เปิดโผรายชื่อ 100 หนังไทยแห่งทศวรรษจากนิตยสารไบโอสโคป
นิตยสารไบโอสโคปเผยรายชื่อ
“100หนังไทยแห่งทศวรรษ” (2543-2552)
ไบโอสโคปจัด ทำรายชื่อ “100 หนังไทยแห่งทศวรรษ”
มีทั้งหนังทำเงิน หนังอิสระ หนังสั้น และหนังที่หลายคนมองว่า “ห่วย”
นิตยสารไบโอสโคปฉบับที่ 100 ประจำเดือนมีนาคม 2553 ได้จัดทำสกู๊ปพิเศษรายชื่อ “100 หนังไทยแห่งทศวรรษ”
โดยมีเกณฑ์การคัดเลือก 3 ประการ ได้แก่
1. เป็นหนังที่มีความดีในคุณภาพของตัวมันเองจนทางกองบรรณาธิการชื่นชอบ
2. เป็นหนังที่สร้างปรากฏการณ์บางอย่างให้แก่วงการภาพยนตร์
3. เป็นหนังที่กระบวนการสร้างของมันมีความน่าสนใจจนต้องบันทึกไว้
ทั้งนี้ การจัดทำรายชื่อ 100 หนังไทยแห่งทศวรรษดังกล่าว ไม่ได้เป็นการจัดเรียงลำดับของหนังไทยอันดับที่ 1-100 แต่อย่างใด ทว่าเป็นการจัดทำรายชื่อหนังไทยที่น่าสนใจเรียงตามปีที่ออกฉาย โดยหนังทั้งหมดมีรายชื่อดังต่อไปนี้
ปี 2543
1. “ฟ้าทะลายโจร” (วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง)
2. “บางกอกแดนเจอรัส เพชฌฆาตเงียบอันตราย” (อ็อกไซด์ และ แดนนี แปง)
3.”บางระจัน” (ธนิตย์ จิตนุกูล)
4. “สตรีเหล็ก” (ยงยุทธ ทองกองทุน)
5. “ดอกฟ้าในมือมาร” (อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล)
6. “จอมโหดมนุษย์ซีอิ๊ว” (ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ)
7. “มอเตอร์ไซค์” (หนังสั้น-อาทิตย์ อัสสรัตน์)
8. “เมืองมายา…กรุงธิดา” (หนังสั้น-ลี ชาตะเมธีกุล)
9. “หลวงตา” (หนังสั้น-ภาคภูมิ วงศ์ภูมิ)
ปี 2544
10. “โกลคลับ เกมล้มโต๊ะ” (กิตติกร เลียวศิริกุล)
11. “สุริโยไท” (ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล)
12. “ข้างหลังภาพ” (เชิด ทรงศรี)
13. “มือปืน/โลก/พระ/จัน” (ยุทธเลิศ สิปปภาค)
14. “จัน ดารา” (นนทรีย์ นิมิบุตร)
15. “14 ตุลา สงคราประชาชน” (บัณฑิต ฤทธิ์ถกล)
16. “ผีสามบาท” (พิสุทธิ์ แพร่แสงเอี่ยม และ อ็อกไซด์ แปง)
17. “มนต์รักทรานซิสเตอร์” (เป็นเอก รัตนเรือง)
18. “ทำไมต้องเป็นตลก” (หนังสั้น-วิทยา ทองอยู่ยง)
19. “บ้านสีชมพู” (หนังสั้น-สุวรรณ ห่วงศิริสกุล)
ปี 2545
20. “15 ค่ำ เดือน 11″ (จิระ มะลิกุล)
21. “ผู้หญิงห้าบาป” (สุกิจ นรินทร์)
22. “พระอภัยมณี” (ชลัท ศรีวรรณา)
23. “ขุนกระบี่” (หนังสั้น-ทวีวัฒน์ วันทา)
24. “ด เด็ก ช ช้าง” (หนังสั้น-ทรงยศ สุขมากอนันต์)
ปี 2546
25. “สุดเสน่หา” (อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล)
26. “องค์บาก” (ปรัชญา ปิ่นแก้ว)
27. “สยิว” (คงเดช จาตุรันต์รัศมี และ เกียรติ ศงสนันท์)
28. “องคุลิมาล” (สุเทพ ตันนิรัตน์)
29. “เซ็กส์โฟน/คลื่นเหงา/สาวข้างบ้าน” (เหมันต์ เชตมี)
30. “คืนบาปพรหมพิราม” (มานพ อุดมเดช)
31. “คืนไร้เงา” (พิมพกา โตวิระ)
32. “แฟนฉัน” (นิธิวัฒน์ ธราธร, ทรงยศ สุขมากอนันต์, คมกฤษ ตรีวิมล, วิทยา ทองอยู่ยง, วิชชา โกจิ๋ว และอดิสรณ์ ตรีสิริเกษม)
33. “ลี้” (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล)
34. “เรื่องรักน้อยนิดมหาศาล” (เป็นเอก รัตนเรือง)
35. “บุปผาราตรี” (ยุทธเลิศ สิปปภาค)
36. “คืนพระจันทร์เต็มดวง” (ม.ล.มิ่งมงคล โสณกุล)
37. “2003″ (หนังสั้น-ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล)
38. “เทียร์ส” (หนังสั้น-พัฒนะ จิระวงศ์)
39. “บีไฮด์ เดอะ วอลล์” (หนังสั้น-อภิวัฒน์ แสงพัทธสีมา)
40. “อย่าลืมฉัน” (หนังสั้น-มานัสศักดิ์ ดอกไม้)
ปี 2547
41. “โหมโรง” (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์)
42. “คน ผี ปีศาจ” (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล)
43. “แฮปปี้ เบอร์รี่ สวรรค์สุดเอื้อม” (ธัญสก พันสิทธิวรกุล)
44. “ทวิภพ” (สุรพงษ์ พินิจค้า)
45. “ไอ้ฟัก” (พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์)
46. “ฟอร์มาลินแมน: รักเธอเท่าฟ้า” (ภาคภูมิ วงศ์จินดา)
47. “สัตว์ประหลาด!” (อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล)
48. “เบิร์ธ ออฟ เดอะ ซีเนมา” (ศะศิธร อริยะวิชา)
49. “ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ” (บรรจัง ปิสัญธนะกูล และ ภาคภูมิ วงศ์ภูมิ)
50. “หัวใจทรนง” (อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล และ ไมเคิล เชาวนาศัย)
51. “หมานคร” (วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง), 52. “ตามสายน้ำ” (อนุชา บุณยวรรธนะ)
53. “หัวลำโพง” (หนังสั้น-จุฬญาณนนท์ ศิริผล)
54. “สัตว์วิบากหนักโลก” (หนังสั้น-ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ)
ปี 2548
55. “หลวงพี่เท่ง” (บำเรอ ผ่องอินทรีย์)
56. “เสือร้องไห้” (สันติ แต้พานิช)
57. “แหยม ยโสธร” (เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา)
58. “เพื่อนสนิท” (คมกฤษ ตรีวิมล)
59. “ลองของ” (โรนินทีม)
60. “ในวันที่ฝนตกลงมาเป็นคูสคูส” (หนังสั้น-ธัญสก พันสิทธิวรกุล)
ปี 2549
61. “ก้านกล้วย” (คมภิญญ์ เข็มกำเนิด)
62. “ศพ” (ดุลยสิทธิ์ นิยมกุล)
63. “แสงศตวรรษ” (อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล)
64. “ซีซั่นส์ เช้นจ์ เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย” (นิธิวัฒน์ ธราธร)
65. “13 เกมสยอง” (รวมหนังสั้น “เอิร์ธคอร์” และ “12″) (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล)
66. “เคียด” (พัลลภ ฮอหรินทร์)
67. “แสบสนิท ศิษย์ส่ายหน้า” (ฤกษ์ชัย พวงเพ็ชร์)
68. “คนไฟบิน” (เฉลิม วงศ์พิมพ์)
69. “เรื่องเล่าจากเมืองเหนือ” (อุรุพงษ์ รักษาสัตย์)
70. “เด็กหอ” (ทรงยศ สุขมากอนันต์)
71. “เกรซแลนด์” (หนังสั้น-อโนชา สุวิชากรพงศ์)
72. “แขก” (หนังสั้น-ภาณุ อารี)
ปี 2550
73. “ไฟนอล สกอร์ 365 วัน ตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์” (โสรยา นาคะสุวรรณ)
74. “หอแต๋วแตก” (พจน์ อานนท์)
75. “มะหมา 4 ขาครับ” (พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์ และ สมเกียรติ์ วิทุรานิช)
76. “ไชยา” (ก้องเกียรติ โขมศิริ)
77. “รักแห่งสยาม” (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล)
78. “เพื่อน…กูรักมึงว่ะ” (พจน์ อานนท์)
79. “หนังสั้นชุดประวัติศาสตร์ส่วนตัว” (หนังสั้น-สุชาติ สวัสดิ์ศรี)
80. “สึ” (หนังสั้น-ปราโมทย์ แสงศร)
81. “เพนกวิน” (หนังสั้น-นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์)
82. “ความลักลั่นของงานรื่นเริง” (หนังสั้น-ปราปต์ บุนปาน)
ปี 2551
83. “กอด” (คงเดช จาตุรันต์รัศมี)
84. “สี่แพร่ง” (ยงยุทธ ทองกองทุน, ปวีณ ภูริจิตปัญญา, บรรจง ปิสัญธนะกูล และภาคภูมิ วงศ์ภูมิ)
85. “สะบายดี หลวงพระบาง” (ศักดิ์ชัย ดีนาน และ อะนุสอน สิริสักดา)
86. “มูอัลลัฟ” (ภาณุ อารี, ก้อง ฤทธิ์ดี และกวีนิพนธ์ เกตุประสิทธิ์)
87. “วันเดอร์ฟูลทาวน์” (อาทิตย์ อัสสรัตน์)
88. “บริเวณนี้อยู่ภายใต้การกักกัน” (ธัญสก พันสิทธิวรกุล)
89. “อะ โมเมนท์ อิน จูน ณ ขณะรัก” (ณัฐพล วงศ์ตรีเนตรกุล)
90. “พลเมืองจูหลิง” (อิ๋ง เค, มานิต ศรีวานิชภูมิ และไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ)
91. “แอม ไฟน์ สบายดีค่ะ” (หนังสั้น-ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์)
92. “คืนเปลี่ยวในซอยตรวจ” (หนังสั้น-ด.ต.วีระศักดิ์ สุยะลา)
ปี 2552
93. “ท้า/ชน” (ธนกร พงษ์สุวรรณ)
94. “ฝันโคตรโคตร” (พิง ลำพระเพลิง)
95. “รถไฟฟ้า…มาหานะเธอ” (อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม)
96. “เฉือน” (ก้องเกียรติ โขมศิริ)
97. “อ็อคโทเบอร์ โซนาต้า รักที่รอคอย” (สมเกียรติ์ วิทุรานิช)
98. “เจ้านกกระจอก” (อโนชา สุวิชากรพงษ์)
99. “สวรรค์บ้านนา” (อุรุพงศ์ รักษาสัตย์)
100. “ภัยใกล้ตัว (ฉบับผู้กำกับ)” (หนังสั้นปี 2551-จุฬญาณนนท์ ศิริผล), และ “ของเหลวที่หลั่งจากกาย” ( หนังสั้นปี 2552 - รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค)
ความเห็นที่นิตยสารไบโอ สโคปมีต่อหนัง น่าสนใจบางเรื่อง
บาง ระจัน (ธนิตย์ จิตนุกูล)
เรื่องราวของกลุ่มชาวบ้าน เพียงหยิบมือที่ตัดสินใจสู้กับกองทัพพม่า ซึ่งเราเคยได้ยินครั้งแล้วครั้งเล่า ถูกนำมาสร้างเป็นหนังแอ็กชันทุนสูง โปรดักชั่นใหญ่ยักษ์ ซึ่งการเล่าเรื่องอย่างระทึกตลอดจนความสำเร็จที่มันได้รับก็ทำให้ถูกตีความ ในเวลาต่อมาว่า เป็นหนึ่งในหนังไทยยุคใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบรับกระแสชาตินิยม ซึ่งคุกรุ่นในช่วงเวลานั้น นอกจากนี้หนังยังเป็นที่ชื่นชอบของโอลิ เวอร์ สโตน ผู้กำกับฮอลลีวูดชื่อดัง ซึ่งช่วยเหลือให้หนังได้จัดจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ.2547
ข้างหลังภาพ (เชิด ทรงศรี)
ครั้งออกฉายใหม่ ๆ หนังโดนกระแสโจมตีถึงความเชยเสียจมหู ไม่ว่าจะเป็นงานภาพและการเล่าเรื่อง บทสนทนา ไปจนถึงการแสดง แต่ความมหัศจรรย์คือ เมื่อเวลาผ่านไปปีแล้วปีเล่า สิ่งเหล่านั้นกลับค่อย ๆ พิสูจน์ตัวเองว่ามันเป็นส่วนผสมซึ่ง เชิด ทรงศรี จับมาคลุกเคล้าให้กลายเป็นเสน่ห์เฉพาะตัว จนเรียกได้ว่ายิ่งเชยเท่าไร ก็ยิ่งซาบซึ้งเท่านั้น นี่จึงเป็นผลงาน กำกับเรื่องสุดท้ายของเขาที่ทำให้เขายังคงอยู่ในความทรงจำ ของเราไม่เสื่อมคลาย
ผู้หญิงห้าบาป (สุกิจ นรินทร์)
“ผู้หญิงห้าบาป” ควรติดอันดับ “หนังคัลต์ที่สุดแห่งทศวรรษ” เพราะ 1. ตอนออกฉายถูกด่าขรม จนถึงบัดนี้คนก็ยังพูดถึงไม่หยุด 2. มุขตลกทางเพศที่เล่นกันอย่างสุดทาง 3. ดารารับเชิญมากมายที่หลายคนคงไม่อยากให้จดจำว่าเล่นหนังเรื่องนี้ 4. ความไม่สมเหตุสมผลและความขบขัน ซึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นความประสงค์ของคนทำหนังหรือไม่ และ 5. การหักมุมตอนจบอันแสนลือลั่น แต่ไม่ว่าหนังเรื่องนี้จะโดนค่อนขอดอย่างไร หากคนดูไม่ได้เคร่งครัดและรับรู้อยู่แล้วว่ามันไม่ใช่หนังตามมาตรฐานปกติ แล้วล่ะก็ นี่คือหนังที่สนุกสนานและคงทนข้ามกาลเวลาได้อย่างน่าประหลาด
พระอภัยมณี (ชลัท ศรีวรรณา)
เดิมทีหนังเรื่องนี้มีโปรแกรมจะ ได้เข้าฉาย แต่เมื่อมีปัญหาภายใน จึงได้ฉายแค่ตามโรงหนังชั้นสองแล้วลงวีซีดีทันที สิ่งที่ไม่น่าเชื่อก็คือมันประสบความสำเร็จถล่มทลายในตลาดวีซีดี จนผู้สร้างรายย่อยเจ้าอื่นแห่มาร่วมตักตวงอย่างบ้าคลั่งจนตลาดหนังวีซีดี ยิ่งใหญ่อยู่พักหนึ่ง ก่อนจะซบเซาในเวลาต่อมา
อย่าลืมฉัน (มานัสศักดิ์ ดอกไม้)
ภาพและเสียงไม่ตรงกันมิใช่ เทคนิคใหม่ แต่มันถูกผลักให้ทรงพลังที่สุดครั้งหนึ่งในหนังสั้นการเมืองเรื่องนี้ เมื่อภาพจากเหตุการณ์สังหารนักศึกษาในวันที่ 6 ตุลาฯ 2519 ถูกถ่ายทอดไปพร้อมกับการบรรยายถึงชนเผ่าผีตองเหลือง หนังยอกย้อนเสียดเย้ย ขำขันระคนเจ็บแสบ มานัสศักดิ์ใช้หนังสั้นของเขาเป็นการต่อ ต้าน “กระบวนการทำให้ลืม” และ “ทำให้ไม่มีตัวตน” ของ ประวัติศาสตร์ไทย
หลวง พี่เท่ง (บำเรอ ผ่องอินทรีย์)
ความ สำเร็จด้านรายได้ของหนังเรื่อง นี้ เปลี่ยนโฉมหน้าวงการหนังไทยหลังจากนั้นให้ท่วมท้นไปด้วยหนังที่กำกับโดยนัก แสดงตลกคาเฟ่ กระนั้นก็กล่าวได้ว่า นับจนถึงปัจจุบัน ก็ยังไม่มีเรื่องใดในกลุ่มนี้ที่จะสามารถเชื่อมร้อยความขบขันเข้ากับตัวตน และทัศนคติของคนทำได้อย่างลงตัว ราบรื่น และสนุกสนานเท่า “หลวงพี่เท่ง” นอกเหนือจากนั้น หนังยังชาญฉลาดในการสอดแทรกภูมิปัญญาชาวบ้านเข้าสู่เรื่องราวได้อย่างทั้งคม คายและน่ารัก
หอแต๋วแตก (พจน์ อานนท์)
ความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้คือ พจน์ อานนท์ เป็นคนทำหนังที่ไม่เคยหายไปตลอด 10 ปีที่ผ่านมา และดูเหมือนว่าเขาจะพบจุดที่ลงตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ “หอแต๋วแตก” คือ งานที่สนุกสนานที่สุดของเขา และจริงอยู่ที่มีความเชื่อชั่วระยะหนึ่งว่า ผี และ กะเทย คือสิ่งทำเงินของหนังไทย แต่ก็เป็นหนังเรื่องนี้นี่แหละที่นำสองสิ่งมาอยู่ในสถานที่เดียวกัน แล้วทำให้มันมุ่งไปในทิศทางที่บันเทิงได้สุดขอบที่สุด
เพื่อน…กูรักมึงว่ะ (พจน์ อานนท์)
ในปี เดียวกัน นอกจาก “หอแต๋วแตก” แล้ว พจน์ยังสร้างงานที่โดดเด่นที่สุดในอาชีพของเขาก็ว่าได้ ไม่ว่าคนดูจะชอบหรือเกลียด แต่ “เพื่อน…กูรักมึงว่ะ” คือหนังที่ไปสุดทางแบบไม่มีอะไรขวางกั้น ทั้งในเรื่องการขายความเป็นเกย์ และการขายความเป็นเมโลดรามา ซึ่งหลังจาก “สัตว์ประหลาด!” ได้ นำเสนอภาพเกย์ผ่านหนังอิสระแล้ว หนังเรื่องนี้ก็เป็นหลักไมล์ใหม่ของการนำเสนอและประชาสัมพันธ์ความรัก และเซ็กส์ของเกย์ในหนังตลาด โดยเกย์ในเรื่องนี้มิใช่ผู้ชายที่มีจริตหญิง แต่เป็นหนุ่มรักเพศเดียวกันที่มีรูปร่างเหมือนเข้าฟิตเนสชั้นดีทุกวัน
คืนเปลี่ยวในซอยตรวจ (ด.ต.วีระศักดิ์ สุยะลา)
ตำรวจก็ทำหนังได้ แถมยังเป็นหนังที่มีลูกบ้าแพรวพราว เพราะทุกเรื่องเขาทั้งกำกับ ถ่ายทำ และแสดงเองคนเดียว หนังเรื่องนี้พัฒนาไปอีกขั้น เพราะวีระศักดิ์เล่าเรื่องระทึกขวัญที่ซับซ้อน และมีตัวละครมากมาย (เล่นคนเดียวเช่นเคย) จนเป็นงานที่ทั้งสนุกและน่าทึ่ง
ฝันโคตรโคตร (พิง ลำพระเพลิง)
ดูเหมือนว่า “อคติ” ที่ก่อตัวขึ้นรายรอบหนังเรื่องนี้จะทำ งานหนักกว่าตัวหนังเสียอีก ตั้งแต่การที่ พิง ลำพระเพลิง หยิบเรื่องตัวเองมาเล่าเป็นครั้งที่ 3 ทั้งยังรับบทนำเองอีกด้วย แต่นั่นก็ไม่ใช่เหตุผลที่พิงจะต้องออกมาแก้ต่างให้ตัวเอง เขาปล่อยให้ผลงานทำหน้าที่อธิบายเหตุและผลด้วยตัวมันเอง หนังเป็นการทดลองโครงสร้างการเล่าเรื่องใหม่ซึ่งท้าทายฝีมือพิงอย่างยิ่ง ทว่าด้วยความเชื่อมั่นและรักในเรื่องที่จะเล่า ทำให้เขาสามารถพาหนังขึ้นไปสู่จุดสูงสุดได้อย่างสวยงาม
นี่เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ใครที่อยากอ่านข้อความแบบเต็มๆ สามารถหาอ่านได้จากนิตยสารไบโอสโคป ฉบับล่าสุดนะจ๊ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
อารายเหรอ