วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับราชยานยนต์คันแรกในประเทศไทย


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับราชยานยนต์คันแรกในประเทศไทย


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงมีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติและประชาชนชาว ไทย ทรงสนพระทัยเกี่ยวกับเรื่องรถยนต์เป็นอย่างมาก พระองค์ทรงโปรดเกล้าให้มีการตัดถนนในกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นหลายสาย...

วัน ที่ 23 ตุลาคมของทุกปี ถือเป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติ เป็นวันที่เศร้าสลดอย่างใหญ่หลวงของพระบรมวงศานุวงศ์และปวงชนทั่วประเทศ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" รัชกาลที่ 5 ทรงเป็นกษัตริย์ที่เคารพรักของหวยราษฎร์ ทรงประชวร เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการทั้งในการปกครองบ้านเมืองและพระราช ทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า จึงได้ถวายพระนามว่า "พระปิยมหาราช" หรือ "พระพุทธเจ้าหลวง"

พระองค์ทรงเป็นนักปกครองที่ ทรงพระปรีชาสามารถยิ่งทรงประเพณีการ ปกครองของไทยอย่างเก่าแต่โบราณมาผสมผสานกับประเพณีการปกครองอย่างนิยมกันใน ทวีปยุโรป แล้วทรงปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็นลำดับ ตามลำดับ ตามสถานการณ์และความเหมาะสม ซึ่งเป็นพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ทรงมีพระราชกรณียกิจที่สำคัญยิ่ง คือ "การเลิกทาส" เมื่อปี พ.ศ. 2448 ได้ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้น เรียกว่า "พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124" (พ.ศ. 2448) เลิกเรื่องลูกทาส ในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด เด็กที่เกิดจากทาส ไม่เป็นทาสอีกต่อไป การซื้อขายทาสเป็นโทษทางอาญา

พระองค์ ทรงห่วงใยในสภาพความเป็นอยู่ของราษฎร จึงโปรดให้ริเริ่มกิจการหลายอย่างเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ระหว่างกรุงเทพฯ และนครราชสีมา และได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์เพื่อประเดิมการสร้างทางรถไฟไป นครราชสีมา นับว่าเป็นการสร้างทางรถไฟครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย การสร้างสะพาน, ถนน, การขุดคลอง, ไปรษณีโทรเลข, การแพทย์ และกิจการโรงพยาบาล ทรงก่อตั้งโรงพยาบาลขึ้นที่บริเวณพระราชวังหลัง เดิมชื่อโรงพยาบาลวังหลัง ต่อมาพระราชทานนามใหม่ว่า "ศิริราชพยาบาล"


พระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงมีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติและประชาชนชาว ไทย ทรงสนพระทัยเกี่ยวกับเรื่องรถยนต์เป็นอย่างมาก พระองค์ทรงโปรดเกล้าให้มีการตัดถนนในกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นหลายสาย ในปี พ.ศ. 2447 เสด็จกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ได้เสด็จไปรักษาพระองค์จากอาการประชวนที่กรุง ปารีส ประเทศฝรั่งเศสและได้ทรงมีรับสั่งให้บริษัทเยอรมันในกรุงปารีสทำการประกอบ รถยนต์ส่วนบุคคลยี่ห้อ Mercedes ซึ่งนับได้ว่าเป็นรถยนต์ชั้นยอดในเวลานั้น


รถ ยนต์ Mercedes คันดังกล่าวปรากฏหลักฐานการสั่งซื้อผ่านสถานเอกอัครราชทูตสยามประจำกรุง ปารีส โดยทำการสั่งซื้อจากออโตโมบิลยูเนียน ปารีส ตั้งอยู่เลขที่ 39 ถนนณองส์ เอลิเซ่ ซึ่งเป็นบริษัทขายรถยนต์ของนายเอมิล เยลลิเน็ค และมาถึงสยามประเทศโดยการบรรทุกมาทางเรือเมื่อวันที่ 19 ​ธันวาคม พศ 2447 ระบุในใบส่งของว่าผู้รับปลายทางคือพระมหากษัตริย์แห่งกรุงสยาม เป็นรถยนต์รุ่น 28 HP 4 สูบเครื่องยนต์ 35 แรงม้าหมายเลขแชสซีส์ 2397 และหมายเลขเครื่องยนต์ 4290 ในขณะนั้นเสด็จกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงทำการเร่งการประกอบรถยนต์คันนี้ แทบทุกวัน พอรถเสร็จก็ทรงว่าจ้างคนขับชาวอังกฤษขับรถคันนี้พาพระองค์ท่าน พร้อมด้วย ม.จ. อมรทัต กฤดากร ,หลวงสฤษดิ์ สุทธิวิจารณ์( ม.ร.ว.ถัด ชุมสาย) ตะเวณไปทั่วยุโรปภาคกลางเพื่อเป็นการทดสอบเครื่องยนต์และตัวรถ จากนั้นจึงวนกลับไปยังนครปารีส เมื่อเสด็จกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์เสด็จกลับถึงยังเมืองไทยแล้ว ก็ได้ทรงนำรถยนต์คันนี้ขึ้นทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวซึ่งเป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่งนัก และแล้วรถยนต์ Mercedes หมายเลขแชสซีส์ 2397 และหมายเลขเครื่องยนต์ 4290 ก็กลายเป็นรถยนต์พระที่นั่งคันแรกในประวัติศาสตร์ไทยซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่ สารถีก็คือ เสด็จกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์นั่นเอง

พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานรถยนต์พระที่นั่งมาก เพราะความสะดวกสบายและสามารถเสด็จพระราชดำเนินได้เร็วกว่ารถม้าพระที่นั่ง มาก และยามใดที่พระองค์ทรงว่างเว้นจากพระราชกรณียกิจก็มักเสด็จพระราชดำเนิน เยือนพื้นที่ต่างๆด้วยรถยนต์พระที่นั่งคันดังกล่าวเสมอ ต่อมาทรงเห็นว่ารถยนต์เพียงคันเดียวไม่เพียงพอที่จะใช้งานตามพระราชประสงค์ อันเนื่องมาจากพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในก็ทรงโปรดปรานรถยนต์ กันแทบทุกพระองค์และมักจะตามเสด็จไปด้วยในการเดินทางรอบพระนคร จึงได้ตัดสินพระทัยซื้อรถยนต์พระที่นั่งอีกคันหนึ่ง ในครั้งนี้เสด็จกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ได้เป็นผู้แทนพระองค์ในการส่ังซื้ออีกครั้ง และทรงเลือกรถ Mercedes เหมือนเดิมโดยสั่งนำเข้าจากเยอรมันโดยตรง เป็นรถเก๋งสีแดงรุ่นปี 2448 เครื่องยนต์ 4 สูบ 28 แรงม้าสามารถวิ่งได้เร็วถึง 73 กิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งในสมัยนั้นถือได้ว่าเป็นรถยนต์ที่เร็วมากและพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามแก่รถยนต์พระที่นั่งคันที่ สองว่า แก้วจักรพรรดิ์ ในทำนองเดียวกันกับโบราณราชประเพณีที่มีการพระราชทานนามให้แก่ช้างเผือกคู่ พระบารมี คำว่า แก้วจักรพรรดิ์ มีความหมายเปรียบประดุจหนึ่งในแก้วเจ็ดประการ อันเป็นของคู่พระบารมีแห่งองค์พระมหากษัตริย์


เมื่อรถยนต์เริ่ม เป็น ที่นิยมและแพร่หลายในหมู่พระราชวงค์ตลอดจนคหบดี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระดำริว่าสมควรจะจัดงานเฉลิมฉลองสักครั้งหนึ่ง จึงทรงกำหนดให้วันที่ 7 ตุลาคม พศ 2448 เป็นวันชุมนุมรถยนต์ครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ และปรากฏว่ามีรถยนต์ไปร่วมชุมนุมในบริเวณพระบรมมหาราชวังเป็นจำนวนถึง 30 คัน และพระองค์ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับเจ้าของรถทุกพระองค์และทุกคน เมื่อถึงเวลาประมาณบ่ายสี่โมงเย็นก็ได้เคลื่อนขบวนรถไปตามถนนสามเสน เลี้ยวเข้าสู่สวนดุสิตโดยตลอดสองข้างทางมีผู้คนยืนเรียงรายชมขบวนรถด้วยความ ตื่นตาตื่นใจ ปีพ ศ 2451ในวาระเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 56 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้นำรถยนต์จากประเทศ ฝรั่งเศสเข้ามายังสยามประเทศอีกครั้งเป็นจำนวน 10 คัน เพื่อพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนข้าราชการชั้นสูงเพื่อใช้ในราชการ แผ่นดิน รถยนต์ทั้งสิบคันได้รับพระราชทานนามให้สอดคล้องกันเป็นที่ไพเราะจับใจได้แก่ มณีรัตนา ทัดมารุต ไอยราพตกังหัน ราชอนุยันต์ สละสลวย กระสวยทอง ลำพองทัพ พรายพยนต์ กลกำบัง และ สุวรรณมุขี

เมื่อมีการสร้างถนนใน กรุงเทพมหานครมากขึ้นเรื่อยๆ รถยนต์จึงกลายเป็นพาหนะในการเดินทางที่สะดวกสบายและมีจำนวนเพิ่มขึ้น ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล รถโดยสารทั้งประจำทางและไม่ประจำทางวิ่งกันขวักไขว่ไปมาบนท้องถนนในพระนคร ทำให้การจราจรเริ่มติดขัดเนื่องจากรถเหล่านั้นวิ่งกันไม่เป็นระเบียบและเกิด อุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง ประกอบกับในสมัยนั้นยังไม่มีทะเบียนรถเป็นหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ จึงเกิดปัญหาการลักขโมย และก่อให้เกิดความวุ่นวายตามมามากมาย เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจึงมีการออกกฏหมายตราพระราชบัญญัติรถยนต์ฉบับแรกใน ประเทศสยามขึ้น เมื่อปีพศ 2452 ภายใต้พระบรมราชโองการ ดังนี้


"ทุก วันนี้มีผู้ใช้รถยนต์ที่เรียกกันว่า ออโตโมบิล ขับไปมาอยู่ตามถนนหลวงมากขึ้น สมควรที่จะมีพระราชบัญญัติสำหรับการเดินรถและขับรถขึ้นไว้ เพื่อป้องกันเหตุการณ์อันตรายต่างๆ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตราพระราชบัญญัติสืบไป"

พระ ราชบัญญัติฉบับนี้ กำหนดให้เจ้าของรถจดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทยโดยเสียค่าธรรมเนียมคันละ10บาท ซึ่งในช่วงเวลานั้นมีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถบรรทุกทั้งในบางกอกและตามหัว เมืองต่างๆทั่วประเทศที่จดทะเบียนรวมทั้งหมด 412 คัน จากพระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าฯรัชกาลที่่ 5 ที่ทรงมีต่อไพร่ฟ้าประชาชนจากการที่ทรงมีพระราชดำริให้สร้างถนนหนทางและการ ออกพระราชบัญญัติจราจร ทำให้คนไทยนิยมการใช้รถยนต์เพื่อการเดินทางเพิ่มมากขึ้น หลังจากนั้นก็เริ่มมีบริษัทรถยนต์จากต่างประเทศ ทยอยเข้ามาเปิดกิจการกันเป็นจำนวนมาก ในยุคนั้นร้านรวงในย่านการค้าของเมืองหลวงจะมีการขึ้นป้ายปิดประกาศเปิด กิจการเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์รายใหม่แทบจะทุกสัปดาห์ รถยนต์ที่นำเข้ามาในประเทศไทยมีมากมายหลายยี่ห้อ ทั้งจากเยอรมัน ฝรั่งเศล สหรัฐอเมริกา และอิตาลี รวมไปถึงธุรกิจการจำหน่ายรถยนต์มือสอง จวบจนถึงปี พศ 2474 มีรถยนต์ที่จดทะเบียนทั้งหมดถึง 3222 คัน

เอกสารอ้างอิง
สมุดภาพรัชกาลที่ 5 สำนักพระราชวัง
Silver Star Chronicle 100 Year Mercedes Benz Thailand
วิวัฒนาการยานพาหนะทางบกของไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ