เครื่องบินที่เก่าแก่ที่สุด
ไรต์ ฟลายเออร์ 1 ของวิลเบอร์และออร์วิล ไรต์ สัญชาติอเมริกัน เที่ยวบินแรกมีขึ้นในปี 1904
เครื่องบินที่พังเร็วที่สุด
Bachem Ba-39 "Natter"
เป็นเครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์จรวดของฝ่ายเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สอง หลักการก็แสนง่าย
กล่าวคือยิงมันขึ้นไปบนท้องฟ้าและสาดกระสุนใส่เครื่องบินทิ้งระเบิดของสัมพันธมิตรให้มากที่สุด
ก่อนจะถอดหัวและกลับลงพื้นด้วยร่มชูชีพเนื่องจากไม่มีล้อเพราะสร้างไม่ทัน (จะแพ้สงครามอยู่แล้ว)
การทดสอบด้วยเครื่องควบคุมภาคพื้นดินเป็นไปได้ด้วยดี
แต่เพียงขึ้นทดสอบด้วยนักบินครั้งแรกก็ตูม เนื่องจากฝาครอบห้องนักบินล็อกไม่สนิท
เมื่อขึ้นไปกลางอากาศเกิดแรงต้านจึงร่วงวูบ นักบินช็อกจากแรงปะทะของอากาศและ
หมดสติขณะเครื่องโหม่โลก
เครื่องบินโดยสารไอพ่นรุ่นแรกสุด
เดอ ฮาวิลแลนด์ โคเมต ของอังกฤษ ใช้เครื่องยนต์เดอ ฮาวิลแลนด์ โกสต์ 4 เครื่อง
ตอนแรกดูเหมือนจะไปได้ด้วยดี แต่ในที่สุดก็เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงขึ้นติดๆกัน
จากการสอบสวนพบว่าขอบหน้าต่างสี่เหลี่ยมเกิดร้าวเนื่องจากการรับการเปลี่ยนแรงกดดัน
เมื่อลงจอดและอยู่ในระดับบินซึ่งค่อนข้างสูง
ในที่สุดเมื่อบ่อยครั้งเข้าเครื่องทั้งเครื่องก็ฉีกออกเป็นชิ้นๆด้วยแรงดันอากาศ
เครื่องทั้งหมดถูกสั่งห้ามบิน และกว่าจะได้บินอีกครั้งก็ถูกโบอิ้ง 707 และดักลาส DC-8
ของอเมริกันแย่งตลาดไปหม่ำเรียบร้อยโรงเรียนจีน ขายไม่ออก เจ๊งครับ.....
B707
DC-8
เครื่องบินที่ใช้งานในเชิงพาณิชย์นานที่สุด
ดักลาส DC-3 ผลิตโดยดักลาส สัญชาติอเมริกัน ใช้มาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง
จนบัดนี้ยังคงใช้อยู่บ้างในบางสายการบินโดยเฉพาะในแอฟริกาและอเมริกาใต้
รวมทั้งกองทัพอากาศไทยก็มี DC-3
สำหรับใช้ขนส่งทางทหาร (ชื่อเรียก Dakota) อยู่ด้วย
เครื่องบินไอพ่นเชิงพาณิชย์ที่ขายดีที่สุด
โบอิ้ง 737 ตั้งแต่รุ่น 100 ที่อวดโฉมต่อสายตาชาวโลกเมื่อทศวรรษ 1960 จนถึงรุ่น
-600/-700/-800/-900/BBJ ที่อยู่ในตลาดทุกวันนี้รวมกันได้มากกว่าสามพันห้าร้อยลำ
กินขาดโบอิ้ง 707 และ 727 สบายๆ
เครื่องบินเชิงพาณิชย์ที่บินได้ไกลที่สุด (ในการปฏิบัติการปกติ)
แอร์บัส เอ340-500 โดยแอร์บัส SAS ของฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน สเปนและเนเธอiNแลนด์
บินได้ไกลประมาณ 16,000 กิโลเมตร
เครื่องบินไอพ่น 2 เครื่องยนต์ที่บินได้ไกลที่สุด
โบอิ้ง 777-200LR แน่นอนว่าโดยโบอิ้ง บินได้ไกล 17,000 กิโลเมตร
ออกโชว์ครั้งแรกในงานปารีสแอร์โชว์ 2005 ที่ท่าอากาศยานเลอเบอร์เก้ ปารีส ฝรั่งเศส
เครื่องบินทิ้งระเบิดไอพ่นที่ใช้งานนานที่สุด
โบอิ้ง B-52 สตราโตฟอร์เทรส ใช้มาตั้งแต่ปี 1952 บัดนี้มีตั้งแต่รุ่น B-52A ถึง B-52H
เครื่องบินที่ถูกนับว่าปลอดภัยที่สุด
อิลยุชชิน IL-96 ของอิลยุชชิน รัสเซีย บินครั้งแรกในปี 1986
ยังไม่เคยประสบอุบัติเหตุเลยสักลำ ยกเว้นการเสียเล็กเสียน้อย
เครื่องบินที่ใหญ่ที่สุด และมีน้ำหนักบินขึ้น (Max Takeoff Weight) มากที่สุด
แอนโตนอฟ An-225 Mriya (Dream) โดยแอนโตนอฟ รัสเซีย
น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด (Max Takeoff Weight
- MTOW) ประมาณ 1,250,000 ปอนด์ เป็นเครื่องบินลำแรกที่มีน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด
เกินหนึ่งล้านปอนด์ และสามารถบรรทุกสินค้าได้สูงสุดกว่า 500,000 ปอนด์
ความกว้างปลายปีกถึงปลายปีก 85 เมตร
(โดยปกติแล้วน้ำหนักบินขึ้นถือเป็นเกณฑ์วัด "ความใหญ่" ของเครื่องบิน)
เครื่องบินโดยสารที่ใหญ่ที่สุด (ที่ใช้งานแล้วในปัจจุบัน)
โบอิ้ง 747-400 (หากจะนับน้ำหนักบินขึ้นมากที่สุดก็คือรุ่น 747-400D
ซึ่งเพิ่มความสามารถในการบรรทุกแต่ลดพิสัยบินลง สามารถจุคนได้กว่า 550 คน)
เครื่องบินโดยสารที่ใหญ่ที่สุด
แอร์บัส เอ380-800 นั่งได้ 555 คนในการจัดที่นั่งแบบ 3 ชั้น (ตามที่แอร์บัสเคลมเอาไว้)
กำหนดส่งมอบละแรก (ให้สิงคโปร์แอร์ไลน์ส) ในปลายปี 2549 นี้ การบินไทยสั่งจอง 6 ลำ
กว่าจะได้คงอีกชาติเศษๆ
เครื่องบินโดยสารที่ใหญ่ที่สุดของรัสเซีย
อิลยุชชิน IL-96 ของอิลยุชชิน รัสเซีย นั่งได้ประมาณ 300 คน
ขนาดพอๆกับโบอิ้ง 767-200ER อิลยุชชินหมดตังค์เลยไม่ได้พัฒนาต่อ
ถ้าพัฒนาต่อมันจะใหญ่พอๆกับโบอิ้ง 777 หรือแอร์บัส เอ340-300
และคงขายได้เยอะเพราะถูกกว่าบริษัทคู่แข่งทั้งสอง
เครื่องบินเชิงพาณิชย์ที่บินเร็วที่สุด
ตูโปเลฟ Tu-144 ของตูโปเลฟ รัสเซีย ชื่อเรียกของ NATO เรียกว่า
Charger หรือ Concordski (นัยว่าเป็นคองคอร์ดสัญชาติรัสเซีย)
ความเร็วสูงสุด มัค 2.5 ซึ่งเร็วกว่าคองคอร์ดที่บินได้เพียงมัค 2.0-2.2 เท่านั้น
เครื่องบินทางทหารที่บินได้เร็วที่สุด
เครื่องบินสอดแนมระดับสูงล็อกฮีด SR-71 แบล็กเบิร์ด ของล็อกฮีด สหรัฐอเมริกา
บินได้เร็วมัค 3.3 ปัจจุบันตกงานเนื่องจากดาวเทียมสะดวกกว่า บ๊ายบาย แบล็กเบิร์ด
เครื่องบินคนบังคับที่บินได้เร็วที่สุด
นอร์ท อเมริกัน X-15 ซึ่งเป็นเครื่องบินวิจัยการบินด้วยความเร็วเหนือเสียงระดับสูง
(Hypersonic) บินได้เร็ว 6.5 มัค ซึ่งถือเป็นความเร็วสูงสุดที่เครื่องบินที่มีมนุษย์
ควบคุมทำได้ที่เร็วกว่านั้นจะเป้นบังคับจากภาคพื้นดินทั้งหมด
เครื่องบินใช้ใบพัดที่บินเร็วที่สุด
เครื่องบินทิ้งระเบิดตูโปเลฟ Tu-95 ของรัสเซีย บินได้เร็ว 575 นอต
ซึ่งเทียบเท่าความเร็วของเครื่องบินไอพ่นระดับ B-52 เลยทีเดียว
ที่แรงดีขนาดนี้ก็เพราะใช้เครื่องยนต์ที่มีกำลังมากที่สุดในโลกคือ
Kuznetsov NK-12MV Turboprop
ซึ่งให้กำลัง 59,180 แรงม้า 4 เครื่อง
และขับเคลื่อนใบพัดเครื่องละสองใบหมุนในทิศตรงข้ามกัน
ซึ่งยังผลให้เสริมแรงซึ่งกันและกัน ทำให้ไก้ความเร็วและแรงม้าระดับนี้ขึ้นมา
เครื่องบินที่ถูกสร้างขึ้นมามากรุ่นที่สุด
ดักลาส DC-8 ของดักลาส สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่บินครั้งแรกในปี 1958
ในรหัสรุ่น DC-8-10 ก็มีรุ่นต่อมาเรื่อยๆ จนเลิกผลิตที่ DC-8-62
แต่ยังคงมีคนดัดแปลงโดยการติดตั้งเครื่องยนต์ใหม่และให้ชื่อรุ่นว่า DC-8-72 และ -73
แอร์ ฟอร์ซ วัน (สหรัฐฯ)
โบอิ้ง VC-25A (747-2G4B หรือ 747-200B นั่นเอง)
เครื่องบินโดยสารในปัจจุบันที่ใช้เครื่องยนต์ไอพ่นที่มีแรงขับดันน้อยที่สุด
แยคคอฟเลฟ Yak-42 ของรัสเซีย ใช้เครื่องยนต์ Ivchenko Turbofan
แรงขับดัน 3,100 ปอนด์ 3 เครื่อง
เครื่องบินไอพ่นที่ใช้เครื่องยนต์มากที่สุด
โบอิ้ง B-52 Stratofortress ใช้เครื่องยนต์ TF-33-P-3/103 Turbofan ทั้งหมด 8 เครื่อง
แต่แรงขับดันรวมเพียง 605 กิโลนิวตัน (ประมาณ 136,000 ปอนด์)
ซึ่งน้อยกว่าโบอิ้ง 777 หรือแอร์บัส เอ 330 เสียอีก
เครื่องบินที่มีแรงขับดันรวมของเครื่องยนต์มากที่สุด
แอนโตนอฟ AN-225 Mriya เจ้าเก่า
ใช้เครื่องยนต์ ZMKB-Lotarev D-18T Turbofan 6 เครื่อง
เครื่องละ 226kN รวมเป็น 1,326 kN
สายการบินที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงให้บริการ
เอเวียนคา โคลัมเบีย ตั้งขึ้นในปี 1918
สายการบินที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงใช้ชื่อเดิมตั้งแต่ก่อตั้งไม่เคยเปลี่ยน
Koninklijke Luchivaart Maatschappij NV หรือที่รู้จักกันทุกวันนี้ว่าKLM โรยัล
ดัตช์ แอร์ไลน์ ตั้งในปี 1919 ยังคงใช้ชื่อเดิมอยู่ และคงจะใช้ต่อไปอีกนาน
เครื่องบินลำแรกสุดที่ลงที่สนามบินสุวรรณภูมิ
แอร์บัส A340-600 ทะเบียน HS-TNA "วัฒนานคร" (ลำที่สองเป็นโบอิ้ง 747-4D7
(747-400))
เครื่องบินรบรุ่นใหม่ล่าสุดของโลก
ล็อกฮีด YF-35 ของสหรัฐฯ
มิโกยัน Mig-144 (ชื่อไม่เป็นทางการ) ของรัสเซีย
ซุคฮอย Su-37 เบอร์คุต (อินทรีทอง) รัสเซียเช่นกัน
ยูโรไฟท์เตอร์ 2000 (ยูโรไฟท์เตอร์ ไต้ฝุ่น) โดยความร่วมมือระหว่างประเทศในยุโรป
เครื่องบินที่ไม่มีหางลำแรกของโลก
นอร์ธรอป YB-49 ของนอร์ทรอป แต่กองทัพสหรัญไม่สั่ง
เนื่องจากปัญหาด้านเครื่องยนต์ที่ซ่อมยาก
การควบคุมที่ไม่ดีและอุบัติเหตุหลายครั้งหลายครา
จนในที่สุดโครงการก็มีอันต้องพับฐานไป และแจ็ค นอร์ธรอป
(ผู้เสนอไอเดีย) ก็ฝันค้าง....
เครื่องบินไม่มีหางที่ใช้งานจริงได้ลำแรกของโลก
นอร์ธรอป (ตอนนี้โดนโบอิ้งเทคโอเวอร์ไปเรียบร้อย) B-2
สร้างห่างจาก YB-49 ถึงเกือบ 40 ปี โดย
B-2 ใช้ระบบ "Fly-by-wire" หรือการใช้ไฟฟ้าควบคุมอุปกรณ์และระบบบังคับต่างๆ
รวมทั้งนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ช่วยในการควบคุม
ทำให้ความฝันของนอร์ทรอปเป็นจริงขึ้นมาจนได้.....
(คลาสสิก)
ลายเรือพระที่นั่ง 3 ลำของการบินไทย
โบอิ้ง 747-4D7 HS-TGJ นามพระราชทาน หริภุญชัย (ลายสุพรรณหงส์)
โบอิ้ง 747-4D7 HS-TGO นามพระราชทาน บวรรังสี (ลายสุพรรณหงส์เช่นเดียวกัน)
แอร์บัส A330-322 HS-TEK นามพระราชทาน ศรีจุฬาลักษณ์ (ลายนารายณ์ทรงสุบรรณ)
(โบอิ้ง 747-400 ทั้งสองลำถูกนำไปทำสีใหม่ (ลายหางม่วง) เรียบร้อยแล้ว น่าเสียดาย.....)
ภาพประกอบอ้างอิงจาก
http://www.airliners.net/
www.aerospaceweb.org/aircraft
http://www.yak42.com/
http://www.tupolev.ru/
http://www.planepictures.net/
เยี่ยมมาก เจ๋งจริงๆ......
ตอบลบ