โครงการยิ้มสู้
เพื่อรณรงค์ให้สังคมไทยได้เชื่อและศรัทธาในศักยภาพ
ของคนพิการว่าคนพิการทำ อะไรได้มากกว่าที่ใครคิด
มูลนิธิสากลเพื่อ คนพิการได้จัดทำสารคดี “สู้ให้เป็น”
เป็นสารคดีสั้น 5 นาที เป็นสารคดีที่แสดงออกถึงศักยภาพความสามารถ ของคนพิการ โดยมีเพลง “สู้ให้เป็น เป็นเพลงประกอบสารคดี ต่อมานายมนต์ชัย เทศะแพทย์ ประธานมูลนิธิสากลเพื่อคน พิการสาขาภาคเหนือ ได้เสนอให้ทำสารคดีที่มี ความยาว 30 นาที ในชื่อ “สารคดียิ้มสู้” เป็นสารคดีเสริมสร้างรอยยิ้ม เพิ่มความดีความดี ให้กับสังคมโดยใช้เรื่องราวเกี่ยวกับคนพิการเป็นตัวเดินเรื่อง เป็นสารคดีที่คนพิการดูได้ บุคคลคนทั่วไปดูดี เป็นสารคดีให้ กำลังใจทั้งแก่คนพิการและบุคคลทั่วไป สารคดียิ้มสู้ได้อันเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ “ยิ้มสู้” มาเป็นเพลง ประกอบสารคดี เพลงพระราชนิพนธ์ “ยิ้มสู้” เป็นเพลงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้แก่คนตาบอดเพื่อให้ คนตาบอด ได้ยิ้มสู้กับชีวิต และเป็นการยิ้มของผู้ที่มีชัยชนะ
เพลงพระราชนิพนธ์ ยิ้มสู้
สารคดียิ้มสู้ในระยะแรกได้รับเงินสนับสนุนจากกระทรวง พัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์และนำออกอากาศทางเคเบิลทีวีของยูบีซีในปี 2550 และนำออกอากาศทางสถานี วิทยุโทรทัศน์ ทีวีไทยทีวีสาธารณะ ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.30 น.-14.00 น. ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2551 จนถึงเดือน ปัจจุบันในระยะหลังการผลิตสารคดียิ้มสู้ได้รับการสนับสนุนจากองค์การกระจาย เสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศ
ไทย สำนักส่งเสริม และพิทักษ์ผู้ด้อยโอกาสได้คัดเลือกรายการ “สารคดียิ้มสู้” ให้เป็นสื่อที่นำเสนอกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ต่อผู้อยู่ในภาวะ ยากลำบาก และสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาเห็นว่ารายการ “สารคดียิ้มสู้” ให้สารประโยชน์ แก่ประชาชนผู้ติดตามชมเป็นอย่างมาก
ยิ้มสู้ - ตอนที่ 22 สุภาพบุรุษ จิตอาสา
สารคดียิ้มสู้ได้แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
(1) งานศิลปะกับคนพิการ
(2) คนพิการต้นแบบ
(3) องค์กรส่วนท้องถิ่น ต้นแบบ
(4) ผู้ดูแลคนพิการต้นแบบ และ
(5) ต้นแบบการพัฒนาคนพิการ
ในการถ่ายทำสารคดียิ้มสู้ ทางมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการพบว่า มีงานศิลปะและผลิตภัณฑ์ที่คนพิการทำขึ้นมานั้นมีความงดงาม เป็นอย่างมาก แสดงออกถึงศักยภาพและความสามารถของผู้พิการได้เป็นอย่างดี ทางมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการจึงได้จัดทำ โครงการ หอศิลป์ยิ้มสู้ เพื่อเป็นศูนย์แสดงและจำหน่ายงานศิลปะ ผลิตภัณฑ์ดีเด่น ของคนพิการทุกประเภทจากทั่วประเทศ งานศิลปะและผลิตภัณฑ์ดีเด่นของคนพิการมีความงดงามมากเพียงใดสามารถดูได้จาก ห้องหอศิลป์ยิ้มสู้นี้
หอศิลป์ยิ้มสู้ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 27/5 ซอยอรุณอมรินทร์ 39 ถนนอรุณอมรินทร์
แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย
กรุงเทพฯ 10700 หอศิลป์ยิ้มสู้เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าเยี่ยมชมได้ฟรีทุกวัน
ตั้งแต่เวลา 8.30น.-16.30น.
ขอเชิญชวนทุกท่านได้เข้ามาเยี่ยมชมหอศิลป์ยิ้มสู้แล้วช่วยสนับสนุนผลิตภัณฑ์ ดีเด่นของคนพิการ ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อให้คนพิการสามารถพึ่งตนเองได้ไม่เป็นภาระต่อครอบครัว และสังคม อีกทั้งสามารถเป็นกำลังใจให้กับคนที่
กำลังท้อแท้
โดย คุณโชคมงคล สวงคุณ
พิการทางการเคลื่อนไหว อัมพาตท่อนล่าง เกิดจากอุบัติเหตุรถยนต์
กล้วยไม้ ทำจากดินญี่ปุ่น
โดย คุณโชคมงคล สวงคุณ
พิการทางการเคลื่อนไหว อัมพาตท่อนล่าง เกิดจากอุบัติเหตุรถยนต์
“พ่อฟ้าของข้าแผ่นดิน”,
2007
ขนาด 44x67 ซม.
เทคนิค สีน้ำมันผ้าใบ
โดย คุณทนง โคตรชมภู ศิลปินวาดภาพด้วยปาก
ฝีมือระดับโลก
พิการทางการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้ออ่อนแรง อัมพาตตั้งแต่คอลงมา
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” , 2006
ขนาด 86x105 ซม.
เทคนิค สีน้ำมัน
โดยคุณประณต วัฒนาสวัสดิ์
พิการทางการเคลื่อนไหว อัมพาตท่อนล่าง
“สมเด็จพระบรมราชินีนาถ” , 2007
ขนาด 86x105 ซม.
เทคนิค สีน้ำมัน
โดยคุณประณต วัฒนาสวัสดิ์
พิการทางการเคลื่อนไหว อัมพาตท่อนล่าง
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กับคุณทองแดง” , 2006 ขนาด 105x86 ซม.
เทคนิค สีน้ำมัน
โดยคุณประณต วัฒนาสวัสดิ์
พิการทางการเคลื่อนไหว อัมพาตท่อนล่าง
เรือยานงกอน
ทำจากไม้โพเล
โดย นายยานงกอน สุวรรณะ
พิการทางการเคลื่อนไหว เกิดจากเป็นโรครูมาตอยด์
ผลิตภัณฑ์ทำจากกะลามะพร้าว
โดย คุณวีระ เขนย
พิการทางการเคลื่อนไหว เป็นโปลิโอต้องใช้ไม่ค้ำยัน
โคมไฟทำจากกะลามะพร้าว โดย คุณวีระ เขนย
พิการทางการเคลื่อนไหว เป็นโปลิโอต้องใช้ไม่ค้ำยัน
ผลิตภัณฑ์งานถักไหมพรม
ได้รับเหรียญเงินในการแข่งขัน
ฝีมือคนพิการนานชาติ (Abilympic)
ครั้งที่ 7 ณ เมืองชิซึโอกะ
ประเทศญี่ปุ่น ปี ค.ศ. 2007
โดย คุณสมสรวง กองเงิน
พิการทางการเห็น
ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน
ได้รับเหรียญเงินในการแข่งขัน
ฝีมือคนพิการนานชาติ (Abilympic)
ครั้งที่ 7 ณ เมืองชิซึโอกะ
ประเทศญี่ปุ่น ปี ค.ศ. 2007
โดย คุณอัมพร จันทร์ถาวร
พิการทางการเคลื่อนไหว โปลิโอ
“สายสัมพันธ์”, 2009
ขนาด 90x70 ซม.
เทคนิค สีน้ำมันบนผ้าใบ
โดย คุณทนง โคตรชมภู ศิลปินวาดภาพด้วยปาก
ฝีมือระดับโลก
พิการทางการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้ออ่อนแรง อัมพาตตั้งแต่คอลงมา
“วันเฉลิมฉลอง 60 ปี
ครองราชย์” , 2005
ขนาด 70x90 ซม.
เทคนิค สีน้ำมัน
โดยคุณประณต วัฒนาสวัสดิ์
พิการทางการเคลื่อนไหว อัมพาตท่อนล่าง
พระพิฆเนศประทานพร แกะสลักจากไม้สัก
โดย คุณพิสดาร ด้วงอิน
พิการทางการได้ยิน
“ทับหลังกับความเชื่อ
หมายเลข 1”,1991
ขนาด 70x90 ซม.
เทคนิค สีน้ำมันบนผ้าใบ
โดยคุณนฤพนธ์ ชุติวรรณโสภณ พิการทางการเคลื่อนไหว อัมพาตท่อนล่าง เกิดจากมะเร็งไขสันหลัง
“รอยพระพุทธบาท 5/2536”,1993
ขนาด 70x90 ซม.
เทคนิค สีน้ำมัน, สีชอล์คน้ำมัน, ทองคำเปลวบนผ้าใบ
โดยคุณนฤพนธ์ ชุติวรรณโสภณ
พิการทางการเคลื่อนไหว อัมพาตท่อนล่าง เกิดจากมะเร็งไขสันหลัง
“ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (2549-2551)”, 2008
ขนาด 75x95 ซม.
เทคนิค สีคาร์บอน
โดย คุณลอนสัน โหล่คำ ศิลปินวาดภาพด้วยเท้า
พิการทางกาย
ไม่มีแขนทั้งสองข้าง
http://www.wiriya.net/hosin.php
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
อารายเหรอ