นิทรรศการภาพถ่าย "ผู้หญิงพิการ : แรงบันดาลใจ ความงาม และคุณค่า"
นิทรรศการภาพถ่าย / Photo Exhibition
“ผู้หญิง พิการ: แรงบันดาลใจ ความงามและคุณค่า”
“Women with Disabilities: Inspiration, Grace and Value”
จัดโดย
องค์การคนพิการสากล ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ภายใต้การสนับสนุนของสถาบัน สร้างเสริมสุขภาพคนพิการ
Arranged by Disabled Peoples’ International- Asia PacificUnder the sponsorship of the Institute of Health for People with Disability
"คนพิการแม้ว่าร่าง กายจะมีข้อจำกัด แต่เขาเองก็พยายามมเต็มที่ แม้เป็นคนพิการก็ไม่ใช่ว่าจะขอทานเป็นอย่างเดียว คนพิการก็คือคนเหมือนกับเรา"
'สิทธิอนามัยเจริญ พันธุ์' หรือ 'Reproductive Rights' นั้น เป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่สำหรับสังคมไทยที่หลายฝ่ายยังขาดความเข้าใจที่ถูก ต้อง คำว่า 'สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์' มีความหมายและมีสาระสำคัญมากกว่าเรื่องของสิทธิในการมีเพศสัมพันธ์ เพราะนอกเหนือไปจากเรื่องดังกล่าวแล้วสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ยังรวมไปถึง เรื่องสิทธิการเลือกคู่ครอง สิทธิในการสร้างและการวางแผนครอบครัว สิทธิในการเลือกที่จะมีหรือไม่มีบุตร ซึ่งประเด็นเหล่านี้ล้วนแต่มีความใกล้ชิดและเชื่อมโยงกับเรื่องสิทธิของ ผู้หญิงอย่างเห็นได้ชัด จนถึงขั้นที่อาจจะกล่าวได้ว่า เรื่อง 'สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์' เป็นหนึ่งในสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้หญิงทุกคน
ในกรณีของหญิงพิการนั้น การพูดถึงเรื่อง 'สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์' ยิ่งเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนและความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น แม้ว่าจะมีหญิงพิการจำนวนมากที่ได้พิสูจน์ตัวเองให้เห็นว่าความพิการไม่ได้ เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตเช่นเดียวกับผู้หญิงทั่วไป หลายท่านได้พิสูจน์ให้สังคมให้เห็นถึงความสามารถในการเป็นภรรยาและความ สามารถในการเป็นแม่ แต่ในขณะเดียวกันคนส่วนใหญ่ยังกลับยึดติดกับความรู้สึกและความเชื่อที่ว่าคน พิการยังขาดความพร้อมและขาดศักยภาพในการดำเนินชีวิตเยี่ยงคนปกติทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพูดถึงเรื่อง 'สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์' หญิงพิการยังคงถูกมองว่าไร้ความสามารถทางเพศ ไร้ความสามารถในการมีและเลี้ยงดูบุตร และแทบจะไร้ความเกี่ยวพันกับเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์อย่างสิ้นเชิง
นิทรรศการภาพถ่าย 'ผู้หญิงพิการ : แรงบันดาลใจ ความงามและคุณค่า' (Women with Disabilities: Inspiration, Grace and Value) จัดโดย องค์การคนพิการสากล ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ภายใต้การสนับสนุนของสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการสื่อสารให้สังคมได้มีโอกาส ในการรับรู้ถึงความสามารถของหญิงพิการในฐานะภรรยาและแม่ ตลอดจนความสามารถในการเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของสังคม ให้สังคมได้คำนึงถึงเรื่องสิทธิทางเพศของหญิงพิการมากยิ่งขึ้น และเสริมสร้างคุณค่าและความเชื่อมั่นในตนเองของหญิงพิการในฐานะผู้ที่มีความ สามารถที่จะเป็นกำลังหลักสำคัญของสถาบันครอบครัวและของสังคมได้
ภาพถ่ายขาวดำจำนวน 50 ภาพ ถ่ายทอดโดยช่างภาพอิสระ อภิลักษณ์ พวงแก้ว บอกเล่าเรื่องราวชีวิตและการทำงานของผู้หญิงพิการจำนวน 25 คนจากหลากหลายอาชีพและหลากหลายความพิการ เพื่อเปิดเผยให้เห็นถึงแง่มุมที่มักไม่ถูกพูดถึงในสังคมไทยของผู้หญิงพิการ ในฐานะของการเป็นแรงผลักดัน ผู้สร้างสรรค์และผู้ให้
"แต่ก่อนสังคมมองคนพิการจะมองในแง่ของความสงสารหรือให้โอกาส แต่โครงการนี้จะมองลึกลงไปมากกว่านั้น เรื่องของเพศ เรื่องความความเป็นแม่ ทีมงานก็จะมาประชุมกันว่าจะเลือกใครบ้างที่จะมานำเสนอ ในครั้งนี้ผมได้โอกาสตะเวณถ่ายภาพผู้หญิงพิการยี่สิบกว่าท่านในเวลา 1 เดือน ไปถึงก็คุยกันแล้วก็เอาความรู้สึกแวบแรกของผมถ่ายทอดออกมาเป็นภาพถ่าย นี่คือประเด็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการนี้ที่เน้นความสด ไม่มีโอกาสถ่ายแก้" อภิลักษณ์ ช่างภาพอิสระและคนทำงานของ 'สมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลก' กล่าว
"นิทรรศการชุดนี้ก็อยากจะนำเสนออีกแง่มุมที่สื่อถึงผู้หญิงพิการว่า เขาเหล่านี้ไม่ควรเป็นผู้อยู่โดดเดี่ยวในสังคม เพราะหลายคนมีความสามารถ แต่ขาดโอกาสที่ได้นำเสนอ ซึ่งแต่ละท่านก็มีแง่มุมน่าสนใจ อย่างคุณสวาท ประมูลศิลป์ ซึ่งแม้ว่าจะตาบอดแต่ก็เรียนจนจบประกาศนียบัตรจากสถาบันเทคโนโลยีออสเตรเลีย ตะวันตก ปัจจุบันเป็นนายกสมาคมเพื่อความก้าวหน้าอาชีพคนตาบอดประเทศไทย เป็นนักจัดรายการวิทยุและก็สอนภาษาอังกฤษด้วย หรืออย่างน้องแอนนิต้าที่เป็นโรคดาวน์ซินโดรมแต่สามารถแข่งขันจนได้เเชมป์ ปิงปองโลก หรืออย่างคุณครูศิรินาถ ชาติการุณ เป็นคนตาบอด สามีก็ตาบอดเเต่ช่วยกันเลี้ยงลูกจนจบสถาปัตย์-วิศวะ หรือผู้หญิงพิการโปลิโออย่างพี่วา-จิณฑาทิพย์ ศิลโสภิต เริ่มชีวิตจากพับถุงขายจนทุกวันนี้เป็นเจ้าของโรงงานเย็บผ้าส่งนอกลูกน้อง เป็นร้อย"
นอกจากผลงานภาพถ่ายแล้ว เรื่องราวของ 'หญิงพิการ' จะถูกถ่ายทอดในการเสวนาหัวข้อ 'เรื่องเพศของหญิงพิการ เรื่องต้อง (ไม่) ห้าม' ในวันพุธที่ 20 พฤษภาคม ตั้งแต่เวลา 13.00 น. ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมเสวนาโดยนักวิชาการ นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิคนพิการและศิลปิน นำโดย ดร.เพ็ญจันทร์ ประดับมุข- เชอร์เรอร์ คณะสังคมศาสตร์ฯ ม. มหิดล ผู้เชี่ยวชาญด้านเพศวิถีของคนพิการ, นิวัติ กองเพียร ศิลปินและนักวิจารณ์งานศิลปะ ฯลฯ ที่จะมาจะร่วมพูดคุยและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเพศวิถีและความสำคัญของสิทธิ ทางด้านอนามัยเจริญพันธุ์ของหญิงพิการ รวมทั้งรับฟังประสบการณ์ที่น่าประทับใจของตัวแทนหญิงพิการ ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปิน โครงการส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของหญิงพิการ องค์การคนพิการสากล ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยการสนับสนุนของแผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย (สสพ)
"คนพิการแม้ว่าร่างกายจะมีข้อจำกัด แต่เขาเองก็พยายามมเต็มที่ แม้เป็นคนพิการก็ไม่ใช่ว่าจะขอทานเป็นอย่างเดียว คนพิการก็คือคนเหมือนกับเรา มีความรู้สึกเหมือนเรา อยากให้สังคมมองเห็นประเด็นนี้บ้าง" อภิลักษณ์ สรุป
..............
นิทรรศการ ภาพถ่าย 'ผู้หญิงพิการ : แรงบันดาลใจ ความงามและคุณค่า' (Women with Disabilities: Inspiration, Grace and Value) จัดแสดงระหว่าง 18- 28 พ.ค. 53 ณ บริเวณโถงชั้น L หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
อารายเหรอ