น่าสนใจดีค่ะ
1970 : Adidas Telstar ประเทศแม็กซิโกเป็นเจ้าภาพ ที่มาของชื่อก็คือ Star of Television นั่นเอง
1974 : Adidas Telstar ลวดลายและเทคโนโลยีไม่มีอะไรต่างไปจากเดิมค่ะ แต่คราวนี้เจ้าภาพคือเยอรมัน ซึ่งก็ได้มรการพิมพ์ตัวอักษรเพิ่มเข้าไปว่า ทำขึ้นเพื่อใช้แข่งโดยเฉพาะ...คงกะว่ามันจะดูพิเศษขึ้นมา
1978 : Adidas Tango Durlast เจ้าภาพโดยอาร์เจนตินา แน่นอนว่าผู้ผลิตจำเป็นต้องเสาะหาความพิเศษโดดเด่นให้กับมัน และคราวนี้มันก็เป็นลูกฟุตบอลที่แพงที่สุดในยุคนั้นโดยราคาอยู่ที่ลูกละ 50 ปอนด์ และข้อดีอีกอย่างคือน้ำหนักที่จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเมื่อลูกฟุตบอลเปียก น้ำ
1982 : Adidas Tango Espana สเปน ชาติเจ้าภาพ ถือโอกาสเรียกมันว่า “Adidas Tango Espana” เพื่อประกาศศักดาตัวเอง พิเศษตรงคุณภาพของหนังที่ใช้ผลิตเพราะใช้เทคโนโลยีช่วยให้หนังมีการดูดซับ น้ำน้อยลงกว่าเดิม ทำให้น้ำหนักไม่เพิ่มขึ้นเวลาเปียก...แต่ดูเหมือนจะลืมออกแบบลวดลายเพราะมัน เหมือนเดิม เป๊ะ!
1986 : Adidas Azteca กลับมาที่แม็กซิโกกันอีกรอบ และเพราะความฉุกละหุกหลังจากที่เจ้าภาพเดิมคือโคลัมโบถอนตัวเพราะปัญหาทาง การเงินลวดลายจึงยังคงคล้ายๆแบบเดิม หากแต่เปลี่ยนมาใช้หนังสังเคราะห์แทนหนังแท้...ช่วยให้รักษาหน้าตาไปได้อีก ครั้ง
1990 : Adidas Etrusco Unico ลูกฟุตบอลที่ใช้ในการแข่ง ขันฟุตบอลโลกปี 1990 ที่ประเทศอิตาลี ลูกฟุตบอลทำจากวัสดุสังเคราะห์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อให้ลูกบอล ลูกนี้กันน้ำได้โดยสมบูรณ์ และลวดลาย เป็นลวดลายที่อิงประวัติศาสตร์ของ อิตาลีในยุค Etruscan
1994 : Adidas Questra สหรัฐอเมริกา ชาติที่ถูกค่อนขอดว่าไม่ค่อยประสีประสาเรื่องลูกหนังในเวลานั้น ได้รับเลือกให้จัดมหกรรมลูกหนังโลกเป็นครั้งแรก และกู้หน้าด้วยการเปิดตัวลูกบอลนวัตกรรมใหม่ “Adidas Questra” ที่มาจาก “Quest for the star” มันถูกผลิตขึ้นด้วยเทคโนโลยีทางด้านอวกาศนั่นคือมีการเพิ่มชั้นของโพลียูริ เทนที่ด้านนอก ทำให้น้ำหนักเบาขึ้น กลายเป็นต้นแบบลูกบอลรุ่นใหม่นับแต่นั้นเป็นต้นมา
1998 : Tricolore เป็นครั้งแรกของโลกที่ลูกฟุตบอลไม่ได้มีแค่สีขาวและดำ ด้วยเหตุที่ฝรั่งเศสเป็นชาติเจ้าภาพ และธงชาติของพวกเขามีสามสี (แดง-ขาว-น้ำเงิน) ลูกบอลตัวนี้เลยถูกเรียกว่า “Tricolore” (สามสี) ให้สอดคล้องกันเสียเลยรวมถึงยังเป็นครั้งแรกที่มีการถักใยโพลียูริเทนลงไปใน ชั้นของหนังเทียมทำให้ถ้ามองดูดีๆ มันจะลายน้ำประดับประดาอยู่ด้วย
2002 : Fevernova ครั้งแรกบนดินแดนของอีกซีกโลก และมีเจ้าภาพถึง 2 ประเทศร่วมกันคือ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ แน่นอนว่าเรื่องดีไซน์ของ “Fevernova” ย่อมดูโดดเด่นกว่าที่เคยเป็นมาและในเรื่องของการคุณสมบัติในทางกายภาพ ฟีเวอร์โนว่า ยังถูกออกแบบน้ำหนักให้เบาเคลื่อนที่ไปได้อย่างถูกต้องแม่นยำขึ้น ด้วยขนาดที่ใหญ่และเบา แต่มีคุณสมบัติเหมือนลูกบอลลูนเวลาโดนเตะแรงๆ
2006 : Teamgeist เป็นลูกฟุตบอลที่สวยงามกลมกลึงกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา ภายใต้ชื่อว่า “ทีมไกสต์” (Teamgeist) มีความหมายในภาษาเยอรมันว่า “ทีมสปิริต” หรืออธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ จิตวิญญาณแห่งความเป็นทีม เพื่อแสดงการยกย่องต่อความยิ่งใหญ่ของฟุตบอลเยอรมนี ยึดถือสไตล์การเล่นแบบเป็นทีมมาก กว่าการพึ่งพิงดาราคนใดคนหนึ่งมาโดยตลอด (ดูมีความคิดที่สุดแล้ว) แน่นอนว่าเยอรมันได้กลับมาเป็นเจ้าภาพอีกครั้งและลูกบอลรุ่นนี้พิเศษคือใน การผลิตจะลดจำนวนชิ้นของวัสดุที่เอามาใช้เย็บทำลูกบอล จากปกติที่เป็น 5 เหลี่ยม กับ 6 เหลี่ยม รวมกัน 32 ชิ้น มาใช้ทั้งหมดแค่ 14 ชิ้น ซึ่งการลดชิ้นส่วนวัสดุลงไปนี้ ทำให้มีเส้นรอยต่อน้อยลงจนเป็น “ทรงกลม” มากกว่าลูกฟุตบอลแบบเดิมๆ ส่งผลให้มันควบคุมได้เยี่ยมยอดขึ้น โดยในนัดชิงชนะเลิศระหว่างอิตาลีกับฝรั่งเศส ยังมีการทำลูกบอลสีทองเฉพาะขึ้นมาเป็นพิเศษด้วย
ปิดท้ายที่ 2010 : Jabulani ครั้งแรกบนดินแดนกาฬทวีป ภายใต้ชื่อ “จาบูลานี่” หมายถึง “การเฉลิมฉลอง” (to celebrate) ในภาษาซูลู ซึ่งเป็น 1 ในภาษาท้องถิ่นแอฟริกาใต้ ว่ากันว่า จาบูลานี่ เป็นลูกบอลที่ถูกออกแบบให้มีความ “กลม” ที่สุดเท่าที่เคยมีมาเลยทีเดียว (อ้าว...แล้วลูกก่อนหน้านี้ล่ะ?) ด้วยเทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่ล่าสุด ผ่านการทดสอบมาแล้วกับนักเตะระดับโลกจากทีมชั้นนำต่างๆ โดยมีจุดเด่นสำคัญอยู่ที่ “Grip 'n' Groove” หรือส่วนที่เป็นเกล็ดและร่องบนผิวลูกบอล ทำให้มีความเที่ยงตรงแม่นยำมากที่สุดเวลาลอยอยู่บนอากาศ จับบอลได้แน่นอนทุกสภาพอากาศพื้นผิวส่วนวัสดุที่ใช้มีส่วนประกอบที่ เป็นโฟม EVA และ TPU 3 มิติ ลดวัสดุลงเหลือ 8 ชิ้นประกอบกันเป็นลูกฟุตบอล ยึดติดด้วยเทคโนโลยี 3D Thermal Bonding อัดด้วยแรงดันความร้อน ทำให้ลูกบอลกลมกลึงไร้รอยเย็บ แตกต่างจาก “ทีมไกสต์” ลูกฟุตบอลประจำทัวร์นาเมนต์ “เวิลด์ คัพ 2006” ที่เยอรมนี ซึ่งมีเพียง 14 ชิ้น แต่ละชิ้นเป็นรูปยาวรี และรูปทรงกลมสม่ำเสมอทุกด้าน...อ๋อ อย่างนี้เอง
http://worldcup.tlcthai.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
อารายเหรอ