1) นักศึกษาปี 1 คนไทยมักเรียกว่า “freshy”
เมื่อเราไปเรียนที่ต่างประเทศเวลาเจอเพื่อนใหม่เราอาจจะแนะนำคนคนว่าเรา มาเรียนที่นี่ เป็นนักศึกษาปี 1 ซึ่งคนไทยมักเรียกว่า “freshy” แต่ความเป็นจริงฝรั่งไม่รู้เรื่องหรอกเพราะไม่มีการบัญญัติศัพท์คำนี้ในภาษา อังกฤษ เค้าจะใช้คำว่า “fresher” หรือ “freshman” เช่น He is a fresher. หรือ He is a freshman. หรือ He is a first-year student. เขาเป็นนักศึกษาปี 1 ส่วนปีอื่นๆ คนไทยเรียกถูกแล้ว คือ ปี 2 เราเรียก a sophomore, ปี 3 เรียกว่า a junior และ ปี 4 เรียกว่า a senior ไปเรียนต่างแดนใหม่ๆอาจมีเรื่องผิดพลาดกันได้ยังพอให้อภัยนะคะ
2) Xerox กับ Copy
เมื่อน้องๆต้องไปเรียนที่ต่างประเทศ การใช้ห้องสมุดในการค้นคว้าหาข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ และถ้าเวลาที่เราเจอข้อมูลดีดีแล้วอยากถ่ายเอกสารเก็บไว้ เราสามารถนำหนังสือเล่มนั้นไปให้เจ้าหน้าที่ถ่ายเอกสารให้ก็ได้ แต่ที่คนไทยส่วนใหญ่มักปล่อยไก่ตัวใหญ่ๆ เพราะความเคยชินที่มักจะพูดว่า Xerox ซึ่งเจ้าหน้าที่จะต้อง งง !! เป็นไก่ตาแตกแน่ๆ เพราะถ้าเราต้องการถ่ายเอกสารเราควรใช้คำว่า copy หรือ photocopy ถึงจะถูก สำหรับเครื่องถ่านเอกสารเราเรียกว่า photophotocopier
3) ความแตกต่างระหว่าง teacher, lecturer และ professor
น้องๆ หลายคนอาจจะคงว่า 3 คำนี้มันต่างกันตรงไหนหว่า!!! เพราะคนไทยส่วนใหญ่เราเรียกผู้ที่สอนหนังสือเราว่า . “คุณครู” ซึ่งในภาษาอังกฤษ เรียกว่า teacher ซึ่งหมายถึงคุณครูผู้สอนวิชาความรู้ให้เรา แต่ถ้าน้องๆเข้าเรียนในระดับที่สูงขึ้นอย่างเช่นในมหาวิทยาลัยเราอาจจะเรียก ผู้บรรยายว่า lecturer และเรียกอาจารย์ผู้สอนว่า professor ซึ่งหมายถึงผู้เชียวชาญเฉพาะด้าน, อาจารย์ในมหาวิทยาลัย หรือ ผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ส่วนคำว่า Tutor ถ้าเป็นคำนามหมายถึง ครูพิเศษ ที่ดูแลหรือสอนเราในเรื่องนั้นๆเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเป็นกิริยา จะหมายถึง การสอนพิเศษ
4) อินเทรนด์ (in trend)
เรื่อง อินๆ เอ๊าท์ๆ ที่วันรุ่นอย่างเรามักจะไม่พลาด ในปัจจุบัน สามารถได้ยินตามรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ทั่วไป เพราะใช้กันทั่วบ้านทั่วเมือง เช่น สาวๆคนไหนที่อยากอินเทรนด์ต้องตามแฟชั่นเกาหลี ซึ่งบางทีเวลาที่น้องๆต้องการพูดว่า “มันทันสมัย” เราอาจจะติดปากว่า “It is in trend.” คำว่า “ทันสมัย” ฝรั่งเค้าไม่ใช้คำว่า “in trend” อย่างคนไทย เค้าจะใช้คำว่า “trendy” หรือ “fashionable” ซึ่งเป็นคำคุณศัพท์ที่คุณสามารถวางไว้หน้าคำนามที่ต้องการขยาย เช่น a trendy haircut ทรงผมที่ทันสมัย, a fashionable restaurant ร้านอาหารที่ทันสมัย หรือจะไว้หลัง verb to be เช่น It is trendy. หรือ It is fashionable. ก็ได้
5) อัดหรือบันทึก คนไทยมักพูดทับศัพท์ว่า เร็คคอร์ด (record)
คำๆ นี้สามารถเป็นได้ทั้งคำนามและคำกิริยา เพียงแค่เปลี่ยนตำแหน่งการเน้นหนักของพยางค์นั้นๆๆ กล่าวคือ ถ้าจะใช้เป็นคำนามที่แปลว่า แผ่นเสียงหรือสถิติ ให้ขึ้นเสียงสูงที่พยางค์แรก คือ “เร็ค-คอร์ด” เช่น He wants to buy a record. เขาต้องการซื้อแผ่นเสียง, I broke my own record. ฉันทำลายสถิติของฉันเอง แต่ถ้าคุณจะหมายถึงคำกิริยาที่แปลว่า อัดหรือบันทึก ต้องเน้นหนักพยางค์หลัง ซึ่งจะอ่านว่า “รี-คอร์ด” เช่น I'll record the film and we can all watch it later. ฉันจะอัดหนัง เราจะได้เก็บไว้ดูทีหลังได้ ส่วนเครื่องบันทึก เราเรียกว่า “recorder” อ่านว่า รี-คอร์-เดอร์
6) ต่างคนต่างจ่าย เรามักใช้ American share
รับรองว่าฝรั่ง(ต่อให้เป็นชาวอเมริกันก็ตาม) ได้ยินแล้ว งงแน่นอน ถ้าจะหมายถึงต่างคนต่างจ่ายให้ใช้ว่า “Let’s go Dutch.” หรือ “Go Dutch (with somebody).” อันนี้ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเป็นธรรมเนียมของชาวดัตช์หรือเปล่า? ที่ต่างคนต่างจ่ายเลยมีสำนวนอย่างนี้ หรือคุณอาจจะบอกตรงๆ เลยว่า “You pay for yourself.” คือเป็นอันรู้กันว่าต่างคนต่างจ่าย แต่ถ้าคุณต้องการเป็นเจ้ามือ(ไม่ใช่เล่นไพ่นะจ๊ะ)เลี้ยงมื้อนี้เอง คุณควรพูดว่า “It’s my treat this time.” หรือ “My treat.” หรือ “It’s on me.” หรือ “All is on me.” หรือ “I’ll pay for you this time.” ทั้งหมดแปลว่า มื้อนี้ฉันจ่ายเอง ส่วนถ้าจะบอกเพื่อนว่า คราวหน้าแกค่อยเลี้ยงฉันคืน ให้บอกว่า “It’s your treat next time.”
7) ขอฉันแจม (jam) ด้วยคน
ในกรณีนี้คำว่า “แจม” น่าจะหมายถึง “ร่วมด้วย” เช่น We are going to eat outside. Do you want to jam? เรากำลังจะออกไปกินข้าวข้างนอก เธอจะไปด้วยมั้ย? ในภาษาอังกฤษไม่ใช้คำว่า jam ในกรณีแบบนี้ ซึ่งควรจะใช้ว่า “Do you want to join us?”, “Do you want to come with us?” หรือ “Do you want to come along?” จะดีกว่าค่ะ
8) รถมือสอง used car VS second hand ของมือสอง
สำหรับ ของมือสองถ้าจะให้ถูกเวลาใช้ ฝรั่งจะเติม used เข้าไป เช่นรถมือสองเราเรียกว่า used car ซึ่งหมายถึงรถที่ใช้แล้วซึ่งอาจจะเปลี่ยนเจ้าของมาแล้ว 2 หรือ 3 คนก็ได้ ในกรณีนี้เราไม่ใช้ second hand
9) ฉันเรียนภาษากับชาวต่างชาติ I learn the language with a foreigner.
คำว่า “foreigner” หมายถึง ชาวต่างชาติโดยทั่วๆ ไป แต่จริงๆ คุณต้องการจะสื่อว่าเรียนภาษากับเจ้าของภาษา ซึ่งควรจะใช้คำว่า “a native speaker” จะเหมาะกว่านะค่ะ เช่น “I learn the language with a native speaker.” ฉันเรียนภาษากับเจ้าของภาษา ส่วนคนที่พูดได้ 2 ภาษาดีเท่าๆ กันเราจะใช้คำคุณศัพท์ว่า “bilingual” เช่น เด็กลูกครึ่งที่พูดได้ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ “Their kids are bilingual.” ลูกของเขาพูดได้ 2 ภาษาดีพอๆ กัน
10) football VS soccer
สองคำนี้มีความหมายแตก ต่างกันนะคะ โดยเฉพาะน้องคนไหนที่ไปเรียนที่อเมริกา เพราะถ้าในอเมริกาคำว่า football จะหมายถึง กีฬาอเมริกันฟุตบอล และถ้าจะพูดถึงกีฬาฟุตบอลในความหมายที่ใช้กันในบ้านเรา จะเรียกว่า soccer แทน ยิ่งตอนี้กระแสบอลโลก 2010 กำลังมาแรง ควรแยกความแตกต่างให้ถูกนะคะเวลาคุยกับเพื่อนชาวอเมริกันจะเข้าใจเหมือนๆกัน
11) ความหมายของ café
เป็นคำที่คุ้นหูเรามากๆ เลยนะคะแต่ความหมายของมันจริงๆแล้ว ในยุโรป café จะเอาไว้เรียกร้านกาแฟเล็ก แต่สำหรับบ้านเรา café มีหลายแบบมาก เช่น internet café, café and Restaurant และอีกคำที่เรามักจะชินหู พระราม 9 ค่าเฟ่ ถ้าเราแนะนำเพื่อชาวต่างชาติไปพระราม 9 คาเฟ่ พอเค้าเห็นร้านแล้วต้องแปลกใจแน่ๆเลยว่าทำไม café เมืองไทยมันถึงได้ใหญ่ขนาดนี้ ดังนั้นเวลาเราจะแยกแยะว่าอันที่ที่จัดว่าเป็น café ในความหมายของชาวยุโรปเราควรดูรายละเอียดของร้านนั้นว่า ทำเกี่ยวกับอะไร ขนาดร้านเท่าไหร่ ต่อไปถ้าเราได้ไปเรียนทางแถบยุโรปจะได้แยกประเภทได้ถูกนะคะ
12) หนัง soundtrack
เวลาที่เราจะบอกใครว่า ฉันต้องการดูหนังฝรั่งที่พากย์ภาษาอังกฤษ อย่าพูดว่า “I want to watch a soundtrack film.” แต่ควรจะใช้ว่า “I want to watch an English film.” เพราะความหมายของคำว่า “soundtrack” คือ ดนตรีที่อยู่ในภาพยนตร์ ต่างหากนะคะ (เออ...มีใครบ้างหว่าที่สนใจแต่ดนตรีไม่สนพระเอก-นางเอก เสื้อผ้า หน้า ผม หรือเนื่อหาของหนัง!!!)
ถ้าเราจะพูดถึงหนังฝรั่งที่ พากย์เสียงภาษาไทย เราต้องบอกว่า “I want to watch an English film that is dubbed into Thai.” เพราะคำกิริยาว่า “dub” คือพากย์เสียงจากต้นแบบในหนังหรือพากย์รายการโทรทัศน์ไปเป็นภาษาอื่น
ส่วน หนังที่มีคำบรรยายใต้ภาพเราเรียกว่า “a subtitled film” ซึ่งคำบรรยายที่อยู่ใต้ภาพ เราเรียกว่า “subtitles” (ต้องมี s ต่อท้ายเสมอนะจ๊ะ) เช่น a French film with English subtitles หนังฝรั่งเศสที่มีคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาอังกฤษ
หนังบางเรื่องจะมีคำ บรรยายใต้ภาพเป็นภาษาเดียวกับที่นักแสดงพูด เรามีศัพท์เรียกเฉพาะว่า “closed-captioned films/videos/television programs” หรือ อาจเขียนย่อๆ ว่า “CC” เช่น You should watch a closed-captioned film to improve your English. คุณควรจะดูหนังฝรั่งที่มีคำบรรยายภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษของคุณ
13) เขามีแบ็ค (back) ดี “He has a good back.”
ฝรั่งคงงงว่ามันเกี่ยวอะไรกับข้างหลังของเค้า เพราะ back แปลว่า หลัง (อวัยวะ) แต่เรากำลังจะพูดถึงมีคนคอยสนับสนุน ซึ่งต้องใช้ “a backup” ซึ่งหมายถึง คนหรือสิ่งของที่ช่วยสนับสนุน ช่วยเหลือ เกื้อกูล เป็นกำลังใจให้ เช่น “He has a good backup.” เขามีคนคอยหนุนที่ดี
14) ฉันไปตัดผมมาเมื่อวานนี้ I cut my hair yesterday.
ถ้าพูดอย่างนี้หมายถึงเราตัดผมด้วยตัวเอง ซึ่งแน่นอนว่าคนส่วนใหญ่ไม่ได้ตัดผมด้วยตัวเอง แต่ให้ช่างตัดผมตัดให้ เราควรจะบอกว่า “I had/got my hair cut yesterday.” ซึ่งรูปประโยคคือ “To have/get + กรรม (สิ่งที่ถูกกระทำ) + กิริยาช่องสาม” ดังนั้นถ้าจะบอกว่า ฉันจะเอารถไปซ่อมวันพรุ่งนี้ ก็ต้องบอกว่า “I will have/get the car repaired tomorrow.”
15) เว่อร์ (over)
เธอนี่ทำอะไรเว่อร์ๆ She is over. ไม่มีความหมายแต่อย่างใดในภาษาอังกฤษ เวลาเราไปเม้าท์ให้ฝรั่งฟังก็คงมึนตึบ พร้อมทำสีหน้างงว่ามันหมายถึงอะไรเหรอ? พูดถึงคำนี้ คนไทยน่าจะหมายถึงการพูดเกินจริงหรือทำเกินจริง ซึ่งถ้าพูดเกินจริง ควรจะใช้คำศัพท์ที่ว่า “exaggerate” เป็นคำกิริยา อ่านว่า เอก-แซ้ก-เจ่อ-เรท เช่น
'He said you walked 30 miles.' เค้าบอกว่าคุณเดินตั้ง 30 ไมล์
'No - he's exaggerating. It was only about 15.' ไม่หรอก เค้าพูดเว่อร์ (เกินจริง) มันก็แค่ 15 ไมล์เอง
ดัง นั้น ถ้าจะบอกว่า เธอพูดเว่อร์นะ ก็บอกว่า You’re exaggerating. หรือจะบอกเค้าว่า อย่าพูดเว่อร์ๆ นะ อาจใช้ว่า Don’t exaggerate. ส่วนอาการเว่อร์อีกแบบคือการทำเกินจริง เราจะใช้คำกิริยาที่ว่า “overact” เช่น You’re overacting. เธอทำเว่อร์เกิน (แสดงอารมณ์เกินจริง)
รู้ อย่างนี้แล้วงั้นเวลาเอาไปใช้เราก็ควรใช้ให้ถูกด้วยนะคะ อีกอย่างเพื่อพัฒนาการทางด้านภาษาที่รวดเร็วขึ้นน้องๆควรพยายามฝึกพูดและ เพิ่มความมั่นใจให้มากขึ้นนะคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
อารายเหรอ