1975 กลุ่มผู้ก่อการร้าย พร้อมอาวุธครบมือ บุกเข้าไปในสถานที่ราชการแห่งหนึ่ง ใน กรุงสต็อคโฮล์ม สวีเดน จับประชาชน และ เจ้าหน้าที่ จำนวน 30 กว่าคน เป็นตัวประกันเรียกร้องทางการเมืองบางประการต่อรัฐบาล
ผลการเจรจาต่อรอง ไม่เป็นผลสถานการณ์ยืดเยื้อนานหลายวัน จนในที่สุด รัฐบาลตัดสินใจขั้นเด็ดขาด ใช้กำลังตำรวจหน่วยพิเศษ เข้าจู่โจมเข้าไปในอาคาร พังประตู เข้าทางหน้าต่าง บ้างก็มุดดินเข้าไป(ขอมดำดินเรอะ)
ท่ามกลางความชุลมุน วุ่นวาย ตัวประกันส่วนหนึ่ง กลับขัดขวางเจ้าหน้าที่ และช่วยกันปกป้องคนร้าย บางคนถึงกับใช้ตัวเองเป็นเกราะกำบังให้กับผู้ก่อการร้าย ตำรวจไม่กล้าใช้ความรุนแรง เพราะกลัวตัวประกันได้รับอันตราย ต้องถอนกำลังกลับออกมาอย่างเซ็ง เซ็ง
สุดท้าย ผู้ก่อการร้ายทั้งหมดหลบหนีออกนอกประเทศไปได้โดยความร่วมมือของตัวประกัน
มีคำถามตามมา ว่า ทำไมตัวประกันจึงให้ความช่วยเหลือแก่ ผู้ก่อการร้าย เหล่านั้น ??
และนี้คือเรื่องของวันนี้ครับ
สต็อคโฮ ล์ม ซินโดรม(Stockholm Syndrome)
Stockholm Syndrome หมายถึงอาการทางจิตชนิดหนึ่งที่คนร้าย และเชลยอยู่ร่วมกันในสถานที่จำกัดเป็นระยะเวลาหนึ่ง จนเชลยเกิดความเห็นใจและความรู้สึกในแง่ดีต่อตัวคนร้าย
อาการนี้มักจะเกิดกับเชลยที่ใช้เวลา อยู่กับคนร้ายเป็นเวลานาน ได้รับฟังเหตุผลในการกระทำจนเกิดอารมณ์ร่วมด้วย ทำให้เชลยเกิดความไว้วางใจหรือความรักในตัวคนร้ายขึ้นมา อีกทั้งจากการที่มีการขู่ว่า"หากตำรวจบุกเข้ามา จะฆ่าเชลยทั้งหมด"ก็ทำให้เชลยเกรงว่าจะเกิดอันตรายกับตัวเองจึงไม่อยากให้ ตำรวจบุกเข้ามา และประพฤติตนโอนเอียงไปในทางให้ความร่วมมือกับคนร้ายมากกว่า
นักจิตวิทยาวิเคราะห์ Stockholm Syndrome ว่า เป็นพฤติกรรม " สองดอกจิก แหม่มโพธิ์ดำ "หรือที่ทางธรรม เรียกว่า เห็นผิดเป็นชอบ เกิดจากความใจอ่อน สงสารสัตว์โลกผู้ชะตาตกต่ำ ประกอบกับ ได้ใช้ชีวิตร่วมกับผู้ก่อการร้ายเป็นระยะเวลานานกินข้าวหม้อเดียวกัน - นอนเตียงเดียวกัน มิได้ถูกข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย หรือ พูดจาประชด ถากถาง แม้แต่น้อย จึงเกิดความสงสาร เห็นใจ หันมาเข้าข้างเค้าซะเลย
" พวกเขาน่ารัก และ อ่อนโยน ไม่เคยตะคอกพวกเราสุภาพ กว่า ข้าราชการบนศาลากลางอีกแน่ะ " ตัวประกันคนหนึ่งกล่าว
ชื่ออาการทางจิตนี้ตั้งขึ้นตามคดีที่ เกิดขึ้นที่ชื่อเมืองสต็อกโฮล์มเมื่อปี 1973 โจรปล้นธนาคารจับตัวประกันไว้และ ถูกล้อมโดยตำรวจ หากในภายหลังเมื่อตำรวจบุกเข้าจับกุมคนร้ายและคลี่คลายสถาณการณ์ลงได้ ตัวประกันกลับให้การโดยเข้าข้างฝ่ายคนร้าย และมีกระทั่งตัวประกันที่แต่งงานกับคนร้ายในภายหลัง
Patricia Campbell Hearst
(20 กุมภาพันธ์ 1954 – ?? )
ชื่อ ปัจจุบัน Patricia Hearst Shaw
อาชีพ ไฮโซ, ดาราหญิง,
ปัจจุบันอายุ 55 ปี ซานฟานซิสโก แคลิฟอร์เนีย
ญาติ
William Randolph Hearst (ปู่)
Anne Hearst (น้องสาว)
Amanda Hearst (ญาติ)
แพทริเชีย เฮิร์สท เกิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 1954 เป็นทายาทของวิลเลี่ยม แรนดอล์ฟ เฮิร์สท (William Randolph Hearstซึ่งเป็นไฮโซและ ผู้ก่อตั้งเฮิร์สทกรู๊ปซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลด้านสื่อมวลชนเป็นอย่างมากในยุค นั้น อีกทั้งเธอยังเป็นคนดังในสังคมที่รู้จักกันไปทั่ว
เรื่องราวของเธอมาโด่งดังเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 1974 ขณะที่แพทริเชียอยู่กับคนรักของเธอ ที่อพาร์เมนท์หรูในเบอร์เคอร์เลย์ ซานฟรานซิสโก เธอถูกกลุ่มคนร้ายกองทัพปลดปล่อยอิสระ SLA (Symbionese Liberation Army) ลักพาตัวไปทั้งยังอยู่ใน ชุดเสื้อคลุมอาบน้ำ
ในตอนแรก SLA ตั้งใจจะใช้แพทริเชียเป็นตัวประกันใน การแลกเปลี่ยนกับพรรคพวกของตนซึ่งถูกจับกุมอยู่ แต่เปลี่ยนใจภายหลังมาเป็นเรียกร้องค่าไถ่ตัวกับครอบครัวของแพทริเชียแทน กลุ่มคนร้ายได้เรียกร้องให้ครอบครัวเฮิร์สทแจกจ่ายอาหารให้กับคนยากไร้ในแค ลิฟอร์เนียหัวละ 70 ดอลล่าร์ ซึ่งคิดเป็นเงินรวมถึงสี่ร้อยล้านดอลล่าร์ และพ่อของตัวประกันก็บริจาคอาหารเป็นเงินรวม 6 ล้านดอลล่าร์แจกจ่ายให้กับคนยากไร้ใน เขตท่าเรือ ต่อมา SLA ก็ ปฏิเสธที่จะปล่อยตัวแพทริเชียโดยอ้างว่าเฮิร์สทแจกจ่ายอาหารคุณภาพต่ำกว่า ที่พวกเขากำหนดไว้ (ใน เทปบันทึกเสียงซึ่งเปิดเผยสู่สาธารณชนในภายหลัง แพทริเชียกล่าวว่า เธอรู้ดีว่าพ่อของเธอทำได้ดีกว่านั้น)
อีกสองเดือนให้หลัง เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความตกตะลึงให้กับคนทั่วอเมริกา วันที่ 15 เมษายน มีการปล้นธนาคารที่ธนาคารฮิเบอร์เนีย สาขาซันเซ็ต และกล้องรักษาความปลอดภัยก็จับภาพหญิงสาวผู้หนึ่งในกลุ่มคนร้ายไว้ได้ เธอถือแมชชีนกันพร้อมกับตะโกนสั่งคนที่อยู่ในธนาคารด้วยเสียงอันดัง และเธอผู้นี้ก็คือแพทริเชีย เฮิร์สทซึ่งถูก SLA จับไว้ในฐานะตัวประกันนั่นเอง
โดยเทปและรูปถ่ายที่ SLAส่งมาในภายหลัง แพทริเชียประกาศในเทปดังกล่าวด้วยตัวเองว่า"ชื่อของฉันคือทาเนีย และฉันคือนักรบของ SLA"
หลักฐานจากปากพยาน และ กล้องวิดีโอ ระบุว่า หลังจากเธออยู่กับโจรมาพักใหญ่ เธอก็เปลี่ยนใจไปอยู่ฝ่ายผู้ร้าย ร่วมควงปืน จี้ตัวประกันคนอื่นแล้วหอบเงินหนีไปกับโจรหนุ่มหน้าหวานนักจิตวิทยาลงความ เห็นว่า เป็นอาการทางจิต แต่ ลเลี่ยม แรนดอล์ฟ เฮิร์สท ผู้เป็นพ่อของเธอบ่นพึมพำว่า " มันเป็นลูกไม่รักดี " และเมื่อวิลเลี่ยม วอลฟ์ซึ่งเป็นหนึ่งสมาชิก SLA ถูกตำรวจยิงเสียชีวิต เธอก็กล่าวผ่านเทปซึ่งถูกนำมาออกอากาศดังนี้
"ฉันรักเขามาก เขาเป็นพวกพ้องผู้ร่วมต่อสู้เพื่อคนยากไร้และฉันก็จะต่อสู้จนวาระสุดท้ายโดย ไม่เกรงกลัวความตายเช่นเดียวกับเขา"
เหตุการณ์เหล่านี้ผ่านไปเวลา1 ปีกับอีก 9 เดือน ในเดือนกันยายน 1975 แพทริเชียและ SLA คนอื่นๆก็ถูกจับกุมที่อพาร์ทเมนท์ใน ซานฟรานซิสโก ขณะที่ถูกจับกุมนั้น แทบจะไม่มีใครบอกได้ว่าเธอเป็นลูกสาวของมหาเศรษฐีเลย แพทริเชียในตอนนั้นใส่เสื้อวอร์มแขนยาว กางเกงผ้าฝ้ายราคาถูก รองเท้ายางสกปรก และไม่ได้ใส่เสื้อยกทรง
FBI ได้ให้เหตุผลไว้สองประการ เกี่ยวกับการจับกุมที่ล่าช้ามาถึงเพียงนี้ หนึ่งนั้นเพราะแพทริเชียไม่ได้ติดต่อมายังครอบครัวอีกทั้ง SLA เป็นกลุ่มคนร้ายเล็กๆที่แทบไม่มีใคร รู้จักมาก่อน แม้แต่ FBI ซึ่ง จับตามองกลุ่มคนร้ายต่างๆทั่วโลก ก็ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับ SLA เลย
แพทริเชียหายหน้าไปจากสังคมเป็นเวลา นาน และเมื่อศาลเริ่มการตัดสินเมื่อวันที่ 15 มกราคม 1976 แพทริเชียก็ปรากฏตัวที่ศาลใยืนยันใน ศาลว่าเธอเป็นผู้บริสุทธิ์ และทุกอย่างที่เธอทำลงไปนั้นเป็นเพราะถูกล้างสมอง เธอไม่ได้หลงรักวอลฟ์เลยแม้แต่น้อย
คำอ้างดังกล่าวของแพทริเชียไม่เป็นที่ยอมรับในศาลเพราะเธอยังคงเก็บจี้ห้อย คอของวอลฟ์ไว้ติดตัวตลอดเวลา ศาลได้ตัดสินให้เธอถูกจำคุกเป็นเวลา 7 ปี แต่เพทรีเซียจ่ายเงินประกันตัว 1,500,000 ดอลล่าร์ปบวกกับคำ สั่งละเว้นโทษจากประธานาธิบดี แพทริเชียก็ถูกปล่อยตัวเป็นอิสระ
จะอย่างไรก็ดี ตระกูลเฮิร์สทก็ได้รับผลกระทบมากมายจากคดีนี้ พ่อแม่ของแพทริเชียหย่าขาดจากกัน แม่ของเธอกลายเป็นโรคแอลกอฮอลลิซึ่ม แพทริเชียก็ถอนหมั้นจากคนรัก เธอได้พบรักใหม่กับตำรวจซานฟรานซิสโกซึ่งเป็นบอดี้การ์ดของเธอหลังการปล่อย ตัวนั่นเอง เมื่อแพทริเชียอายุ 25 ปี ทั้งสองก็แต่งงานและมีบุตรด้วยกัน 2 คน
หลังจากปี 1990 มา แพทริเชียได้รับบทแสดงเป็นตัวประกอบในหนังหลายเรื่อง และแล้ว สต๊อกโฮล์มซิน จึงใช้เป็นชื่อสากลในวิชาจิตวิทยา มาจนถึงทุกวันนี้
เนื้อหาเอามาจาก
http://ohx3.exteen.com/20070630/patricia-hearst
http://en.wikipedia.org/wiki/Patty_Hearst+ +
http://www.2how.com/user/index.php?id=49&list=showcase&blogname=viroonmoonlover&page=5/credit:cammy
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
อารายเหรอ