วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติศาสตร์เกย์ไทย


ประวัติศาสตร์เกย์ไทย






1. จุดเริ่มต้นของกลุ่มผู้รักร่วมเพศในสังคมไทย

ประวัติศาสตร์ของผู้รักร่วมเพศในประเทศ ไทยไม่มีความชัดเจนว่าเริ่มต้นเมื่อใด และไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานอย่างจริงจัง แต่อย่างไรก็ตาม มีความเชื่อว่าน่าจะมีการรับรู้หรือมองเห็นปัญหาของ พฤติกรรมรักร่วมเพศมาตั้งแต่ในอดีต ในทางพระพุทธศาสนา เมื่อครั้งบรรพกาลก็มีเรื่องที่กล่าวขานเกี่ยวกับพฤติกรรมรักร่วมเพศไว้มาก พอสมควรในพุทธชาดก รวมทั้งภาพพฤติกรรมรักร่วมเพศที่ปรากฏบนจิตรกรรมฝาผนังของวัดต่างๆ ในประเทศไทย นอกจากนี้ในพระไตรปิฎกอันประกอบด้วย พระวินัยปกฎก อภิธรรม ปิฎก และ สุตตันตปิฎก เป็นหลักธรรมที่สำคัญของพุทธศาสนา ได้กล่าวในเรื่องของ "กะเทย" หรือ "บันเดาะ" หรือ "บันเฑาะ ก์" ซึ่งก็มีความหมายว่าเป็นชายที่มีราคะจัด ชอบประพฤตินอกรีตในการเสพกามและยั่วยวนชายอื่นให้ประพฤติตาม หรือชายที่ถูกตอนหรือที่เรียกว่า ขันที คนที่เป็นกะเทยโดยกำเนิด อันหมายถึง ผู้มี 2 เพศในบุคคลเดียวกัน โดยมีบัญญัติข้อบ่งชี้ถึงบุคคลที่ไม่สามารถบวช ในพุทธศาสนาไว้เช่นกัน โดยที่ " บันเฑาะก์" ถือเป็นข้อห้ามหนึ่งที่ไม่ยินยอมให้บวชได้ ความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาเชื่อว่าเพศของฆราวาสและเพศของบรรพชิตนั้นสามารถ หลุดพ้น ได้ และพฤติกรรมรักร่วมเพศได้มีการบัญญัติว่า เป็นสิ่งที่ผิดและไม่ดีงามต่อพุทธศาสนา โดยเฉพาะในพระวินัยปิฎกได้ระบุเป็นข้อห้ามข้อหนึ่งของพระสงฆ์ว่า จะกระทำมิได้ อันทำให้ไม่ใส่ใจช่วยเผยแผ่พระศาสนาอันเป็นกิจของสงฆ์
ในเรื่องนี้มีหลักฐานจากพระราช พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ร.2 ได้เขียนว่า พระสังฆราชวัดมหาธาตุมีพฤติกรรมรักร่วมเพศกับลูกศิษย์หนุ่มแม้ไม่ถึงขั้นมี เพศสัมพันธ์ แค่เพียงสัมผัสจับต้อง ลูบคลำอวัยวะเพศจึงไม่ถึงกับปาราชิก แต่ถือว่าเป็นความผิดเช่นเดียวกัน จึงถูกถอดจากสมณศักดิ์และเนรเทศให้ออกไปจากวัดมหาธาตุ เป็นการลงโทษที่ ประพฤติปฏิบัติผิดหลักพระวินัยของสงฆ์อย่างหนึ่ง สะท้อนให้เห็นว่าพฤติกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นมามากกว่า 200 ปี แต่เป็นสิ่งที่ไม่ต้องการให้มีการกล่าวถึง เพราะ ถือเป็นความเสื่อมเสียของสังคมและขัดต่อขนบธรรมเนียมและประเพณีของคนไทยเป็น อย่างยิ่ง
วิถีชีวิตของคน ไทยมีการประพฤติและปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักของศาสนาในหลายๆ ด้าน จึงรับเอาความคิดและความเชื่อดังกล่าวเข้ามาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตด้วย ดัง นั้นพฤติกรรมรักร่วมเพศในสังคมไทยจึงน่าจะมีมาตั้งแต่ต้นสมัยกรุงศรีอยุธยา แล้ว เนื่องจากกฎหมายตราสามดวง ซึ่งสันนิษฐานว่าเริ่มตรามาตั้งแต่สมัยกรุง ศรีอยุธยาตอนต้นและได้มีการแก้ไขปรับปรุงจนถึงตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้ ระบุถึงบุคคลที่มีคุณลักษณะที่ไม่ใช่เพศชายและเพศหญิง ว่าเป็น " กะเทย" หรือ "บันเฑาะก์" ซึ่งไม่สามารถเป็นพยานในศาลได้ ก็แสดงให้เห็นว่าเรื่องดังกล่าวน่าจะเป็นปัญหาอย่างหนึ่งของสังคมจึงได้ บัญญัติไว้เป็นกฎหมายเช่นนั้น
นอกจากนี้คำว่ากะเทย ยังพบอยู่ใน "พะจะนะพาสาไท" ที่เขียนโดย บาทหลวงปาลเลอกัวร์ ในปี พ.ศ.2397 ที่เขียนว่า "กเทย" แปลมาจากภาษาอังกฤษว่า "Hermaphrodite" และหมอบรัดเลย์ได้ เขียนหนังสือชื่อ "อักขราภิธานศรับท์" ในปี พ.ศ.2416 ว่า "กะเทย" หมายถึง "คนที่ไม่เปนเภษชาย ไม่เปนเภษหญิง มีแต่ ทางปัศสาวะ" กล่าวได้ว่าสังคมไทยได้รับรู้ในผู้รักร่วมเพศมานานแล้ว ต่อมาจึงมีการบัญญัติศัพท์ไว้เป็นที่ชัดเจนในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 และพจนานุกรมอื่นๆ เป็นต้นมา ความหมายของ "กะเทย" หมายถึงลักษณะที่กำกวมของอวัยวะเพศ หรือลักษณะสิ่งที่ไม่ปรากฏเพศ หรือลักษณะกลางๆ ไม่เป็นเพศใดเพศหนึ่ง ดังนั้น จะเห็นว่าความหมายดังกล่าวมีนัยเพียงด้านเดียว ทั้งนี้ในทางสังคมแล้ว "กะเทย" หรือผู้มี พฤติกรรมรักร่วมเพศจะมีความหมายที่กินความกว้างขวางกว่านั้น
นอก จากนี้การบันทึกทางประวัติศาสตร์เชื่อม โยงกับพฤติกรรมรักร่วมเพศในสังคมไทยอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ในปี ค.ศ.1634 นายโยส สเคาเต็น อดีตเจ้าหน้าที่การค้าของฮอลันดา ประจำกรุงศรีอยุธยา ถูกลง โทษประหารชีวิตโดยรัฐบาลของเนเธอร์แลนด์ที่เมืองปัตตาเวีย ในข้อหาว่าเป็นผู้มีพฤติกรรมรักร่วมเพศซึ่งเป็นความผิดอย่างร้ายแรงใน สังคมตะวันตก นายสเคา เต็น ยอมรับสารภาพและอ้างว่าได้รับแบบอย่างพฤติกรรมรักร่วมเพศมาจากคนในกรุง ศรีอยุธยา สันนิษฐานได้ว่า พฤติกรรมรักร่วมเพศมีมาแต่สมัยอยุธยาและ เป็นที่รับรู้กันแล้วในสังคม แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเฉพาะในราชสำนักและบ้านของขุนนางชั้นผู้ใหญ่เสีย มากกว่าที่จะเป็นเรื่องของชาวบ้านธรรมดา ดังนั้นพฤติกรรม รักร่วมเพศจึงเป็นสิ่งที่ไม่ไกลเกินตัวในสังคมไทย
พฤติกรรมรักร่วม เพศได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ ไม่มีการบันทึกหรือบอกเล่าไว้เป็นหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ไทย เนื่องจากพฤติกรรมดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่อับอายและน่ารังเกียจเป็นอย่าง ยิ่ง ผู้ใดปฏิบัติจะ เป็นความอัปมงคลต่อตนเองและมัวหมองต่อวงศ์ตระกูลและครอบครัว ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ต้องปกปิดและไม่ต้องการให้ผู้ใดได้รับรู้ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม ต่อสังคม อีกทั้งอาจมีการลงโทษถ้าเป็นการสร้างความเสื่อมเสียให้กับบ้านเมือง





2. กลุ่มผู้รักร่วมเพศไทยในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังมีเรื่องกรณีของกรมหลวงรักษรณเรศร พระราชโอรสในรัชกาลที่ 1 ซึ่งมีคณะโขนละครอยู่ในวังและผู้เล่นที่เป็นผู้ชายล้วนเพราะเป็นคณะละครนอก (พระบรมมหาราชวัง) ได้มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ กับบรรดาโขนละครที่เลี้ยงไว้ โดยไม่สนใจดูแลและเลี้ยงดูลูกเมียจนเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไป จนเป็นที่ขัดเคืองพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดเกล้าให้ ถอดจากกรมหลวงให้เรียกว่า "หม่อมไกรสร" ลงพระราชอาญาแล้วให้ไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ที่วัดประทุมคงคา อย่างไรก็ตามการตัดสิน ประหารชีวิตครั้งนี้บางกระแสระบุว่าเป็นเหตุผลด้านการเมืองว่าเป็นผู้มัก ใหญ่ใฝ่สูง มากกว่าพฤติกรรมรักร่วมเพศที่เป็นอยู่ ทั้งนี้กรมหลวงเทพพลภักดี ซึ่งเป็นพี่ ชายของกรมหลวงรักษรณเรศร ก็เป็นผู้มีพฤติกรรมรักร่วมเพศโดยไม่อยู่กินกับลูกเมียเช่นเดียวกัน แต่กลับไม่ถูกตำหนิหรือลงโทษแต่ประการใด อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมรักร่วมเพศก็เป็นประเด็นที่มีการกล่าวขานอย่างกว้างในสมัยดังกล่าว
ใน ประเทศไทยจึงมีพฤติกรรมรัก ร่วมเพศได้เกิดขึ้นมาช้านานโดยเฉพาะในกลุ่มชนชั้นสูงหรือในพระบรมราชวังหรือ วังเจ้านาย จะพบเห็นเรื่องเหล่านี้อยู่เสมอ แต่เป็นเรื่องที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ และจะต้องปกปิด ถือเป็นเรื่องเสื่อมเสียเกียรติยศอย่างยิ่ง พฤติกรรมรักร่วมเพศในอดีตจึงเป็นเรื่องที่มีการบอกเล่าสืบทอดกันมา โดยไม่มีการบันทึกไว้อย่าง จริงจัง ทำให้การศึกษาในเรื่องนี้ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ก็มีการแทรกเรื่องนี้อยู่ในประวัติศาสตร์บางเรื่อง ทำให้พอจะรวบรวมและสันนิษฐานเกี่ยว กับเรื่องนี้ได้บ้าง
หลักฐานที่พอจะอ้างอิงได้เกี่ยวกับพฤติกรรม รักร่วมเพศชายหรือว่า "เล่นสวาท" ที่ บันทึกไว้เป็นหลักฐาน จากประชุมประกาศในรัชกาลที่ 4 ที่ได้บันทึกถึงความประพฤติของพระภิกษุด้วยข้อความที่ว่า "...บางจำพวกเป็นคนเกียจคร้าน กลัวจะเกณฑ์ให้ราชการ หลบลี้หนีเข้าบวชเป็นภิกษุ สามเณร อาศัยพึ่งพระศาสนาเลี้ยงชีวิต แล้วประพฤติอนาจารทุจริตต่างๆ จนถึงเล่นสวาทเป็นปาราชิกก็มีอยู่ โดยมาก..." อันแสดงให้เห็นว่าคำว่า "เล่นสวาท" เป็นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในยุคดังกล่าว
สำหรับพฤติกรรมรักร่วมเพศที่มีในผู้หญิงที่เรียกว่าเป็นการ "เล่นเพื่อน" มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงชาววังเพราะอยู่รวมกันหลายคนของผู้หญิง ในเขตพระ ราชฐานที่ไม่มีผู้ชายเข้าไปปะปน จึงมีการประกาศใช้ กฎมณเฑียรบาลข้อที่ 124 ได้กล่าวถึงโทษของการกระทำความผิดดังกล่าวไว้ดังนี้ "อนึ่งสนม กำนัลคบผู้หญิงหนึ่งกัน ทำดุจชายเป็นชู้เมียกัน ให้ลงโทษด้วยลวดหนัง 50 ที ศักคอประจานรอบพระราชวัง ที่หนึ่งให้เอาเป็นชาวสตึง ที่หนึ่งให้แก่พระเจ้าลูก เธอหลานเธอ" พฤติกรรมเช่นนี้ของผู้หญิงในพระราชสำนักหรือในวังเป็นสิ่งที่โจษจันกันอย่าง มากจนกระทั่งถึงต้นยุคกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 เคยมี พระราชหัตถเลขากำชับสั่งพระเจ้าลูกยาเธอฯ ทั้งหลายห้ามเล่นเพื่อนด้วย ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งจะเห็นว่าไม่มีการบัญญัติโทษผิดในเรื่องนี้สำหรับ ผู้ชายไว้ เลย
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 บ้านเมืองมีความทันสมัยมากขึ้น ได้มีการออกกฎหมายที่พาดพิงถึงพฤติกรรมรัก ร่วมเพศเช่นเดียวกัน เนื่องจากพระองค์เสด็จไปเยีอนประเทศยุโรปหลายประเทศจึงได้รับแนวคิดเกี่ยว กับกฎหมายของตะวันตกเข้ามาใช้ในสังคมไทยในหลายๆ เรื่อง กฎหมายที่พระองค์ให้มีการบัญญัติใช้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ได้แก่ ประมวลกฎหมายลักษณะ ร.ศ.127 ในส่วนที่ 6 ที่ว่าด้วยความผิดที่กระทำอนาจาร หมวดที่ 1 ความผิดฐานกระทำอนาจารเกี่ยวกับสาธารณะ มาตรา 124 ที่กล่าวว่า "ผู้ใดกระทำชำเราผิดธรรมดามนุษย์ ด้วยชายก็ดี หญิงก็ดี หรือกระทำ ชำเราด้วยสัตว์เดียรฉานก็ดี ท่านว่ามันมีความผิด ต้องรวางโทษติดคุกตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป จนถึง 3 ปี แลให้ปรับตั้งแต่ 50 บาทขึ้นไปถึง 500 บาทด้วยอิกโสด 1" อันแสดงให้เห็นว่าสังคมไทยได้เกิดมีพฤติกรรมรักร่วมเพศมากขึ้นจนกลายเป็น ปัญหาจึงมีการลงโทษเพื่อให้เลิกการกระทำนั้น หรืออีกนัยยะหนึ่ง ต้องการให้ประเทศชาติมีกฎหมายที่มีความศิวิไลซ์เท่าเทียมกับต่างประเทศ แม้ว่าประชาชนยังไม่มีประสบการณ์หรือมีความเข้าใจในพฤติกรรมรักร่วมเพศมาก นัก โดยถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีงามสำหรับสังคมไทยสมัยนั้น
ในรัชกาล ที่ 6 ถือได้ว่าเป็นยุคที่สังคมไทยมีการรับเอา วัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาใช้ในสังคมไทยค่อนข้างมาก เพราะพระองค์ทรงศึกษาในประเทศอังกฤษตั้งแต่ทรงพระเยาว์ จึงมีการซึมซับในวัฒนธรรมของตะวัน ตกที่เป็นสิ่งดีหลายอย่าง นอกจากนี้พระองค์ทรงมีความเข้าใจในเรื่องพฤติกรรมรักร่วมเพศได้เป็นอย่างดี พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์บทความในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิตของพระองค์ ในหัวเรื่อง "กะเทย" และ "ทำไมกะเทยจึงรู้มากในทางผัวๆ เมียๆ ?" เนื่องจากพระองค์ได้รับรู้ว่าในสังคมไทย ก็มีเรื่องลักษณะนี้เกิดขึ้นเช่นกัน แม้ว่าพฤิตกรรมรักร่วมเพศจะเกิดขึ้นไม่มากนักจนเป็นปัญหาความเสื่อมของสังคม ไทย พระองค์ทรงต้องการให้การศึกษาและ การอธิบายให้ประชาชนได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องยิ่งขึ้น เพื่อไม่เกิดการรังเกียจหรือทำร้ายบุคคลในกลุ่มดังกล่าว เพราะสังคมไทยเป็นสังคมที่ให้อภัยซึ่งกัน และกัน และเรื่องดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นภัยที่ร้ายแรงต่อสังคม
ใน สมัยรัชกาลที่ 7 นอกจากคำว่า " กะเทย" แล้ว ในสังคมไทยได้เรียนรู้จักคำว่า "Homosexual" เพิ่มขึ้นมาอีกคำหนึ่ง จากงานเขียนบทความเรื่อง "กามรมณ์และ สมรส" ในหนังสือรวมปกฐกถาเกี่ยวกับปัญหาชีวิตของคนทั่วไปตามหลักจิตวิทยา ได้กล่าวถึงคำว่า "Homo" ว่าหมายถึง เพศเดียวกัน หรือ ชายรักชาย หรือ หญิงรักหญิงไว้เช่นเดียวกัน ซึ่งมุ่งให้ความรู้ทางจิตวิทยามากกว่าที่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมรัก ร่วมเพศ พฤติกรรมรักร่วมเพศยังเป็นสิ่งที่ สังคมมีความเข้าใจที่แตกต่างกัน ดังนั้นเป็นยุคที่วงการแพทย์ไทยได้เริ่มเข้ามาศึกษาและหาแนวทางแก้ไขรักษา กลุ่มที่มีพฤติกรรมดังกล่าว เพราะถือเป็น อาการป่วยอย่างหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้ดังกล่าวก็แพร่หลายอยู่ในวงแคบๆ เท่านั้น สิ่งเหล่านี้ยังไม่ได้เป็นที่เข้าใจและคุ้นเคยของสังคมไทยมาก นัก







3. กลุ่มผู้รักร่วมเพศยุคเริ่มต้นประชาธิปไตย

ในยุคนี้พฤติกรรม รักร่วมเพศได้เกิดขึ้นกับ บุคคลทั่วไปมากขึ้น ทั้งนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับลัทธิประชาธิปไตยแต่ประการใด หากแต่พฤติกรรมรักร่วมเพศได้ปรากฎให้พบเห็นได้ทั่วไปในสังคมไทยและมีการ สื่อสารในเรื่องนี้ไปถึงประชาชนอย่างกว้างขวาง เมื่อมีการลงข่าวในหนังสือพิมพ์รายวันศรีกรุง ฉบับประจำวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2478 ว่ามีการเปิดซ่องของ โสเภณีชายของนายถั่วดำหรือการุณ ผาสุก เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยนายถั่วดำได้หลอกลวงเด็กชายอายุตั้งแต่ 10-16 ปี ให้มาอยู่ด้วยในห้องแถวเช่า ย่าน ตำบลตรอกถั่วงอก อำเภอป้อมปราบ พร้อมทั้งสอนวิธีสำเร็จความใคร่ให้กับเด็กและให้เด็กสำเร็จความใคร่กับแขก ที่มาเที่ยวโดยได้รับสินจ้างรางวัลเยี่ยงหญิง โสเภณี นับว่าเป็นการขายบริการทางเพศของชายที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเป็นครั้งแรก ดังนั้น ชื่อของนายการุณ ผาสุก หรือ นายถั่วดำ จึงเป็นที่กล่าวขานกัน อย่างกว้างขวาง จึงได้กลายเป็นคำแสลงที่ใช้เรียกพฤติกรรมรักร่วมเพศในเวลาต่อมา โดยที่สังคมถือว่าเป็นพฤติกรรมที่วิตถารและผิดจาก ธรรมชาติ
ก่อนขึ้นปี พ.ศ.2500 สังคมไทยฮือฮาและโจษจันอย่างมากเกี่ยวกับพฤติกรรมรักร่วมเพศ เมื่อมีข่าวใน หน้าหนังสือพิมพ์สยามนิกร ประจำวันจันทร์ที่ 14 กันยายน 2493 ได้รายงานเกี่ยวกับพฤติกรรมการเสพเมถุนทางเว็จมรรคหรือวิถีบำบัดความใคร่ของ เหล่านัก โทษในคุกที่นิยมทำต่อกันในระหว่างจำคุก ทำให้เรื่องราวของพฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นที่รับรู้ในสังคมมากขึ้น และตอกย้ำว่าเป็นเรื่องที่ผิดธรรมชาติและผิด ศีลธรรมอย่างหนึ่ง โดยที่คนส่วนใหญ่ถือว่าเป็นเรื่องน่าอับอายและน่ารังเกียจ ดังนั้น พฤติกรรมรักร่วมเพศจึงถือเป็นความเบี่ยงเบนไปจากปทัสถานของสังคม ไทย จึงทำให้เกิดความชิงชังผู้มีพฤติกรรมดังกล่าว
วงการแพทย์ไทย จึงต้องหาคำตอบเกี่ยวกับพฤติกรรมรักร่วม เพศอย่างจริงจัง เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวที่เป็นข้อสงสัยของสังคม โดยได้อาศัยความรู้จากประเทศตะวันตกมาเป็นกรอบอ้างอิง ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก แนวความคิดจากทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เชื่อว่าพฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นปรากฏการณ์เจ็บป่วยทางจิตของมนุษย์อย่าง หนึ่ง ต้องมีการบำบัดรักษาจึงหายจากอาการหรือพฤติกรรมดังกล่าว นายแพทย์สุด แสงวิเชียร แพทย์ไทยที่ได้รับทุนจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ไปประเทศสหรัฐ อเมริกา ได้อธิบายว่า บุคคลที่มีความผิดปกติทางร่างกายที่อวัยวะเพศมีลักษณะที่กำกวมระหว่างชายและ หญิงเรียกว่า "กะเทย" ส่วนผู้ที่มี พฤติกรรมทางสังคมที่ตรงกันข้ามกับเพศตนเองนั้นจะเรียกว่า "ลักเพศ" เนื่องจากเป็นผู้มีพฤติกรรมที่เป็นการ "ลัก" จากเพศตรงข้าม มาเป็นของตนเอง พฤติกรรมรักร่วมเพศ ในสังคมไทยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีความผิดปกติที่แสดงออกทางจิตใจมากกว่าทาง ร่างกาย พฤติกรรมรักร่วมเพศชนิด แรกที่สังคมไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ก็คือ กะเทย ซึ่งหมายถึงคนที่ไม่ใช่ทั้งผู้ชายและไม่ใช่ผู้หญิง ซึ่งสังคมไทยจึงรับรู้ว่าพฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นความเจ็บป่วย และวิปริต
ต่อมาในปี ค.ศ.1974 สมาคมจิตแพทย์อเมริกันจึงได้ประกาศว่าพฤติกรรมรักร่วมเพศไม่ได้เป็นความ ผิดปกติทางเพศ ส่วนผู้ชายที่แปลงเพศ (Transsexual) ยังคงถือว่าเป็นความผิดปกติทางเพศอยู่ สังคมไทยมีแนวความคิดเกี่ยวกับ "กะเทย" และ "ลักเพศ" ที่แตกต่างกันไป โดยที่มองเห็นว่า "กะเทย" จะเป็นกลุ่มที่มีอวัยวะเพศทั้งเพศหญิงและเพศชายอยู่ในคนเดียวกัน ส่วน "ลักเพศ" เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมเป็นโรคของต่อมไม่มีท่อ (Glandular Disease) หรือฮอร์โมน และเป็นเรื่องของจิตใจซึ่งเกิดจากการ เจริญเติบโตที่ผิดปกติ อย่างไรก็ตาม พบว่าคนไทยมีพฤติกรรมรักร่วมเพศมากขึ้นและมีการบำบัดรักษาพฤติกรรมดังกล่าว ในโรงพยาบาลของรัฐ เพราะคิดว่า เป็นความเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง







4. กลุ่มผู้รักร่วมเพศยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

หลังสงคราม โลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ชาวตะวันตกได้เข้ามาอาศัยและตั้งบ้านเรือนในบริเวณย่านถนนสีลมและพัฒน์พงษ์ มากขึ้น เพราะเห็นว่าเป็นประเทศที่มีเสรีภาพค่อน ข้างมากประเทศหนึ่ง บรรดาชาวต่างชาติเหล่านี้เป็นผู้นำวัฒนธรรมรักร่วมเพศแบบตะวันตกเข้ามาเผย แพร่ในสังคมไทย ใช้พื้นที่ของสวนสาธารณะต่างๆ เช่น บริเวณสนามหลวง สะพานพุทธ สวนลุมพินีและวังสราญรมย์เป็นที่แสดงความรักต่อกันโดยไม่อายสายตาคนไทยซึ่ง ไม่คุ้นเคยกับพฤติกรรมดังกล่าวหรืองาน รื่นเริงสังสรรค์ที่มีกะเทยแต่งตัวเป็นหญิง นอกจากนี้ในคอลัมน์ "คุยเฟื่องเรื่องเซ็กส์" ของลุงหนวด ในนิตยสารคู่ทุกข์คู่ยาก ฉบับเดือนมิถุนายน พ.ศ.2526 เขียนไว้ว่า ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงใหม่ๆ ทหารสหประชาชาติเข้ามาในเมืองไทยมากขึ้น กะเทยไทยเริ่มออกมารค้าประเวณีกับทหาร สหประชาชาติเหล่านั้น ในขณะนั้นสังคมไทยคิดว่า พวกกะเทยเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้นที่เป็นพวกรักร่วมเพศ ทั้งที่พวกรักร่วมเพศไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่าง พวกกะเทย พวกรักร่วมเพศในสังคมที่เคยปกปิดตนเองก็ออกมาหาคู่ได้ง่ายขึ้น การหาคู่นอนของพวกร่วมเพศจึงกลายเป็นการซื้อขายและเป็นธุรกิจอย่าง ประเทศตะวันตก ดังนั้น ในปี พ.ศ.2507 ธุรกิจการขายบริการทางเพศจึงเกิดขึ้นในประเทศไทยเพื่อสนองความต้องการของชาว ต่างชาติเป็นหลัก ในบริเวณย่าน ถนนสีลมและพัฒน์พงษ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ปรากฏเป็นข่าวในหน้า หนังสือพิมพ์สยามนิกรในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ.2508 เรื่องการกวาดล้างพวกกะเทยของตำรวจนครบาลเหนือ ที่ไปมั่วสุมและขายบริการทางเพศกันในย่านประตูน้ำ ถ.เพชรบุรี และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และก่ออาชญากรรม โดยการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และฆ่าฝรั่งที่มาซื้อบริการทางเพศเป็นสิ่งที่สังคมได้รับรู้และประเมินว่า กะเทยหรือเกย์เป็นภัยร้าย ของสังคม โดยเฉพาะการฆาตกรรมนายดาเรล เบอริแกน เจ้าของและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางกอกเวิลด์ วัย 49 ปี ผู้มีพฤติกรรมรักร่วมเพศชาย ถูกยิงจ่อ หูทะลุหน้าผากตายเปลือยคารถเก๋ง โดยเชื่อว่าเป็นการกระทำของคู่ขา เพราะนายเบอริแกนชอบมั่วสุมกับกะเทยและวันรุ่นหนุ่มๆ ข่าวดังกล่าวเป็นเรื่องที่มีการ โจษจันกันมาก อันทำให้คนไทยรู้สึกสับสนต่อพฤติกรรมรักร่วมเพศ
สีเสียด แห่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐได้เขียน วิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องนี้ไว้ในคอลัมน์ "สารพันปัญหา" ว่าพฤติกรรมประเภทนี้เกิดขึ้นในสังคมไทยและเป็นความวิปริตหรือเป็นโรค จิตอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ เป็นเพราะรับเอาวัฒนธรรมดังกล่าวมาจากประเทศตะวันตกที่ยอมรับและชื่นชอบต่อ พฤติกรรมดังกล่าวเข้ามาในสังคมไทย โดยชาวต่างชาติและคนไทยที่ไป ศึกษาในต่างประเทศเป็นผู้นำมาประพฤติปฏิบัติในสังคม อันถือว่าเป็นความเสื่อมทรามและไม่เหมาะสมในสังคมไทยเป็นอย่าง ยิ่ง
สำหรับงานเขียนเชิงวิชาการของปีเตอร์ แจ็คสัน (Peter Jackson) กล่าวว่า เรื่องของเกย์ในสังคมไทยที่นำ เสนอทางสื่อมวลชนมักเป็นเรื่องที่เสื่อมเสีย เช่น การทำร้ายและฆ่าเกย์เพื่อชิงทรัพย์ การล่อลวงเด็กชายเพื่อทำอนาจาร เกย์ไทยขายตัวให้ชาวต่างชาติ ฝรั่ง ต่างชาติมาถ่ายภาพยนตร์และวิดีโอเกย์ลามกในประเทศไทย การระบาดของโรคเอดส์ในกลุ่มเกย์ นอกจากนี้การขายบริการทางเพศของโสเภณีชายที่มีมาขึ้น ในย่านวังสราญรมย์ สวนลุมพินี และย่านสีลมมักมีส่วนเชื่อมโยงกับการก่ออาชญากรรม ยาเสพติด และโรคร้ายที่มาจากการสำส่อนทางเพศ ดังนั้น เอกลักษณ์ ของเกย์ไทยจึงมีความบิดเบี้ยวในสายตาของคนไทยทั่วไป ผู้ที่เป็นเกย์ในสังคมไทยไม่กล้าที่จะเปิดเผยตัวเองเพราะเกรงว่าจะเป็นที่ รังเกียจของสังคม ดังนั้น การยอมรับเกย์ในสังคมไทยจึงเป็นแค่เพียงความยอมจำทน การแสดงออกของเกย์จึงกระทำได้เพียงบางพื้นที่ ทั้งนี้เพราะภาพรวมของเกย์ไทยไม่มีความชัดเจน และไม่มีเอกลักษณ์ที่แน่นอน ตลอดจนเกย์ไทยส่วนใหญ่ยังคงปกปิดและซ่อนตัวเอง อาจสรุปได้ว่าสังคมไทยยังมีความสับสนต่อกลุ่มผู้รักร่วมเพศในสังคม เป็นอย่างยิ่ง โดยที่มองกลุ่มผู้รักร่วมเพศว่าเป็นพวกกะเทย หรือลักเพศมากกว่าความหมายที่แท้จริงของพฤติกรรมรักร่วมเพศ







5. กลุ่มผู้รักร่วมเพศยุคสื่อสิ่งพิมพ์เฟื่องฟู

สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่มีบทบาทต่อกลุ่มผู้รักร่วมเพศอย่างมากในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา นิตยสารแปลก เป็นนิตยสารที่กลุ่มผู้รักร่วมเพศนิยมอ่านกันมากที่สุด โดยเฉพาะคอลัมน์ของ "โก๋ ปากน้ำ" กลายเป็นพื้นที่สาธารณะที่เกย์ใช้เป็น เวทีเล่าเรื่อง ระบายปัญหา ประสบการณ์ การมีเพศสัมพันธ์แบบชายต่อชายและวิถีชีวิตเกี่ยวกับกลุ่มผู้รักร่วมเพศผู้ อ่านนิตยสารแปลก เป็นกลุ่มรักร่วมเพศและ บุคคลทั่วไป อันทำให้ความรู้ความเข้าใจในเอกลักษณ์แบบรักร่วมเพศได้ถูกเปิดเผยและถ่ายทอด ไปสู่สังคมมากขึ้น โดยเฉพาะ "โก๋ ปากน้ำ" กลายเป็นปรมาจารย์ด้านเกย์ สามารถตอบปัญหาอันหลากหลายของเกย์ได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ยอดจำหน่ายของนิตยสารแปลกขายได้ดีในท้องตลาด คอลัมน์ของ "โก๋ ปากน้ำ" ได้รับความนิยมเพราะเป็นที่พึ่งพิงทางใจให้กับกลุ่มรักร่วมเพศ นิตยสารแปลกยังได้ช่วยบัญญัติศัพท์ที่ใช้เรียกกลุ่มดัง กล่าว คำว่า "เกย์คิงและเกย์ควีน" ให้เป็นที่รู้จักในสังคมไทย ว่าเกย์คิง จะมีการแต่งกายเหมือนผู้ชายทั่วไปและสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ทั้งหญิง และชาย ส่วนเกย์ควีน จะมีการแต่งกายออกไปทางผู้หญิง และเป็นฝ่ายถูกกระทำได้เพียงอย่างเดียว อันหมายถึงมีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้ชายเท่านั้น อย่าง ไรก็ตาม การจัดประเภทของกลุ่มผู้รักร่วมเพศ ยังมีความสับสนอยู่บ้าง เนื่องจากพฤติกรรมอันไม่คงเส้นคงวาของกลุ่มผู้รักร่วมเพศ การตอบปัญหาข้อข้องใจของ "โก๋ ปากน้ำ" นั้นไม่มีความต้องการให้พฤติกรรมเหล่านี้แพร่ระบาดในสังคมไทยให้มากจนเกินไป นัก ทั้งที่พยายามให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง และห้าม ปรามพฤติกรรมดังกล่าว
สังคมไทยกำเนิดนิตยสารเกย์สำหรับกลุ่มผู้รัก ร่วมเพศเช่นเดียวกับต่างประเทศ นิตยสาร "บี อาร์" ของบุรินทร์ วงศ์สงวน เป็นนิตยสารสำหรับสตรีได้เปิดคอลัมน์ประจำ หนุ่มหล่อประจำฉบับ โดยการตีพิมพ์ภาพกึ่งเปลือย ชายหนุ่มยอด ฮิตในสมัยนั้น และมีนวนิยายที่เป็นแนวเกย์ที่เขียนโดยอาทิตย์ สุรทิน ควบคู่กันไป นอกจากนี้นิตยสาร "MAN" ของพจนาถ เกศจินดา ได้ปรากฏ ตัวเข้ามาเพื่อกลุ่มรักร่วมเพศโดยเฉพาะ คอลัมน์ "บนถนนคนหนุ่ม" ที่มีภาพเปลือยของชายหนุ่มที่เป็นดาราเป็นนายแบบ พร้อมบทสัมภาษณ์ของ ดารานายแบบคนนั้นเป็นจุดขาย นอกจากนี้ยังมีนิตยสารบันเทิงชื่อ "จักรวาลดาว" ของพิชัย สัตยพันธ์ มีการนำเสนอภาพกึ่งเปลือยของดาราชาย ชื่อดังในยุคนั้น ปกรณ์ พงศ์วราภา ได้ออกนิตยสารหนุ่มสาว ซึ่งเป็นนิตยสารสำหรับผู้ชายและผู้หญิง เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศ บันเทิง และสาระความรู้ทั่วไป ระยะหลังมักจะมีนายแบบผู้ชายกึ่งเปลือยเพิ่มมากขึ้น ในปี 2524 นิตยสาร GL ของสำนักพิมพ์จินดาสาส์น สร้างความฮือฮาให้กับสังคมเมื่อผลิดนิตยสารที่มี ลักษณะกลุ่มเฉพาะ Gay และ Lesbian ชื่อ "เชิงชาย" ซึ่งเป็นนิตยสารเฉพาะกลุ่มผู้รักร่วมเพศอย่างแท้จริง เนื่องจากเนื้อหาและรูปภาพภายใน เล่มก็เป็นภาพกึ่งเปลือยของชายและหญิง แสดงให้เห็นว่าน่าจะเจาะกลุ่มผู้รักร่วมเพศได้มากกว่ากลุ่มอื่นๆ ในปี 2526 นิตยสารมิถุนา ได้ออกมาสู่ท้องตลาด เป็นเล่มขนาดใหญ่ ซึ่งมี อนันต์ ทองทั่ว เป็นเจ้าของและบรรณาธิการ ต่อมานิตยสารนีออน โดย ปกรณ์ พงษ์วราภา เป็นนิตยสารเกย์ที่เกิดขึ้นอีกเล่มหนึ่งในปี พ.ศ.2528 นิตยสารเกย์กลายเป็นทางเลือกที่สำคัญสำหรับตลาดหนังสือ
ธุรกิจ นิตยสารเกย์เริ่มเป็นที่สนใจของผู้ ประกอบการในธุรกิจสิ่งพิมพ์มากยิ่งขึ้น โดยมีนิตยสารเกย์อื่นๆ อันได้แก่ นิตยสารมรกต (ชื่อเดิมเพทาย) และเกสร (นิตยสารในเครือมิถุนา) ปี 2529 มิดเวย์ ปี 2530 Him ปี 2531 เกิดนิตยสาร My way และในปีต่อมาได้แก่ The Guy ในช่วงกลางศตวรรษที่ 2530 นิตยสารเกย์ได้พัฒนารูปแบบให้มีความหลากหลายยิ่ง ขึ้นสำหรับผู้อ่านกลุ่มผู้รักร่วมเพศ ได้แก่ Violet ลับเฉพาะชาวสีม่วง เมล์ (Male) ฮีท (Heat) ไวโอเล็ท ฮอทกาย แมน และจีอาร์ เป็นต้น ในช่วงศตวรรษที่ 2540 ได้มีนิตยสารที่ออกมาสู่ท้องตลาดอีกหลายฉบับ เช่น เอ็มคอร์ เคเอ็กซ์เอ็ม ดิ๊ก เอชเอ็มแอนด์เอ็ม เกย์ และแม็กซ์ เป็น ต้น
การปรากฏตัวของนิตยสารเกย์นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 เป็นต้นมา พบว่ากลุ่มผู้รักร่วมเพศได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ความรู้ ความเข้าใจในตัวตนมากขึ้น คอลัมน์ตอบปัญหาต่างๆ ในนิตยสารเกย์ที่ทำให้กลุ่มผู้รักร่วมเพศเข้าใจในสถานการณ์ ในเรื่องสิทธิเสรีภาพและการจด ทะเบียนสมรส ตลอดจนสถานการณ์โรคเอดส์ที่ระบาดอย่างหนักตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นที่นิตยสาร เกย์ได้ฟูเฟื่องในประเทศไทย ดังนั้น นิตยสารเกย์เหล่านี้ช่วยให้เกย์ รู้จักการใช้ชีวิตในสังคม การมีคู่ชีวิตที่เป็นเกย์ด้วยกัน การวางตัวในสังคม ครอบครัว เพื่อนๆ การมีเซ็กส์ที่ถูกต้อง การมีความสุขด้วยการเป็นเกย์ นิตยสารเกย์ จึงเป็นที่ต้องการของกลุ่มผู้รักร่วมเพศอย่างมาก ได้ดำเนินจัดทำมาอย่างต่อเนื่องและจำนวนมีมากขึ้นในตลาด ตลอดจนมีการพัฒนารูปแบบเนื้อหาที่มีหลาก หลาย





6. กลุ่มผู้รักร่วมเพศกับยุคสื่อมวลชนไทยเบ่งบาน

การสื่อสารความเป็นเกย์ในสังคม ไทยในยุคเริ่มต้นพบว่า เป็นการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ เป็นช่องทางการสื่อสารสำคัญที่ทำให้บุคคลทั่วไปได้มีความรู้ ความเข้าใจต่อกลุ่มผู้รักร่วมเพศที่ดีขึ้น แม้ในระยะแรกจะเป็นภาพลักษณ์เชิงลบบ้าง ต่อมาเมื่อมีนิตยสารเกย์ช่วยทำให้กลุ่มผู้รักร่วมเพศได้มีโอกาสสื่อสารกับ กลุ่มผู้รักร่วมเพศอื่นๆ และสังคมยิ่งขึ้น นอกจากนี้สื่อมวลชนแขนงอื่นๆ ได้เปิดกว้างขึ้น นำเสนอเรื่องราวของกลุ่มผู้รักร่วมเพศในแง่มุมที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น จึงทำให้สภาพการณ์ของกลุ่มผู้รักร่วม เพศในสังคมไทยดีขึ้นตามลำดับ
สื่อภาพยนตร์ที่มีการนำเสนอหรือถ่าย ทอดเรื่องราวของเกย์เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2519 ชื่อเรื่อง "เกมส์" เป็นการเสนอแง่มุมหรือตีแผ่ภาพของเกย์ แต่เป็นเชิงลบ เพราะเป็นการเสนอเพียงด้านเดียวของผู้หญิงที่ได้รับความ เสียใจที่มีความสัมพันธ์กับผู้ชายที่เป็นเกย์ อันเป็นความเชื่อที่สังคมไทยมองเกย์ในลักษณะดังกล่าว จึงถือได้ว่าเป็นภาพยนตร์เกย์ ในยุคแรกของไทย ต่อมา พิศาล อัครเศรณี ได้นำเรื่องราวของสาวประเภทสองคณะโชว์คาบาเร่ต์แห่งเมืองพัทยา มาสร้างเป็นภาพยนตร์ ในเรื่อง "เพลงสุดท้าย" ภาคที่ 1 และภาคที่ 2 ในปี พ.ศ.2528 และปี พ.ศ.2529 ตามลำดับ ดร.เสรี วงษ์มณฑา ซึ่งโด่งดังจากการทำละครเวทีเรื่อง "ฉันผู้ชายนะยะ" ที่เปิดรอบ การแสดงได้มากที่สุดแห่งยุค เป็นเรื่องราวของเกย์กลุ่มหนึ่งที่มาอยู่ร่วมกัน เป็นพวกปากจัด ชอบวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมือง ได้มีการดัดแปลงจากละคร เวทีมาเป็นภาพยนตร์ในชื่อเรื่องเดียวกันในปี พ.ศ.2531 และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างล้นหลามเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ดร.เสรี วงษ์มณฑา ก็มีคู่ ปรับอย่าง ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม เป็นผู้พยายามคัดค้านหรือต่อต้านการเป็นเกย์ในสังคมไทยตั้งแต่ยุคดังกล่าวมา จนถึง ปัจจุบัน
การสร้างภาพยนตร์ไทยที่สะท้อนชีวิตและเรื่องราวเกี่ยวกับ กลุ่มผู้รักร่วมเพศที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า สังคมไทยมีความกล้าพอที่จะตีแผ่เรื่องราวของผู้รักร่วมเพศมากขึ้น ทั้งๆ ที่ในขณะนั้นสังคมไทยมีสภาพการยอมรับในเรื่องนี้ค่อนข้างน้อย อีกทั้งขัดต่อความ คิดและความเชื่อกระแสหลักของบุคคลในสังคมก็ตาม แม้ว่าภาพลักษณ์และภาพสะท้อนของผู้รักร่วมเพศในภาพยนตร์เหล่านั้นจะเป็นเชิง ลบ และนำพฤติกรรม รักร่วมเพศไปล้อเลียนในเชิงขบขันและเย้ยหยันก็ตามที่ถือได้ว่า เป็นการทำให้เรื่องราวของพฤติกรรมรักร่วมเพศได้ถ่ายทอดสู่สังคมไทยได้มาก ขึ้น
สื่อโทรทัศน์มีส่วนในการนำภาพของผู้รักร่วมเพศมาเสนอทาง รายการโทรทัศน์ ซึ่งเกิดขึ้นมานานแล้ว นับตั้งแต่ "เทิง สติเฟื่อง" ที่เป็นทั้งพิธีกรและนักแสดงปรากฏในจอโทรทัศน์ในยุคแรกของโทรทัศน์ไทย นอกจากนี้นักแสดงอื่นๆ ที่เป็นลักษณะของชายไม่ จริง หญิงไม่แท้ ทำให้สังคมไทยได้รู้จักและคุ้นเคยกับผู้รักร่วมเพศมากยิ่งขึ้น สื่อโทรทัศน์พบว่าสะท้อนภาพของความเป็นเกย์ในคุณลักษณะต่างๆ ได้ชัดเจน กว่าสื่อมวลชนแขนงอื่นๆ เนื่องจากเป็นสื่อที่ทำให้มองเห็นทั้งรูปร่าง หน้าตา น้ำเสียง บุคลิกลักษณะ กริยาอาการ และเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับตัวละครที่เป็นเกย์ ซึ่งก็มักเป็นเรื่องราวที่เป็นจริงใกล้เคียงกับกลุ่มผู้รักร่วมเพศในสังคม นั่นเอง
ละคร โทรทัศน์ที่เสนอเรื่องราวของ เกย์และเป็นที่นิยมของประชาชนในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่เรื่อง น้ำตาลไหม้ ชายไม่จริงหญิงไม่แท้ รักไร้อันดับ ซอยปรารถนา 2500 ท่านชายกำมะลอ ปัญญาชนก้นครัว รักเล่ห์เพทุบาย ไม้แปลกป่า เมืองมายา สะพานดาว กามเทพเล่นกล รัก 8009 เป็นต้น นักแสดงที่มารับบทบาทการแสดงเป็นเกย์บางส่วนก็ เป็นผู้รักร่วมเพศด้วย ส่วนนักแสดงที่ไม่ได้เป็นผู้รักร่วมเพศสามารถสวมบทบาทและถ่ายทอดและสื่อสาร ในความเป็นผู้รักร่วมเพศได้ดีเกือบทุกคน ดังนั้น เห็น ได้ว่าความเข้าใจและการยอมรับกลุ่มผู้รักร่วมเพศในสังคมไทยมีมากขึ้นตาม ลำดับ







7. กลุ่มผู้รักร่วมเพศยุคปัจจุบัน

ในช่วงปี พ.ศ.2530 ได้มีการรวมตัวของหลายฝ่ายเพื่อรณรงค์โรคเอดส์ระบาดอย่างจริงจัง บรรณาธิการนิตยสารเกย์และเจ้าของธุรกิจบาร์เกย์บางส่วนในขณะนั้นได้ตั้ง กลุ่มขึ้น เพื่อส่งเสริมและรณรงค์ให้กลุ่มผู้รักร่วมเพศให้มีการป้องกันและดูแลตน เองให้มากขึ้น พร้อมทั้งให้การเรียนรู้ผ่านสื่อต่างๆ มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมี "กลุ่มเส้นสีขาว" โดยนายนที ธีระโรจนพงษ์ ได้ก่อตั้งกลุ่มขึ้นมา เคลื่อนไหวให้มีการตื่นตัวต่ออันตรายของโรคเอดส์ โดยใช้สื่อการแสดงทั้งการเต้น และการแสดงละครถ่ายทอดความรู้และความร้ายแรงของโรคเอดส์ในการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั้งที่เป็นกลุ่มผู้รักร่วมเพศและเยาวชนทั่วไป ต่อมาได้จัดตั้งกลุ่ม "ภราดรภาพยับยั้งโรคเอดส์แห่งประเทศไทย" ชื่อภาษา อังกฤษว่า "Fraternity for AIDS Cessation in Thailand" (F.A.C.T) โดยร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ของรัฐบาล เอกชน และผู้ประกอบการบาร์เกย์ เพื่อให้ความรู้และรณรงค์เกี่ยวกับโรคเอดส์อย่างกว้างขวาง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกลุ่มผู้รักร่วมเพศซึ่งมีมากขึ้นในสังคม แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้รักร่วม เพศและองค์กรเกย์ต่างๆ ไม่ให้ความร่วมมือกันอย่างจริงจัง จึงทำให้องค์กรและการรณรงค์ในเรื่องดังกล่าวไม่มีความก้าวหน้าในสังคม ไทย
ต่อมากลุ่มผู้รักร่วมเพศชาย ได้มีการรวมตัวกันอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.2544 โดยจัดตั้งเป็นกลุ่มฟ้าสีรุ้ง เพื่อ รณรงค์การป้องกันโรคเอดส์ในกลุ่มผู้รักร่วมเพศชายเรียกร้องสิทธิต่างๆ และความเท่าเทียมในสังคม สร้างความเข้าใจอันดีของกลุ่มผู้รักร่วมเพศต่อสังคม รวบ รวมกลุ่มผู้รักร่วมเพศเป็นอาสาสมัครในการป้องกันโรคเอดส์ ต่อมาเปลี่ยนเป็นองค์การฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย (Rainbow Sky Organization of Thailand) ร่วมมือกับองค์กรต่างๆ เช่น ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และองค์กรระหว่างประเทศ จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเพศ โรคเอดส์ และเกย์ศึกษา และสร้างศูนย์วิจัยเกี่ยวกับโรคเอดส์ โครงการให้คำปรึกษาผ่านทางโทรศัพท์ โครงการแจกถุงยางอนามัยในสวนสาธารณะต่างๆ โครงการจัดทำ เว็บไซท์ โครงการจัดทำสื่อสำหรับกลุ่มผู้รักร่วมเพศ นอกจากนี้ ยังมีองค์กรบางกอกเรนโบว์ (Bangkok Rainbow Organization) ก่อตั้งในปี พ.ศ.2545 เป็น การรวมตัวของนักวิชาการ แพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ นักศึกษา และกลุ่มผู้รักร่วมเพศ เพื่อให้คำปรึกษาช่วยเหลือแก่ครอบครัว สถานศึกษา คู่สมรส และกลุ่ม ผู้รักร่วมเพศในการดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิต รวมทั้งสนับสนุนนำเสนอข้อมูลทางวิชาการ งานวิจัย การจัดสัมมนา และเผยแพร่ข่าวความเคลื่อนไหวต่างๆ ของกลุ่มผู้รักร่วมเพศ ตลอดจนเชื่อมโยงการปฏิบัติงานในวงกว้างขึ้นในระดับเอเชียแปซิฟิก นอกจากนี้ยังมีองค์กรเกย์อื่นๆ ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นตัวแทนของผู้รัก ร่วมเพศในกลุ่มต่างๆ มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งชมรม สมาคม และองค์กรเกย์ของกลุ่มผู้รักร่วมเพศได้ขยายตัวไปทั่วพืนที่ของประเทศไทย แต่มัก ประสบปัญหาด้านผู้สนับสนุนการก่อตั้ง งบประมาณ และการขออนุญาตจากทางราชการ






http://www.mango-mag.com/mm/forum/index.php?topic=213.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ