วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553

ไอศกรีมผลไม้ไทยไอเดียบรรเจิด..โรยหน้าด้วยพริกเกลือ

ไอศกรีมผลไม้ไทยไอเดียบรรเจิด..โรยหน้าด้วยพริกเกลือ


หลังจากเป็นลูกจ้างบริษัทใหญ่มา หลายปี 2 พี่น้อง ปัญจรัตน์ กับ นวรัตน์ วงศ์นภาพรรณ เจ้าของธุรกิจไอศกรีมโฮมเมด “One More” จึงเริ่มมองหาโอกาสสร้างธุรกิจของตนเอง และสรุปได้ว่าควรจะเริ่มจากสิ่งที่ชอบ คำตอบจึงออกมาเป็นไอศกรีมซึ่งเมื่อได้ไปตระเวนรับประทานมาทั่วแล้ว ก็อยากที่จะทำในแบบที่ตนเองชอบออกมาบ้าง และเริ่มจากการไปเรียนรู้วิธีการทำเพื่อให้ได้ความรู้และขั้นตอนการทำอย่าง ถูกหลักสำหรับการที่จะมาทำเป็นธุรกิจ แม้ว่าจะเป็นไอศกรีมแบบโฮมเมดก็ตาม



ในระยะ 1 ปีที่ฝึกฝนฝีมือและเรียนรู้จากหนังสือทั้งของไทยและต่างประเทศ แล้วเริ่มด้วยการทำตาม จนเมื่อชำนาญจึงใส่ลูกเล่นของตนเองลงไป และเริ่มเห็นโอกาสทางธุรกิจเพราะลูกค้าให้การตอบรับอย่างดี จากการไปทดลองออกงานแฟร์ตามสถาบันการศึกษา รวมถึง การได้รับเลือกให้ไปร่วมงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยต้อนรับมิสยูนิ เวอร์สในสมัยที่ ….เกลโบวา ได้รับตำแหน่ง ที่จะขึ้นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย โดยมีผลไม้ไทยเป็น theme ของงาน เพราะในตอนแรกของการสร้างความแตกต่างในสินค้าได้ใช้ไอศกรีมผลไม้เป็นจุดขาย



การใช้ผลไม้ไทยสร้างความโดดเด่น ในตอนเริ่มต้น เพราะแบรนด์ดังทั้งหลายเป็นไอศกรีมที่ทำจากนมและด้วยต้นทุนวัตถุดิบคือผลไม้ ไทยมีราคาถูก และมีความหลากหลายเป็นข้อได้เปรียบในการเลือกนำมาใช้ได้มากมาย แต่ในเวลาต่อมาได้ขยายฐานกลุ่มลูกค้าไปสู่เด็ก รวมทั้งวัยรุ่นที่ชอบไอศกรีมที่มีส่วนผสมของนม และปัจจุบันได้เพิ่มไอศกรีมโยเกิร์ตขึ้นมาอีกประเภทหนึ่งให้อยู่ในกลุ่ม สินค้าหลัก



onemore01



สำหรับรสชาติต่างๆ ที่ผลิตขึ้นมา นอกจากตัดสินใจจากความชอบส่วนตัวแล้ว ยังปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าส่วนใหญ่ด้วย เหมือนกับมองว่าธุรกิจนี้ลูกค้ามีส่วนเป็นเจ้าของด้วย เพราะเป็นคนช่วยให้เกิดความคิดใหม่ๆ และช่วยในการตัดสินใจ ไม่ได้มองว่าเป็นเพียงแค่ผู้ขายกับผู้ซื้อเท่านั้น


onemore02



นอกจากนี้ การสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ ด้วยการต่อยอดจากของเดิม คือการนำหม้อดินแบบโบราณมาใส่ท๊อปปิ้งและเพิ่มความหลากหลายฝรั่งโรยบ๊วย และมะม่วงน้ำปลาหวาน จากเดิมที่มีแค่มะยมพริกเกลือ ซึ่งเป้า หมายที่แท้จริงของการนำ “หม้อดินโบราณ” มาจัดวางคู่กับ “ตู้ไอศกรีมสมัยใหม่” ซึ่งเป็นภาพที่ขัดกัน และใช้กับการออกงานแฟร์ เพราะเป็นความพยายามเสนอให้เห็นว่าเป็นไอศกรีมของคนไทย และต้องการให้เกิดความสงสัย จะได้มีโอกาสพูดคุย และนำไปสู่การทดลอง ทำให้ลูกค้าเดินเข้ามาหาโดยไม่ต้องร้องเรียกให้เหนื่อยทั้งวัน แม้ว่าท้ายที่สุดจะไม่ชอบในรสชาติหรือท๊อปปิ้งที่ใส่ก็ตาม แต่ทำให้เกิดการจดจำ



ปัจจุบันไอศกรีมวันมอร์มีรสชาติ ที่ขายได้เตรียมไว้ 50 รสชาติ โดยมีรสชาติที่ขายดีกว่า 30 รสชาติ และมุ่งเน้นการสร้างสรรค์รสชาติและการนำเสนอแบบใหม่ๆ เป็นจุดขายที่โดดเด่นและแตกต่างอยู่ตลอด เช่น ล่าสุดกำลังทดลองสินค้ากลุ่มขนมไทย เช่น ไอศกรีมกล้วยบวชชี และจะใช้ใบตองเป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อฉีกแนวจากเดิมและสร้างความสนุกให้ผู้ บริโภค


onemore03



แม้ว่า “One More” เพิ่งจะเริ่มสร้างแบรนด์เมื่อเร็วๆ นี้ แต่ด้วยชื่อที่เรียกง่าย จำง่าย และมีความหมาย รวมทั้ง สโลแกน “one never enough” หรือหนึ่งเดียวไม่เคยพอ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนจากที่เคยใช้ชื่อ “Cheery” ซึ่งแปลว่าร่าเริง แต่เมื่อใช้จริงกลับยากที่จะจำและเมื่อเขียนออกมารู้สึกกวนสายตา คนทั่วไปมักจะอ่านมาเชอร์รี่เพราะคุ้นกว่า ไม่ค่อยมีใครอ่านว่าเชียรี่ หลังจากใช้ว่า 2 ปี ลูกค้ายังจำชื่อไม่ค่อยได้ จึงเริ่มคิดเปลี่ยนและเมื่อไปปรึกษาที่บริษัทอุตสาหกรรมขนมไทย ทำให้ได้รับคำแนะนำที่ชัดเจนจึงตัดสินใจเปลี่ยนและช่วยกันคิด จนได้ชื่อใหม่










ในส่วนโลโก้ของ One More ยังมีความหมายได้หลายอย่าง อย่างแรกความหมายว่าที่หนึ่งและการใช้เลขหนึ่งไทยเพื่อแสดงความเป็นไทย อย่างที่สองเป็นสัญลักษณ์ให้นึกถึง scoop กลมๆ ที่ตัดไอศกรีม และอย่างที่สามมองได้เหมือนกับมือของนางกวัก และสีที่ใช้ตั้งใจจะเปลี่ยนไปตามความคิดสร้างสรรค์ แต่สีหลักที่ใช้ในตอนนี้คือสีเหลืองทอง เพื่อสื่อความเป็นสิริมงคล ทำให้รู้สึกน่ากิน และนำไปใช้กับสีอื่นๆ ได้ง่าย














อ้างอิงจาก ....



ผู้ จัดการออนไลน์




http://atcloud.com/stories/79382



+คลิปไอศกรีมผลไม้ไทยไอเดียเจ๋งโรยหน้าด้วยพริกเกลือ
1.





+คลิปไอศกรีมผลไม้ไทยไอเดียเจ๋งโรยหน้าด้วยพริกเกลือ

2.
+คลิปไอศกรีมผลไม้ไทยไอเดียเจ๋งโรยหน้าด้วยพริกเกลือ
3.
+คลิปไอศกรีมผลไม้ไทยไอเดียเจ๋งโรยหน้าด้วยพริกเกลือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ