วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บ้านอนุรักษ์ควายไทย

head


index_picture

บริษัท พี พี แอนด์ พี ทรานสปอร์ต จำกัด ทำการเปิดโครงการหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย - สุพรรณบุรีเมื่อกลางเดือนมีนาคม 2545 อย่างเป็นทางการ บนเนื้อที่ 70 ไร่ ติดถนนทางหลวงหมายเลข 340 ซึ่งเป็นถนนสายหลักของอำเภอศรีประจันต์ และจังหวัดสุพรรณบุรี “บ้านควาย – สุพรรณบุรี ” เป็นโครงการที่สะท้อนถึงวิถีการดำรงชีวิตของชาวไทยชนบทในสมัยก่อนซึ่งมีความ สัมพันธ์และเชื่อมโยงกับควาย

“บ้านควาย – สุพรรณบุรี” ถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และรักษาขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมซื่งเป็นมรดกของประเทศไทย นอกจากนี้โครงการบ้านควายยังสนองนโยบายของรัฐโดยการสร้างงานสร้างรายได้และ สร้างโอกาศให้แก่ชุมชน และชุมชนใกล้เคียงในการทำมาหากินและประกอบอาชีพเพื่อยังชีพอย่างพอเพียง

พิธีเปิดโครงการ “บ้านควาย – สุพรรณบุรี” อย่างเป็นทางการถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2545 ในงานมีการจัดแสดงสินค้าหัตถกรรม “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” และกิจกรรมที่น่าตื่นตาตื่นใจ เช่น การประกวดควายงาม การแสดงความสามารถพิเศษของควาย และ วิ่งควาย

บ้านควาย เปิดทุกวัน เวลา 9.00 น. – 18.00 น. ผู้เข้าเยี่ยมชมบ้านสามารถสัมผัสกับวิถีการดำเนินชีวิตแบบย้อนยุค และกิจกรรมที่น่าสนใจต่างๆ เช่น การทำนาในแบบโบราณที่ยังใช้แรงงานจากควายและอุปกรณ์การทำนาแบบโบราณ นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังสามารถเข้าเยี่ยมพื้นที่จำลองในการแบ่งสันส่วน พื้นที่ทำเกษตกรรม ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช มหาราช และสวนผีเสื้อนานาพันธุ์ สวนกล้วยไม้ หมู่บ้านชาวนา และสวนสมุนไพร


head_about_baankwai

“ ควาย “ เป็นสัตว์ขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่มีความผูกพันธ์กับมนุษย์มาแต่ สมัยดึกดำบรรพ์ จากหลักฐานภาพเขียนก่อนยุคประวัติศาสตร์ของมนุษย์โบราณ ปรากฏภาพควาย ภาพปลา สัตว์ป่าบางชนิด เขียนอยู่ตามถ้ำต่าง ๆ โดยทั่วไปแสดงให้เห็นว่าควายเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวันของ มนุษย์มาแต่สมัยโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยเชื่อว่า “ควาย” มีบทบาทสำคัญ เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนไทย ใช้เป็นแรงงานเพื่อการเกษตร การขนส่งและการคมนาคม แม้แต่ในการสงครามยังใช้ควายเป็นพาหนะในการต่อสู้ข้าศึก เช่น สงครามของพี่น้องชาวบ้านบางระจันเดิมควายคงเป็นสัตว์ป่า เหมือนสัตว์ป่าทั่วไป แต่โดยสัญชาติญาณที่เป็นสัตว์ที่สามารถฝึกฝนทำให้เชื่องได้มนุษย์จึงนำมา เลี้ยง ฝึกฝน จนเชื่องและนำมาใช้แรงงาน เป็นประโยชน์ได้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของความรักความผูกพัน ระหว่างมนุษย์กับควายสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันคนไทยใช้แรงงานจากควาย มาแต่ยุคสร้างอาณาจักรเพราะพื้นที่ในการตั้งอาณาจักรอยู่ในเขตราบลุ่ม อาชีพที่เหมาะสม คือการเกษตร ตั้งแต่สมัยสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และรัตนโกสินทร์ จึงพูดได้ว่า

“ควายคือชีวิตของคนไทย” ความใกล้ชิดระหว่าง “ควายกับคน” จะแตกต่างกับสุนัข หรือแมว ที่เลี้ยงดูไว้เพื่อจุดประสงค์หนึ่งเพราะเราถือว่าควายเป็นสัตว์มีบุญคุณ และได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงโบราณมีพิธีทำขวัญควาย โดยเมื่อเสร็จจากฤดูไถหว่านแล้ว จะประกอบพิธีทำขวัญให้กับควาย มีการกล่าว โองการยกย่องว่าเป็นสัตว์ที่ช่วยเหลือในการทำมาหากิน ช่วยเหลือแรงงานด้านต่าง ๆ เสร็จแล้วจะมีการจัดหาหญ้าอ่อน น้ำสะอาดเลี้ยงดูให้กับควายมีหลายคนเรียกควายว่า “ลูก” สมัยก่อนจะไม่มีการฆ่าควายเพื่อกินเนื้อเป็นอาหาร ทุกบ้านจะเลี้ยงดูจนแก่เฒ่า และปล่อยให้ตายเอง จึงจะยอมชำแหละเนื้อมาเป็นอาหาร แต่เก็บเขาเอาไว้เป็นที่ระลึก ว่าได้เคยช่วยเหลืองานมา และจดจำชื่อไว้ว่าเป็นเขาของควายตัวใด ๆ และเกิดประเพณีสะสมเขาควายต่อมาโลกเจริญก้าวหน้า มีวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ สังคมเปลี่ยนแปลง รวมทั้งสังคมเกษตรในประเทศไทยจากที่เคยใช้ควายไถนา คราดนา ลากเกวียน นวดข้าว เปลี่ยนเป็นเครื่องจักร เครื่องนวดข้าว บทบาทของควายภาคเกษตรหมดลงโดยสิ้นเชิง “น่าใจหาย” บทบาทใหม่ของควายล่ะ คืออะไร...…จากสัตว์ที่เคยได้รับการยกย่องว่าเป็นสัตว์ที่มีบุญคุณ ช่วยเหลืองานทุกครัวเรือนเอาใจใส่ เลี้ยงดูเป็นอย่างดี สุมไฟให้เพื่อป้องกันยุง หาหญ้า หาน้ำ เพื่อเลี้ยงดู อยู่กินอย่างเป็นเพื่อน ไม่น่าเลยคนใจร้ายทำได้ “เห็นหน้ากัน อยู่ หลัด ๆ กินเสียได้” ปัจจุบันควายถูกเลี้ยงเพื่อเป็นสัตว์เศรษฐกิจ คือเลี้ยงเพื่อส่งขายให้กับโรงฆ่าสัตว์ไม่มีการชะลอหรือละเว้น ควายหมดจากประเทศไทยแน่ ๆ เด็กรุ่นหลังคงรู้จักควายจาก อนุสาวรีย์ หรือรูปภาพเท่านั้นโครงการ “บ้านควาย” ดำเนินการอยู่ที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ ปลุกสำนึกให้กับพี่น้องประชาชนได้ระลึกถึง “ควาย” สัตว์ที่มีบุญคุณ ช่วยในการส่งเสริมรายได้ให้กับชุมชน และยังส่งเสริมและอนุรักษ์ให้ควายเป็นสัตว์ที่ได้รับความสนใจ และได้รับการเลี้ยงดูอย่างมีคุณค่า เพราะไม่แน่ว่าวันข้างหน้าควายอาจกลับมามีบทบาทต่อชีวิตของพี่น้องเกษตรกร อีกก็ได้


“วันนี้ดูไร้ค่า ที่ผ่านมาเคยช่วยชาติ”


about_kwai


กระบือ
สัตว์มีค่าที่ (เกือบ)ถูกลืม


สัตว์ ที่มีบุญคุณมหาศาล และมีความสำคัญต่อปากท้องของคนไทยมาเนิ่นนาน กระบือ หรือ ที่ในภาษาชาวบ้านเรียกกันว่า “ควาย” กระบือหรือควายนั้นมีความสัมพันธ์กับมนุษย์มานานไม่ว่าจะเป็นเรื่องใน วรรณคดีหรือประวัติศาสตร์ไทย อย่างเช่น ภาพยนตร์ เรื่องบางระจันที่นายทองเหม็นขี่กระบือ (ควาย) เข้าต่อสู้กับพม่า เพื่อป้องกันเอกราชของประเทศไทยจนกระทั่งตัวตายนอกเหนือจากเราจะใช้กระบือ เป็นพาหนะในการรบแล้ว ก็ยังถูกนำมาใช้กับการเกษตรกรรมอีกด้วย ได้แก่ การไถนา ปลูกข้าว แต่ปัจจุบันเรามีเครื่องไถเป็นเครื่องจักร ที่ชาวบ้านเรียกว่า “ควายเหล็ก” มาใช้กันเพราะมีความสะดวกสบาย รวดเร็ว ดังนั้นกระบือจึงถูกละเลยและมนุษย์ก็ค่อย ๆ ลืมเลือนถึงคุณค่าตรงจุดนี้ทีละน้อยควายมีการเรียกแตกต่างกันไปแต่ละชาติแต่ ละภาษา เช่น ภาษาจีนเรียกว่า “สุ่ยหนิว”(Sui Nui)
ภาษา ฟิลิปปินส์ เรียกว่า “คาราบาว”(Carabao) และภาษาไทยเรียกว่า “ควาย”(Khway)ภาษามาเลย์เรียกว่า “เกรเบา” (Krabao) เป็นต้น


พันธ์กระบือ

พันธุ์กระบือในโลกมี 2 ชนิด คือกระบือป่า และกระบือบ้าน ซึ่งสามารถแบ่งกระบือบ้านออกไปได้อีก 2 ประเภทดังนี้คือ
กระบือ ปลัก (Swamp Buffalo) ประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชีย ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย พม่า เวียดนาม กัมพูชา ลาว มีกระบือปลักเป็นจำนวนมาก ใช้สำหรับทำงานในท้องนา เพื่อปลูกข้าว และลากเข็นเมื่อกระบือใช้งานไม่ไหวแล้ว ก็จะส่งเข้าโรงฆ่าเพื่อใช้เนื้อเป็นอาหารกระบือปลักยังมีความแข็งแรง มีกีบเท้าใหญ่ เคลื่อนไหว และเจริญเติบโตช้า ไม่ค่อยทนความร้อน จะแสดงอาการทุรนทุรายเมื่อไม่ได้ลงน้ำเป็นเวลานาน ชอบแช่ในโคลนตมเพื่อป้องกันแสงแดดและแมลงรบกวนได้แก่ กระบืออินโดนีเซีย และกระบือไทย เป็นต้น

กระบือปลักของไทยมีลักษณะ ขนาด และสี คล้ายกระบือในพม่า กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ซี่งมีสี 2 สีคือ สีเทาเข้มเกือบดำและอีกสี คือสีเผือก-ผิวหนังสีชมพู
กระบือ น้ำหรือกระบือแม่น้ำ (River Buffalo) กระบือพวกนี้คือ กระบือที่พบในอินเดีย ปากีสถาน อียิปต์ ยุโรปตอนใต้ กระบือชนิดนี้เป็นกระบือนมมากกว่า ชอบน้ำสะอาด ไม่ชอบลงโคลน ได้แก่ กระบืออียิปต์ กระบือคอเคเซียน และกระบือเมดิเตอร์เรเนียน เป็นต้น ควายแม่น้ำเพิ่งเข้ามาสู่ประเทศไทยประมาณสมัยรัชการที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงอยู่ในส่วนราชการ ยังไม่มีควายสำคัญต่อวิถีชีวิตคนไทยมากนักสำหรับการเลี้ยงกระบือในประเทศไทย เป็นการเลี้ยงตามยถากรรม ไม่มีการปรับปรุงพันธุ์ กระบือตัวผู้หากตัวใดดุก็ทำการตอนหากปล่อยไว้จะควบคุมยาก อีกทั้งยังให้กระบือเล็กแคระแกร็นไม่มีการคัดเลือกพันธุ์ที่ดีและยังปล่อย ให้กระบือหาอาหารกินเองในนาข้าวหรือในป่า คอกหรือที่อยู่ของกระบือก็ไม่มีส่วนมากมักจะผูกกับเสาเรือน หรือมีคอกอยู่ก็จะให้ฟางข้าวและน้ำกินโดยสุมไฟไล่แมลงรบกวน แต่ปัจจุบันนี้ได้หันมาสนใจการเลี้ยงกระบือกันอย่างจริงจังมากขึ้นในช่วง ปี พ.ศ. 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงริเริ่มโครงการธนาคารกระบือ (Buffalo Bank Project) ขึ้นที่ จ. ปราจีนบุรี และกรมปศุสัตว์รับผิดชอบในการดำเนินการ

ลักษณะทั่วไปของควาย

ขนาดควายจะโตเต็มวัยเมื่ออายุระหว่าง 5-8 ปี น้ำหนักตัวผู้โตเต็มวัยโดยเฉลี่ย 520-560 กิโลกรัม ตัวเมียเฉลี่ยประมาณ 360-440 กิโลกรัม ตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อยรูปร่างหน้าตาควายส่วนใหญ่รูปร่างอ้วน เตี้ย พ่วงพี ลำตัวสั้น ท้องกางกลม แข้งขาสั้น เขากางยาว ปลายเขาโค้งเป็นวงคล้ายพระจันทร์เสี้ยวสี
ควายมีอยู่ 2 สี คือควายที่มีขนสีดำกับควายที่มีขนสีขาว โดยทั่วไปควายมีขนสำดำ ส่วนควายขนสีขาวหรือที่เรียกว่าควายเผือกควายเผือก (Albinoid Buffalo) ไม่ค่อยมีหน้าที่ในการเป็นสินค้า หรืออาหาร เพราะชาวนาไม่นิยมซื้อขาย และไม่นิยมฆ่าแกง แต่จะมีประโยชน์ด้านจิตใจมากกว่าควายสีดำเขาควายโดยทั่วไปหรือส่วนใหญ่มีเขา ยาวกางออกสองข้างศีรษะ ปลายเขาโค้งเข้าหากัน ลักษณะเขาควายส่วนล่างเป็นสี่เหลี่ยมรูปมนผิวขรุขระเป็นปล้อง ส่วนบนกลมเรียวปลายแหลมผิวลื่น ควายบางตัวมีเขาผิดปกติ คือเขาสั้นทู่หรือเขาหลูบห้อยลงสองข้างศีรษะ ขนาดเขาควายโดยปกติยาวประมาณ 60-120 เซนติเมตรฟันควายมีฟันล่าง 20 ซี่ ส่วนฟันบนมีเฉพาะกราม 12 ซี่ ไม่มีฟันหน้า ด้วยเหตุนี้ชาวนาจึงเชื่อว่าควายไม่มีฟันบน


การเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์

ลูกควายจะกินนมแม่จนอายุประมาณ 1.5 ปี ควายจะเจริญเติบโตใช้แรงงานได้ระหว่างอายุ 2.5-3 ปี ช่วงที่ใช้งานได้เต็มที่ คือระหว่างอายุ 5-8 ปี ควายแต่ละตัวจะใช้งานได้จนอายุย่างเข้า 20 ปี อายุควายโดยทั่วไปเฉลี่ยประมาณ 25 ปี (เว้นกรณีพิเศษที่ควายบางตัวอาจมีอายุยืนผิดปกติ)ควายตัวผู้สามารถเป็นพ่อ พันธุ์ได้ตั้งแต่อายุ 2 ปี ส่วนควายตัวเมียสามารถเป็นแม่พันธุ์ได้ตั้งแต่อายุ 3 ปีขึ้นไป ควายจะตั้งท้องช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวซึ่งเป็นฤดูที่อาหารอุดมสมบูรณ์ควายจะ อุ้มท้องประมาณ 10.5 เดือน ก่อนและหลังคลอด 2-3 อาทิตย์ เจ้าของไม่นิยมใช้งานหนัก ปกติควายจะคลอดลูก 2 ตัว ในเวลา 3 ปีการเลี้ยงกระบือการเลี้ยงกระบือ โดยมากเลี้ยงเป็นฝูงรวมกัน โดยใช้ตัวผู้ 1 ตัว คุมฝูงตัวเมียได้ประมาณ 25-30 ตัว หากกระบือที่เลี้ยงไว้มีจำนวนมาก ก็จะแบ่งออกเป็นฝูงโดยใช้รั้วกั้นวิธีแบ่งฝูงกระบือจะแบ่งตาม ฝูงพ่อกระบือ แบ่งเป็นคอก ๆ เพื่อป้องกันการต่อสู้กัน ฝูงแม่กระบือ ฝูงกระบือตัวผู้ที่ยังผสมไม่ได้ และฝูงกระบือตัวเมียที่ยังผสมไม่ได้คุณค่าที่ (เกือบ) ถูกลืมแต่ปัจจุบันคุณค่าของกระบือเริ่มลดน้อยลงไป โดยเฉพาะทางด้านเกษตรกรรม เพราะมีเครื่องจักรที่ทันสมัยเข้ามาใช้แทนที่แรงงานของกระบือแล้ว แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ก็ยังมีกลุ่มเกษตรกรบางกลุ่มที่อนุรักษ์และยังคงความนิยม “กระบือ” มากกว่าเครื่องจักรไม่ว่าเหตุผลใด ๆ ก็แล้วแต่กระบือถือเป็นสัตว์ที่มีคุณค่าต่อมนุษย์ไม่ว่าในยุคไหน ๆ ก็ตามที ถึงแม้ปัจจุบันคุณค่าบางส่วนอาจลดลงไป ดูอย่างเจ้าบุญเลิศ ที่ได้กลายเป็นดาราดังไปแล้ว (แม้ไม่มีโอกาสได้ชื่นชมกับความสำเร็จเพราะป่วยตายเสียก่อนประโยชน์มากมาย ของกระบือเนื้อกินได้ หนังรองนั่ง กระดูกไม่ต้องแขวนคอ

กระบือเป็นสัตว์ซึ่งตามภาษาสัตวศาสตร์ เรียกว่า Bos Bubalis มนุษย์ รู้จักและเลี้ยงมาช้านานแล้วโดยกระบือตามลักษณะของวิชาสัตวศาสตร์มีดังนี้ เป็นสัตว์ขนาดหนักโครงร่างใหญ่ ร่างกายหนา ผิวหนังมีสีดำ สีเผือก สีด่าง มีขนเล็กน้อย หัวยาวแคบ มีเขาบนหัว หางสั้นและมีขนที่ปลายหาง กระบือพันธุ์นมที่ดีจะมีเต้านมใหญ่ หัวนมยาว น้ำนมมีสีขาว ไขมันสูงสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง โดยใช้ไถนา ลากของ ลากเกวียน เนื้อเป็นอาหารหนังก็นำมาทำเครื่องหนัง อีกทั้งยังเป็นพาหนะอีกด้วย



botton






บัตร เข้าชมราคา 30 บาทจ้า

สมัยนี้จะหาดูควาย ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเช่นสมัยก่อนแล้ว

วันนี้ เลยพาเพื่อนๆอนุรักษ์ควายไทยกัน

ควาย ที่นี่น่ารักทุกตัวเลยจ้า

ควาย ตัวนี้ชื่อ มะลิ อายุ 4 ปียิ้มได้สวยมากๆจ้า

ควาย เชื่องมากๆคุณลุงสั่งให้ยกขาจ้า

คุณลุงน่ารักมากๆ พาชมควายและอธิบาย

เรื่องควายไทย พันธุ์ต่างให้ฟังอย่างละเอียด

ให้จับและสัมผัสตัวควายอย่างใกล้ชิด





http://www.buffalovillages.com/buffalovillages/

http://www.tubeoli.com/video/ctQWMqi2XQ4

http://buffhome.tiee2009.in.th/2009/09/28/hello-world/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ