วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทสรุป! สำหรับ"หนุ่ม-สาว" อมควัน




ปากเหม็น มีกลิ่นตัว ทำลายสุขภาพทั้งปอดและสมอง บุคลิกภาพดูแย่...นี้คือ ผลเสียสำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมการสูบใต้คราบชุดนักศึกษาภายในรั้ว สถาบัน ยิ่งทว่าองค์การอนามัยโลก'53 นี้ ได้กำหนดประเด็นในการรณรงค์กับผู้หญิงไทย กับคำขวัญที่ว่า "หญิงไทยฉลาด ไม่เป็นทาสตลาดบุหรี่"หรือ "Gender and tobacco with an emphasis on marketing to women" จึงกลายเป็นประเด็นสำคัญที่หลายคนมองว่า วัยรุ่นสาวส่วนใหญ่ยังคงมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่กันอยู่ แม้จะมีการรณรงค์การสื่อสารกับสาธารณะชนอย่างมากมาย ตลอดจนมีการออกกฎระเบียบข้อบังคับโซนนิ่งพื้นที่ไว้แล้วก็ตาม

"ออน" นักศึกษาสาวปริญญาโท มหาวิทยาลัยชื่อดัง หนึ่งในวัยรุ่นอมควัน เปิดเผยว่าตนเองสูบบุหรี่มากว่า 7 ปี โดยเริ่มต้นจากความอยากลองและได้รับค่านิยมผิดๆว่าการสูบบุหรี่เป็นการเสริม บุคคลิกให้ตนเองดูเป็นสาวมั่นจนเลยเถิดมาเป็นความเคยชินที่จะต้องมีพฤติกรรม การสูบอย่างน้อยวันละ 7-10 มวนและส่วนใหญ่ก็จะสูบในพื้นที่ทั่วไป ส่วนพื้นที่ในมหาวิทยาลัยก็จะสูบเฉพาะพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้สูบ


สูบวันละเกือบซองค่ะ และก็จะสูบเพราะพื้นที่ที่เปิดให้สูบเท่านั้น และที่ต้องเป็นอย่างนี้ก็อาจจะเป็นเพราะเราสูบมานานแล้วและก็ยอมรับว่าคิด ผิดเป็นเพราะอยากลอง เห็นเป็นเรื่องเล็กๆและเป็นสิ่งที่ทำแล้วโก้เก๋ ตอนนี้ถึงเวลาอยากเลิกหลายครั้งแต่ก็ยังใจอ่อน ตามใจตัวเองทุกที ซึ่งจริงๆ เราก็พยายามอยู่และคิดว่าก็ยังไม่เลิกพยายาม เพียงแต่ผู้หญิงอย่างเราไม่หนักแน่นพอเหมือนผุ้ชายหลายคนที่เลิกหักดิบได้ เลย ก็อยากจะทำอย่างนั้นบ้างและก็เชื่อว่าคนสูบบุหรี่หลายคนก็อยากเลิกเหมือนกัน แต่ก็อาจเป็นความคิดที่มาเพียงแว๊บเดียว ฉะนั้นอยากจะบอกคนที่คิดจะลองว่าไม่ต้องลองหรอกยังไงมันก็ไม่ดีติดแล้วเลิก ลำบากเหมือนกับที่พยายามอยู่”




ขณะที่ สาวอมควันรายนี้ มีทีท่าลดละเลิกการสูบอยู่บ้าง แต่ก็เป็นกลุ่มคนส่วนน้อย หากจะเทียบกับข้อมูลทางด้านการสำรวจขององค์การอนามัยโลก ที่ล่าสุดพบว่า จำนวนผู้หญิงที่สูบบุหรี่ได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า โดยเฉพาะวัยรุ่นหญิง โดยหากแนวโน้มยังเป็นเช่นนี้ จะมีผู้หญิงเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่กว่า 200 ล้านคน สารพิษในควันบุหรี่สามารถดูดซึมเข้ากระแสเลือดไปทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคถุงลมโป่งพอง เส้นเลือดหัวใจและสมองตีบตัน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งที่อวัยวะต่างๆมากกว่า 1 แห่ง ครึ่งหนึ่งของคนสูบบุหรี่จะเสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ โดย 1 ใน 4 จะเสียชีวิตในวัยกลางคน การสูบบุหรี่ที่แพร่ระบาดอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อสตรีและเด็ก


ผ่องศรี นิติมานพ อาจารย์ประจำห้องพยาบาล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวว่า ปัจจุบันวัยรุ่นไทยส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่มากขึ้น ผลพ่วงเกิดจากสภาพแวดล้อมรอบตัว ครอบครัว เพื่อนฝูง และสถานบันเทิงรอบมหาวิทยาลัย ส่งผลสุขภาพทรุดโทรม ใบหน้ามีริ้วรอยก่อนวัย





"เด็กๆ สมัยนี้โตเกินวัย หัดสูบบุหรี่ตั้งแต่อายุ 13-14 ยังอยู่ในชุดนักเรียน พอเข้ามหาวิทยาลัยก็ยิ่งแสดงพฤติกรรมอย่างโจ่งแจ้งมากขึ้น โดยเฉพาะนักศึกษาหญิงที่หันมาสูบบุหรี่ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มากจากครอบครัวที่มีคุณพ่อ คุณแม่สูบบุหรี่ หรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่มีเพื่อน หรือรุ่นพี่ รุ่นน้องที่สูบบุหรี่ รวมไปถึงสถานบันเทิงรอบมหาวิทยาลัย ซึ่งปัญหาดังกล่าว นับวันยิ่งร้ายแรงขึ้นกว่าเดิม "





นอกจากนี้ อาจารย์ประจำห้องพยาบาล มทร.ธัญบุรี่ ได้ให้แนะนำวิธีเลิกสูบบุรี่แบบง่ายๆ สำหรับนิสิต นักศึกษาหลายที่กลายเป็นสาวอมควันว่า การออกกฎหมาย มากำกับเพียงอย่างเดียวนั้นไม่พอ แต่จะต้องให้ความรู้ ความเข้าใจ ต่อคนทั่วไปถึงพิษภัยของบุหรี่ และมุ่งเป้าไปในแง่ของการป้องกัน ไม่ให้ผู้ที่ยังไม่เคยสูบบุหรี่ นั้นตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาบุหรี่และรู้สึกอยากลองสูบ จนตกเป็นทาสของบุหรี่ในที่สุด ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญมาก คือ กลุ่มวัยรุ่น

"ทุกคนทราบดีว่าข้อเสียของการสูบบุหรี่เป็นอย่างไร นอกจากจะทำให้เกิดกลิ่นตัว กลิ่นปาก มีริ้วรอยก่อนวัยแล้ว ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพตั้งแต่ช่องปาก จนถึงปอด กลายเป็นโรคถุงลมโปร่งพอง และเป็นมะเร็งในที่สุด วิธีการเลิกสูบบุหรี่แบบง่ายๆ และทำได้ทันทีคือ หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มผู้สูบบุหรี่ หากเกิดอาการเปรี้ยวปาก อยากสูบบุหรี่ให้หันมาเคี้ยวหมากฝรั่งแทน ดื่มน้ำเยอะๆ หันมาใส่ใจสุขภาพให้มากขึ้น

อย่างไรก็ตามอยู่ที่จิตใต้สำนึกของแต่ละคนด้วยเช่นกัน เพราะการสอน หรือตักเตือน เด็กวัยรุ่นสักคนให้เลิกสูบบุหรี่ ถือว่าง่ายมาก แต่จุดที่ยากที่สุดคือ เด็กจะนำกลับไปคิด และปฏิบัติหรือไม่ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของครอบครัว สถาบันการศึกษา และเพื่อนฝูงที่จะคอยชี้แนะและช่วยกันปรับทัศนะคติของพวกเขาเหล่านี้ให้ห่าง ไกลการสูบบุหรี่จะดีกว่า"





ขณะที่ บุญเกียรติ ชีระภากร ผู้อำนวยการกองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กล่าวว่า บทลงโทษของการสูบบุหรี่ภายในสถานศึกษาอาจจะไม่ร้ายแรงเท่ากับบทลงโทษของ สังคมที่มาจากปฏิกิริยาของคนรอบข้าง จึงแนะนำให้วัยรุ่นที่ชอบสูบบุหรี่หันมาทำกิจกรรม และค่อยๆ ลด ละ เลิก ก่อนที่จะส่งผลเสียต่ออนาคตของตนเอง


"ส่วนมากนักศึกษาที่สูบบุหรี่ จะอยู่ในช่วงชั้นปี 3 - 4 ซึ่งเป็นวัยรุ่นที่กำลังเป็นผู้ใหญ่ จึงเป็นเรื่องยากที่จะเราจะควบคุม ดูแลในทุกๆ เรื่อง อีกทั้งยังเป็นสิทธิส่วนบุคคล หากเป็นกรณีที่ร้ายแรงจริงๆ มหาวิทยาลัยจะมีบทลงโทษ ด้วยการตักเตือน และตัดคะแนนพฤติกรรม จากนั้นส่งตัวไปยังศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูฯ ของมหาวิทยาลัย เพื่อปลูกจิตสำนึกและแนะนำวิธีเลิกบุหรี่ ผมเชื่อว่า บทลงโทษที่ร้ายแรงที่สุดสำหรับผู้ที่ชอบสูบบุหรี่ คือ ปฏิกิริยาของคนรอบข้าง อาทิเช่น เพื่อนๆไม่อยากอยู่ใกล้ หรือเลี่ยงไม่อยากที่จะทำกิจกรรมด้วย"




ทั่วโลกมีผู้หญิงติดบุหรี่กว่า 200 ล้านคน
องค์การ อนามัยโลก เน้นรณรงค์ไปที่ผู้หญิง เนื่องจากพบว่านักสูบหญิงมีจำนวนมากขึ้น ส่วนวัยรุ่นยังเป็นกลุ่มที่เพิ่มจำนวนต่อเนื่อง


หากคลิปขึ้นหน้าขาว...รอสักครู่


<a href="http://www.voicetv.co.th/fplayer/player.swf?config=http%3A%2F%2Fwww.voicetv.co.th%2Ffplayer%2Fconfig.php%3Fvkey%3D847731074%26embed%3D1&version=20100120" target="_blank">http://www.voicetv.co.th/fplayer/player.swf?config=http%3A%2F%2Fwww.voicetv.co.th%2Ffplayer%2Fconfig.php%3Fvkey%3D847731074%26embed%3D1&version=20100120</a>

เลิกบุหรี่...ทำไงบ้าง?


เปิดประสบการณ์ “หมอต้นแบบ” เลิกบุหรี่

ท่ามกลางอัตราสูบบุหรี่ของประชากรประเทศไทยที่มี อยู่มากพอสมควรนั้น เชื่อแน่ว่า ยังมีสิงห์อมควันจำนวนไม่น้อย ที่กำลังคิดอยากสลัดริมฝีปากออกจากก้นกรองของเจ้ามวนเล็กพิษร้ายเพื่อสุขภาพ ของตัวเองและคนใกล้ชิด แต่การกระทำเช่นนั้นคงไม่ง่ายนัก วันนี้ 2 คนในจำนวน “คนเคยสูบ” มาเปิดใจในฐานะ “แพทย์ต้นแบบเลิกบุหรี่” เพื่อเป็นแนวทางและร่วมให้กำลังใจแก่ผู้ที่กำลังคิดเลิกสูบบุหรี่ทุกคน

พล.ต.ต. นพ.ชุมศักดิ์ พงษ์พฤกษา อดีตผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เปิดประสบการณ์ส่วนตัว ว่า แอบสูบบุหรี่มาตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมปลาย พอสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ก็เริ่มสูบอย่างเปิดเผยจนติด ในสมัยนั้นการสูบบุหรี่ในกลุ่มเด็กวัยรุ่นถือเป็นของโก้เก๋ และเป็นเรื่องเท่ เป็นค่านิยมที่เด็กผู้ชายส่วนใหญ่เมื่อเริ่้มเข้าวัยรุ่นมักจะสูบกัน


“แอบสูบมาตั้งแต่อายุ 18 สมัย ม.ปลาย จนสอบติดแพทย์ ก็สูบมาตลอด รู้ทั้งรู้ว่ามันไม่ดี แต่สมัยก่อนการรณรงค์ยังน้อย สื่อที่จะให้ความรู้เรื่องพิษภัยบุหรี่น้อยกว่านี้มาก ประกอบกับในสมัยนั้นเด็กผู้ชายที่เริ่มจะเป็นวัยรุ่นก็สูบกันเยอะ สูบไปสูบมาก็ติด แต่ในที่สุดก็ถึงจุดเปลี่ยนที่ทำให้เลิกได้”

คุณหมอตำรวจรายนี้ย้อนหลังอาการป่วยด้วยโรคนิ่วในถุงน้ำดีของตัวเอง ว่า เริ่มจากปวดท้องจนต้องไปพบแพทย์และถูกวินิจฉัยให้ผ่าตัด โดยการผ่าตัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทว่าตามปกติการผ่าตัดที่ต้องดมยาสลบนั้น วิสัญญีแพทย์ต้องใส่ท่อช่วยหายใจแก่ผู้ป่วย

“หลังจากดึงท่อช่วยหายใจออก เสมหะที่เหนียวและข้นมากก็ไหลไปอุดหลอดลม แพทย์ที่ผ่าตัดผมท่านเล่าให้ฟังว่า อุดจนหน้าเขียว เล่นเอาเกือบตาย โชคดีที่ช่วยไว้ทัน พอฟื้นขึ้นมาแพทย์ทีมผ่าตัดก็เล่าให้ผมฟัง นั่นแหละผมจึงคิดได้ว่า โอกาสคงไม่มีอีก ที่รอดมาได้ถือว่าโชคดี คือ ถ้าอยากมีชีวิตอยู่ต่อไปผมคงต้องเลิก แล้วก็เลิกได้ครับ เลิกบุหรี่เป็นเรื่องของจิตใจ เลิกไม่ง่าย แต่ก็ไม่เกินความสามารถ ให้กำลังใจตัวเอง เข้มแข็ง แล้วคุณจะเลิกได้ครับ”






พญ.เบญจมาศ พิศาลสารกิจ กุมารแพทย์โรงพยาบาลสมิติเวช และสมาชิกเครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ เปิดประสบการณ์ส่วนตัวว่า เริ่มสูบบุหรี่มาตั้งแต่เป็นแพทย์ฝึกหัดในโรงพยาบาลที่สหรัฐอเมริกา เนื่องจากการทำงานของแพทย์ที่นั่นค่อนข้างหนัก หลังจากการเข้าเวรตลอดคืน เช้าวันถัดมาก็ต้องทำงานตลอดทั้งวัน บางครั้งในช่วงกลางคืนก็ออกอาการง่วง ฟุบหลับเป็นระยะ จนเพื่อนแพทย์ชาวต่างชาติจุดบุหรี่ส่งมาให้

“ทราบว่ามันไม่ดี แต่ว่าสมัยนั้นเราคิดว่าเรายังเด็ก ยังไหว ร่างกายยังดี ก็สูบบ้างจนตอนหลังรู้สึกว่าเพื่อนส่งมาให้บ่อยๆ ไม่ดี ก็ซื้อสูบเองบ้าง ก็ติด มาเว้นเอาช่วงหลังแต่งงานที่เริ่มตั้งครรภ์ ทราบว่า บุหรี่ไม่ดีต่อลูกในท้อง ก็เลิก แล้วโชคดีที่สามีให้ลาออกจากงานดูลูกเลยระยะหนึ่ง ก็เลิกสูบบุหรี่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ จนคลอด จนให้นมลูก มาเริ่มสูบเอาใหม่ตอนกลับไปทำงานอีกครั้ง เพราะอาชีพแพทย์ค่อนข้างจะเครียด”


และเช่นเดียวกับ พล.ต.ต.นพ.ชุมศักดิ์ ที่หลังรู้สึกปวดท้อง พญ.เบญจมาศ ก็ไปตรวจ และพบว่าเป็นนิ่วในถุงน้ำดี...

“ตอนก่อนผ่าตัดคุณหมอต้องให้งดบุหรี่ คือ อย่างน้อยที่สุดเลยต้อง 24 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด ก็งด แล้วจนหลังผ่าตัดก็ไม่ได้สูบ จนเรามาคิดเองว่า จริงๆ แล้วเราไม่สูบมันก็ได้ ไม่เป็น ก็เลยเลิกขาดเลยนับแต่ผ่าตัดครั้งนั้น”

กุมารแพทย์ผู้มากความสามารถรายนี้ ได้ทิ้งท้ายด้วยการให้กำลังใจ เพื่อส่งไปถึงผู้สูบบุหรี่ที่กำลังอยากเลิกสูบทุกคน โดยยกประสบการณ์ตรงของตัวเองที่สูบบุหรี่มายาวนานกว่า 40 ปี แล้วเลิกได้เด็ดขาดว่า การเลิกบุหรี่เป็นสิ่งที่ไม่เกินกว่าความแข็งแกร่งของหัวใจที่อยากจะเลิก จริงๆ

“เลิกแล้วดีต่อสุขภาพของตนเอง และต่อคนรอบข้างด้วย” สองคุณหมอทิ้งท้าย



หัน หลังให้ “บุหรี่” ที่ “คลินิกฟ้าใส”

เป็นที่น่ากังวลไม่น้อย เมื่อองค์การอนามัยโลก ออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถิติการสูบบุหรี่ของคนไทย ว่า ปัจจุบันชายไทยในยุคนี้ สูบบุหรี่ประมาณ 25% ของประชากรชายไทยทั้งหมด และในตัวเลขดังกล่าวมีแนวโน้มว่าจะลดลง พร้อมทั้งชื่นชมการรณรงค์การลด ละ เลิกบุหรี่อย่างเข้มข้นของประเทศไทย ทว่า ตัวเลขที่สวนกัน คือ ตัวเลขอัตราการสูบบุหรี่ของหญิงไทยที่ขณะนี้อยู่ที่ 15% และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายวิชาวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทย ปลอดบุหรี่ ระบุว่า ปัญหาที่พบอยู่ขณะนี้ ก็คือ อัตราที่เพิ่มขึ้นของผู้หญิงที่เป็นนักสูบหน้าใหม่ ด้วยการตลาดของบริษัทบุหรี่ ที่สร้างมโนคติที่ผิดๆ ทำให้คนส่วนใหญ่มองว่า ผู้หญิงที่สูบบุหรี่เป็นเวิร์คกิ้งวูเมน เป็นคนผอมเพรียวเปรี้ยวล้ำนำแฟชั่น ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อผิดๆ ที่อันตรายมาก

“อาการติดบุหรี่เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ผู้ติดบุหรี่มีสถานะเป็นผู้ป่วย สังคมทราบดีว่าการสูบบุหรี่จะนำไปสู่โรคเรื้อรังต่างๆ เครือข่ายได้ทำงานด้านรณรงค์การลดละเลิกบุหรี่มาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้ผนึกกำลัง 6 องค์กรจัดทำโครงการ “คลินิกฟ้าใส” Smart Quit Clinic ขึ้น เพื่อเป็นตัวช่วยในการเลิกบุหรี่ เพื่อกระตุ้นให้คนไทยเลิกบุหรี่ได้อย่างถาวร ”

ประธานเครือข่ายวิชาวิชาชีพสุขภาพฯ กล่าวต่อไปอีกว่า คลินิกฟ้าใสนี้ จะบริการฟรีสำหรับผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษาหรือการให้ยาเลิกบุหรี่ ขณะนี้ได้เปิดนำร่องในโรงพยาบาลในเครือข่ายพันธมิตรองค์กรที่ร่วมผนึกกำลัง เพื่อให้คนไทยห่างไกลบุหรี่ ทั้ง กทม.ที่มีคลินิกในโรงพยาบาลนำร่องสังกัด กทม.

“องค์การเภสัชกรรมเป็นพันธมิตรที่สนับสนุนด้านยาเลิกบุหรี่ ส่วนโรงพยาบาลตำรวจ โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็ได้เปิดคลินิกฟ้าใสในโรงพยาบาลตำรวจ ควบคู่ไปกับการรณรงค์การเลิกบุหรี่ที่โรงพยาบาลทำมาแล้วก่อนหน้านี้เช่นกัน นอกจากนี้เราก็ยังได้ความอนุเคราะห์จาก มศว ที่ตั้งคลินิกที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว รวมถึง 5 โรงพยาบาลสังกัดกทม.และศูนย์บริการสาธารณสุข กทม.ด้วย”






ด้านนพ.แสงชัย สีมาขจร ที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม.ในฐานะตัวแทนจาก “กรุงเทพมหานคร” หนึ่งองค์การสำคัญที่ร่วมผลักดันโครงการดีๆ เช่นนี้ กล่าวว่า ภายใต้สโลแกน “ทั้งชีวิตเราดูแล” ของกทม.นั้น กทม.ทราบดีว่าบุหรี่เป็นพิษต่อสุขภาพ การที่ประชาชนกทม.ติดบุหรี่ ผลที่ตามมาก็คือสุขภาพถูกบั่นทอน


“ทาง กทม.จึงจัดให้มีคลินิกฟ้าใสเพื่อรณรงค์เลิกสูบบุหรี่และช่วยเหลือบำบัดผู้ ติดบุหรี่ ในโรงพยาบาลนำร่องซึ่งเป็นโรงพยาบาลสังกัด กทม.5 แห่ง คือ โรงพยาบาลกลาง, วชิรพยาบาล, โรงพยาบาลตากสิน, โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์และโรงพยาบาลลาดกระบัง นอกจากนี้ ยังมีในศูนย์บริการสาธารณสุข กทม.อีก 26 แห่งด้วย และนอกจากจะมีคลินิกนำร่องแล้ว กทม.ยังได้วางนโยบายอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์ให้ทุกพื้นที่ในโรงพยาบาลเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ และขอความร่วมมือจากร้านค้าในโรงพยาบาลทุกโรงพยาบาลรวมถึงศูนย์บริการสาธารณ สุขไม่จำหน่ายบุหรี่ด้วย”


ด้านอีกหนึ่งกำลังหลักจากโรงพยาบาล ตำรวจอย่าง “พล.ต.ท.จงเจตน์ อาวเจนพงษ์” นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ ระบุว่า ข้าราชการตำรวจเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่มีพฤติกรรมติดบุหรี่สูงมาก สูงถึงร้อยละ 33 ของจำนวนข้าราชการตำรวจทั้งหมด คิดเป็นประมาณ 7-8 หมื่นราย ทำให้โรงพยาบาลตำรวจได้รณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ต่อเนื่องกันมากว่า 2 ปีแล้ว โดยเริ่มจากกลุ่มบุคคลากรในโรงพยาบาลที่มีผู้ติดบุหรี่ประมาณ 100 คนเศษจากบุคลากรทั้งหมด 1,800 คน และหลังจากรณรงค์ด้วยวิธีการให้กำลัง ให้คำปรึกษา ตลอดจนจ่ายยาเลิกบุหรี่ร่วมกับหมากฝรั่งนิโคตินทดแทน 2 ปี ทำให้ขณะนี้เหลือเพียง 40 คนเท่านั้นที่ยังสูบอยู่ และไม่ได้สูบจัดเหมือนก่อนหน้านี้ ถือว่าการรณรงค์ได้ผลพอสมควร




“ตอนนี้หลังจากที่เราได้มาร่วมกับคลินิกฟ้าใสแล้ว ก็ได้ต่อยอดขยายวงออกไปตามโรงพักต่างๆ โดยมีโรงพักนำร่อง คือ สน.ทองหล่อ และ สน.ปทุมวัน โดยจะมีการเข้าไปให้ความรู้ถึงโทษและพิษภัยของบุหรี่ และเมื่อเรารณรงค์ให้โรงพักนำร่องปลอดบุหรี่ได้ 100% แล้ว เราจะขยายออกไปถึงระดับกองบัญชาการ และระดับภาคต่างๆ 9 ภาคด้วย โดยหวังว่าใน 3 ปี เราจะทำให้ข้าราชการตำรวจเลิกสูบบุหรี่ได้ 100%”

และ สำหรับหัวเรือใหญ่ที่สนับสนุนด้านยาเลิกบุหรี่อย่าง “นพ.วิทิต อรรถเวชกุล” ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ให้ภาพการบำบัดการติดบุหรี่ว่า การเลิกบุหรี่ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้ป่วยต้องสามารถเข้าถึงการบำบัดรักษาที่มีประสิทธิภาพและเข้าถึงยาเลิก บุหรี่

ปัจจุบันผู้ป่วยต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนของการซื้อยา แต่จากปัญหาเศรษฐกิจทำให้ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยไม่สามารถซื้อยาได้อย่างต่อ เนื่อง ทำให้การเลิกบุหรี่ไม่ได้ผลเท่าที่ควร มีโอกาสเสี่ยงที่จะป่วยจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ เกิดโรคแทรกซ้อนที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น รัฐต้องรับภาระเพิ่ม

“องค์การเภสัชกรรมได้ประสานความร่วมมือในการแก้ปัญหาดังกล่าวเบื้องต้น โดยสนับสนุนยาเลิกบุหรี่เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง และพร้อมกระจายยาไปยังสถานพยาบาลเครือข่ายฯ ที่ร่วมโครงการนำร่อง ส่วนในระยะยาว จะมีการวิจัยเพื่อผลิตยาเลิกบุหรี่ที่หมดสิทธิบัตรด้วย”


สำหรับ สิงห์อมควันที่อยากจะเลิกบุหรี่ เมื่ออ่านถึงตรงนี้แล้วอยากได้ตัวช่วยที่จะทำให้สุขภาพของคุณและคนที่คุณรัก ห่างไกลจากควันพิษที่ประกอบขึ้นจากสารพัดสารเคมีในบุหรี่ร้าย สามารถเข้าไปดูรายละเอียดของเวบไซต์คลินิกฟ้าใสได้ที่ http://www.smartquitclinic.org/ หรือที่ “เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ” โทรศัพท์ 02-716-6961 กด 0





ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์




นพ.แสงชัย สีมาขจร




ศ.พญ.สมศรีมอบสัญลักษณ์ "คลินิกฟ้าใส" แก่ภาคีเครือข่าย



วัคซีน 'นิคแว็กซ์' ...ทางเลือกใหม่สำหรับคนอยากเลิกบุหรี่

นักวิจัยม.มิชิแกน สหรัฐอเมริกา ได้คิดค้นวัคซีนสกัดการทำงานของนิโคติน เพื่อให้การเลิกบุหรี่เป็นเรื่องง่ายขึ้น
ความก้าวหน้าของวงการแพทย์ทำ ให้เรามีวัคซีนป้องกันโรคร้ายที่คุกคามชีวิตชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ โปลิโอ พิษสุนัขบ้า บาดทะยัก ไอกรน คอตีบฯลฯ โดยวัคซีนเป็นสารที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ให้สามารถป้องกันร่าง กายจากอาการติดเชื้อเหล่านั้นได้

ปัจจุบัน วงการแพทย์ก้าวล้ำไปอีกขั้นในการคิดค้นพัฒนาวัคซีนป้องกันการติดบุหรี่ 'นิคแว็กซ์' (NicVAX)ซึ่งเมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายแล้วจะมีคุณสบัติช่วยกระตุ้นระบบภูมิ คุ้มกันร่างกายให้ผลิตสารแอนตี้บอดี้ หรือ สารต่อต้านนิโคติน ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของบุหรี่ขึ้นมา

การพัฒนาดังกล่าวเป็นผลงาน ของทีมวิจัยมหาวิทยาลัยรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา นำโดยรศ.โจนาธาน เฮนรี่ โดยบุคคลที่ได้รับวัคซีนนิคแว็กซ์เข้าไป ร่างกายจะผลิตสารแอนตี้บอดี้ขึ้นมาไล่จับโมเลกุลนิโคติน เพื่อป้องกันไม่ให้นิโคตินเดินทางไปยังสมอง ซึ่งปกตินิโคตินจะกระตุ้นให้สมองหลั่งสารโดพามีน ทำให้ผู้สูบบุหรี่รู้สึกผ่อนคลาย เมื่อการสูบบุหรี่ไม่ทำให้รู้สึกดีเหมือนเดิม คนนั้นก็จะไม่อยากสูบอีก

ข้อ ดีอีกประการของสารแอนตี้บอดี้ตัวนี้ คือ มันจะอยู่ในกระแสเลือดนานหลายเดือน ซึ่งช่วยป้องกันการหวนกลับไปสูบใหม่ วัคซีนวิเศษดังกล่าวอยู่ระหว่างการทดลองทางคลินิก คาดว่าจะสรุปผลเสร็จสมบูรณ์ได้ในปี 2555





http://www.nightsiam.com/forum/index.php?topic=2181.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ