เรื่อง : สุทธิคุณ กอง ทอง ภาพ : ชวรินทร์ เผง สวัสดิ์
เคยรู้หรือไม่ว่าในชีวิตประจำวันของคนหนึ่งคน สามารถสร้างขยะให้กับโลกใบนี้เฉลี่ยถึง 1 กิโลกรัม และ ใน 1 กิโลกรัมนั้นหากนำมารีไซเคิลจะสามารถเปลี่ยน เป็นเงินได้ประมาณ 8 บาท ซึ่งหากคำนวณกันเล่นๆ ประชากร ไทยในประเทศที่มีมากกว่า 60 ล้านคน ก็จะสร้างขยะ 60 ล้าน กิโลกรัม เมื่อบวกลบคูณหารเป็นตัวเลขในแต่ละวันนั้นจะมาก ถึง 480 ล้านบาทเลยทีเดียว
ในขณะที่เศรษฐกิจ ทั่วโลกกำลังวิกฤต ภาคการส่งออกได้รับผลกระทบ แต่ ธุรกิจรีไซเคิลขยะในนาม “วงษ์พาณิชย์” กลับ สวนกระแสและเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะตราบใดที่มนุษย์ ยังต้องกินต้องใช้ นั่นก็หมายความว่า หน ทางการเปลี่ยนขยะเหม็นๆ ให้เป็นเงินหอมๆ ย่อม ต้องคงอยู่ควบคู่กันไป!!
“ขยะคือทองคำ” เป็น ประโยคที่จุดประกายความคิดของ ดร.สมไทย วงษ์เจริญ ประธาน กรรมการ โรงงานคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิล วงษ์ พาณิชย์ ก้าวสู่ความสำเร็จอย่างสูงสุด ด้วย ความมุ่งมั่นในการสร้างรายได้ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจนกลายเป็นธุรกิจต้นแบบให้กับผู้อื่นเดินรอยตาม ภาย ใต้สโกแกนที่ว่า “คิดถึงสิ่งแวดล้อม คิด ถึงวงษ์พาณิชย์”
ตลอดระยะเวลาดำเนินกิจการมากว่า 30 ปี จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “ราชารีไซเคิล” ดร.สม ไทย ได้พัฒนาธุรกิจให้กลายเป็นระบบแฟรนไชส์ซึ่ง ปัจจุบันมีถึง 486 สาขาทั่วประเทศ โดย ผู้ที่ต้องการเป็นแฟรนไชส์ของวงษ์พาณิชย์ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้ง สิ้น เพียงแต่ต้องผ่านการอบรม การ คัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิลแล้วนำขยะรีไซเคิลให้กับวงษ์พาณิชย์
ในเมื่อ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ ยัง สามารถเป็นจริงได้ ในอนาคตผู้บริหารวัย 55 ปีจึงวาดฝัน อยากให้ 1 ตำบลมี 1 วงษ์พาณิชย์ ดังปณิธานที่ว่า “เหม็น ทำให้หอม เป็นเงินเป็นทอง”
อะไรที่ทำให้เขากล้า คิดและกล้าฝันไกลถึงขนาดนั้น WhO? ร่วมค้นหาคำตอบด้วย การเดินทางไป สำรวจสถานีรีไซเคิล สาขาวงแหวน-บางปะอิน ซึ่ง เป็นทั้งสำนักงานและแหล่งรวมขยะสารพัดชนิด แห่งหนึ่งของอาณาจักรวงษ์พาณิชย์...
//รีไซเคิล…ประหยัด พลังงาน
ขยะหลากหลายชนิดถูกแยกกองวางเรียงรายอย่างเป็น ระเบียบ นั่นกระดาษหนังสือพิมพ์ นี่ ถุงพลาสติก โน่นขวดแก้ว แล้ว ยังมีหลอดน้ำที่เราใช้ดูดอยู่ทุกวันนี้อีกต่างหาก ซึ่ง ขยะที่หลายคนมองว่าไร้ค่าในชีวิต ประจำวันนั้นสามารถนำมาแยกออกได้ 8 ประเภท ด้วยกัน ได้แก่ เศษเหล็ก เศษ กระดาษ ขวดแก้ว อะลูมิเนียมโลหะ พลาสติก เครื่อง ใช้สำนักงาน-เครื่องใช้ไฟฟ้า เศษ อาหาร และอื่นๆ เช่น เชื้อ เพลิง เรียกว่า วงษ์ พาณิชย์ได้สร้างให้ขยะไร้ค่ากลายเป็นเงินมูลค่ามหาศาล
ดร.สม ไทยเริ่มต้นเล่าพลางชี้ให้ดูขยะที่กองพะเนินว่า สิ่ง ที่ควรรู้คือ ตลาดปลายทางต้องการใช้อะไร อาทิ โรง งานทำเหล็กเส้น ต้องการใช้เศษเหล็กไปหลอมกลายเป็นท่อนและแท่ง รีด ออกมาข้ออ้อย ซึ่งแตกต่างจากการใช้แร่ใหม่ที่ต้องใช้พลังงาน มาก เพราะต้องสกัดดินที่ปนแร่ หรือ โรง งานกระดาษไปตัดไม้นำมาต้มใช้ค่าพลังงาน 1,400 องศา กว่าจะได้มาเป็นกระดาษ แต่ กระดาษรีไซเคิลหากนำมาใช้ใหม่จะลดการใช้พลังงานลงเหลือกว่า 100 องศา
“ทุก วันนี้เรามองเห็นกระดาษก็เหมือนมองเห็นป่าไม้ในเมือง นี่ คือป่าไม้ในเมืองที่ใหญ่ที่สุด ผมไปยืนดูโรงพิมพ์ของหนังสือพิมพ์รายวัน อายุ การใช้งาน 1 วัน 24 ชั่วโมง ส่ง ไปเชียงใหม่ที่บ้านหลังหนึ่ง พออ่านเสร็จแม่บ้านก็เก็บ ไม่ เกิน 3 วันมีรถซาเล้งมารับซื้อเพื่อนำไปส่งให้วงษ์ พาณิชย์ อีกไม่เกิน 3 วัน รถ ของวงษ์พาณิชย์ก็ขนหนังสือพิมพ์เหล่านั้นเข้ากรุงเทพฯ เป็น แบบนี้ตลอด 365 วันไม่สิ้นสุด (หัวเราะ)
“หรืออย่างส่งไปภูเก็ต วงษ์ พาณิชย์ก็ไปรอ ส่งไปที่หนองคายก็ไปรอ หรือ ถ้าเป็นนิตยสารทั้งรายปักษ์รายเดือน ก็ เป็นแบบเดียวกัน นี่คือรอบของมูลค่าทรัพยากรต่างๆ ขยะ คือทองคำ เรากำลังสร้างคนออกไป เรา อยากให้หลายๆ คนมีแนวคิดตรงนี้เพื่อออกไปทุกหมู่บ้าน ทุก ตำบล ทุกเมือง ทุก จังหวัด จนถึงหลังคาบ้านทุกๆ หลัง ให้ เขาตระหนักว่า ชนิดและส่ิงของจากขยะรีไซเคิลหลาย อย่างมีค่าเปลี่ยนเป็นเงินเป็นทองได้” ดร.สม ไทยอธิบายเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น
// “ขยะ” วัตถุดิบที่โลกต้องการ
ทรัพยากรบนโลกที่มี อยู่อย่างจำกัด อาจถูกมนุษย์นำมาใช้จนหมดในอนาคตอันใกล้ ดัง น้ัน แร่ต่างๆ จึง กลายเป็นความต้องการของผู้ผลิตสินค้าทั่วโลก เจ้า ของฉายาราชารีไซเคิลอธิบายว่า เหมืองแร่ทองแดง เหมือง แร่เหล็ก เหมืองแร่แมงกานีส ทั้ง หมดเป็นแร่ต้นทาง หรือเรียกว่าแร่นอกเมือง แร่เหล็กก็เอามาทำเป็นเหล็กแผ่น แร่ อะลูมิเนียมนำมาทำเสื้อสูท แร่ทองแดงเอามาทำเป็นสายไฟ และ ทั้งหมดที่ว่านี้ยังสามารถนำมาเป็นส่วนประกอบรถยนต์ได้อีก เมื่อ รถยนต์เสีย 1 คัน แล้วกลายมาเป็นขยะรีไซเคิล ก็ จะถูกเรียกว่าแร่ในเมือง ซึ่งหากนำมาถอดเป็นแร่ต่างๆ ก็ จะได้ แร่เหล็ก แร่อะลูมิเนียม เป็นต้น
ปัจจุบันปริมาณสิ่ง ของเหล่านี้มีมาก จะใส่แร่มาก็ต้องใส่กล่องกระดาษ ซึ่ง กล่องกระดาษก็มาจากต้นไม้ และสามารถนำกล่องกระดาษมารีไซเคิลผลิตออกมาเป็น กล่องกระดาษใหม่ได้ ทำให้ประหยัดพลังงาน ตรง นี้ก็เป็นความต้องการของโลก
“เรา เรียกความต้องการนี้ว่า ดีมานด์กระหาย เป็น ดีมานด์ที่ผิดปกติ ไม่เหมือนดีมานด์ทั่วไป ถ้า เป็นดีมานด์ปกติก็เป็นเรื่องของการซื้อขาย เป็น เรื่องของแผนการตลาดที่นำเสนอขายทั่วไป ส่วน วงษ์พาณิชย์ไม่ต้องเสนอขาย แต่จะมีลูกค้าเข้ามานำเงินมาแย่งซื้อวัตถุดิบ ขยะที่รีไซเคิล 1,400 กว่าชนิด อาทิ จีน อินเดีย บัง กลาเทศ เวียดนาม พม่า ฯลฯ ที่ มีความต้องการแร่บ้านเรา เพราะเขาเห็นว่าเป็นทรัพยากรที่ถูก อย่าง เม็ดพลาสติกใหม่ๆ กิโลกรัมละ 70 บาท ถ้า เป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลกิโลกรัมละ 10 บาท หรือ กว่าจะได้แร่มาทำอะลูมิเนียมต้องซื้อแร่กิโลกรัม 100 บาท แต่ ถ้าเป็นแร่รีไซเคิลจากกระป๋องตกกิโลกรัมละ 50 บาท
“เงินที่นำมาจองทางผมจะถามเลยว่าจะเอาพลาสติก ชนิดไหน หรือจะเอาทองแดง เหล็ก ชนิดอะไร ความต้องการวัตถุดิบที่ผมทำมาตั้งแต่เริ่มต้นจน ถึงวันนี้ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ อยาก บอกว่าขณะนี้เรากำลังค้าแร่ค้าทรัพยากร กำลัง ทำเหมืองแร่ในเมืองที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะ เหมืองแร่นอกเมืองที่อยู่ในป่าย่อมมีวันหมด มี ทั้งรื้อทั้งขุดมันมีวันหมดแน่นอน แต่ทุกอย่างของเหมืองแร่ในเมือง เช่น แร่ ทองแดงที่อยู่ในเครื่องใช้ไฟฟ้า แอร์ ตู้เย็น เครื่อง เล่นเทป ล้วนอยู่ล้อมรอบตัวเรา
“เครื่องใช้ไฟฟ้า รถ ยนต์ที่เสียต้องแยกเป็นชิ้นออกมา คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ประกอบ ด้วยทองแดงจำนวนมาก เห็นมั้ยว่าทำไมทั่วโลกถึงได้ให้ความสนใจขยะรี ไซเคิล ตรง นี้ก็เพื่อช่วยในเรื่องของปัญหาโลกร้อน แต่ ปริมาณขยะที่ผลิตอยู่ทุกวันนี้ยังไม่เพียงพอ เช่น เม็ด พลาสติกใหม่นำมาทำเก้าอี้ต้องขายตัวละ 350 แต่ ถ้าใช้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลมาทำขายตัวละ 250 ซึ่ง ขยะรีไซเคิลมันไปช่วยลดต้นทุน กล่องเบียร์ใบหนึ่งถ้าต้องไปตัดต้นไม้มาทำใบ หนึ่งตกเป็นร้อย แต่ถ้าเป็นรีไซเคิลตกใบละ 12 บาท หรือ จีนที่ผลิตของเล่น ดีวีดีต่างๆ ที่ ซื้อเม็ดพลาสติกเรากลับไป แล้วผลิตของกลับมามันถึงได้ราคาถูก” นี่ เป็นบทบาทสำคัญของขยะรีไซเคิลในตลาดโลก
//มนุษย์สร้างขยะวันละ 8 บาท
หากได้ทราบปริมาณขยะ ที่มนุษย์ทิ้งให้โลกในแต่ละวันอาจต้องตกใจ เพราะ มีข้อมูลจากการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคนที่ทิ้งขยะทั่วโลกอยู่ที่ 1 กิโลกรัม ต่อวันต่อคน และหากคิดเป็นรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงมากที่สุดใน ประเทศไทยอยู่ที่ จ.ภูเก็ต เพราะค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1.5 กิโลกรัม หาก เป็นภาคอีสานรายได้ต่ำจะมีค่าเฉลี่ยขยะอยู่ที่ 8 ขีด ต่อคนต่อวัน
“สิ่งต่างๆ ที่ ทุกคนบริโภคแล้วทิ้งในแต่ละวันสามารถนำไปรีไซเคิลใหม่ถึง 80% ถ้า คิดเป็นค่าเฉลี่ย 1 กิโลกรัม คิด เป็นเงินอยู่ที่ 10 บาท แล้วถ้านำขยะเหล่านั้นมารีไซเคิลได้ เรา ก็จะเก็บเงินกันได้วันละ 8 บาท ถ้าประเทศไทยรู้จักคัดแยกขยะได้ทั้ง 100% เมื่อ ไร มันก็จะผูกพันเป็นรายได้ประชาชาติเลยทันที (หัวเราะ)
“อย่างการทายผลบอลโลก ส่ง ไปรษณียบัตรมาทั่วประเทศ กองเป็นภูเขา ลุ้น กันใหญ่ใครจะได้รางวัล วงษ์พาณิชย์คิดได้รางวัลก่อนใคร กอง นี้ซื้อ 300,000 (หัวเราะ) ยิ่ง สมัยที่เกิดปัญหาชายแดนภาคใต้ ทุกคนในประเทศช่วย กันพับนกกระเรียนทำพิธีทุกอำเภอทุกจังหวัดมีการส่งมอบกันอย่างดี ผู้ ว่าฯ ก็มีการรวบรวมนำขึ้นบินโปรยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ วงษ์ พาณิชย์ 3 สาขาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เก็บรวบรวมอัดเป็นแท่ง แท่งละ 200 กิโลกรัม ในรถสิบล้อ 7 คัน กลับ กรุงเทพฯ ตอนที่โปรยนกกระดาษที่ปลิวว่อนมันเป็นเงินทั้ง หมดที่จะเข้ากระเป๋าวงษ์พาณิชย์
“ยิ่ง ปี 2521 พม่าถล่มกะเหรี่ยงอาข่าที่แม่สอด มี กระสุนยิงมาเหมือนห่าฝนเลย อาร์พีจีตกเต็มไปหมด วงษ์ พาณิชย์ก็ไปอยู่ที่แม่สอดเฝ้ารอกันว่าเมื่อไหร่จะหยุดยิง พอ หยุดยิงแน่นะ (หัวเราะ) ก็ เอาเข่งใส่ท้ายรถไปเก็บหัวกระสุนอาร์พีจี เก็บ ได้เต็มรถปิกอัพ เชื่อไหมได้เงินเป็นแสน อยาก บอกว่าทุกอย่างเป็นเงินได้มันอยู่ที่วิธีคิดวิธีมอง ทุก วันนี้ผมก็เร่ิมสอน เมื่อก่อนเคยมีสองมือ แต่ เดี๋ยวนี้วงษ์พาณิชย์มีเป็นร้อยมือ มีพนักงาน 14,000 กว่าคน เท่ากับเกือบ 30,000 มือที่ช่วยกันทำ”
ดร.สมไทยเล่าอย่างออกรสถึงวิธีคิดที่คนอื่นมักมองข้าม
“วงษ์พาณิชย์” สาขา สนามบินสุวรรณภูมิ
แม้แต่ขยะภายในสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่ง ทุกปีจะมีผู้ประกอบการหลายรายประมูลจัดเก็บขยะภายในสนามบิน รวมทั้งจัดเก็บเศษอาหารจากสายการบินต่างๆ ซึ่ง วงษ์พาณิชย์ก็เป็นหนึ่งในนั้น ทั้งนี้ ดร.สม ไทยบอกว่า วงษ์พาณิชย์ได้เข้าไปจัดเก็บเศษอาหารของสายการ บินต่างๆ ที่สนามบินดอนเมือง โดย ทำตั้งแต่ยังไม่มีสนามบินสุวรรณภูมิ แล้ว เป็นเศษอาหารที่่่ไม่มีใครสนใจ ก่อนหน้านี้เศษอาหารถูกจัดเก็บก็ถูกขนไปทิ้ง แต่ เวลาผ่านไปเศษอาหารที่ว่านี้้กลายเป็นเงิน
“ขยะ ที่ได้จากสายการบินต่างๆ เราจะนำมาแยกส่วน มี ตั้งแต่กล่องกระดาษ กล่องพลาสติก แก้ว น้ำพลาสติก และเศษอาหารต่างๆ เช่น เศษ ปลาแซลมอน บะหมี่ อะไรแบบนี้ เศษ อาหารจะนำส่งให้กับฟาร์มปลา ฟาร์มสุกร โดย เป็นการแยกภายใน 24 ชั่วโมง อาหาร เหล่านี้ก็ยังไม่เน่า แต่เศษอาหารที่จัดเก็บก็สร้างรายได้ให้กับเรา ไม่น้อย
“หลาย คนสงสัยว่าผมมาทำธุรกิจคัดแยกขยะแบบนี้มีคู่แข่งไหม ผม อยากเรียกว่าเป็นคู่ค้ามากกว่า เพราะของที่มีอยู่มันมาก วงษ์ พาณิชย์ทำคนเดียวคงไม่ไหว แล้วคนจะมาทำอีกแสนคนก็ไม่เป็นไร ยิ่ง มีคนเข้ามาช่วยกันคัดแยกขยะรีไซเคิลได้มากเท่าไหร่ ก็ ยิ่งทำให้สิ่งแวดล้อมโลกนี้ดีขึ้น ลด การทำลายธรรมชาติลง ยิ่ง ทุกคนรู้จักการคัดแยกขยะที่เป็นระบบ บ้าน เมืองเราก็จะสะอาด”
นี่คือเป้าหมายการคัดแยกขยะคืนธรรมชาติให้โลก
//ฝัน 1 ตำบล 1 รี ไซเคิล
ณ วันนี้ ศูนย์ รีไซเคิลวงษ์พาณิชย์มีสาขามากถึง 486 แห่ง ใน 70 จังหวัด ของประเทศ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนขยะที่เพ่ิมขึ้นใน ทุกพื้นที่ถือว่ายังมีน้อยมาก เขาจึงตั้งใจอยากเห็นในทุก 1 ตำบล มี ศูนย์รีไซเคิล 1 แห่ง ฉะนั้น 6,000 ตำบลทั่วไทยก็จะมี ศูนย์รีไซเคิลถึง 6,000 แห่ง
“ถ้า ทำแบบที่ผมฝันได้จริง เมืองไทยจะสะอาดมากๆ ความ สะอาดไม่ใช่เฉพาะบ้านเท่านั้น แผ่นดินสะอาด จิต ใจคนก็จะสะอาด คนที่รู้จักแยกขยะ จะ ไม่รู้จักแค่แยกขยะที่เป็นวัสดุสิ่งของ แต่ จะแยกขยะใจได้ด้วย ขยะที่ว่านี้เป็นธรรมะ ธรรมะ ที่มาจากธรรมชาติ เป็นทรัพยากรที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มี เกิดแก่เจ็บตาย รีไซเคิลก็เป็นวงจรชีวิตเป็นทรัพยากรที่หมุน เวียน เกิดแก่เจ็บตาย ตาย แล้วก็กลับมาเกิดอีก การรีไซเคิลคือ การส่งขยะไปเกิดใหม่ เวียน ว่ายตายเกิดเหมือนชีวิตมนุษย์เลย” เขากล่าวด้วยสีหน้าที่ภูมิใจกับผลงานขยะรีไซ เคิล
//อนาคต ไทย…ศูนย์กลางรีไซเคิล?
อาจกล่าวได้ว่าโรง งานคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิลวงษ์พาณิชย์ ประสบ ความสำเร็จอย่างมาก จนส่งผลให้ประเทศไทยอาจก้าวไปสู่ศูนย์กลางขยะรีไซเคิลแห่งภูมิภาคเอเชีย ดร.สม ไทยกล่าวอย่างถ่อมตนว่า ไม่อยากให้มองแบบนั้น เพียง แต่หมายความว่า เมืองไทยมีความสามารถในการรวบรวม ทรัพยากรที่กระจายอยู่ทุกภูมิภาคของโลกได้อย่างเหมาะสม โดย ไม่ต้องลงทุนมหาศาล
“หลาย ประเทศให้ความสนใจเกี่ยวกับการจัดเก็บขยะแบบบ้านเราอย่างมาก ที่ ผ่านมาผมจึงมีโอกาสได้เดินทางไปเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บ ขยะในต่างประเทศ อาทิ ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า จีน อินเดีย อินโดนีเซีย โร มาเนีย ฯลฯ เนื่องจากประเทศเหล่านี้ยังไม่มีระบบการจัดเก็บ ขยะที่เป็นระบบแบบบ้านเรา”
//หลักคิด “วิสัย ทัศน์เหนือวิสัยทัศน์”
จากชีวิตพ่อค้าที่ตระเวนขายของตามงานวัด ดร.สม ไทยได้ก้าวสู่ธุรกิจที่ไม่มีใครคาดถึง เริ่ม ต้นจากการรับซื้อของเก่าแล้วนำไปขาย จน บัดนี้เขากลายเป็นนักธุรกิจพันล้านที่สามารถสร้างโรงงานคัดแยกขยะเพื่อรีไซ เคิลที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย บน เนื้อที่ 6 ไร่ใน จ.พิษณุโลก รวม ถึงสามารถรองรับปริมาณขยะได้ 80,000-100,000 กิโลกรัมต่อวัน ทั้งยังได้รับปริญญาดุษฏีกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม อีกด้วย
ความสำเร็จดังกล่าว มิอาจได้มาโดยง่าย แต่มาจากวิสัยทัศน์ที่แตกต่างจากกรอบความคิด เดิมๆ โดย ดร.สมไทยกล่าวถึงหลักการทำงานบนโลกใบนี้ว่า “คน เราจะมีวิสัยทัศน์อย่างเดียวไม่พอ เพราะใครๆ ก็มีเหมือนกันหมด วัน ที่ผมมาทำขยะเรียกว่าต้องมีวิสัยทัศน์เหนือผู้อื่นทั้งปวง คน อื่นคิด 10 กิโล แต่เราต้องคิดไปถึง 100 กิโล จะ ทำอะไรต้องมองให้เลยคนอื่น ถ้าเราคิดได้เท่าเขาก็ไม่มีความแตกต่าง
“ตลอดเวลาที่ดำเนินธุรกิจค้าขายวัสดุรีไซเคิล ต้องอาศัยความอดทน มีความซื่อสัตย์ ไม่ โกงตาชั่ง ตอนตีราคาให้กับซาปั๊วหรือร้านรับซื้อของเก่าทำ ให้ผมเกิดแนวคิดที่จะเปิดร้านรับซื้อวัสดุรีไซเคิลของตัวเอง กลาย เป็นรูปแบบใหม่ที่แตกต่างออกไปจากระบบเก่าๆ โดย มีระบบการซื้อขายที่โปร่งใส มีตาชั่งชัดเจน ทุก วันจะต้องโชว์ราคาที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาด้วย”
ทั้งหมดคือมุมมองของ ดร.สม ไทย วงษ์เจริญ ผู้ จุดประกายความคิดในการมองสิ่งรอบข้างอย่างมีคุณค่า จน วันนี้เขากลายเป็นดอกเตอร์ขยะพันล้านไปแล้ว…
///////////
ขยะ รีไซเคิลสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่
1.เศษเหล็กหนา เหล็ก ย่อย เหล็กตะปู เหล็ก บาง ลวดสลิง ขี้ กลึง ผลิตเป็น เหล็ก เส้นข้ออ้อย ใช้ในงานก่อสร้าง
2.เศษ เหล็กเครื่อง เหล็กหล่อ ผลิต เป็น อะไหล่รถยนต์ เสื้อ สูบ ปั๊มน้ำ โม่ เล่ หรือชิ้นงานหล่อต่างๆ
3.เศษ เหล็กเส้น 1 นิ้ว 6 หุน 5 หุน ยาว 1 เมตร ขึ้นไป ผลิตเป็น รีดด้วยความร้อนอกมาเป็นเหล็กเส้น 2 หุน หรือ 3 หุน
4.เศษ เหล็กกระป๋องสังกะสี ผลิตเป็น หล่อ มรวมกัน เป็นเหล็กใหม่
5.เศษ กระดาษแข็ง กล่องน้ำตาล ผลิต เป็น กล่องกระดาษลูกฟูกใหม่
6.เศษ กระดาษขาวดำ กระดาษสมุด กระดาษ คอมพิวเตอร์ ผลิตเป็น กระดาษ ถ่ายเอกสารใหม่ สีขาว กระดาษสมุดนักเรียน กระ ดาษทิชชู
7.เศษกระดาษหนังสือพิมพ์ ผลิต เป็น หนังสือพิมพ์ใหม่
8.เศษ กระดาษกล่องนม ผลิตเป็น เฟอร์นิเจอร์
9.เศษ ขวดแก้ว ขวดเหล้า ขวด เบียร์ชนิดต่างๆ ขวดน้ำอัดลม หรือ เศษขวดแก้วแตก ผลิตเป็น ขวด ใหม่
10.เศษทองเหลืองหนาบาง ผลิต เป็น มิเตอร์น้ำใหม่
11.แบตเตอรี่ เก่า ผลิตเป็น แบตเตอรี่ ใหม่
12.กระป๋องเบียร์ กระป๋อง น้ำอัดลม ผลิตเป็น อะลูมิเนียม ฉากใหม่
13.อะลูมิเนียมบาง หม้อ กะละมัง ผลิต เป็น หม้อใหม่
14.ขวด น้ำขาวขุ่น HDPE ผลิตเป็น ถุง หูหิ้วขาว
15.ขวดน้ำ PET (ขวดน้ำมันพืช) ผลิต เป็น หมอนใยสังเคราะห์
16.ขวด น้ำ PP (ขวดใส่น้ำผลไม้ต่างๆ) ผลิต เป็น กล่องอเนกประสงค์
17.รองเท้า บู๊ตเก่า ผลิตเป็น รองเท้า บู๊ตใหม่
18.เปลือกพลาสติกจอคอมพ์ ผลิต เป็น ปลั๊กไฟใหม่
19. ขา ทองคำในซีพียู ผลิตเป็น แหวน ทองคำ
20.เศษโฟมสะอาด ผลิต เป็น กล่องซีดีใหม่
21.เศษ เทียนไข น้ำตาเทียน แท่ง เทียนหัก ผลิตเป็น เทียน แท่งใหม่
22.กากมะพร้าว เนื้อ มะพร้าว ผลิตเป็น น้ำ มันไบโอดีเซล
23.ยางในรถยนต์เก่า ผลิต เป็น ยางในรถมอเตอร์ไซค์ใหม่
24.ถุงยาง หรือผ้าอนามัย ผลิต เป็น เก้าอี้รีไซเคิล
ติดตามเรื่องราวดีๆ ได้ที่ WhO? Magazine ฮู แมกกาซีน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
อารายเหรอ