วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เป็นเจ้าของกิจการด้วย Online Social Networking

เป็นเจ้าของกิจการด้วย Online Social Networking








เป็นเจ้าของกิจการด้วย Online Social Networking


โดย : ดร. ธีรยุส วัฒนาศุภโชค

ปรากฏการณ์หนึ่งในโลกดิจิทัลที่ถือว่ามาแรงมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา และคาดว่าจะยิ่งทวีความร้อนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ


นั่นคือ การสร้างเครือข่ายสังคมในโลกอินเทอร์เน็ต หรือ Online Social Networking ที่ ถือว่าเป็นการสร้างชุมชนออนไลน์ที่มีความเหนียวแน่น จากการติดต่อสื่อสาร สร้างความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเสมือนหนึ่งสังคมหรือแม้แต่ครอบครัวเดียวกัน เข้ามาทักทาย พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือแม้แต่ทำกิจกรรมสารพัดอย่างผ่านทางออนไลน์ด้วยกัน เรียกว่าขาดกันไม่ได้เลยทีเดียว

แท้จริงแล้ว แนวคิดที่เกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์นี้มีมานานแล้ว ตั้งแต่การใช้แชทรูม เว็บบอร์ด เพื่อให้มีผู้ที่สนใจเข้ามาโพสต์แลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น ติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันในโลกไซเบอร์ ซึ่งถือว่าเป็นยุคแรกๆ ของการสร้างเครือข่ายสังคมกันแล้ว แต่เริ่มมีความชัดเจนขึ้นจากการริเริ่มพัฒนา บล็อก (Blog) ที่เป็นเสมือนหนึ่งไดอารี่ออนไลน์ ที่ให้เจ้าของเข้ามาเขียนเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ และมีผู้อื่นที่มีความสนใจคล้ายคลึงกัน เข้ามาให้ความเห็นแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างต่อเนื่อง จนสนิทสนมแนบแน่นกันจนเป็นวงสังคมเดียวกัน


แต่ ที่เปรี้ยงปร้างได้รับความสนใจมากที่สุด ในเรื่องนี้ ก็เห็นจะไม่เกินเว็บ Social Networking ที่โด่งดังสุดๆ อาทิเช่น Youtube ที่ให้ทุกคนสามารถเข้ามาโพสต์วีดิโอที่น่าสนใจ ในหน้า Youtube ของตน และยิ่งวีดิโอที่ตนโพสต์น่าสนใจ แปลกแตกต่าง อยู่ในความต้องการของสาธารณชนวงกว้าง ก็ยิ่งจะดึงดูดให้มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นเครือ
ข่ายออนไลน์ที่มีคนจำนวนมหาศาลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง


หรือ กรณีของไฮไฟว์และเฟซบุ๊ค ก็เป็นอีกปรากฏการณ์ของ Online Social Networking ที่เห็นได้ชัด โดยหากในห้องของตนมีเนื้อหาต่างๆ ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นรูป เรื่องราว ฯลฯ ก็จะทำให้มีคนเข้ามาอยู่ในวงสังคมของตนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก็มีความเหนียวแน่นมากเช่นกันครับ

จึงเริ่มมีการมองถึงการนำเอา เครือข่ายทางสังคมออนไลน์นี้ ไปสร้างประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากยิ่งขึ้น เพราะกว่าจะดึงดูดสร้างเครือข่ายที่แอ็คทีฟติดต่อกันมาอย่างต่อเนื่องได้ นั้น ก็ต้องทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ เวลามิใช่น้อย เมื่อดึงดูดให้มีชุมชนเหนียวแน่นมหาศาลแล้ว ก็น่าจะนำไปเป็นประโยชน์ได้

อีก ทั้งผู้ที่เข้ามาอยู่ในวงสังคมเครือข่ายเดียวกันนี้ ก็มักจะมีความคล้ายคลึงกันอย่างใดอย่างหนึ่ง จนบ่อยครั้งนักการตลาดถึงกับมองผู้ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน เป็นหนึ่งส่วนตลาดเลยทีเดียว ซึ่งถือเป็นส่วนตลาดที่มีความน่าสนใจมากๆ ด้วย เนื่องจากมีความเหนียวแน่นทางด้านความสัมพันธ์กัน ถือเป็นตลาดที่มีซีอาร์เอ็มชิ้นเอกอย่างยิ่งครับ จึงเหมาะสมอย่างมากที่จะนำมาพัฒนาเป็นธุรกิจใหม่ต่อไปในอนาคตได้

ที่ น่าสนใจมาก คือ กรณีของเฟซบุ๊ค ที่ได้มีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นขึ้นมามากมาย ที่สามารถนำเอาเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ ที่เราพัฒนาขึ้นมาแล้ว มาต่อยอดให้กลายเป็นธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกและง่ายดาย

อาทิ เช่น หากมีการพัฒนาห้องในเฟซบุ๊คของเรา ให้เป็นสถานที่ที่เป็นมีความเชี่ยวชาญเฉพาะเกี่ยวกับสปาอย่างครบวงจรและ สมบูรณ์ที่สุด มีข้อมูลเพียบพร้อม รูปภาพ ประสบการณ์เกี่ยวกับผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการที่โดดเด่นมาคอยให้ความเห็น มีการแนะนำสปาที่ให้บริการที่ดีที่สุด เชื่อมโยงการสอบถาม ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริการ รวมถึงมีกิจกรรมสารพัดเกี่ยวกับสปาอยู่อย่างต่อเนื่อง

จน กระทั่งสามารถดึงดูดผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับสปาเข้ามาเยี่ยมชม ให้ข้อมูลแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือร่วมทำกิจกรรมตลอดเวลา จนกลายเป็นเครือข่ายสังคมในเฟซบุ๊ค ที่มีผู้เข้าร่วมมหาศาลและมีความเหนียวแน่น คือ มีการเข้ามาเยี่ยมชมซ้ำและติดอยู่กับเครือข่ายนี้ของเราตลอดเวลา

ซึ่งก็จะสามารถนำเอาเครือข่ายนี้ ไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ โดยใช้เครื่องมือที่เฟซบุ๊คพัฒนาขึ้นมา อาทิเช่น ล่าสุดกับ
Radical Buy ที่ช่วยจัดตั้งกิจการออนไลน์ขึ้นมา และนำเสนอสินค้า/บริการต่างๆ ทั้งอาจจะเป็นสินค้าบริการของตนเอง หรือเป็นของพันธมิตรอื่นๆ ที่มาขายผ่านทางเว็บของเราก็ได้


ใน กรณีตัวอย่างนี้ ก็อาจจะมีการขายทั้งบริการและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสปา ตามที่ตนเองได้ข้อมูลและเหมาะสมบุคคลในเครือข่ายของตนเองด้วย นอกจากนี้ ยังอาจจะนำเสนอผลิตภัณฑ์/บริการจากสปาอื่นๆ มายังเครือข่ายของเรา และหากเกิดการซื้อขายกันขึ้นมา กิจการของเรานี้ก็จะได้คอมมิชชั่นจากการซื้อขายดังกล่าวครับ


ซึ่งโปรแกรม Radical Buy นี้ ยังช่วยทั้งการนำเสนอสินค้า การชำระเงิน การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีต่างๆ จัดการข้อมูลต่างๆ ในกิจการดิจิทัล ทำให้แม้แต่ผู้ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญทางด้านไอทีเท่าไร ก็ยังสามารถเป็นเจ้าของกิจการได้ เพียงแต่ต้องมีแนวคิดธุรกิจที่เหมาะสมเท่านั้น


จึง ถือเป็นการช่วยให้ทุกท่านที่มีไอเดีย มีความตั้งใจและเชี่ยวชาญ สามารถเข้าสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจ โดยลดความเสี่ยงลงไป และลดการสกัดกั้นจากคู่แข่งอย่างมากอีกด้วยครับ เพราะส่วนใหญ่เมื่อท่านพัฒนาเฟซบุ๊คของท่านด้วยความรัก ความชอบ ความถนัดส่วนตัว จนฮอตฮิตติดตลาด มีผู้เข้าร่วมมากมาย ท่านก็สามารถต่อยอดเชื่อมโยงเครือข่ายชุมชนออนไลน์นี้ ในเชิงธุรกิจต่อไปในอนาคตได้อีกด้วย

ซึ่งทางคณะพาณิชยศาสตร์และการ บัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็เล็งเห็นประเด็นดังกล่าว และเห็นเป็นโอกาสที่จะผลักดันส่งเสริมให้ทุกคน สามารถเป็นเจ้าของกิจการได้ ผ่านทางแนวคิดดังกล่าวด้วย จึงกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ของกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับแนวคิดนี้ และหวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งกลไกที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้เกิด ขึ้นกับประเทศได้อย่างยั่งยืน ในโลกยุคดิจิทัลครับ

http://www.bangkokbiznews.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ