วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “สะพาน”


สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “สะพาน”



ณ หมู่บ้านกลางป่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย หนึ่งในบริเวณที่มีฝนตกชุกมากที่สุดในโลก ที่นั่นไม่เคยมีการก่อสร้างสะพาน ข้ามแม่น้ำ แต่สะพานได้ถูก “ปลูก” ขึ้น!


Living Root Bridges 7


สะพานมีชีวิตดังที่เห็นในภาพถูกพบในเมือง เชอร์ราปุนจิ ประเทศอินเดีย สะพานดังกล่าวเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สร้างขึ้นจากรากของ “ต้นยางอินเดีย” (Ficus Elastica) ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ที่มีรากแตกแขนงระโยงระยางออกมาตามลำต้น สามารถยึดเกาะอยู่บนโขดหินขนาดใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำหรือกลางลำน้ำได้อย่างแข็ง แรงแน่นหนา


Living Root Bridges 5


ชาว War-Khasis ซึ่งเป็นคนพื้นเมืองในแถบ Meghalaya ได้สังเกตเห็นคุณสมบัติในการยึดเกาะและความแข็งแรงทนทานของรากต้นยางอินเดีย มาแต่ครั้งโบราณ จึงเกิดความคิดที่จะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการข้ามแม่น้ำ ด้วยการดัดแปลงรากไม้ให้กลายเป็นสะพานธรรมชาติที่แข็งแรง

และเพื่อให้รากของต้นยางเจริญเติบโตไปใน ทิศทางที่ต้องการ ชาว Khasis จึงนำต้นหมากมาเฉือนให้เป็นโพรงตรงกลาง แล้วทำเป็นโครงสะพานวางพาดระหว่างโขดหินของทั้งสองฝั่งแม่น้ำ จากนั้นจึงนำรากของต้นยางมาวางบนรางต้นหมากเพื่อกำหนดทิศทางให้รากงอกเป็น แนวยาวไปจนถึงพื้นดินของอีกฝั่ง


Living Root Bridges 2


สะพานรากไม้ลักษณะนี้มีอยู่หลายจุดด้วยกัน (บางจุดมีความยาวมากกว่า 100 ฟุต) แต่กว่าจะได้เป็นสะพานที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งานอย่างนี้ ชาวบ้านต้องอดทนรอคอยเป็นเวลานาน 10-15 ปี ซึ่งก็นับว่าคุ้มค่าเพราะสะพานดังกล่าวมีความแข็งแรงทนทานมาก แต่ละสะพานสามารถรองรับน้ำหนักชาวบ้านได้มากถึง 50 คนหรือมากกว่าในคราวเดียวกัน

เนื่องจากสะพานข้ามแม่น้ำของที่นี่เป็น สิ่ง “มีชีวิต” มันจึงยิ่งโตและแข็งแรงแน่นหนาขึ้นเรื่อยๆ ทั้งยังสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ ทำให้สะพานรากไม้ในบางจุดมีอายุเก่าแก่มากกว่า 500 ปี แต่ยังคงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงตราบจนกระทั่งปัจจุบัน


Living Root Bridges 3

Living Root Bridges 8


สำหรับสะพานรากไม้ที่มีความโดดเด่นแปลกตา มากที่สุด และเชื่อกันว่ามีเพียงสะพานเดียวในโลกก็คือสะพานรากไม้สองชั้น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “สะพานรากไม้สองชั้น Umshiang”


Living Root Bridges

Living Root Bridges 6


ปัจจุบัน ชาวบ้านในแถบนี้กำลัง “ปลูก” สะพานใหม่เพิ่มขึ้นอีก

โดยคาดว่าสะพานใหม่ล่าสุดนี้น่าจะเปิดใช้งานได้ในอีก 10 ปีข้างหน้า!



ที่มา: rootbridges.blogspot

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ