ฉลองกรุงเทพ 150 ปี พ.ศ. 2475
น้ำท่วมกรุงเทพ ปี 2485
สะพานเก่าในกรุงเทพฯ
ใน อดีตนั้น กรุงเทพฯเคยได้รับฉายาว่า เวนิชตะวันออก ด้วยความที่มีแม่น้ำลำคลองจำนวนมาก
ในกรุงเทพฯ เพื่อการเกษตร และการเดินทางติดต่อค้าขาย คลองบางแห่งก็ขุดขึ้นเพื่อเหตุผล
ในด้านความ มั่นคง(ภาษาสมัยใหม่) ถ้าใช้ศัพท์เก่าเขาใช้ว่า เพื่อป้องกันพระนครจากข้าศึก
แต่ต่อมาพาหนะหลักก็เปลี่ยนไป จากเรือกลายเป็นรถ ถนนจึงมีบทบาทที่สำคัญขึ้นตามลำดับ
เมื่อถนนเพิ่มก็ ต้องมีสะพานเพิ่มด้วย สะพานในกรุงเทพฯจึงค่อยๆพัฒนารูปแบบ และจำนวนขึ้นเรื่อยๆ
จนมีมากมายเต็มไปหมด คลองเริ่มหมดความสำคัญลง ถนนเข้ามายึดครองพื้นที่ระบบคมนาคมส่วนใหญ่ไว้ได้
จนกระทั่งระบบคมนาคม ทางเรือเกือบจะสูญพันธุ์ไป และชื่อของเวนิชตะวันออกก็เริ่มจางหายไป
สะพาน เก่าข้ามคลองมหานาค
สะพาน หัน ทุ่งรังสิต
สะพาน วัดไชยทิศ ธนบุรี
สะพาน หก ข้ามคลองหลอด
เมื่อผ่านกาลเวลาเหล่านั้นมาแล้วช่วง หนึ่ง การเปลี่ยนแปลงก็ยังคงมีอยู่ต่อไป
สะพานที่เคยยึดครองพื้นที่ใน อดีต ก็เริ่มต้องเปลี่ยนแปลงสูญหายไปบ้างเช่นกัน
สะพานเล็กๆ แคบๆจะอยู่ไม่ได้ เพราะการใช้งานไม่เหมาะสม ต้องรื้อถอน ปรับขยายกันไป
บาง แห่งก็ทรุดโทรมไม่แข็งแรง บางแห่งก็ไม่สามารถรองรับการจราจรได้พอเพียง
ต้อง รื้อถอน แก้ ขยายกันไป จนปัจจุบันนี้ สะพานรุ่นเก่าก็จะเริ่มสูญพันธุ์กันไปแล้วเช่นกัน
จนต้องกลับมาช่วยกัน อนุรักษ์กันเอาไว้ คนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยเห็นสะพานเก่าๆสวยๆ
ก็ต้องหาดู จากรูป จากหนังสือ
บริเวณคลองมหานาค-คลองบางลำพู ช่วงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
คาด ว่าถ่ายจากภูเขาทอง เห็นป้อมพระกาฬอยู่ด้านซ้าย รูปบน
สะพานผ่านฟ้าฯยัง คงเป็นสะพานไม้เล็กๆอยู่
สะพานหัน ที่สำเพ็ง รูปที่เห็นนั้นกว่า 100 ปีมาแล้ว
ได้ ปรับปรุงจากสะพานหันไม้เล็กๆ มาเป็นสะพานที่มีหลังคาและร้านค้า
อยู่สอง ข้าง หันไม่ได้แล้ว รูปแบบคล้ายๆสะพานในเวนิช
สะพานรุ่นแรกๆ นั้น จะเป็นเพียงสะพานคนเดินข้ามเล็กๆ ยกสูงจากระดับน้ำ
เพื่อให้เรือ ลอดได้ หรือถ้าสูงไม่พอให้เรือลอด ก็ต้องเปิดได้เพื่อให้เรือผ่าน ไม่ว่าใหญ่
ไม่ว่าเล็ก ก่อนนี้ผมอยู่ฝั่งธนฯ ต้องนั่งรถเมล์ข้ามสะพานพุทธฯ และต้องรถติดรอสะพานเปิดอยู่บ่อยๆ
สะพาน เก่าๆของเราที่หาดูไม่ค่อยได้แล้วคือสะพานไม้ที่สร้างหลังคาคลุม ที่นอกจากจะเป็นทางสัญจรแล้ว
ยังใช้เป็นที่พบปะ สนทนากันอีกด้วย มักมีที่นั่งอยู่สองข้าง สะพานในสมัยต้นรัตนโกสินทร์นั้น
เขามักจะสร้าง ให้หัน หก หรือรื้อถอนได้ง่าย เพื่อตัดเส้นทางในยามคับขันเมื่อเกิดศึกสงคราม
สะพานหกแบบวิลันดาก็เป็น เทคโนโลยี่การสร้างสะพาน ที่เราเรียนรู้วิธีการจากตะวันตก
สะพาน มัฆวานรังสรรค์
สะพาน ผ่านฟ้าลีลาศ
สะพานรุ่นต่อมาก็จะเป็นยุคเปลี่ยนวัสดุก่อ สร้างและเทคโนโลยี่ จากไม้มาเป็นเหล็ก
ในยุคนี้จะมีสะพานเหล็กที่สวย งามมากมาย เป็นสะพานที่สร้างในรัชสมัยของ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ทรงสั่งทำมาจากยุโรป เป็นเหล็กหล่อ
และการตั้งชื่อสะพานก็ จะใช้คำว่า เฉลิม นำหน้า เป็นการใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์พระราชาทานให้
ดังนั้นตรงกลางสะพานทุกแห่ง จะมีแผ่นป้ายชื่อสะพาน และตราพระนามาภิไธยย่อ อยู่เสมอ
แต่สะพานส่วนใหญ่เล็ก แคบ และรับน้ำหนักได้จำกัดสำหรับพาหนะในยุคปัจจุบัน
สะพานเหล็กจึงก็ต้องแปร เปลี่ยนไปตามยุคสมัยอีกเช่นกัน คงเหลือไว้แต่สะพานที่สร้างไว้ใหญ่จริงๆเท่านั้น
ที่ยังคงเหลือรอดมาได้ คือสะพานที่สร้างข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหลาย
สะพาน เฉลิมหล้า 56 หรือที่รู้จักกันนามสะพานหัวช้าง
ปัจจุบันรื้อขยายใหม่ แต่เก็บหัวช้างไว้ประดับเชิงสะพานตามเดิม
สะพาน เฉลิมสวรรค์ 58 เดิมอยู่ปลายคลองหลอดด้านทิศเหนือ
มีความสวยงามมาก แต่ก็เป็นเพียงอดีตไป เมื่อได้มีการสร้างสะพานพระปิ่นเกล้าฯ
สะพาน เฉลิมสวรรค์ 58 เดิมอยู่ปลายคลองหลอดด้านทิศเหนือ
มีความสวยงามมาก แต่ก็เป็นเพียงอดีตไป เมื่อได้มีการสร้างสะพานพระปิ่นเกล้าฯ
สะพาน รุ่นสุดท้าย ก็เปลี่ยนเทคโนโลยี่อีกเช่นกัน เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก
ที่ แข็งแรงกว่า กว้างขวางกว่า แต่ความสวยงามละเอียดอ่อนกลับลดลงไปเรื่อยๆ
แต่ ก็ยังจัดว่าสวยงามพอสมควรจนมาถึงสมัยนี้ สะพานมีรูปแบบที่เรียบง่าย
ไม่ ค่อยสวยงาม(น่าเกลียด) ใช้งานได้ดีอย่างเดียวพอ
เป็นที่น่าเสียดาย ที่ทั้งสะพานเก่าและลำคลองของเรานั้น ต่างตกอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่
ต้อง การคนช่วยกันดูแลรักษาเยียวยา ให้อยู่ในสภาพที่ดีกว่าในปัจจุบัน
ถ้าพูด กันเรื่องความเจริญนั้นเรายังตามฝรั่งเขาไม่ทัน แต่ด้านความเสื่อมนี่
เรา แซงฝรั่งได้หลายช่วงตัว ไม่ว่าเขาจะเจริญปานใด เวนิชก็ยังคงเป็นเวนิช
คลอง ต่างๆเขายังคงเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง เมืองใหญ่ๆทั้งในยุโรป และเอเชีย
ต่าง รักษาคูคลองอันเป็นประวัติศาสตร์ของเมือง และของชาติไว้ได้อย่างดี
เครดิต
bloggang.com
สวยงามมากๆเลยค่ะ
ตอบลบ