คนไทยรู้จักภาพยนต์มาตั้งแต่ปี 2440 แล้วครับ แต่เดิมยังเรียกตามฝรั่งว่า ซีมาโตแครฟ
โดยครั้งแรกที่มาฉายให้คนไทยได้ชมที่โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ โดยคำขอของคณะราษฎร
เหมือนกับการไปดู นวตกรรมใหม่ คือเป็นรูปที่สามาถกระดิกได้ ต่อมาคนไทยเห็นว่า
มีลักษณะคล้ายหนังใหญ่ หรือหนังตะลุง ที่ เล่นกัน คือต้องใช้ไฟส่องผ่านมายังฉาก
จึงเรียก นวตกรรมใหม่ นี้ว่า หนังฝรั่ง แทนที่ ซีมาโตแครฟ ซึ่งเรียกยากสำหรับคนไทย
ภาพจากภาพยนต์เรื่อง โหน่ง เท่ง นักเลงภูเขาทอง
แม้ว่าระหว่าง ปี 2450-2465 จะเป็นช่วงที่มีกิจการของภาพยนต์ในสยามคึกคักมาก
โดยในปี 2470 มีโรงภาพยนต์ทั่วประเทศ กว่า 68 โรง
ในพระนคร มี 12 โรง ต่างจังหวัด 56 โรง ปี 2476
เกิดโรงหนังที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้นคือ ศาลาเฉลิมกรุง
แต่ที่ฉายก็ล้วนเป็นหนังฝรั่ง
ในปี 2440 ได้มีการตั้ง “กองภาพยนตร์เผยแพร่ข่าว “
ซี่งก็เพียงเป็นการถ่ายภาพข่าว ภาพกรณียกิจ หรือประชาสัมพันธ์งานของรัฐ
ต่อมาในปี 2465 ได้มีคณะสร้างภาพยนต์จาก ฮอลลีวู้ด นำโดยนาย เฮนรี แมกเร
เดินทางขอพระบรมราชานุญาต ถ่ายภาพยนต์ ที่สะท้อนเรื่องราว ของสยามยุคใหม่
ซึ่งก็ได้รับราชานุญาต จาก รัชกาลที่ 6 จนสำเร็จลุล่วงไปได้
ตั้งชื่อเรื่องว่า นางสาวสุวรรณ ( Suvarna of Siam )
โดยมีผู้แสดงสำคัญในหนังเรื่องนี้ได้แก่ นางสาวเสงี่ยม นาวีเสถียร นางรำในกรมมหรสพหลวง
แสดงเป็น นางสาวสุวรรณ ขุมรามภรตศาสตร์ (ยม มงคลนัฎ) ตัวโขนพระรามของกรมศิลปากร
แสดงเป็น นายกล้าหาญ ตัวพระเอก และหลวงภรตกรรรมโกศล (มงคล สุมนนัฎ) สมุหบาญชี
แสดงเป็น นายก่องแก้ว ซึ่งเป็นตัวโกง
สถานที่ถ่ายทำ นอกจากในกรุงเทพฯแล้ว ยังเดินทางไปถ่ายทำที่หัวหิน
เพื่ออวดสถานที่ตากอากาศของกรุงสยามอีกด้วย และเดินทางไปถ่ายทำที่เชียงใหม่อีกแห่ง
เพือแสดงภาพการทำป่าไม้
เมื่อนำออกฉายในปี 2466 ก็ได้รับความสำเร็จ ผู้คนเข้าชมอย่างล้นหลาม
จนถือว่าเป็นความภาคภูมิใจของชาติเลยทีเดียว
ในปี พ.ศ. 2468 คณะสร้างภาพยนตร์จากฮอลลีวู้ดอีกคณะ
เดินทางเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ในสยาม โดยใช้ผู้แสดงเป็นชาวสยามทั้งหมดเช่นกัน
าพยนตร์เรื่องนี้ให้ชื่อว่า "ช้าง"
ภาพยนตร์เรื่อง ช้าง กำกับและถ่ายทำโดย มาเรียน ซี คูเปอร์ และ เออร์เนส บี โชคแส็ค
ใช้เวลาถ่ายทำทั้งสิ้นปีครึ่ง สิ้นเงินประมาณ 2 แสนบาทไทยขณะนั้น สถานที่ถ่ายทำคือจังหวัดน่าน
พัทลุง ตรัง สงขลา และชุมพร ออกฉายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2570 ที่โรงภาพยนตร์ในนครนิวยอร์ค
สหรัฐอเมริกา และฉายครั้งแรกในประเทศไทยเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2471
ปี 2469 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และสยามก็ได้รับผลกระทบ
รัฐบาลในยุค รัชกาลที่ 7 ได้ปลดข้าราชการออกส่วนหนึ่ง ทำให้ หลวงสุนทรอัศวราช
ได้รวบรวมพรรคพวกที่มีฝีมือด้าน การแสดงและเขียนบท มาก่อตั้งบริษัทถ่ายภาพยนต์
มีชื่อว่า บริษัทถ่ายภาพยนต์ไทย โดยกลุ่มคนทั้งหมดนี้ประกาศจะสร้างหนังเรื่องแรก
ที่เป็นฝีมือของคนไทยเรื่องแรกออกมา
แต่แล้ว 'บริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทย' ก็ถูกตัดหน้าซะก่อน โดยผู้สร้างหนังอีกรายหนึ่ง
คือ กลุ่มพี่น้องสกุลวสุวัต กับพรรคพวกในคณะหนังสือพิมพ์สยามราษฎร์และศรีกรุง
ได้จัดตั้งเป็นคณะสร้างหนังเรื่องแสดงขึ้นบ้าง ในนาม กรุงเทพภาพยนตร์บริษัท
โดยประกาศสร้างหนังเรื่อง โชคสองชั้น และสามารถสร้างสำเร็จภายใน 2 เดือน
นำออกฉายได้ก่อนบริษัทแรก จากนั้น อีก 2 เดือน บริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทย
จึงนำหนัง "ไม่คิดเลย " ของตัวเองออกฉาย
โชคสองชั้น และออกฉายที่โรงภาพยนต์ พัฒนากร เมื่อ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2470
ผลปรากฏว่าได้รับการตอบรับมากจนบางส่วนไม่สามารถเข้าชมได้ มากกว่า
คนที่ชม นางสาวสุวรรณ
หลังจากนั้นก็มีบริษัทถ่ายภาพยนต์ เกิดขึ้นอีกหลายบริษัท
และเป็นหนังเงียบทั้งสิ้น
ดังนั้น คนรุ่นหลังจึง ยกให้ โชคสองชั้น เป็นหนังไทยเรื่องแรก
ที่สร้างโดยบริษัทของคนไทยครับ
ถึงกับมีการจัดทำเป็นแสตมป์
เครดิต
http://www.oknation.net
โดยครั้งแรกที่มาฉายให้คนไทยได้ชมที่โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ โดยคำขอของคณะราษฎร
เหมือนกับการไปดู นวตกรรมใหม่ คือเป็นรูปที่สามาถกระดิกได้ ต่อมาคนไทยเห็นว่า
มีลักษณะคล้ายหนังใหญ่ หรือหนังตะลุง ที่ เล่นกัน คือต้องใช้ไฟส่องผ่านมายังฉาก
จึงเรียก นวตกรรมใหม่ นี้ว่า หนังฝรั่ง แทนที่ ซีมาโตแครฟ ซึ่งเรียกยากสำหรับคนไทย
ภาพจากภาพยนต์เรื่อง โหน่ง เท่ง นักเลงภูเขาทอง
แม้ว่าระหว่าง ปี 2450-2465 จะเป็นช่วงที่มีกิจการของภาพยนต์ในสยามคึกคักมาก
โดยในปี 2470 มีโรงภาพยนต์ทั่วประเทศ กว่า 68 โรง
ในพระนคร มี 12 โรง ต่างจังหวัด 56 โรง ปี 2476
เกิดโรงหนังที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้นคือ ศาลาเฉลิมกรุง
แต่ที่ฉายก็ล้วนเป็นหนังฝรั่ง
ในปี 2440 ได้มีการตั้ง “กองภาพยนตร์เผยแพร่ข่าว “
ซี่งก็เพียงเป็นการถ่ายภาพข่าว ภาพกรณียกิจ หรือประชาสัมพันธ์งานของรัฐ
ต่อมาในปี 2465 ได้มีคณะสร้างภาพยนต์จาก ฮอลลีวู้ด นำโดยนาย เฮนรี แมกเร
เดินทางขอพระบรมราชานุญาต ถ่ายภาพยนต์ ที่สะท้อนเรื่องราว ของสยามยุคใหม่
ซึ่งก็ได้รับราชานุญาต จาก รัชกาลที่ 6 จนสำเร็จลุล่วงไปได้
ตั้งชื่อเรื่องว่า นางสาวสุวรรณ ( Suvarna of Siam )
โดยมีผู้แสดงสำคัญในหนังเรื่องนี้ได้แก่ นางสาวเสงี่ยม นาวีเสถียร นางรำในกรมมหรสพหลวง
แสดงเป็น นางสาวสุวรรณ ขุมรามภรตศาสตร์ (ยม มงคลนัฎ) ตัวโขนพระรามของกรมศิลปากร
แสดงเป็น นายกล้าหาญ ตัวพระเอก และหลวงภรตกรรรมโกศล (มงคล สุมนนัฎ) สมุหบาญชี
แสดงเป็น นายก่องแก้ว ซึ่งเป็นตัวโกง
สถานที่ถ่ายทำ นอกจากในกรุงเทพฯแล้ว ยังเดินทางไปถ่ายทำที่หัวหิน
เพื่ออวดสถานที่ตากอากาศของกรุงสยามอีกด้วย และเดินทางไปถ่ายทำที่เชียงใหม่อีกแห่ง
เพือแสดงภาพการทำป่าไม้
เมื่อนำออกฉายในปี 2466 ก็ได้รับความสำเร็จ ผู้คนเข้าชมอย่างล้นหลาม
จนถือว่าเป็นความภาคภูมิใจของชาติเลยทีเดียว
ในปี พ.ศ. 2468 คณะสร้างภาพยนตร์จากฮอลลีวู้ดอีกคณะ
เดินทางเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ในสยาม โดยใช้ผู้แสดงเป็นชาวสยามทั้งหมดเช่นกัน
าพยนตร์เรื่องนี้ให้ชื่อว่า "ช้าง"
ภาพยนตร์เรื่อง ช้าง กำกับและถ่ายทำโดย มาเรียน ซี คูเปอร์ และ เออร์เนส บี โชคแส็ค
ใช้เวลาถ่ายทำทั้งสิ้นปีครึ่ง สิ้นเงินประมาณ 2 แสนบาทไทยขณะนั้น สถานที่ถ่ายทำคือจังหวัดน่าน
พัทลุง ตรัง สงขลา และชุมพร ออกฉายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2570 ที่โรงภาพยนตร์ในนครนิวยอร์ค
สหรัฐอเมริกา และฉายครั้งแรกในประเทศไทยเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2471
ปี 2469 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และสยามก็ได้รับผลกระทบ
รัฐบาลในยุค รัชกาลที่ 7 ได้ปลดข้าราชการออกส่วนหนึ่ง ทำให้ หลวงสุนทรอัศวราช
ได้รวบรวมพรรคพวกที่มีฝีมือด้าน การแสดงและเขียนบท มาก่อตั้งบริษัทถ่ายภาพยนต์
มีชื่อว่า บริษัทถ่ายภาพยนต์ไทย โดยกลุ่มคนทั้งหมดนี้ประกาศจะสร้างหนังเรื่องแรก
ที่เป็นฝีมือของคนไทยเรื่องแรกออกมา
แต่แล้ว 'บริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทย' ก็ถูกตัดหน้าซะก่อน โดยผู้สร้างหนังอีกรายหนึ่ง
คือ กลุ่มพี่น้องสกุลวสุวัต กับพรรคพวกในคณะหนังสือพิมพ์สยามราษฎร์และศรีกรุง
ได้จัดตั้งเป็นคณะสร้างหนังเรื่องแสดงขึ้นบ้าง ในนาม กรุงเทพภาพยนตร์บริษัท
โดยประกาศสร้างหนังเรื่อง โชคสองชั้น และสามารถสร้างสำเร็จภายใน 2 เดือน
นำออกฉายได้ก่อนบริษัทแรก จากนั้น อีก 2 เดือน บริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทย
จึงนำหนัง "ไม่คิดเลย " ของตัวเองออกฉาย
โชคสองชั้น และออกฉายที่โรงภาพยนต์ พัฒนากร เมื่อ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2470
ผลปรากฏว่าได้รับการตอบรับมากจนบางส่วนไม่สามารถเข้าชมได้ มากกว่า
คนที่ชม นางสาวสุวรรณ
หลังจากนั้นก็มีบริษัทถ่ายภาพยนต์ เกิดขึ้นอีกหลายบริษัท
และเป็นหนังเงียบทั้งสิ้น
ดังนั้น คนรุ่นหลังจึง ยกให้ โชคสองชั้น เป็นหนังไทยเรื่องแรก
ที่สร้างโดยบริษัทของคนไทยครับ
ถึงกับมีการจัดทำเป็นแสตมป์
เครดิต
http://www.oknation.net
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
อารายเหรอ