127 ปี รำลึกพระนางเรือล่ม
อนุสรณ์แห่งความรักระหว่างพระมหากษัตริย์และพระ มเหสี โดยเป็นความรักของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่มีต่อสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี นั้น ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่า ความรักที่เจ้าชายชาห์ จฮาน ที่มีต่อพระนางมุมตัส มาฮาล พระชายา เลย แม้ว่า อนุสรณ์แห่งความรักที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก คือ "ทัชมาฮาล" ซึ่งเป็นสุสานแห่งความรักที่เจ้าชายชาห์ จฮาน ที่สร้างขึ้นเพื่อเก็บพระศพของพระนางมุมตัส มาฮาล พระชายาจะดูยิ่งใหญ่กว่าก็ตาม
สมเด็จ พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ หรือพระนามที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “พระนางเรือล่ม” หลังจากที่ทรงสิ้นพระชนม์ด้วยอุบัติเหตุ พระองค์ทรงเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ลำดับที่ 50 มีพระมารดาคือ สมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) ประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน ปีวอก พ.ศ. 2403 ณ พระบรมมหาราชวัง พระองค์เจ้าสุนันทาฯ ทรงถวายองค์เป็นพระมเหสีในรัชกาลที่ 5 เมื่อเจริญพระชนมายุได้ 17 พรรษาหลวง เวลานั้นพระบรมราชสวามีแก่ชันษากว่า 7 ปี
ด้วยมีพระสิริโฉมงดงาม พระสติปัญญาฉลาดเฉียบแหลม จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็น “พระอัครมเหสี” และยังเป็นที่โปรดปรานสนิทเสน่หายิ่งกว่าพระอัครมเหสีองค์อื่นๆ พระองค์เจ้าสุนันทาฯ ทรงรับราชการรับใช้สนองพระเดชพระคุณชิดใกล้เป็นที่สนิทเสน่หาในพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวยิ่งนัก ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตามเสด็จและรับใช้ใกล้ชิดดั่งเป็นปิยมหาราชินีเสมอ นอกจากทรงมีพระรูปโฉมงดงามแล้ว ก็ยังทรงมีพระสติปัญญาฉลาดล้ำ ทรงมีพระอัธยาศัยจริงจังเด็ดขาด ปฏิบัติข้อราชการและรับสั่งด้วยความเฉียบคมชัดเจนเสมอเป็นที่ประจักษ์แก่ หมู่ข้าหลวงชาววังทั่วไปซึ่งเล่าขานกันว่าพระอุปนิสัยรับสั่งเฉียบคมนี้ทรง มีตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์แล้ว
ต่อ มาเมื่อพระองค์เจ้าสุนันทาฯ ทรงพระครรภ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ยิ่งทรงมีพระเมตตาและห่วงใยพระมเหสีผู้เป็นที่ สนิทเสน่หาพระองค์นี้ยิ่งขึ้น ทรงใส่พระทัยตลอดเวลาและเสด็จมาประทับเฝ้าพระอาการในช่วงที่ประสูติพระราช ธิดาด้วย เมื่อประสูติพระราชธิดา "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ฯ" แล้วสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็ทรงพระราชทานของขวัญแก่พระองค์เจ้าสุนันทาฯ เป็นนาฬิกาฝังเพชรและพระธำมรงค์ประดับเพชร 2 วง ซึ่งนับว่าสูงค่ากว่าของขวัญที่เคยพระราชทานแก่พระมเหสีและเจ้าจอมอื่น ๆ ทั้งปวง
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ ทรงมีพระราชธิดา พระองค์แรกเมื่อพระชนมายุได้ 19 พรรษา ขณะกำลังเสด็จฯ มายัง พระราชวังบางปะอินพระองค์ก็ทรงพระครรภ์ได้ 5 เดือน ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 การเดินทางนี้เป็นการเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เสด็จประทับบนเรือพระที่นั่งกับพระราชธิดา โดยมีพระพี่เลี้ยงตามเสด็จด้วย เมื่อเรือที่ประทับแล่นตามแม่น้ำเจ้าพระยาไปถึงตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ถูกเรือพระพันปีหลวง หรือสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถบรมราชชนนี พันปีหลวงแล่นแซง อีกทั้งนายท้ายเรือของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ เมาเหล้าขาดสติในการบังคับเรือ จึงทำให้เรือล่มลง แต่ไม่มีผู้ใดกล้าเข้าไปช่วยเหลือ เนื่องจากเกรงกลัวกฎมณเฑียรบาลที่ว่า ห้ามผู้ใดแตะต้องพระวรกายพระมเหสีมิฉะนั้นจะถูกประหารทั้งโคตร ทั้งที่พระองค์ก็ทรงว่ายน้ำได้ แต่เพราะความที่ทรงห่วงพระราชธิดา จึงต้องสิ้นพระชนม์ไปพร้อมๆกัน ด้วยพระชนมายุเพียง ๒๑ พรรษาเท่านั้น รวมทั้งพระพี่เลี้ยง รวมทั้งสิ้น 4 ศพ ที่จมอยู่ใต้ท้องเรือโดยที่ไม่มีใครกล้าเข้าไปช่วย
ใน วันเสด็จฯ นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เคลื่อนขบวน เรือต่างๆออกไปก่อน ในเวลาประมาณ 2 โมงเช้า โดยพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพชรรัตน์ประทับบนเรือเก๋งกุดัน โดยมีเรือปานมารุตซึ่งเป็นเรือกลไฟจูงเรือพระประเทียบ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสร็จพระราชกิจแล้วจึงได้ เสด็จพระราชดำเนินด้วยเรือพระที่นั่งโสภาณภควดีตามไป เมื่อขบวนเรือพระที่นั่งไปถึงบางตลาดนั้น จมื่นทิพเสนากับปลัดวังซ้ายลงมากราบทูลว่า “เรือพระที่นั่งพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ซึ่งเรือปานมารุตจูงไปนั้นล่มที่บางพูด สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพชรรัตน์สิ้นพระชนม์”
หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าจึงได้ทรงไล่เลียงกรมหมื่นอดิศรอุดมเดช พระยามหามนตรี และผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ โดยพระยามหามนตรีทูลว่า “เรือราชสีห์ซึ่งจูงเรือพระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรีนั้นนำหน้าไปทางฝั่งตะวัน ออก โดยมีเรือโสรวารซึ่งพระยามหามนตรีไปจูงเรือพระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรีตามไป เป็นที่สองในแนวเดียวกัน ส่วนเรือยอร์ชสมเด็จกรมหลวงวรศักดาซึ่งจูงเรือสมเด็จพระสุดารัตน์ราชประยูร ไปทางฝั่งตะวันตกแล่นตรงกันกับเรือราชสีห์ หลังจากนั้น เรือปานมารุตแล่นสวนขึ้นมาช่องกลางห่างเรือโสรวารประมาณ 10 ศอก พอเรือปานมารุตแล่นขึ้นไปใกล้ เรือราชสีห์ก็เบนหัวออก เรือพระประเทียบเสียท้ายปัดไปทางตะวันออก ศีรษะเรือไปโดนข้างเรือโสรวารน้ำเป็นละลอกปะทะกัน กดศีรษะเรือพระประเทียบจมคว่ำลง” อย่างไรก็ตาม กรมหมื่นอดิศรกล่าวว่า “เป็นเพราะเรือโสรวารหนีตื้นออกมา จึงเป็นเหตุให้เรือปานมารุตแล่นห่างกว่า 10 ศอก” ซึ่งกรมหมื่นอดิศรและพระยามหามนตรีต่างซัดทอดกันไปมา โดยในขณะที่เรือล่มนั้นพระยามหามนตรีก็ได้ออกคำสั่ง ห้ามผู้ใดลงไปช่วยเหลือด้วยเป็นการขัดต่อกฎมณเฑียรบาลที่ห้ามให้ผู้ใดแตะ ต้องพระวรกายของพระมเหสี มิฉะนั้นจะถูกประหารทั้งตระกูล หลังจากนั้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายขึ้นไปไล่เลียงคนอื่นๆดู แล้วจึงได้ความว่า พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ก็สิ้นพระชนม์พร้อมด้วยพระราชบุตรในพระครรภ์ พระชนม์ 5 เดือนเต็ม ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าทรงเสียพระทัยยิ่งนัก และเนื่องจากเหตุการณ์นี้ทำให้มหาชนถวายพระนามพระองค์เจ้าสุนันทากุมารี รัตน์ว่า “สมเด็จพระนางเรือล่ม”
พระศพของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทา กุมารีรัตน์และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพชรรัตน์ ตั้งบำเพ็ญพระราชกุศลที่หอธรรมสังเวช ภายในพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่วันที่เสด็จทิวงคต และได้มีการพระราชทานเพลิงพระศพทั้ง 2 พระองค์ ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2424
โศก นาฎกรรมที่เกิดขึ้นนี้ก่อนเกิดเหตุ ได้มีลางร้ายมาเตือนล่วงหน้าแล้วโดยก่อนที่เรือจะล่มในคืนหนึ่ง สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ ได้ทรงพระสุบินว่า พระธิดาของพระองค์ตกลงไปในน้ำ ด้วยความตกพระทัยจึงรีบคว้าพระธิดาจนตกลงไปในน้ำด้วยกัน แล้วได้ตื่นจากบรรทม ครุ่นคิดถึงการเสด็จฯไปพระราชวังบางปะอิน ในวันรุ่งขึ้นว่าต้องมีเหตุอะไรเกิดขึ้นกับพระองค์เป็นแน่ แต่ก็ยังหลีกเลี่ยงชะตากรรมไม่ได้จนพบจุดจบในที่สุด
เล่ากันว่าขณะ กำลังงมค้นหาพระศพในวันที่เรือพระที่นั่งล่ม โดยชาวบ้านแถวนั้นทนเห็นเหตุการณ์ไม่ไหว พยายามช่วยลงมางม ค้นหาพระศพก็เกิดเหตุอัศจรรย์ที่หาเท่าไหร่ก็ไม่พบ ถึงขนาดทำพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ก็ไม่สามารถพบพระศพ จึงต้องไปเชิญหลวงจีนท่านหนึ่งนามว่า “สกเห็ง” ซึ่งเชี่ยวชาญทางวิปัสสนานั่งทางในมาทำการเสี่ยงทาย โดยเสกถ้วยน้ำชาให้ลอยไปตามกระแสน้ำหากถ้วยชาจมลงตรงจุดใด ก็ให้ชาวบ้านและทหารช่วยกันลงไปงมหา ซึ่งในที่สุดก็สามารถหาพระศพจนพบ ลักษณะพระศพที่เห็นนำความเศร้าสลดมาสู่สายตาผู้พบเห็นยิ่งนัก เป็นภาพพระนางโอบพระธิดาไว้แนบอก และพระศพที่พบก็จมอยู่ใต้ซากเรือพระที่นั่งนั่นเอง
พระพุทธเจ้า หลวงทรงพระกันแสง
ต่อมาเมื่อทรงทราบว่าพระมเหสีผู้เป็นที่รักสิ้นพระชนม์ พระองค์ถึงกับทรุดพระวรกายและรับสั่งให้แพทย์หลวงทำการแก้ไขด้วยหวังว่าพระ มเหสีจะฟื้นคืนพระชนม์ชีพ และให้ชาวบ้านมาช่วยแก้ไขอีกจนบ่าย 3 เศษ
ยาม เมื่อเชิญพระศพกลับพระนครนั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระกันแสง ทรงประทับอึ้ง ตรัสอันใดมิออก ทรงโศกสลด มิได้บรรทมหลายวันหลายคืน พระพักตร์ซีดและพระเนตรแดงช้ำ พร่ำอาลัยรักในพระมิ่งมเหสีและพระราชธิดาน้อย ซึ่งกำลังอยู่ในพระชันษาน่ารัก
ความอาดูรนี้ปรากฎในบันทึกพระ ประวัติของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ว่า
"...ในระหว่างนั้นพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงพระปริวิปโยคมีความเศร้าโศกเป็นอันมาก จนไม่มีใครจะเข้ารอพระพักตร์ ได้มีพระกระแสรับสั่งให้ปิดพระทวารกั้นเป็นพิเศษ...ฯลฯ
...ขณะที่ทรงได้ ยินเสียงกลองชนะประโคมพระศพขึ้นครั้งไร ก็ทรงพระกันแสงพิลาปร่ำรำพันไปต่าง ๆ นานา จนกระทั่งประชวรพระวาโยไป เจ้าหมื่นไวยวรนารถ (เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี) ก็เข้านวดฟั้นคั้นพระบาท และคอยเอาน้ำหอมกับทรงดมรอพระนาสิกไว้ให้คลายพระประชวร..."
การสิ้น พระชนม์ของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ ในครั้งนั้นมีเสียงร่ำลือในวังหลวงอย่างอื้ออึงว่า เพราะเป็นแผนการที่จงใจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ จากความอิจฉาริษยาของบรรดามเหสี และสนมนางในที่คิดหาหนทางกำจัด จนทำให้พระนางอันเป็นที่รักของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ต้องมาสิ้นพระชนม์ท่ามกลางข้อกังหา และเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของชาวบ้าน และชาววังในยุคนั้น ก็ยังมีเรื่องน่าพิศวงอันเกิดจากอาถรรพณ์ของดวงพระวิญญาณตามมาด้วย
อนุสรณ์ สถานแห่งรักด้วยอาลัยยิ่ง ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินต่างโศกสลดกันไปทั่วในการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่นี้ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเองก็ทรงตรมระทมทุกข์ ถึงขนาดเสด็จไปทรงเปิดพระโกศ เพื่อทอดพระเนตรพระศพของพระองค์เจ้าสุนันทาฯ อยู่หลายคราว
หลังจาก พระราชทานเพลิงศพแล้วทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์และอนุสาวรีย์ไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงพระองค์เจ้าสุ นันทาฯ ทั้งที่น้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี และที่พระราชวังบางปะอิน อันเป็นสถานที่ที่พระนางทรงโปรดปรานยิ่ง และสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงให้จารึกคำแสดงความอาลัยด้วยลายพระหัตถ์ ดังนี้
"ที่ รฤกถึงความรัก แห่ง สมเด็จพระนางเจ้า สุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี อรรคมเหษี อันเสดจทิวงคตแล้ว ซึ่งเธอเคยมาอยู่ในสวนนี้ โดยความสุขสบายแลเปนที่เบิกบานใจพร้อมด้วยผู้ซึ่งเปนที่รัก แลที่สนิทอย่างยิ่งของเธอ อนุสาวรี นี้สร้างขึ้น โดย จุฬาลงกรณ์ บรมราช ผู้เปนสวามี อันได้รับความเศร้าโศกเพราะความทุกข์อันแรงกล้าในเวลานั้น แทบจะถึงแก่ชีวิต ถึงกระนั้นก็ยังมิได้หักหาย จุลศักราช 1243"
เวลา นั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์เจ้าสุนันทาฯ ขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีและโปรดเกล้า ฯ สถาปนาพระองค์เจ้าสว่างวัฒนา เป็น "สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชเทวี" พระองค์ต่อไป
ภาย ในศาลเดิม
“พระนางเรือล่ม” ดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่วัดกู้
ริม ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ณ “วัดกู้” ซึ่งตั้งอยู่ใน ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ซึ่งในอดีตสถานที่นี้คือ จุดเกิดโศกนาฏกรรมครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ ยุคแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 เพราะเหตุที่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ ทรงสิ้นพระชนม์จากเรือพระที่นั่งล่มที่หน้าวัดกู้ กลางลำน้ำเจ้าพระยา จ.นนทบุรี ชาวบ้านจึงได้ร่วมใจตั้งศาลพระนางเรือล่มขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ บริเวณนี้เคยเป็นสถานที่กู้พระศพของพระองค์ ซึ่งต่อมาหลังจากผ่านเหตุการณ์นี้มานานมากแล้ว ก็ยังเกิดเรื่องเล่าถึงดวงวิญญาณพระนางเรือล่มตามมามากมาย
มีผู้พบ เห็น และร่วมอยู่ในเหตุการณ์ความศักดิ์สิทธิ์ของดวงพระวิญญาณพระนางเรือล่มหลาย ครั้ง โดยชาวบ้านในละแวกวัดเล่าว่า ในสมัยก่อนที่หน้าศาลของพระนางเรือล่ม มักมีเรื่องแปลกๆ เกิดขึ้นเสมอ โดยหลายๆครั้ง จะมีฝูงจระเข้ว่ายน้ำมาคำนับที่หน้าศาลอยู่เป็นประจำ ทั้งที่ปกติจระเข้มักว่ายอยู่ใต้น้ำ แต่อาจเป็นเพราะจระเข้รับรู้ถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ท่าน ดังนั้นเวลาว่ายน้ำผ่านหน้าศาลทีไร จระเข้ทุกตัวเป็นต้องลอยตัวขึ้นมาคำนับทุกครั้งไป
ศาล ใหม่ริมน้ำ
นอกจากนี้ยังเคยเกิดเหตุการณ์แปลกๆ ขึ้นกับคนต่างถิ่น ที่ไม่เคยรู้จักเรื่องราวของพระองค์ท่าน บางคนดั้นด้นมาที่วัดกู้ทั้งๆที่ไม่เคยมา ก็เพราะเขาฝันว่ามีผู้หญิงสูงศักดิ์ท่านหนึ่งมาเข้าฝันบอกให้มาที่วัดกู้ แล้วจะมีโชค เมื่อมาถึงก็ต้องตกตะลึง เมื่อมาเห็นภาพ และพระรูปปั้นที่อยู่ในศาลนั้นเหมือนกับผู้หญิงในความฝันไม่ผิดเพี้ยน
อาถรรพณ์ จากความศักดิ์สิทธิ์ของพระนางเรือล่มยังมีเล่ากันต่อมาอีกว่า เคยมีบางคนลบหลู่ไม่เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ พูดจาดูหมิ่นขณะพูดจบไม่ทันไรก็มีอาการแปลกๆเกิดขึ้น โดยจู่ๆก็วิ่งไปที่ท่าน้ำไม่รู้เนื้อรู้ตัว ทำท่าจะกระโดดน้ำตาย หรืออย่างบางคนที่ชอบมาท้าสาบานที่ศาลของพระองค์ว่า ถ้าผิดจริงขอให้จมน้ำตาย ปรากฏว่าได้ตายสมใจ โดยตายอยู่ในอ่างน้ำตื้นๆ ดังนั้นถ้าใครคิดมาลองสาบานอะไรสุ่มสี่สุ่มห้าที่ศาลพระนางเรือล่มที่วัดกู้ ต้องขอบอกก่อนว่าอย่าเสี่ยงเป็นอันขาด
ทุกวันนี้ชาวบ้านแถบ จ.นนทบุรี และผู้ที่มาจากต่างจังหวัดยังคงแวะเวียนมากราบไหว้พระนางเรือล่มที่ศาลอยู่ ตลอดเวลา สิ่งที่นิยมนำมาถวายพระองค์ท่านก็คือกล้วยเผา มะพร้าวอ่อนและพวงมาลัยมะลิสด ส่วนศาลที่เห็นในปัจจุบันจะมี 2 ศาล คือศาลที่อยู่ริมน้ำกับศาลที่ตั้งอยู่ภายในวัด ซึ่งศาลนี้อันที่จริงเป็นศาลเดิม เมื่อร้อยกว่าปีก่อน ศาลนี้เดิมก็อยู่ริมน้ำ แต่เพราะเวลาผ่านไปทำให้ดินทับถมกลายเป็นแผ่นดินงอกใหม่ ศาลนี้เลยกลายเป็นตั้งอยู่บนดินไป
ความรักและความอาลัยในตัวสมเด็จ พระนางเจ้าสุนันทาฯ นี้ ทำให้พระบาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโศกสลดถึงที่สุด และได้ทรงสร้างอนุสรณ์สถานขึ้นหลายแห่งตามสถานที่ต่างๆ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระมเหสีอันเป็นที่รักของพระองค์
เหตุการณ์คราว นั้นถึงกับทำให้ “เจ้าเหนือหัว” ของคนไทย “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ถึงกับทรงพระกรรณแสง เพราะเป็นที่รู้กันตามประวัติศาสตร์ว่า ในบรรดาพระมเหสีและเจ้าจอมทั้งหลายนั้น “สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี” หรือที่เราคนไทยคุ้นกับพระนามของพระองค์ว่า “พระนางเรือล่ม” นั้นทรงเป็น “ที่รัก” และโปรดปรานยิ่งของ “องค์พระพุทธเจ้าหลวง”
สำหรับ "อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์" ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นนั้น ก็มีอยู่ที่พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยหลังจากที่รัชกาลที่ 5 ได้มีพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระนางเจ้าฯ และพระราชธิดาแล้ว ก็ได้ทรงโปรดฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์หินอ่อนขึ้นเพื่อเป็นที่รำลึกถึงด้วยความอาลัยรัก พร้อมทั้งจารึกคำไว้อาลัยที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นด้วยพระองค์เอง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไว้ที่อนุสาวรีย์นั้นด้วย โดยมีข้อความอาลัยลึกซึ้งว่า
"ที่รฤกถึงความรัก แห่งสมเด็จพระนางเจ้า สุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชาเทวีอรรคมเหษี อันเสด็จทิวงคตแล้ว ซึ่งเธอเคยมาอยู่ในสวนนี้ โดยมีความสุขสบายและเป็นที่เบิกบานใจ พร้อมด้วยผู้ซึ่งเป็นที่รัก แลที่สนิทยิ่งของเธอ อนุสาวรีย์นี้ สร้างขึ้นโดยจุฬาลงกรณ์ บรมราช ผู้เป็นสวามี อันได้รับความเศร้าโศกเพราะความทุกข์อันแรงกล้าในเวลานั้น แทบจะถึงแก่ชีวิต ถึงกระนั้นก็ยังมิได้หักหาย"
สถูป พระนางเรือล่ม เเปลกตากว่าที่อื่นด้วยรูปทรงปิรามิด
ส่วนที่จังหวัด จันทบุรี ก็มีอนุสาวรีย์แห่งความรักนี้เช่นกัน โดย "สถูปพระนางเรือล่ม" นี้ ตั้งอยู่ที่น้ำตกพลิ้ว ในอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ทรงโปรด หลังจากที่เคยเสด็จประพาสน้ำตกพลิ้วเมื่อปี พ.ศ.2417
อนุสาวรีย์ แห่งนี้มีลักษณะที่แปลกแตกต่างจากอนุสาวรีย์อื่นๆ ตรงที่เป็นสถูปทรงปิรามิด ที่ภายในบรรจุพระอังคารของพระนางเจ้าฯ ไว้ โดยเหตุที่สร้างสถูปเป็นรูปทรงนี้ก็มาจากพระราชดำริของรัชกาลที่ 5 ที่ว่า “ทำเป็นรูปอื่นอาจไม่คงทนถาวร เพราะตั้งอยู่กลางป่าเขาลำเนาไพร อันไม่มีผู้ดูแล ฉะนั้น เมื่อปิรามิดของอียิปต์ยืนยงคงทนอยู่ได้ฉันใด ปิรามิดน้อยนี้ก็จะยืนยงคงทนอยู่เช่นกัน ณ ท่ามกลางป่าเขาและเสียงไหลรินของธารพลิ้ว”
อนุสาวรีย์ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ที่สวนสราญรมย์
ในกรุงเทพมหานครเอง ก็มีอนุสรณ์ที่รัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้สร้างขึ้นเช่นกัน โดย "อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์" นั้น ตั้งอยู่ภายในสวนสราญรมย์ สวนสาธารณะภายในเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นพระราชอุทยานของพระราชวังสราญรมย์ พระราชวังที่รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
สำหรับ ตัวอนุสาวรีย์นั้น สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2426 ณ บริเวณที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ เคยทรงพระสำราญเมื่อครั้งยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ ตัวอนุสาวรีย์ทำด้วยหินอ่อนสีขาวมียอดเป็นปรางค์เป็นที่บรรจุพระอัฐิและมีคำ จารึกแสดงความทุกข์โทมนัสของพระองค์บนแผ่นหินอ่อน อนุสาวรีย์นี้ตั้งอยู่ท่ามกลางต้นลั่นทมส่งกลิ่นหอมเย็น บรรยากาศสงบเป็นอย่างยิ่ง
สุนันทานุสาวรีย์ ภายในสุสานหลวงวัดราชบพิธฯ
ในสุสานหลวงของ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ซึ่งเป็นสุสานหลวงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศพระราชกุศลแก่พระบรมราชเทวี พระราชเทวี เจ้าจอมมารดา ตลอดจนพระราชโอรสธิดา และพระบรมวงศานุวงศ์ ก็มี "สุนันทานุสาวรีย์" ซึ่งเป็นที่บรรจุพระสรีรางคารสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ บรมราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สุ นันทานุสาวรีย์นี้สร้างเป็นรูปแบบเจดีย์สีทอง โดยมีเจดีย์ที่มีลักษณะคล้ายกันอีก 3 องค์ ซึ่งเป็นที่เก็บอัฐิของสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สว่างวัฒนา) สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (เสาวภาผ่องศรี) และสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
แม้อนุสรณ์ แห่งความรักของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์นั้นจะไม่ยิ่งใหญ่เทียบเท่าทัชมาฮาล แต่ก็แสดงออกถึงความรักและอาลัยในพระราชหฤทัยของพระองค์ได้เป็นอย่างดียิ่ง
TraveLArounD
เรียบ เรียงจาก
นิตยสารหญิงไทยโดย คุณสายทิพย์
marinerthai.com
http://www.marinerthai.com/sara/view.php?no=1180
ทะเล ตะวัน
http://www.bloggang.com/viewblog.php%3Fid%3Dmy-way%26group%3D12%26page%3D2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
อารายเหรอ