เมื่อตายมีเงินเหลือ ๑๗๗ บาท !!!
ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยถึง ๕ สมัย
(พ.ศ. ๒๔๗๖ - ๒๔๘๑)
ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น "เชษฐบุรุษ" นายกฯ
คนซื่อ ๕ สมัย สุภาพบุรุษประชาธิปไตย และขวัญใจประชาชน
ท่านสร้างผลงานให้แก่ประเทศไว้มากมาย แต่คนไทยในสมัยนี้
ไม่ค่อยรู้จักท่าน ไม่ค่อยมีใครพูดถึงและยกย่องท่าน
ท่านคือ ... พล เอก พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี
คนที่ ๒ ของประเทศไทย มีนามเดิมว่า "พจน์ พหลโยธิน"
ประวัติ
พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ชื่อเดิมว่า "พจน์ พหลโยธิน" เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๔๓๐ เวลา ๐๓.๓๐ น. ณ บ้านหน้าวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา(ถิ่น พหลโยธิน) กับคุณหญิงจับ สมรสกับคนผู้หญิงบุญหลง พหลพลพยุหเสนา
เริ่มการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส (วัดสามปลื้ม)
และย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสุขุมาลวิทยาลัย
จนกระทั่งเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก ต่อมาเมื่ออายุ ๑๖ ปี
ได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกในเมืองโกรสลิสเตอร์ เฟล เด ประเทศ เยอรมันนี
ศึกษาอยู่ ๓ ปี ต่อจากนั้นได้เข้าประจำอยู่ในกองทัพบกเยอรมัน สังกัดกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๔
ในปี พ.ศ.๒๔๕๕ ได้เดินทางไปศึกษาต่อวิชาช่างแสงที่ประเทศเดนมาร์ก
เรียนได้ปีเดียวก็ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากเงินทุนการศึกษาไม่เพียงพอ
พระยาพหลพลพยุหเสนาเข้ารับราชการครั้งแรกประจำกรม ทหารปืนใหญ่ที่ ๔ จังหวัดราชบุรี อีกสามปีต่อมาได้เข้าประจำกรมทหารปืนใหญ่ บางซื่อ พระนคร และในปี พ.ศ.๒๔๖๐ ได้ย้ายไปเป็นผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๙ จังหวัดฉะเชิงเทรา ในชีวิตราชการนั้นได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงและพระตามลำดับใน ราชทินนามเดียวกันว่า " สรายุทธสรสิทธิ์" และได้ เลื่อนยศทางทหารมาตามลำดับ กระทั่งได้เป็น พันเอก เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๑
เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๔๗๑ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองครักษ์เวร และเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพหลพลพยุหเสนา มีราชทินนามเดียวกับบิดา
เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ได้ร่วมกับคณะราษฏรโดยเป็นหัวหน้าคณะราษฎรทำการ ยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๗๖ โดยการทำรัฐประหารรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดาตลอดระยะเวลาที่บริหาร ประเทศ ต้องเผชิญปัญหานานัปการ จนต้องลาออกจากตำแหน่งหลายครั้ง และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งใหม่ ในที่สุดเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๔๘๑ พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ตัดสินใจยุบสภาและลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ถึงแม้พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาจะวางมือจากตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองแล้ว ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ คนได้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ และได้รับยศ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
สมัยที่ ๑
คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๔ : ๒๑ มิถุนายน ๒๔๗๖ - ๑๖ ธันวาคม ๒๔๗๖
สมัยที่ ๒
คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๕: ๑๖ ธันวาคม ๒๔๗๖ - ๒๒ กันยายน ๒๔๗๗
สมัยที่ ๓
คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๖: ๒๒ กันยายน ๒๔๗๗ - ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๘๐
สมัยที่ ๔
คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๗: ๙ สิงหาคม ๒๔๘๐ - ๒๑ ธันวาคม ๒๔๘๐
สมัยที่ ๕
คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๘: ๒๑ ธันวาคม ๒๔๘๐ - ๑๑ กันยายน ๒๔๘๑
บทบาท ทางการเมืองและชีวิต
ดูรายละเอียดวันที่แปลี่ยนแปลงการปกครองเพิ่มเติมได้ที่ พระยาทรงสุรเดช ในส่วนของ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหนึ่งในคณะราษฎรฝ่ายทหารชั้นผู้ใหญ่ เป็น 1 ใน 4 ทหารเสือ ที่ประกอบด้วย ตัวท่าน, พระยาฤทธิ์อัคเนย์, พระยาทรงสุรเดช และ พระประศาสน์ พิทยายุทธ ในระหว่างการประชุมวางแผนที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น พระยาพหล ฯ ได้เคยมีดำริถึงเรื่องนี้มาก่อนและเปรยว่า ทำอย่างไรให้อำนาจการปกครองอยู่ในมือของคนทั่วไปจริง ๆ ไม่ใช่อยู่ในมือของชนชั้นปกครองแค่ไม่กี่คน และเมื่อคณะราษฎรทั้งหมดยกให้ท่านเป็นหัวหน้า ท่านก็รับ
ในเช้าวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ท่านได้สั่งเสียไว้กับภรรยา (ท่านผู้หญิงบุญหลง พลพยุหเสนา) ว่า หากทำการมิสำเร็จและต้องประสบภัยถึงแก่ชีวิตแล้ว ขอให้คุณหญิงจงเป็นพยานแก่คนทั้งหลายว่า "การที่คิดการเปลี่ยนแปลงการ ปกครองแผ่นดินครั้งนี้ มิได้หมายจะช่วงชิงเอาราชบัลลังก์ หรือคิดจะล้มราชบัลลังก์แต่อย่างใดเลย ความมุ่งหมายจำกัดอยู่แต่เพียงว่า ให้องค์กษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ และให้มีสภาการปกครองแผ่นดิน เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้ผู้น้อยและประชาราษฎรได้แสดงความคิดเห็นในราชการบ้าน เมืองได้บ้าง" และฝากให้เลี้ยงลูกให้เป็นคนดีด้วย ก่อนออกจากบ้านไปพร้อมกับพระประศาสน์พิทยายุทธที่ขับรถมา มุ่งหน้าไปยังกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ เพื่อสมทบกับพระยาทรงสุรเดชตามแผนที่วางไว้ พร้อมกับเหน็บปืนพกค้อลท์รีวอลเวอร์ที่ เอว เป็นอาวุธข้างกาย
ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เมื่อทหารทุกหน่วยมาพร้อมแล้ว พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้เดินออกจากร่มเงาต้นอโศกข้างถนนราชดำเนิน เพื่อแสดงตนเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และอ่านประกาศฉบับแรกของคณะราษฏร ซึ่งมีใจความว่า
เมื่อท่านต้องรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นคนที่ 2 ของประเทศ แทนที่พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ที่ถูกรัฐประหารไปเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 การทำหน้าที่ของท่านไม่ราบรื่น เนื่องด้วยประสบกับปัญหาหลายด้าน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง รวมทั้งการสงคราม ที่กำลังจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ทำให้ท่านต้องดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีติดต่อกันถึง 3 สมัย จากนั้นก็ลงจากตำแหน่ง แล้วเข้ามาเป็นรัฐมนตรีอีก 2 กระทรวง คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในปี พ.ศ. 2477 และรัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในปี พ.ศ. 2478 จากนั้นเมื่อมีเหตุการณ์ผันผวนทางการเมือง ท่านก็กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นสมัยที่ 4 โดยนั่งควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ หลังจากนั้น ก่อนจะเข้าดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 5 วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 และลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2481 และยุติบทบาททางการเมืองไป ซึ่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อมา ก็คือ หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม) นายทหารรุ่นน้องที่ท่านรักและไว้ใจนั่นเอง
พระยาพหลพลพยุหเสนา มีคติประจำใจว่า ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชาย ต้องไว้ชื่อ ชีวิตของท่านไม่มีทรัพย์สินเงินทองมากมายเลยแม้จะผ่านตำแหน่งสำคัญ ๆ มามากก็ตาม ใน พ.ศ. 2487 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในรัฐบาลพันตรีควง อภัยวงศ์ หลังรัฐบาลมีมติปลด จอมพลแปลก ออกจากตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ ก็ได้ขอให้ท่านรับตำแหน่งนี้เอาไว้ ทั้งที่ท่านประกาศไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองอีกแล้ว ประกอบกับร่างกายที่เป็นอัมพาตจากอาการเส้นโลหิตในสมองแตก แต่ท่านก็รับในที่สุด แม้จะปรารภว่าจะให้เป็นท่านเป็นแม่ทัพกล้วยปิ้ง จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 ด้วยวัยเพียง 60 ปี ด้วยอาการเส้นโลหิตในสมองแตก ซึ่งงานศพของท่านทางครอบครัวไม่มีเงินเพียงพอ ที่จะจัดพิธีพระราชทานเพลิงศพด้วยซ้ำ จนทางรัฐบาลในสมัยนั้น (จอมพล ป. พิบูลสงคราม) ต้องเข้ามารับอุปถัมภ์ จัดการงานพระราชทานเพลิง ให้ท่านแทน
ภายหลังการอสัญกรรม ได้มีการเปลี่ยนชื่อถนนตามนามสกุลของท่าน คือ ถนนพหลโยธิน และมีการสร้างโรงพยาบาลและใช้ชื่อเป็นการระลึกถึงท่าน คือ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ที่จังหวัดกาญจนบุรี
ครอบครัว
พระยาพหลพลพยุหเสนา สมรสครั้งแรกกับ คุณหญิงพิศ แต่ไม่มีบุตร-ธิดาด้วยกัน
ต่อมาได้สมรสครั้งที่สองกับ ท่านผู้หญิงบุญหลง พหลพลพยุหเสนา มีบุตร-ธิดา รวม 7 คน คือ
- นางสาวพาภรณ์ พหลพลพยุหเสนา
- นางพรจันทร์ ศรีพจนาถ
- พลตรีชัยจุมพล พหลพลพยุหเสนา
- พันตรีพุทธินาถ พหลพลพยุหเสนา
- พันตำรวจโทพรหมมหัชชัย พหลพลพยุหเสนา
- นางพวงแก้ว
- นางผจี
อ้างอิง :
http://th.wikipedia.org/wiki/พระยา พหลพลพยุหเสนา_(พจน์_พหลโยธิน)
..................................................................
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี กล่าวแนะนำหนังสือ ในหัวข้อ
“พระยาพหลฯ ที่คนไทยควรรู้จัก”
พระมหา วุฒิชัย วชิรเมธี กล่าวแนะนำหนังสือในหัวข้อ “พระยาพหลฯ ที่คนไทย
ควร รู้จัก” เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๒ ในงานมหกรรมหนังสือ
ระดับ ชาติ ครั้งที่ ๑๔ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ท่าน ว.วชิรเมธี กล่าวว่า "รู้สึกทึ่งในฐานข้อมูลของหนังสือเล่มนี้ที่ประมวล
มา อย่างครบถ้วน ฐานข้อมูล ๓๐๐ เล่ม เมื่อได้อ่านทำให้รู้สึกว่า ชีวิตหนึ่ง
เท่านี้สร้างความดีได้อนันต์ และทำไมเราไม่ค่อยหยิบยกคนดีออกมายกย่อง
ให้ปรากฏ เวลาอ้างถึงคนดี เราก็เอาแต่อ้างถึงฝรั่ง ฝรั่งนั้นเวลาใครดีเขาจะ
ต้องดัน แต่ไทยกลับ ดี เด่น ดึง ซึ่งกลายเป็นลักษณะของสังคม เรายกย่อง
กันเองน้อยไปหน่อย พระยาพหลฯ ท่านเป็นนายก ๕ สมัย แต่ไม่มีเงินซื้อโลง
แสดงให้เห็นว่า กามคุณทั้ง ๕ อันได้แก่ ยศ, ทรัพย์, อำนาจ, ชื่อเสียง
และกามารมณ์ ไม่ทำให้ท่านเสียผู้เสียคน และควรแก่การเป็นเชษฐบุรุษ
โดยแท้ การที่ท่านเป็นเชษฐบุรุษ แต่ดำเนินชีวิตที่สมถะได้อย่างไร?"
..............................................................
“เมื่อ มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ นั้น ผมเพิ่งอายุ ๑๒ ปี จึง
รู้ เรื่องของท่านเจ้าคุณพหลฯ น้อยมาก ต่อเมื่อเป็นนักเรียนนายร้อย พ.ศ.
๒๔๘๑ ได้รับคำบอกเล่าและเรียนรู้มากขึ้นว่า พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
ได้ กระทำคุณงามความดีให้แก่ชาติบ้านเมืองของเราไว้เป็นอันมาก ควรแก่การ
จด จำ, ยกย่อง, สรรเสริญ และเป็นแบบอย่างแก่คนรุ่นหลังอย่างยิ่ง.…หนังสือ
เล่ม นี้ จึงเป็นประโยชน์ทั้งในการรวบรวมเอกสารหลักฐานสำคัญของประเทศ
และ เป็นการยกย่องคนผู้ที่สมควรแก่การยกย่องอีกด้วย ”.
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
ประธาน องคมนตรี และรัฐบุรุษ
“ ท่านเจ้าคุณพหลพลพยุหเสนา เป็นบุคคลแรกของประเทศไทยในระบอบ
ประชาธิปไตย ที่พระมหากษัตริย์ ได้ทรงตราเกียรติคุณให้ปรากฏลือชาไว้ใน
แผ่นดิน และได้ทรงสถาปนายกย่องไว้ในฐานะ “เชษฐบุรุษ” หรือนัยหนึ่ง
”รัฐบุรุษ หลักของประเทศ” และได้ทรงพระราชทานวังปารุสกวันให้เป็นที่พำนัก
ของท่าน ตลอดชั่วชีวิต ถัดจากท่านเจ้าคุณก็มีรัฐบุรุษอีกผู้หนึ่งที่พระมหา
กษัตริย์ ได้ทรงตราเกียรติคุณ และความดีความชอบที่ประกอบให้แก่ประเทศ
ชาติ คือท่านปรีดี พนมยงค์ ซึ่งได้ทรงสถาปนายกย่องไว้ในฐานะ “รัฐบุรุษ
อาวุโส ” หรือนัยหนึ่งรัฐบุรุษหลักของประเทศเช่นเดียวกัน. ”
กุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา)
หนังสือ พิมพ์ สุภาพบุรุษ ฉบับวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๐
ที่ มา : บล็อก nonglucky
...............................................
หมายเหตุ :
๑. รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติและผลงานของท่าน สามารถหาอ่าน
ได้จากหนังสือ "๑๑๑ ปี ฯพณฯ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
"เชษฐบุรุษ" ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๑" โดย พลเอกไพฑูรย์ กาญจนพิบูลย์
สำนักพิมพ์สุขภาพใจ จำนวน ๙๖๘ หน้า ราคา ๑,๕๐๐ บาท
๒. พิพิธภัณฑ์ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ภายในศูนย์การ
ทหารปืนใหญ่ ค่ายพหลโยธิน อ.เมืองฯ ลพบุรี
๓. ประวัติและผลงานโดยย่อของท่าน อ่านได้จากลิงก์นี้
http://th.wikipedia.org /wiki/พระยาพหลพลพยุหเสนา_(พจน์_พหลโยธิน)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
อารายเหรอ