รู้กันไหม??...น้ำ แข็งเข้ามาเมืองไทยครั้งแรกเมื่อไหร่
เอกสารบันทึก ราว พ.ศ.2400
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีเรือกลไฟชื่อ "เจ้าพระยา" เดินเมล์รับส่งสินค้าระหว่างสิงคโปร์กับกรุงเทพฯ ใช้เวลา 15 วัน ในบรรดาสินค้าจากสิงคโปร์ยามนั้นมีของแปลกอย่างหนึ่ง คือ "น้ำแข็ง"
บรรจุ***บกลบด้วยขี้เลื่อยส่งเข้ามาถวาย จากนั้นก็แพร่หลายในหมู่เจ้านาย และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
โดย ผู้ที่สั่งน้ำแข็งเข้าเมืองไทยยุคนั้น คือ พระยาพิสนธ์สมบัติ บริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร) ครั้งยังมีบรรดาศักดิ์เป็น พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ เจ้าของเรือเจ้าพระยา
นำเข้าน้ำแข็งเช่นเดียวกับ หนังสือพิมพ์ต่างประเทศ สินค้าหรูหราจากยุโรป
พ.ศ.2411 มีสุริยุปราคาเต็มดวงที่หว้ากอ
รัชกาลที่ 4 ทรงเชิญนักปราชญ์จากยุโรป พร้อม เซอร์แฮรี่อ็อต ผู้ว่าการเมืองสิงคโปร์
เป็น พระราชอาคันตุกะมาดูสุริยุปราคา โดยจัดการที่พัก อาหารการกิน ตามแบบอย่างอารยประเทศสมบูรณ์แบบทุกประการ
เป็น การแสดงให้เห็นว่า สยามไม่ได้เป็นเมืองป่าเถื่อนอย่างที่ฝรั่งเข้าใจกัน การรับรองครั้งนั้น น้ำแข็ง มีส่วนเสริมสร้างการดื่มของพระราชอาคันตุกะอย่างสำคัญ ถึงกับเซอร์แฮรี่อ็อต บันทึกความประทับใจไว้ความ ว่า
"พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ ซึ่งรับหน้าที่เป็นผู้จัดอาหารเลี้ยงแขกเมือง นำเอาพ่อครัวฝรั่งเศสเข้ามาให้รู้จักพร้อมด้วยชาวอิตาลีหนึ่งคน และลูกมือชาวเมืองอีกหลายคน จัดการเลี้ยงดูอย่างฟุ่มเฟือยบริบูรณ์ ของอร่อยที่หาไม่ได้ในแถบนี้ก็จัดหามาจากสิงคโปร์ การทำกับข้าวก็ทำอย่างประณีต มีทั้งเหล้าและไวน์ต่างๆ น้ำแข็งก็บริบูรณ์ อาจจะกล่าวได้ว่าไม่มีอะไรที่ต้องการอีก"
ต่อมา พ.ศ.2448 รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร) ดำเนินธุรกิจเรือเมล์รุ่งเรือง
เช่นเดียวกับกิจการโรงน้ำแข็ง ซึ่งเป็นโรงน้ำแข็ง แห่งแรกของประเทศไทย
ตั้งขึ้นที่สะพานเหล็กล่าง ถนนเจริญกรุง ชื่อว่า "น้ำ แข็งสยาม"
แต่กลับเป็นที่รู้จักกว้างขวางในชื่อ โรงน้ำแข็งนายเลิศ
นับแต่นั้นน้ำแข็ง ก็แพร่ขยายไปสู่หัวเมืองใหญ่ๆ รอบนอกกรุงเทพฯ
แต่ น้ำแข็งยุคนั้นยังไม่สะอาดเท่าที่ควร
เพราะใช้น้ำจากแม่น้ำลำคลองมาทำ ให้ใส ที่ดีหน่อยก็ใช้น้ำบาดาล
แต่ไม่มีการกรองฆ่าเชื้อโรคแต่ ประการใด เพราะต้นทุนสูงไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย
ต่างยิ่งกับยุคหลังที่ ขั้นตอนการทำน้ำแข็ง
เริ่มจากสูบน้ำบาดาลลึก 150 เมตร
กรองฆ่าเชื้อ รินน้ำใส่ลงในซองน้ำแข็ง หย่อนซองน้ำแข็งลงบ่อ
ใส่หลอดดูดอากาศออก ทำให้แข็งตัวช้าๆ ที่อุณหภูมิ -10 องศาเซลเซียส
ได้น้ำแข็งซองหนัก 71 กิโลกรัม ล้างน้ำแข็ง
ตรวจคุณภาพ ส่งโม่น้ำแข็ง คัดแยกขนาดต่างๆ บรรจุถุง ตรวจสอบคุณภาพ
เก็บไว้ในห้องเย็น อุณหภูมิต่ำกว่า -18 องศาเซลเซียส
เอกสารบันทึก ราว พ.ศ.2400
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีเรือกลไฟชื่อ "เจ้าพระยา" เดินเมล์รับส่งสินค้าระหว่างสิงคโปร์กับกรุงเทพฯ ใช้เวลา 15 วัน ในบรรดาสินค้าจากสิงคโปร์ยามนั้นมีของแปลกอย่างหนึ่ง คือ "น้ำแข็ง"
บรรจุ***บกลบด้วยขี้เลื่อยส่งเข้ามาถวาย จากนั้นก็แพร่หลายในหมู่เจ้านาย และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
โดย ผู้ที่สั่งน้ำแข็งเข้าเมืองไทยยุคนั้น คือ พระยาพิสนธ์สมบัติ บริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร) ครั้งยังมีบรรดาศักดิ์เป็น พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ เจ้าของเรือเจ้าพระยา
นำเข้าน้ำแข็งเช่นเดียวกับ หนังสือพิมพ์ต่างประเทศ สินค้าหรูหราจากยุโรป
พ.ศ.2411 มีสุริยุปราคาเต็มดวงที่หว้ากอ
รัชกาลที่ 4 ทรงเชิญนักปราชญ์จากยุโรป พร้อม เซอร์แฮรี่อ็อต ผู้ว่าการเมืองสิงคโปร์
เป็น พระราชอาคันตุกะมาดูสุริยุปราคา โดยจัดการที่พัก อาหารการกิน ตามแบบอย่างอารยประเทศสมบูรณ์แบบทุกประการ
เป็น การแสดงให้เห็นว่า สยามไม่ได้เป็นเมืองป่าเถื่อนอย่างที่ฝรั่งเข้าใจกัน การรับรองครั้งนั้น น้ำแข็ง มีส่วนเสริมสร้างการดื่มของพระราชอาคันตุกะอย่างสำคัญ ถึงกับเซอร์แฮรี่อ็อต บันทึกความประทับใจไว้ความ ว่า
"พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ ซึ่งรับหน้าที่เป็นผู้จัดอาหารเลี้ยงแขกเมือง นำเอาพ่อครัวฝรั่งเศสเข้ามาให้รู้จักพร้อมด้วยชาวอิตาลีหนึ่งคน และลูกมือชาวเมืองอีกหลายคน จัดการเลี้ยงดูอย่างฟุ่มเฟือยบริบูรณ์ ของอร่อยที่หาไม่ได้ในแถบนี้ก็จัดหามาจากสิงคโปร์ การทำกับข้าวก็ทำอย่างประณีต มีทั้งเหล้าและไวน์ต่างๆ น้ำแข็งก็บริบูรณ์ อาจจะกล่าวได้ว่าไม่มีอะไรที่ต้องการอีก"
ต่อมา พ.ศ.2448 รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร) ดำเนินธุรกิจเรือเมล์รุ่งเรือง
เช่นเดียวกับกิจการโรงน้ำแข็ง ซึ่งเป็นโรงน้ำแข็ง แห่งแรกของประเทศไทย
ตั้งขึ้นที่สะพานเหล็กล่าง ถนนเจริญกรุง ชื่อว่า "น้ำ แข็งสยาม"
แต่กลับเป็นที่รู้จักกว้างขวางในชื่อ โรงน้ำแข็งนายเลิศ
นับแต่นั้นน้ำแข็ง ก็แพร่ขยายไปสู่หัวเมืองใหญ่ๆ รอบนอกกรุงเทพฯ
แต่ น้ำแข็งยุคนั้นยังไม่สะอาดเท่าที่ควร
เพราะใช้น้ำจากแม่น้ำลำคลองมาทำ ให้ใส ที่ดีหน่อยก็ใช้น้ำบาดาล
แต่ไม่มีการกรองฆ่าเชื้อโรคแต่ ประการใด เพราะต้นทุนสูงไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย
ต่างยิ่งกับยุคหลังที่ ขั้นตอนการทำน้ำแข็ง
เริ่มจากสูบน้ำบาดาลลึก 150 เมตร
กรองฆ่าเชื้อ รินน้ำใส่ลงในซองน้ำแข็ง หย่อนซองน้ำแข็งลงบ่อ
ใส่หลอดดูดอากาศออก ทำให้แข็งตัวช้าๆ ที่อุณหภูมิ -10 องศาเซลเซียส
ได้น้ำแข็งซองหนัก 71 กิโลกรัม ล้างน้ำแข็ง
ตรวจคุณภาพ ส่งโม่น้ำแข็ง คัดแยกขนาดต่างๆ บรรจุถุง ตรวจสอบคุณภาพ
เก็บไว้ในห้องเย็น อุณหภูมิต่ำกว่า -18 องศาเซลเซียส
ที่มา..FWMAIL
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
อารายเหรอ