วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2553

เรือพยาบาล


เรือพยาบาลที่ประจำการอยู่ในโลกนี้นั้น หาได้ยากยิ่งกว่าเรือประเภท ใด ๆ
เท่าที่ทราบก็มีอยู่แค่ 2 ลำเท่่านั้น

เรือพยาบาลลำที่ผมเห็นนั้นคือ USNS Mercy (T-AH-19) เป็นเรือของกองทัพเรือสหรัฐฯ ชั้น Mercy ซึ่งมีเรืออยู่ใน Class นี้อีกหนึ่งลำคือ USNS Comfort (T-AH-20)






USNS Mercy (T-AH-19) ลำปัจจุบันนั้น เป็นเรือพยาบาลลำที่ 3 แล้ว ที่ใช้ชื่อนี้ 2 ลำก่อนหน้านี้ได้ปลดประจำการไปแล้ว ส่วนลำนี้นั้น ได้ดัดแปลงมาจากเรือบรรทุกน้ำมันชื่อ SS Worth ต่อโดย National Steel and Shipbuilding Company

ที่เมือง San Diego รัฐ California ในปี 1976




หลัง จากที่ใช้งานมานาน 10 ปี เธอก็ถูกดัดแปลงครั้งใหญ่ให้เป็นเรือพยาบาลด้วยอู่ต่อเรือเดิม แล้วเข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 1986

ทางด้านภารกิจหลักนั้น ก็เพื่อสนับสนุนงานทางด้านสาธารณสุข และัการพยาบาลให้แก่ นาวิกโยธิน และหน่วยทหารทั้งทัพบก และทัพอากาศ ที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล หรือเมื่อสหรัฐได้ส่งหน่วยทหารไปรบยังต่างแดน เช่น ภารกิจ Operation Desert Shield ส่วนภารกิจรองในยามสันติสุขคือ ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติต่าง ๆ เช่น เมื่อครั้งเกิดสึนามิ เป็นต้น


ทางด้านเครื่องยนต์ เรือลำนี้ใช้ไอน้ำเป็นพลังงานขับเคลื่อน โดยมีหม้อน้ำ 2 หม้อ เทอร์ไบน์ 2 เครื่อง 1 เพลาใบจักร กำลังขับ 24,500 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 17.5 น็อต

ภายในเรือมีเตียงคนไข้ถึง 1,000 เตียง ห้องผ่าตัด 12 ห้อง สามารถรักษาผู้ป่วยจากอุบัติเหตุ ทั้งจากภัยพิบัติ และจากการรบ , รักษาแผลเพลิงไหม้ , รักษาอาการบาดเจ็บจากรังสี , ทันตกรรม , ตรวจวัดสายตา , กายภาพบำบัด และสุดท้าย คือมีห้องเก็บศพด้วย

ส่วนกำลังพลนั้นจะมีอยู่ 2 อัตรา คือในยามที่ออกปฏิบัติภารกิจ และตอนที่เรือจอด ถ้าตอนเรือจอดอยู่ที่เมืองท่า คือ เมือง San Diego รัฐ California จะปรับลดอัตรา โดยเหลือ พลเรือน 12 คน และทหารอีก 58 นาย และเมื่อไหร่ที่เรือต้องออกปฏิบัติราชการจึงจะเพิ่มกำลังพล โดยมีกำลังพลพลเรือนถึง 61 คน แลทหาร 1,214 นาย โดยกำลังพลจะมาจาก Naval Medical Center ของเมือง ซานดิเอโก้

สำหรับภารกิจต่าง ๆ ที่ผ่านมา สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ wikipedia ได้เลย

ความพิเศษของเรือพยาบาลนั้นก็คือ บนตัวเรือจะมีเครื่องหมายกาชาด เป็นเครื่องหมายบวกสีแดง ซึ่งมองเห็นอย่างเด่นชัด และก็จะไม่บรรทุกอาวุธ และวัตถุระเบิดใด ๆ ทั้งสิ้น และที่สำคัญคือ ห้ามเรือ , อากาศยาน หรือบุคคลใด ๆ โจมตีเรือพยาบาลโดยเด็ดขาด เพราะเป็นข้อตกลงร่วมกันของนานาชาติในสนธิสัญญาเจนีวา และเป็นเรืองทางมนุษยธรรมด้วย เพราะเรือพยาบาลนั้น ไม่ใช่แค่ช่วยเหลือคนของชาติตนเท่านั้น แต่ช่วยคนไม่เลือกเชื้อชาติ ภาษา


ดังนั้น ชาติใด หรือ องค์กรใดก็ตาม ที่โจมตีเรือพยาบาล การกระทำนั้น จะถือว่าเป็นอาชญากรรม สงครามใน ทันที

แต่อย่างไรก็ตาม ในอดีตที่ผ่านมาก็มีการโจมตีเรือพยาบาลเช่นกัน กรณีที่โด่งดังคือ การจมเรือ ASH Centaur ของออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 1943 โดยเรือดำน้ำญี่ปุ่น I-177 ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 การโจมตีในครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 268 คน ส่วนผู้รอดชีวิตที่เหลือ 64 คนต้องรอรับการช่วยเหลือยาวนานถึง 36 ชั่วโมงเลยทีเดียว




ASH Centaur

จากการจมเรือ ASH Centaur นี้ ทำให้กรณีนี้ถือเป็น อาชญากรรมสงครามและ ต้องสืบ สวนหาผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้ ซึ่งผลการสืบสวนและค้นหาหลักฐานข้อเท็จจริง ก็มาสิ้นสุดว่า เรือดำน้ำ I-177 โดยผู้บังคับการเรือ นาวาตรี Hajime Nakagawa เป็นเรือดำน้ำที่ยิงตอร์ปิโดใส่เรือ ASH Centaur

อย่างไรก็ตามเรือ I-177 ก็ ถูกจมโดย USS Samuel S. Miles ในเวลาต่อมา แต่ตัวผู้บังคับการเรือรอดชีวิตมาได้ และได้เป็นผู้บังคับการเรือ I-37 ต่อ

ในที่สุด นาวาตรี Hajime Nakagawa ก็ได้ถูกตัดสินว่าเป็นอาชญกรสงครามระดับ B จากเหตุการณ์ สั่งให้ลูกเรือยิงปืนใส่ผู้รอดชีวิต จากการจมของเรือสินค้าอังกฤษ 3 ลำ และถูกตัดสินให้จำคุกของญี่ปุ่น นาน 4 ปี แต่สำหรับกรณีการจมเรือ ASH Centaur นั้น เขาไม่ได้ถูกตัดสินโทษแต่อย่างใด เพราะว่าคดีนี้ถูกปิดลงโดยสรุปว่า ไม่สามารถระบุได้ว่าเรือลำใดเป็นผู้จม ในปี 1948 และคดีนี้ก็ไม่ได้ถูกเปิดออกมาพิจารณาใหม่โดยฝ่ายสัมพันธมิตรอีกเลย

สำหรับเรื่องราวโดยละเอียดของกรณีนี้ หาอ่านได้จากลิงค์ ASH Centaur






credit ภาพและข้อมูล : wikipedia


ป.ล.ไม่ทราบเหมือนกัน ว่าในปัจจุบันนี้ยังมีเรือพยาบาลลำอื่นนอกจาก 2 ลำนี้

ที่ ยังประจำการอยู่ในโลกนี้อีกหรือไม่ ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมบอกได้ค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ