วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

ภิกษุณีธัมมนันทา (รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์)

ภิกษุณีธัมมนันทา (รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์)


การสืบสายภิกษุณีในประเทศไทย เริ่มจาก

พระพนมสารนรินทร์ (นริน กลึง)
ซึ่งเป็นเจ้าของ ผลงาน แถลงการณ์เรื่องสามเณรี วัตร์นารีวงศ์ จากนั้นมาก็เป็น

พระมหาโพธิ ธรรมาจารย์ (ภิกษุณีวรมัย กบิลสิงห์) อดีตนักเขียน ได้ใช้ชีวิตเป็น นักหนังสือพิมพ์อยู่หลายปี ถือเป็นคลื่นลูกที่ ๒ ของการสืบทอดภิกษุณี

กระทั่ง มาถึงคลื่นลูกที่ ๓ คือ ภิกษุณี ธัมมนันทา (ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์) ที่มุ่งหา พระธรรม เพราะเบื่อหน่ายทางโลก (ภิกษุณีธรรมนันทาเป็นบุตรสาวของภิกษุณีวรมัย แต่แม่ของท่านบวชแบบมหายาน)
ท่านได้ทำงานด้านพุทธศาสนาเพื่อผู้หญิงเรื่อยมา จนกระทั่งท่านได้เป็นผู้หญิงไทยคนแรกที่ได้รับการบวชเป็นสามเณรีในนิกายเถรวาทเมื่อท่านเดิน ทางไปบวชที่ศรีลังกา และปัจจุบันท่าน เป็นภิกษุณีโดยสมบูรณ์ และ จำพรรษาอยู่ที่ วัตรทรงธรรมกัลยาณี ตำบลพระประโทน จังหวัดนครปฐม และเป็นผู้ริเริ่ม ประสานงาน ให้มีการ บวชสามเณรีครั้งแรกในเมืองไทยอีกด้วย และมีโครงการสำหรับอุบาสิกาที่สนใจธรรมะที่วัตรทรงธรรมกัลยาณี โดยประสานงานกับเครือข่ายพุทธต่างๆ



ภิกษุณี ธัมมนันทา (รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์) จบการศึกษาเบื้องต้นจาก ร.ร.ราชินีบน จากนั้นจึงไปศึกษาต่อปริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยศานตินิเกตัน ประเทศอินเดีย ได้รับปริญญาตรี กียรตินิยม แผนกปรัชญา ต่อมาได้รับทุนรัฐบาล แคนาดา ศึกษาวิชาศาสนาในระดับปริญญา โทและเอก วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง "การศึกษาเปรียบเทียบภิกษุณีปาติโมกข์" พิมพ์ออกสู่ตลาด ในภาคภาษาอังกฤษเมื่อปี ๒๕๒๔

ดร.ฉัตรสุมาลย์ เริ่มงานสอน จากมหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ ประเทศแคนาดา ตั้งแต่ปี ๒๕๑๒ ต่อมาปี ๒๕๑๖-๒๕๔๓ เป็นอาจารย์ ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ขณะเดียวกันเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท และเอก ทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหิดล และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย ฯลฯ



ดร.ฉัตรสุมาลย์ เริ่มได้รับเชิญไปร่วมประชุมทางวิชาการ ในระดับนานาชาติ ตั้งแต่ปี ๒๕๒๒ และเดินทางปีละหลายครั้ง ติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ทุกครั้งเป็นการเชิญโดยเจ้าภาพ เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น เป็นผู้ที่รู้จักกันดีในระดับนานาชาติ ในแวดวงของนักวิชาการศาสนา ทั้งในเรื่องสตรีกับศาสนาและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหัวข้อที่ ดร.ฉัตรสุมาลย์ ค้นคว้าเป็นพิเศษ เป็นผู้ที่มีวิญญาณนักเขียน ตั้งแต่ครั้งเรียน อยู่ที่ศานตินิเกตัน

เวลาเดินทางไปต่างประเทศ มีประสบการณ์แปลกๆ มักเขียนแบ่งปันความรู้ ปรากฏเป็นผลงานในมติชนสุดสัปดาห์ ตอนแรก เป็นบทความพิเศษ ต่อมามีคอลัมน์ชื่อ "ธรรมลีลา" มีหนังสือที่พิมพ์เป็นเล่ม ทั้งในงานวิชาการ และสารคดีธรรมะ ตลอดจนมี งานแปลพระสูตรมหายาน สำคัญหลายเล่ม นอกจากนั้นยังแปลพระราชนิพนธ์ขององค์ ทะไล ลามะ อีกด้วย

ใน ส่วนของงานด้านสังคมสงเคราะห์ อาจารย์ได้ก่อตั้ง บ้านศานติรักษ์ เมื่อปี ๒๕๓๙ ให้เป็นโครงการช่วยเหลือสตรีและเด็ก เพื่อส่งเสริมให้สตรี และเด็กมีโอกาสพัฒนาคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น

ดร.ฉัตรสุมาลย์ เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ในการพูด มีความกล้าที่จะแสดงจุดยืนของตนเอง สามารถชี้ประเด็นได้กระชับ และชัดเจน ได้รับเชิญไปออกรายการตอบปัญหา ที่เกี่ยวกับศาสนา ที่เป็นแนวทางที่ท่านมีความรู้และถนัด เคยเป็นพิธีกร รายการธรรมะ "ชีวิตไม่สิ้นหวัง" ทางช่อง ๓ ติดต่อกันนานถึง ๗ ปี (๒๕๓๗-๒๕๔๓) ได้รับรางวัล รายการธรรมะดีเด่น ๒ ปีซ้อน

ปัจจุบัน ดร.ฉัตรสุมาลย์ ได้สละเพศฆราวาส บวชเป็นภิกษุณี มีฉายาในเพศบรรพชิตว่า "ธัมมนันทา"



การบวชสามเณรีและภิกษุณี ในประเทศไทย มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบวชของ รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ มีทั้งเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย และก็ไม่มีความคิดเห็น โดยแต่ละฝ่าย ล้วนยกเอาพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ขึ้นมาเป็นข้ออ้างทั้งสิ้น

ทางศูนย์ประชามติ สถาบันวิจัยและพัฒนา ม.รามคำแหง สำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพ ฯ ๑,๒๘๕ คน เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ที่ผ่านมา ในหัวข้อ "การบวชภิกษุณีในประเทศไทย : ทัศนะของฆราวาส" มีข้อมูลที่น่าสนใจ คือ ด้านดีของการบวชภิกษุณีในประเทศไทย ๗๗% เห็นว่าวัดที่มีแต่ภิกษุณีและแม่ชี ไม่มีภิกษุ จะมีความปลอดภัยต่อผู้หญิงที่บวชมากกว่าภิกษุ และป้องกันเรื่องเสื่อมเสียทางเพศได้ดีกว่า ๗๔.๙% เห็นว่าเป็นการส่งเสริมให้ผู้หญิง มีโอกาสฝึกปฏิบัติธรรมในขั้นสูงมากขึ้น

๗๐.๒% เห็นว่าผู้หญิงไทยควรมีสิทธิในการบวชภิกษุณี ๖๕.๓% เห็นว่าภิกษุณีเหมาะสมในการสั่งสอนธรรมะและสอนวิธีปฏิบัติให้ผู้หญิงได้ มากกว่าภิกษุ ๖๔.๕% เห็นว่าเป็นการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย ขณะที่ ๖๖.๙% เห็นว่าไม่จำเป็นต้องบวชภิกษุณีในไทย เพราะผู้หญิงสามารถปฏิบัติธรรมได้โดยไม่ต้องบวช ร้อยละ ๖๒.๔% เห็นว่าบวชชีก็ดีอยู่แล้ว แต่ถ้าจะไม่ให้บวชภิกษุณีในไทยโดยให้เหตุผลว่า เพราะพระสงฆ์ไทยไม่ยอมรับ ทำให้ผู้ชายต้องกราบไหว้ผู้หญิง หรือเพราะขัด พ.ร.บ.สงฆ์ กลุ่มตัวอย่างต่างไม่เห็นด้วย

พระมหาต่วน สิริธมฺโม (พิมพ์อักษร) อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า การบวชเป็นภิกษุณีให้ถูกต้องตามหลักการแล้ว จะต้องบวชจากภิกษุณีที่เป็นอุปัชฌาย์ และบวชอีกครั้งกับพระอุปัชฌาย์ที่เป็นพระสงฆ์ แต่ทั้งนี้ปัญหาการบวชเป็นภิกษุณีของผู้หญิงไทย ในการปกครองจะไม่มีปัญหาหากทางคณะสงฆ์ไทยในการปกครองให้การยอมรับ ด้วยการเปิดทางให้ภิกษุณีได้ร่วมกิจกรรมของสงฆ์

"หากกฎหมายไทยยังไม่มีการยอมรับการเป็นภิกษุณี ก็สามารถยึดหลักการของฝ่ายมหายานได้ เหมือนอย่างในประเทศใต้หวัน จีน จริง ๆ แล้วไม่อยากให้มีการแบ่งแยกความเป็นหญิงหรือชายของการปฏิบัติธรรม เนื่องจากผู้หญิงเมื่อเข้ามาเป็นนักบวช ปฏิบัติธรรมก็มีศักยภาพที่จะเข้าถึงหัวใจพระพุทธศาสนา และบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกับพระสงฆ์"



ทางด้านพระพยอม กัลยาโณ พระนักเทศน์ชื่อดัง และเจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว ให้ความเห็นเรื่องการบวชภิกษุณีว่า การออกบวชเป็นการหาความสุขในทางธรรมนั้นทุกคนสามารถทำได้ แต่ถ้ามาบวชเพื่อแสวงหาผลประโยชน์เหมือนพระบางรูปก็ไม่สนับสนุน ในกรณีของ รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ ท่านถึงพร้อมด้วยความรู้ทางโลก ซึ่งเป็นที่ยอมรับของลูกศิษย์ ขณะเดียวกันก็ถึงพร้อมด้วยความรู้ทางธรรมด้วย ถือว่าเป็นเรื่องดีที่จะช่วยกันทำงานเผยแพร่ธรรมะของพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะเผยแพร่ธรรมะให้กับผู้หญิงด้วยกัน

"ก่อนหน้านี้ พระผูกขาดเรื่องทำบุญเพราะไม่มีใครเป็นคู่แข่ง จะทำตัวอย่างไรคนก็ยังทำบุญอยู่ดี แต่เมื่อมีพระผู้หญิง หากพระผู้ชายที่ปฏิบัติไม่ดี ไม่สมกับสมณเพศ ญาติโยมก็จะไม่ทำบุญด้วย ญาติโยมก็จะหันไปทำบุญกับพระผู้หญิงมากขึ้น ซึ่งเป็นการดัดนิสัยพระผู้ชายที่ไม่ดีได้อีกทางหนึ่ง"

ขณะเดียวกัน พระราชกวี เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ให้ความเห็นในเรื่องเดียวกันว่า การบวชเป็นภิกษุณี สตรีทุกคนมีสิทธิบวชได้เพราะไม่ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกันก็ไม่เกี่ยวข้อง กับคณะพระสงฆ์ในปัจจุบันด้วย เนื่องจากมีประกาศของสมเด็จพระสังฆราช กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ พ.ศ. ๒๔๗๑ ห้ามภิกษุสงฆ์ บวชสตรีเป็นภิกษุณี
หากมีพระภิกษุสงฆ์รูปใดบวชให้ภิกษุณีถือว่าเป็นพระนอกรีต

อย่างไรก็ดีปัจจุบันนี้การยอมรับภิกษุณีมีอยู่ในระดับหนึ่งเท่านั้น ซึ่งมีความพยายามของสมาชิกวุฒิสภาท่านหนึ่งที่จะให้เกิดการยอมรับในหมู่ กว้าง สิ่งหนึ่งที่อยากชี้แนะคือ ถ้าบวชด้วยความศรัทธาเลื่อมใส ก็ถือว่าเป็นเรื่องดีเพราะได้ช่วยกันเผยแพร่พระพุทธศาสนา ขณะเดียวกันต้องพิจารณาเรื่องผลเสียด้วย โดยเฉพาะประเด็นในส่วนของการแอบแฝงมาทำลายพระพุทธศาสนา



นางระเบียบ พงษ์พานิช ส.ว.ขอนแก่น และประธานคณะอนุกรรมาธิการ ด้านสตรี ให้ความเห็นว่า ปัจจุบันมีหญิงไทยจำนวนมากประสงค์จะบวชเป็นภิกษุณีในสังคมไทย และประสงค์จะสนับสนุนภิกษุณี แต่ได้รับการปฏิเสธและขัดขวางการเข้าสู่ร่มเงาพระพุทธศาสนา โดยอ้างคำประกาศ พ.ศ. ๒๔๗๑ ของกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๓๘ บัญญัติไว้ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่พลเมือง และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน



"ดิฉันคิดว่า ปัญหาของสตรีจะได้รับการแก้ไขเพราะรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้แล้ว แต่มีพระบัญชาของพระสังฆราชเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๑ ห้ามพระเณรบวชให้ผู้หญิง ใครฝ่าฝืนเป็นเสี้ยนหนามแก่พระศาสนา ระเบียบข้อบังคับ พ.ร.บ.สงฆ์ทุกฉบับให้ใช้ประกาศข้อบังคับเดิม ดังนั้นเพื่อมิให้เป็นการขัดพระธรรมวินัย จึงสมควรยกเลิกประกาศดังกล่าว ซึ่งคงไม่ต้องกลัวว่าผู้หญิงมาเป็นเจ้าอาวาส เพียงแต่ผู้หญิงต้องการเข้ามาเพื่อเป็นโอกาสบรรลุธรรมเท่าเทียมกัน เหมือนที่พระพุทธองค์มองว่าผู้หญิงผู้ชายมีโอกาสบรรลุธรรมเท่าเทียมกัน"

นายสุทธิวงศ์ ตันตยาพิสุทธิ์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นพุทธฝ่ายเถรวาท ไม่ใช่มหายาน ขณะที่เถรวาทมีพระธรรมวินัยให้ปฏิบัติกันมาเป็นพันปีแล้ว จึงไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากเหมือนกันที่จะให้พระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทยอมรับในความเป็น ภิกษุณีไทย

ดร.อำนาจ บัวศิริ ผู้อำนวยการสำนักพุทธมณฑล กล่าวว่า ในเรื่องของสามเณรีบวชเป็นภิกษุณี ถือเป็นเรื่องของสิทธิเสรีภาพของบุคคล เมื่อบวชแล้วไม่ได้ออกมาเรียกร้องสร้างความวุ่นวาย ไม่ได้บวชเพื่อแสวงหาลาภยศ โดยมีการปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธศาสนา การบวชเป็นภิกษุณีจึงไม่เป็นปัญหาอะไร แต่เชื่อว่าคงจะมีปัญหามากที่สุดก็คือการปกครอง

"ปัญหาการปกครองเคยมีมาแล้ว เมื่อคณะสงฆ์ยังไม่ยอมรับการเป็นแม่ชีของไทย เพื่อไม่ให้เกิดเป็นปัญหาเหมือนในอดีต คงต้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกันออกกฎหมายรองรับในการปกครองสามเณรี หรือภิกษุณี เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในสังคม และหากมีกฎหมายก็จะทำให้การปฏิบัติอยู่ในขอบเขต ไม่ได้เป็นองค์กรอิสระจนเกินไป"

นางมาลีรัตน์ แก้วก่า สมาชิกวุฒิสภา จ.สกลนคร และประธานคณะกรรมาธิการสตรี เยาวชน และผู้สูงอายุ กล่าวเห็นด้วยกับการที่ประเทศไทยจะมีภิกษุณีเกิดขึ้น แม้ว่าศาสนาพุทธฝ่ายเถรวาทจะอ้างว่า ภิกษุณีได้สูญหายไปแล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่ทางที่ดีเพื่อให้ครบการเป็นพุทธบริษัท ๔ การมีภิกษุณีเกิดขึ้นในประเทศไทยจึงเป็นเรื่องน่ายินดีมากกว่าการออกมาต่อ ต้านกัน

รูปบวชสามเณรี

วัดทรงธรรมกัลยาณี อ.เมือง นครปฐม โดยหลวงแม่  ภิกษุณีธัมมนันทา(รศ.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์) เจ้าอาวาส จัดบรรพชาสามเณรี 3  หนกว่า 80 รูปในปีนี้


"ความเห็นส่วนตัวพี่สนับสนุนให้มีสามเณรีหรือภิกษุณีในประเทศไทย เพราะผู้หญิงก่อนที่จะเข้ามาบวช ต้องมีการตัดสินใจที่เด็ดขาดแล้ว ระเบียบและข้อปฏิบัติจึงไม่ควรจำกัดสิทธิหรือข้อห้ามไม่ให้ผู้หญิงบวชเป็น ภิกษุณี ทางกรรมาธิการฯ ก็ได้มอบให้ ส.ว.ระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช เป็นผู้ศึกษาเจาะลึกลงไปของการเป็นภิกษุณีแล้ว"

ดร.วิลาสินี พิพิธกุล อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานเครือข่ายสื่อสตรี กล่าวสนับสนุนด้วยว่า เนื่องจากการบวชเป็นภิกษุณีได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของธรรมวินัย โดยเมื่อบวชเป็นสามเณรีครบ ๒ ปี แล้วก็สามารถบวชเป็นภิกษุณีได้ ซึ่งถือได้ว่าการเป็นภิกษุณีอย่างสมบูรณ์ ทำให้มีบทบาทชัดเจนมากขึ้นต่อการเผยแพร่พระธรรมให้กับชาวพุทธ ส่วนเรื่องข้อกฎหมายในทางปกครอง ระหว่างนี้ยังอยู่ในการพิจารณาออกข้อกฎหมายจากทางสมาชิกวุฒิสภาอยู่ เพราะเรื่องกฎหมายคงต้องมีการศึกษาให้รอบด้าน ก่อนที่จะมีกฎหมายออกมาบังคับใช้กับภิกษุณีคงต้องให้เวลาเขาด้วย ..




ภิกษุณีธัมมนันทา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไป ที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
ภิกษุณีธัมมนันทา ชื่อเดิม รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ (เกิด พ.ศ. 2486) ภิกษุณีชาวไทย สังกัดสยามนิกาย ประเทศศรีลังกา อดีตอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดร.ฉัตรสุมาลย์ เป็นบุตรของนายก่อเกียรติ ษัฏเสน และนางวรมัย กบิลสิงห์ (ต่อมาบรรพชาเป็นภิกษุณีวรมัย กบิลสิงห์) จบการศึกษาจากโรงเรียนราชินีบน และปริญญาตรีสาขาปรัชญาจากมหาวิทยาลัยศานตินิเกตัน ประเทศอินเดีย ได้รับทุนรัฐบาลแคนาดาไปศึกษาปริญญาโทและเอกจากมหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ ประเทศแคนาดา และมหาวิทยาลัยมคธ ประเทศอินเดีย

ดร.ฉัตรสุมาลย์ เป็นอาจารย์สอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ ประเทศแคนาดา เมื่อ พ.ศ. 2512 และเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่าง พ.ศ. 2516 - 2543 มีผลงานวิชาการ เขียนบทความธรรมมะ และเป็นพิธีกรรายการธรรมะ ถ่ายทอดทางช่อง 3 เป็นผู้แปลหนังสือ ลามะจากลาซา ของทะไลลามะ

ดร.ฉัตรสุมาลย์ บรรพชาเป็นภิกษุณี โดยคณะภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์ สยามนิกาย ประเทศศรีลังกา ที่ประเทศศรีลังกา เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2544 มีฉายาว่า ธัมมนันทา ปัจจุบันจำพรรษาอยู่ที่ วัตรทรงธรรมกัลยาณี ตำบลพระประโทน จังหวัดนครปฐม (สามเณรี และ ภิกษุณี ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคณะสงฆ์ไทย)


[แก้] อ้างอิง
http://www.komchadluek.net/column/pra/2005/10/05/01.php
http://www.manager.co.th/lady/viewnews.aspx?NewsID=9500000024946
http://www.alittlebuddha.com/html/The%20Vision%20of%20P.M.Narin/The%20Vision%20of%20Phramaha%20Narin%2044.html
http://library.uru.ac.th/webdb/images/B09.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ