที่เก่าแก่ที่สุดป้อมหนึ่งของกรุงเทพมหานคร
พระราชวังเดิม ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกใหญ่ อดีตเคยเป็นพระราชวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าตากสินในสมัยกรุงธนบุรีเป็น ราชธานี ภายในพระราชวังเดิมประกอบไปด้วยพระที่นั่ง พระตำหนัก ท้องพระโรง และเรือนต่างๆ หลายหลัง แต่มีสถาปัตยกรรมแบบเรียบง่ายตามพระราชจริยวัตรของสมเด็จพระเจ้าตากสิน และภาวะสงครามที่เกิดขึ้นตลอดรัชกาล ปัจจุบันกองทัพเรือได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้สถานที่เป็นกองบัญชาการกอง ทัพเรือ
วัดอรุณราชวราราม หรือ วัดแจ้ง ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกใหญ่ เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีได้เป็นวัดประจำพระนครเพราะตั้งอยู่ภายในเขตพระราชวัง มีพระปรางค์สูงใหญ่อยู่ริมน้ำ ความสูงถึง 67 เมตร ยิ่งใหญ่และงดงามมากจนนักท่องเที่ยวต่างชาติรู้จักกันเป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังมีจุดเด่นอีกอย่างคือ รูปปั้นยักษ์ 2 ตน คือ ยักษ์สหัสเดชะ และ ยักษ์ทศกัณฐ์ ตัวละครจากวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งปั้นด้วยปูนและประดับกระจกสี ยืนเป็นยามเฝ้าประตูทางเข้าพระอุโบสถ
พระบรมมหาราชวัง และ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือ วัดพระแก้ว ถนนมหาราช เขตพระนคร เป็นพระราชวังและวัดประจำพระนครในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 เคยเป็นสถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐาน พระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองไทย ปัจจุบันนับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันโด่งดังที่สุดของกรุงเทพมหานคร เพราะก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมไทยอันวิจิตรงดงามอย่างหาที่เปรียบมิได้ จนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาประเทศไทยแทบทุกคนต้องมีรายชื่อพระบรม มหาราชวังและวัดพระแก้วอยู่ในรายการสถานที่ที่ต้องการจะไปเที่ยวชม ถือเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของชาวไทยทุกคน
ท่าช้าง ถนนมหาราช เขตพระนคร ในอดีตเคยเป็นท่าน้ำที่เอาไว้พาช้างลงอาบน้ำ จึงเรียกกันว่าท่าช้าง ต่อมาเป็นท่าที่อัญเชิญ พระศรีศากยมุนี ซึ่งล่องมาจากสุโขทัย มาขึ้นที่ท่าน้ำนี้ จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ท่าพระ ปัจจุบันท่าช้างกลายเป็นท่าเรือด่วนเจ้าพระยาและเรือข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่หน้าท่าน้ำมีตลาดขายสินค้าทั้งอุปโภคและบริโภคจำนวนมาก
วัดระฆังโฆสิตาราม ซอยวัดระฆัง ถนนอรุณอัมรินทร์ เดิมชื่อว่า วัดบางหว้าใหญ่ ต่อมามีผู้ขุดพบระฆังโบราณในบริเวณวัดนี้ รัชกาลที่ 1 จึงพระราชทานนามใหม่ว่าวัดระฆังโฆสิตาราม วัดแห่งนี้ สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เคยเป็นเจ้าอาวาสอยู่เป็นเวลานาน และท่านได้สร้างสุดยอดพระเครื่องคือ พระสมเด็จวัดระฆัง ขึ้นที่วัดแห่งนี้ด้วย ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจคือ พระตำหนักแดง ซึ่งสันนิษฐานว่าเคยเป็นที่ประทับสำหรับทรงกรรมฐาน ปฏิบัติธรรม ของสมเด็จพระเจ้าตากสิน และ วิหารสมเด็จ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
ท่าพรานนก และ ท่าพระจันทร์ อยู่ตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยากัน ท่าพรานนกอยู่ฝั่งธนบุรี ท่าพระจันทร์อยู่ฝั่งพระนคร เป็นท่าเรือข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและเรือด่วนเจ้าพระยาที่มีผู้คนมาใช้บริการ พลุกพล่านมากตลอดทั้งวัน จึงเกิดตลาดใหญ่ขึ้นทั้งสองท่า ฝั่งท่าพรานนกเรียกว่า ตลาดวังหลัง ฝั่งท่าพระจันทร์เรียกว่า ตลาดท่าพระจันทร์ ทั้ง 2 ตลาดมีสินค้าหลากหลาย แต่ตลาดวังหลังมีอาหารขึ้นชื่อมากมาย ส่วนตลาดท่าพระจันทร์มีตลาดพระเครื่อง พระบูชา ที่มีชื่อเสียงเช่นกัน
ศิริราชพยาบาล ตั้งอยู่บริเวณท่าพรานนก เป็นโรงพยาบาลของรัฐบาลที่คิดค่ารักษาไม่แพง และมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากมาย จึงเป็นที่พึ่งที่ดีที่สุดของผู้ป่วยซึ่งไม่ได้ร่ำรวยเงินทอง สมดังพระราชประณิธานของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ผู้ทรงก่อตั้งโรงพยาบาลแห่งนี้ขึ้นช่วยเหลือราษฎรผู้ยากจน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งอยู่ติดกับท่าพระจันทร์ ถนนพระจันทร์ เขตพระนคร เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่อันดับ 2 ของไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2477 โดย ปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้ผลักดันให้ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นตลาดวิชาด้านกฎหมายและการเมืองสำหรับ ประชาชนทั่วไป ภายหลังได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นมหาวิทยาลัยปิดและเพิ่มสาขาการเรียนการสอนอีก มากมาย มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีประวัติศาสตร์ผูกพันกับประชาธิปไตยและการเมืองไทยมาโดย ตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519
พระราชวังบวรสถานมงคล หรือ วังหน้า อยู่กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตเคยเป็นพระราชวังที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระมหาอุปราชของไทย กรมพระราชวังบวรสถานทงคลพระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์คือ สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (บุญมา) เป็นผู้ทรงสร้างพระราชวังแห่งนี้ขึ้นมา แต่ตำแหน่งนี้กรมพระราชวังบวรสถานมงคลนี้ถูกยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 5 พระราชวังบวรสถานมงคลจึงถูกนำไปใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น ส่วนหนึ่งก็กลายมาเป็นพื้นที่สนามหลวง ส่วนหนึ่งกลายเป็นพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นโรงละครแห่งชาติ เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร และเป็นวิทยาลัยนาฏศิลป
สถานีรถไฟธนบุรี หรือ สถานีรถไฟบางกอกน้อย ตั้งอยู่ปากคลองบางกอกน้อย สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สถานีรถไฟแห่งนี้ถูกทหารฝ่ายพันธมิตรทิ้งระเบิดถล่มจนเสียหายอย่างมาก แต่ภายหลังได้มีการสร้างอาคารขึ้นแทนของเดิม ปัจจุบันสถานีรถไฟธนบุรีเปิดให้บริการขบวนรถไฟที่เดินทางจากกรุงเทพมหานคร มุ่งสู่ทิศตะวันตกไปยังสถานีจังหวัดสมุทรสาคร นครปฐม หัวหิน และกาญจนบุรี โดยเฉพาะขบวนพิเศษสำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเที่ยวน้ำตกไทรโยค และสะพานข้ามแม่น้ำแคว
สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เชื่อมระหว่างบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคลฝั่งพระนคร กับวัดดุสิดารามฝั่งธนบุรี สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2514 เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงแห่งแรกของประเทศไทย ได้รับพระราชทานนามว่าสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเคยประทับอยู่ ณ พระราชวังบวรสถานมงคล อันเป็นจุดเริ่มต้นของสะพานในฝั่งพระนคร
ป้อมพระสุเมรุ หัวถนนพระสุเมรุ เขตพระนคร เป็นป้อมปราการรอบพระนครหนึ่งในสามป้อมที่ยังคงหลงเหลืออยู่จนถึงปัจจุบัน สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 มีลักษณะเป็นป้อมอิฐ ทรง 8 เหลี่ยม มีฐาน 2 ชั้น ด้านข้างของป้อมเป็นสวนสาธารณะ ชื่อ สวนสันติชัยปราการ สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2542 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ 72 พรรษา ภายในสวนมีพระที่นั่งองค์หนึ่ง คือ พระที่นั่งสันติชัยปราการ และมีต้นลำพูใหญ่หนึ่งต้น ซึ่งอาจเป็นต้นลำพูเพียงต้นเดียวในย่านบางลำพูที่หลงเหลืออยู่มาจนถึงทุกวันนี้
สะพานพระราม 8 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างถนนอรุณอัมรินทร์ฝังธนบุรี กับถนนวิสุทธิษัตริย์ฝั่งพระนคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อบรรเทาการจราจรอันติดขัดของบริเวณใกล้เคียง โดยเฉพาะการจราจรบนสะพานพระปิ่นเกล้า เปิดใช้สะพานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2545 สะพานพระราม 8 มีความโดดเด่นเพราะเป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก มีเสาหลักอยู่ฝั่งธนบุรีและเสารับน้ำหนักอยู่ฝั่งพระนคร แล้วใช้สายเคเบิลเป็นตัวขึงยึดสะพานเอาไว้ โดยในช่วงข้ามผ่านแม่น้ำไม่มีเสาค้ำสะพานอยู่เลย นับเป็นความก้าวหน้าทางวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมที่น่าชื่นชมมาก
สะพานพระราม 8 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างถนนอรุณอัมรินทร์ฝังธนบุรี กับถนนวิสุทธิษัตริย์ฝั่งพระนคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อบรรเทาการจราจรอันติดขัดของบริเวณใกล้เคียง โดยเฉพาะการจราจรบนสะพานพระปิ่นเกล้า เปิดใช้สะพานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2545 สะพานพระราม 8 มีความโดดเด่นเพราะเป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก มีเสาหลักอยู่ฝั่งธนบุรีและเสารับน้ำหนักอยู่ฝั่งพระนคร แล้วใช้สายเคเบิลเป็นตัวขึงยึดสะพานเอาไว้ โดยในช่วงข้ามผ่านแม่น้ำไม่มีเสาค้ำสะพานอยู่เลย นับเป็นความก้าวหน้าทางวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมที่น่าชื่นชมมาก
สะพานกรุงธน หรือ สะพานซังฮี้ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างถนนราชวิถีฝั่งพระนคร กับถนนสิรินธรฝั่งธนบุรี เป็นสะพานโครงเหล็กคล้ายสะพานพุทธ เชิงสะพานทั้งสองฝั่งเป็นคอนกรีต มีทางเท้าทั้งสองข้าง เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2501 ชื่อของสะพานมาจากชื่อ ถนนซังฮี้ ที่เป็นภาษาจีนแปลว่า "ยินดีอย่างยิ่ง" ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็นถนนราชวิถี
https://www.myfirstbrain.com/AroundTheCity_View.aspx?Id=18629
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
อารายเหรอ