วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ไม่ใช่คุณไสยแต่เป็น..ไฟโบรมัยอัลเจีย

ไม่ใช่คุณไสยแต่เป็น..ไฟโบรมัยอัลเจีย


เมื่อแพทย์ตรวจหาอาการและรักษาไม่ได้ ผู้ป่วยมักนึกไปเองว่าถูกคุณไสยหรือมนต์ดำ

หากความจริงแล้ว เป็นความผิดปกติที่เล่นซ่อนแอบกันหมอ






อัญชลี เจียรพฤฒ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของบริษัทบัญชีและกฎหมายแห่งหนึ่งต้องทุกข์ทรมานกับ อาการปวดหัวมานาน เข้าใจว่าเป็นไมเกรน โรคฮิต แต่หาหมอไม่หาย แต่กลับกระจายไปทั่วเนื้อตัว

เธอทนมีชีวิตร่วมกับอาการปวดมา 8 ปี ถึงขนาดบางครั้งปวดจนนอนไม่ได้ต่อให้ง่วงหรือเพลียแค่ไหนก็ตาม จนถึงขั้นเป็นคนอารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า เหนื่อยตลอดเวลา ไม่อยากที่จะออกไปเที่ยวข้างนอกเหมือนทุกครั้ง

กว่าที่จะตรวจวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคชื่อประหลาดว่า ไฟโบรมัยอัลเจีย อัญชลีต้องไปพบแพทย์ที่เชี่ยชาญด้านต่างๆ ถึง 9 แห่ง ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ด้านประสาทวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝังเข็ม ผู้เชี่ยวชาญการบำบัดโรคด้วยวิธีจับกระดูกสันหลัง แพทย์แผนจีน และแพทย์อายุรเวท แต่ก็ไม่เป็นผล

ผลการตรวจวินิจฉัยแต่ละสำนักก็แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหนัก ยืนผิดท่า กระดูกเสื่อม และอื่นๆ แม้รักษามาแล้วทุกวิธีแต่ก็ไม่หายขาดจากอาการพิกล

รศ.นพ.ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช นายกสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทยแถลงไขภาวะปวดเรื้อรังหรือไฟโบ รมัยอัลเจียว่า เป็นโรคที่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แม้กระทั่งในกลุ่มแพทย์เองก็เถอะทำให้การตรวจวินิจฉัยทำได้ยาก

"ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดลุกลามอย่างเรื้อรังและทำให้ร่างกาย อ่อนแอ ขาดความสามารถที่จะใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ บั่นทอนคุณภาพชีวิต" รศ.นพ.ประดิษฐ์กล่าว

อาการไฟโปรมัยอัลเจียไม่ได้มีอาการปวดอย่างเดียว แต่ยังมีอาการร่วมอย่างอื่น เช่น อ่อนเพลีย นอนกระกสับกระส่าย ปวดข้อ มีรายงานพบว่าผู้ป่วยบางรายมีอาการกลืนลำบาก กระเพาะปัสสาวะผิดปกติ ชา ความจำถดถอย และเริ่มมีข้อมูลพบว่าผู้ป่วยมีอาการทางจิตแทรกอยู่ด้วย เช่น หงุดหงิด ซึมเศร้า แต่ไม่ใช่ทุกรายต้องมีอาการเหลานี้หมด

คาดว่ามีประชากรราว 2% มีอาการปวดแบบไฟโปรมัยอัลเจีย ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาที่ยอมรักกันสำหรับอาการดังกล่าว บางครั้งแพทย์ใช้การบำบัดทางจิต และพฤติกรรมบำบัดเข้าช่วย นอกเหนือจากให้ความรู้ผู้ป่วย ยา และให้อออกกำลังกาย

เนื่องจากเป็นโรคที่ยังไม่อยู่ในสารบบของแพทย์ทำให้ความเห็นเกี่ยวกับต้น เหตุของโรคแตกต่างกันไป การวินิจฉัยก็แตกต่างกันด้วย แพทย์บางรายไม่จัดให้ไฟโปรมัยเอเจียอยู่ในกลุ่มของโรค เพระาไม่มีอาการผิดปกติที่ตรวจสอบได้ทางร่างกาย ไม่มีวิธีทดสอบแบบมาตรฐาน

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาผู้ป่วยด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอพบหลักฐานว่า ผู้ป่วยไฟโบรมัยอัลเจียมีการทำงานของสมองต่างจากกลุ่มควบคุม แต่การศึกษาดังกล่าวยังแค่ชี้ให้เหนถึงความสัมพันธุ์กัน แต่ยังไม่ได้ระบุสาเหตุ

อาการปวดไฟโปรมัยอัลเจียยังเป็นผลมาจากความเครียดสมัยเด็ก หรือเพราะได้รับความเครียดสะสมรุนแรงมานาน นอกเหนือจากความผิดปกติทางสมอง
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบันพบว่า สาเหตุกลไกพยาธิสภาพความปวดของโรคไฟโบรมัยอัลเจียเกิดจากสมองส่วนที่ทำ หน้าที่รับรู้ความปวดและความเครียดอยู่ในสภาวะที่ไวกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดได้ง่าย และรุนแรงกว่าปกติ และมักจะมีอาการได้หลายแห่งทั่วร่างกาย

จากการสำรวจแพทย์ 941 คนและผู้ป่วย 506 รายจาก 5 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย เกี่ยวกับแนวโน้มสถานการณ์และความรู้ความเข้าใจของโรคไฟโบรมัยอัลเจียใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเครือข่ายพันธมิตรเพื่อการรักษาความปวดจากไฟโบ รมัยอัลเจียพบว่า โรคดังกล่าวมักพบมากในผู้หญิงวัยทำงานมากกว่าผู้ชาย อัตราส่วนหญิงต่อชายอยู่ที่ 9:1 หรือประมาณ 87% เป็นผู้ป่วยเพศหญิง

ผู้ป่วยโรคไฟโบรมัยอัลเจียจะเริ่มจากอาการปวดเพียงจุด ๆ เดียว ในระดับที่ไม่ปวดมากนัก ก่อนที่ความปวดจะทวีความรุนแรงและขยายไปสู่จุดอื่น ๆ ทำให้มีอาการปวดเมื่อยตามตัว ฝืดตึงตามข้อต่างๆ และเป็นอาการเรื้อรังทำให้เครียด ส่งผลต่อการนอนหลับ

"การตรวจวินิจฉัยเบื้องต้น แพทย์จะสอบประวัติของความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับร่างกายทั้งส่วนบนและส่วน ล่าง รวมถึงบริเวณสันหลัง จากนั้นจะดู 18 จุดปวดทั่วร่าง และกดด้วยแรงกดประมาณ 4 กิโลกรัม หากพบว่า มีความเจ็บปวดมากตั้งแต่ 11 จุดขึ้นไป ถือว่า ผู้นั้นเป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจีย โดยที่หากเป็นความเจ็บปวดบริเวณที่ติดกันของกระดูกหรือกล้ามเนื้อ ไม่ถือเป็นภาวะโรคนี้" รศ.นพ.ประดิษฐ์กล่าว

สำหรับการรักษา จำเป็นต้องใช้เวลาเพื่อบำบัดรักษาภาวะปวดเรื้อรัง ทำให้แผนการรักษาแบบองค์รวมเป็นสิ่งจำเป็น ผู้ป่วยจะได้รับยาเพื่อระงับความเจ็บปวด กลุ่มยากันชักเพื่อรักษาไฟโบรมัยอัลเจีย การออกกำลังกายแบบแอโรบิค การรักษาทางใจเพื่อลดอาการซึมเศร้า และข้อมูลเพื่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่ตนเองเผชิญอยู่

"ผู้ป่วยสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบและรักษาตัวได้เร็ว" แพทย์ กล่าว

สำหรับคนที่สงสัยว่า ตนเองจะเป็นโรคนี้อยู่หรือไม่ สามารถสังเกตได้ 2 ประการหลักคือ ปวดเรื้อรังมาเป็นระยะเวลานานเกิน 3 เดือนและบริเวณที่ปวดนั้น เป็นทั่วร่างกาย โดยเป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นหลายจุดพร้อมกัน หากมีอาการข้างต้น ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว


ที่มา กรุงเทพธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ