Batman Story (ภาคหนังโรง)
ดู เพิ่มเติมได้ใน Batman Story (ภาคหนังสือการ์ตูน) / Batman Story (ภาคหนังทีวี)
ใน บรรดาซูเปอร์ฮีโร่ที่ขึ้นจอเงินคงจะมีเพียง ซูเปอร์แมน เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ทาง วอร์เนอร์ บราเธอร์ส (Warner Bros.) ผู้สร้างจึงเตรียมปล่อย แบทแมน ขึ้นสู่จอเงิน หวังจะโกยรายได้เหมือนกับซูเปอร์แมน โครงการนี้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ ๘๐ คือหลังจากที่ซูเปอร์แมนโกยเงินไปเรียบร้อยแล้ว แต่ท้ายที่สุดโปรเจคต์แบทแมนก็ถูกดองไว้จนเค็มถึงเกือบสิบปี กว่าจะได้เปิดตัวในปี ๑๙๘๙
ตอน เริ่มโครงการใหม่ๆ ทาง Warner Bros. วางแนวไว้ให้แบทแมนเดินตามรอยซีรี่ส์ยุค ๖๐ คือเป็นแนวสืบสวนปนตลก และดาราที่ถูกเตรียมไว้ให้สวมบทแบทแมนในตอนนั้นก็คือ บิลล์ เมอร์เร่ย์ (Bill Murray) นักแสดงตลกหนุ่ม แต่ไปๆ มาๆ โปรเจคต์นี้ก็ยังไม่ได้สร้างเสียที เพราะยังข้อสรุปที่ลงตัวไม่ได้ทั้งเรื่องของบทภาพยนตร์ ดารานำแสดง หรือแม้แต่ตัวผู้กำกับ
ปี ๑๙๘๑ โปรเจคต์แบทแมนถูกเผยแพร่ออกไป สร้างความฮือฮาอย่างมากด้วยงบที่ตั้งไว้ ๑๕ ล้านเหรียญ แต่จนแล้วจนรอดมันก็จะไม่ไปถึงไหน บทภาพยนตร์ฉบับแรกเดินตามสูตรของซูเปอร์แมนที่เพิ่งดังไปก่อนหน้านี้ แถมยังไม่ค่อยมีเนื้อมีหนังเท่าไหร่นัก อีกทั้งยังใส่มุขอารมณ์ขันไว้จนเกินงาม แล้วก็ยังยัดตัวละครหลักๆ ใส่เข้าไปจนแน่นเอียด สวนทางกับทางนายทุนที่อยากให้แบทแมนออกมาตรงกับต้นฉบับที่มีความมืดทึม หมกหมุ่นอยู่กับความแค้น จากแผนเดิมที่วางไว้ว่าจะออกฉายในปี ๑๙๘๕ แถมยังเพิ่มงบไปอีกเป็น ๒๐ ล้านเหรียญ แต่จนแล้วจนรอดโปรเจคต์แบทแมนก็ยังหาทางออกไม่เจอ
ในที่ สุดพระเอกก็มาถึง ผู้กำกับมาดเซอร์ ทิม เบอร์ตัน (Tim Burton) ที่เพิ่งสร้างชื่อจาก Beeetlejuice ก็หอบเอาไอเดียแบทแมนมานำเสนอ ใน Beetlejuice เบอร์ตันทำออกมาในแนวเพี้ยนๆ แม้จะเป็นหนังตลกแต่บรรยากาศโดยรวมกลับทำออกมาอึมครึม เคร่งครึม และออกจะเป็นตลกร้ายเสียส่วน ใหญ่ แต่หนังกลับไปได้สวย ผู้ชมให้การต้อนรับหนังเพี้ยนๆ เรื่องนี้เป็นอย่างดี โดยทำรายได้ในอเมริกาที่เดียวถึงเกือบ ๘๐ ล้านเหรียญ ทางวอร์เนอร์ฯ จึงตัดสินใจยอมเสี่ยงกับเบอร์ตันโดยมอบหมายหน้าที่ทำโปรเจคต์แบทแมนออกมาให้ สำเร็จให้ได้
เมื่อ ทางวอร์เนอร์ฯ ประกาศชื่อ ทิม เบอร์ตัน ออกไปก็เกิดกระแสวิจารณ์ออกมามากมายว่าไอ้หมอนี่จะทำได้เหรอ อีกทั้งสไตล์หนังก็ไม่น่าจะเข้ากันได้กับหนังแนวซูเปอร์ฮีโร่เสียเท่าไหร่ แต่วอร์เนอร์ฯ ก็ให้เปิดโอกาสเต็มที่ให้กับเขา งานแรกของเขาคือการแก้ไขบทภาพยนตร์เสียใหม่ ใส่อารมณ์ขันแค่พองาม เน้นไปที่ตัวแบทแมน ตัวร้ายก็มีเพียงโจ๊กเกอร์คนเดียว และที่ลืมไม่ได้คือบรรยากาศของหนังที่เป็น เบอร์ตันสไตล์ คือเต็มไปด้วยโทนมืดหม่น หดหู่ ย้อนยุค นำเสนอด้านมืดของจิตใจมนุษย์ ความวังเวง เน้นสีดำ เล่นแสงเงา ดัดแปลงเมืองกอทแธมให้เป็นสไตล์โกธิค และก็ตลกร้าย
ทุกอย่าง กำลังไปได้สวย แต่สิ่งที่เป็นข้อถกเถียงอย่างมากคือ ใครจะมาสวมชุดแบทแมนกันดี? ดาราหลายคนเข้ามามีเอี่ยวกับบทนี้ ทั้งที่ดังมากและดังน้อย ไม่ว่าจะเป็น เมล กิ๊บสัน บิลล์ เมอร์เรย์ ชาร์ลี ชีน เพียร์ซ บรอสแนน แต่เบอร์ตันจิ้มไปที่ ไมเคิล คีตัน ดาราตลกที่เพิ่งร่วมงานกันใน Beetlejuice กระแสต่อต้านมาทันที ใครๆ ต่างส่ายหน้าเมื่อรู้ว่าคีตันจะมาเป็นแบทแมน เพราะดูยังไงๆ หมอนี่มันก็ดีไปในบทตลกซะมากกว่า แถมยังโนเนมอีกตังหาก แล้วอย่างงี้หนังจะมีคนดูหรือ โชคดีของเบอร์ตันที่ทางวอร์เนอร์ฯ เปิดไฟเขียวให้เขาเลือกตัวแสดงได้อย่างอิสระ ซึ่งก็เป็นไปตามความคิดของเบอร์ตันกับทางผู้ บริหารที่เห็นพ้อกงันว่า บทแบทแมนน่าจะเป็นของดาราหน้าใหม่ หรือดาราที่ไม่โด่งดังนัก และต้องเป็นดาราที่ดูเหมือนคนทั่วๆ ไป ไม่มีภาพลักษณ์ใดๆ ติดตัวมาก่อน และเสียงวิจารณ์ก็สงบลงในที่สุด เมื่อ บ็อบ เคน ผู้ให้กำเนิดแบทแมนออกมาให้การสนับสนุนว่า คีตัน นี่แหละ เหมาะจะเป็นแบทแมนมากที่สุด
ที่ ฮือฮามากกว่าก็คือบทของตัวร้าย โจ๊กเกอร์ ที่ได้ตัวโคตรนักแสดงระดับออสการ์ แจ๊ค นิโคลสัน มารับบทนี้ เรียกว่าหากขายคีตันในบทแบทแมนไม่ได้ พวกเขาก็ยังมีชื่อของบิ๊กแจ๊คเอาไว้ให้โปรโมทได้อีก แล้วบิ๊กแจ๊คก็ไม่ทำให้วอร์เนอร์ฯ ผิดหวัง เขาสวมบทวายร้ายโรคจิตโจ๊กเกอร์ได้อย่างแนบแนียนและน่าสะพรึงกลัว จนกลายเป็นภาพลักษณ์ติดตามผู้ชมไปนาน (จนกระทั่ง ฮีธ เลดเจอร์ มาสวมบทเดียวกันกับเขาในปี ๒๐๐๘)
เบอร์ ตันเขียนบทใหม่โดยเล่าถึงความขัดแย้งระหว่างแบทแมนกับโจ๊กเกอร์ แถมยังให้โจ๊กเกอร์เป็นคนฆ่าพ่อแม่ของแบทแมนเสียอีก บทหนังที่เน้นไปยังตัวละครทั้งสองมากจึงทำให้ไม่มีที่ว่างสำหรับโรบิน แต่ถูกแทนที่ด้วย วิกกี้ เวลล์ แฟนสาวของ บรูซ เวย์น แทน หนังเปิดตัวช่วงกลางปี ๑๙๘๙ ใช้ชื่อว่า “Batman” ทำรายได้อย่างดี ๓ วันแรกโกยไปถึง ๔๐ ล้าน ก่อนจะปิดตัวเลขเฉพาะในอเมริกาที่เดียว ๒๕๑ ล้านเหรียญ และรายได้จากทั่วโลกที่ ๔๑๓ ล้านเหรียญ ทำเอาวอร์เนอร์ฯ ยิ้มไม่หุบ และเตรียมโปรเจคต์ภาคสองต่อทันที
จาก ราย ได้มหาศาลในภาคแรก วอร์เนอร์ฯ จึงเอาใจเบอร์ตันทุกอย่าง แบทแมนภาคสองจึงดูจะเพี้ยนกว่าเดิมอีกเยอะ งานสร้างที่ดูอลังการมากขึ้นแต่โทนหนังกลับหม่นและรุนแรงกว่าภาคแรก มีตัวละครเพิ่มเข้ามาถึงสองราย คือ มร.เพนกวิน และ แคทวูแมน ทุกอย่างไปได้สวยแต่ก็มีข้อขัดแย้งเล็กๆ เกิดขึ้นจนได้ เมื่อเบอร์ตันไม่เอาบทร่างชิ้นแรกที่มีโรบินเสริมเข้ามา โดยหวังจะให้หนังมีความสดใสมากขึ้น แต่เบอร์ตันบอกว่าไม่เอา ยังไม่มีที่ว่างพอสำหรับโรบิน (อีกแล้ว)
แบ ทแมนภาคสองใช้ชื่อว่า “Batman Returns” มีความอมทุกข์มากกว่าเดิม ไมเคิล คีตัน ยังคงรับบทแบทแมนเหมือนเดิม ตามด้วยสองนักแสดงมากฝีมือ แดนนี่ เดอ วีโต้ รับบท มร.เพนกวิน มนุษย์ประหลาดที่ถูกทอดทิ้งแต่เด็ก เลยมีความแค้นฝังใจ พยายามทำลายกอทแธทซิตี้ให้กลายเป็นเมืองคนบาปให้ได้ มิเชลล์ ไฟเฟอร์ นักแสดงสาวสวยรับบท แคทวูแมน คู่ปรับอีกรายของแบทแมน คริสโตเฟอร์ วอลเคน รับบท ชเร็ค เจ้าของโรงงานใหญ่ในกอทแธมซิตี้ที่มีปูมหลังอันโสมม
Batman Returns ออกฉายในปี ๑๙๙๒ ทำรายได้เฉพาะในอเมริกา ๑๖๒ ล้านเหรียญ ลดลงจากภาคแรกถึงเกือบครึ่ง แต่มันก็เป็นเรื่องปรกติของหนังภาคต่อ แต่ที่ทางวอร์เนอร์ฯ ไม่สบายใจก็คือ Batman Returns มีความรุนแรงมากกว่าเดิม ทำให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในด้านลบมากขึ้น แม้หนังจะเป็นที่ถูกใจของผู้ชมที่เป็นผู้ใหญ่แต่มันก็ลดปริมาณผู้ชมรุ่น เยาว์ลงไปอีกโขทีเดียว บรรดาสินค้าต่างๆ ที่พะยี่ห้อแบทแมนก็พลอยขายได้น้อยไปด้วย กลายเป็นว่าแบทแมนภาคสามอาจจะไม่มีชื่อของ ทิม เบอร์ตัน อีกแล้วก็เป็นได้
ใบปิดหนัง Batman สังเกตชื่อนักแสดงนำที่เอา บิ๊กแจ๊ค ที่เล่นเป็นตัวร้าย
ขึ้นก่อน คีตัน ที่รับบทพระเอกเสียอีก
บิลล์ เมอร์เร่ย์ เกือบจะได้เป็นแบทแมนคนแรกอยู่แล้วเชียว
ไมเคิล คีตัน ในชุดแบทสูท แม้จะมาจากแนวตลก แต่โครงหน้าของเขากลับดูจริงจังทีเดียว
และปากที่หยักได้รูปก็ทำให้แบทแมนดูมีเสน่ห์ขึ้นมาพอตัว
ใบปิด Batman Returns ใส่ลูกเล่นที่โลโก้แบทแมนให้เป็นหิมะ เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศ
ของตัวร้ายอย่าง มร.เพนกวิน อีกแบบหนึ่งใช้ตัวนักแสดงเป็นจุดขาย
แต่ก็ยังอยู่ในโมนมืดหม่นเช่นเดิม
แจ๊ค นิโคลสัน กับบท โจ๊กเกอร์ ที่กลายเป็นต้นแบบของโจ๊กเกอร์ยุคใหม่
แดนนี่ เดอ วีโต้ รับบท มร.เพนกวิน ตัวร้ายที่น่าสงสารที่สุดคนหนึ่ง
มิเชลล์ ไฟเฟอร์ กับบท แคทวูแมน
ที่ดูยังไงก็เซ็กส์ซี่และมีเสน่ห์กว่าแคทวูแมนเวอร์ชั่น ฮัลลี่ เบอร์รี่ จมเลย
วอร์เนอร์ฯ ประกาศสร้างแบทแมนภาคสามโดยตั้งชื่อว่า “Batman Forever” พร้อมตั้งความหวังว่าแบทแมนจะกลับมาโกยเงินอีกครั้ง แต่แล้วก็เกิดปัญหาขึ้นจนได้ เมื่อมีการเปลี่ยนหัวเรือใหญ่กลางคัน เดิมทีนั้นชื่อของเบอร์ตันและคีตันยังคงนอนมาในฐานะผู้กำกับและนักแสดงนำเหมือนเคย แต่เบอร์ตันประกาศถอนตัวจากโปรเจคต์นี้ซะดื้อๆ หลังจากที่มีความเห็นไม่ลงรอยกับทางผู้บริหาร โดยทางวอร์เนอร์ฯ อยากให้แบทแมนภาคนี้ดูสดใสมากขึ้น ลดความหดหู่ลงอีกหน่อย ซึ่งมันขัดแย้งกับแนวทางของเขาอย่างสิ้นเชิง แล้ว Batman Forever ก็เลยไม่มีชื่อของ ทิม เบอร์ตัน ในที่สุด ส่วนทาง ไมเคิล คีตัน ก็ถอนตัวตามออกมาอีกราย เข้าทำนองว่าลูกพี่ไปไหนผมไปด้วย เพราะทั้งเขาติดตามและโด่งดังขึ้นมาได้เพราะเบอร์ตัน ดังนั้นเมื่อเบอร์ตันถอนตัวเขาจึงถอนตามอย่างไม่ต้องคิด แต่อีกกระแสหนึ่งก็ลือว่า คีตันที่เริ่มมีชื่อเสียงแล้วไม่พอใจที่บทของแบทแมนถูกลดความสำคัญลงไปมาก แล้วไปเน้นที่ตัวละครอย่าง โรบิน ทูเฟซ ริดเลอร์ ที่ล้วนแต่รับบทโดยดาราระดับแม่เหล็ก เมื่อถูกลดบทบาทลงเขาก็เลยโบกมือลาดีกว่า
ถึงจะ ขาดคีย์แมนคนสำคัญไปถึงสองรายแต่วอร์เนอร์ฯ ก็ไม่ง้อ โจเอล ชูมัคเกอร์ ถูกดันขึ้นมาคุมบังเหียนแทน ส่วนบทแบทแมนตกเป็นของหนุ่มรูปงามอย่าง วาล คิลเมอร์ ที่วอร์เนอร์ฯ เชื่อว่าเรียกคนดูได้มากกว่าคีตันแน่นอน โดยเฉพาะพวกวัยรุ่น อีกด้านหนึ่งบรรดาวายร้ายของเรื่องก็เด่นไม่แพ้กัน ทอมมี่ ลี โจนส์ ที่เพิ่งรับออสการ์มาจาก The Fugituve มาสวมบททู เฟซ อดีตอัยการเขตที่มีความแค้นฝังลึกกับแบทแมน และบทมนุษย์เจ้าปัญหา ริดเลอร์ ก็ได้ดาราตลกหน้าเบี้ยว จิ ม แคร์รี่ย์ มารับไป โรบิน คู่หูของแบทแมนก็ได้ฤกษ์เปิดตัวในภาคนี้เอง และได้ คริส โอดอนเนลล์ ดาราดาวรุ่งมารับบทนี้ ส่วนผู้หญิงของแบทแมนก็ได้สาวสวย นิโคล คิดแมน มาสร้างความกระชุ่มกระชวยให้
Batman Forever ออกฉายในปี ๑๙๙๕ ได้รับการตอบรับพอสมควร ตัวหนังแตกต่างจากสองภาคแรกโดยสิ้นเชิง ความหม่นเศร้าและหดหู่ถูกกำจัดออกไปจนเกือบหมด ความขัดแย้งในตัวเองของแบทแมนถูกกล่าวถึงเพียงเล็กน้อย ความสนุกสนานไปตกอยู่กับสองตัวร้ายของเรื่องเสียมากกว่า ทั้งทูเฟซและริดเลอร์ต่างดูโดดเด่นทั้งในด้านการแสดงและเครื่องแต่งกาย หนังรวมๆ ดูแล้วเหมือนหลุดออกมาจากหนังสือการ์ตูนทั้งกระบิ จนอาจกล่าวได้ว่าแบทแมนภาคนี้เป็นภาคที่ให้ความบันเทิงมากที่สุด รายได้ปิดตัวอยู่ที่ ๑๘๔ ล้านเหรียญเฉพาะในอเมริกาที่เดียว ซึ่งก็สูงกว่า Batman Return ส่วนรายได้ทั่วโลกปิดตัวที่ ๓๓๓ ล้านเหรียญ มากกว่าเดิมอีกเช่นกัน เมื่อหักลบต้นทุนที่ ๑๐๐ ล้านเหรียญ ก็นับว่าแบทแมนกลับมาประสบความสำเร็จอีกครั้ง (ทุนสร้าง ๑๐๐ ล้าน นั้น ต้องจ่ายเป็นค่าตัวให้ จิม แคร์รี่ย์ คนเดียว ถึง ๒๐ ล้าน!)
แน่ นอนว่าภาคสี่ต้องตามมาติดๆ แต่ก็เจอปัญหาตั้งแต่เริ่มโครงการ เมื่อ วาล คิลเมอร์ โบกมือไม่เอาแล้ว มีข่าวว่าเขาไม่ค่อยพอใจตัวเลขที่วอร์เนอร์ฯ ยื่นให้ซักเท่าไหร่ และหันไปเล่นเป็นสายลับพันหน้าใน The Saint กับค่ายพาราเมาต์ดีกว่า และที่โจษจันกันกว้างขวางกว่าก็คือสงครามย่อยๆ ในกองถ่ายระหว่างคิลเมอร์กับผู้กำกับ โจเอล ชูมัคเกอร์ ข่าวว่าคิลเมอร์นั้นเล่นหนังไม่ได้เรื่องไม่เป็นที่พอใจของผู้กำกับซักเท่า ไหร่ แถมยังทำตัวเรื่องมาก จนทำให้ป่วนไปทั้งกองถ่าย หน้าที่แบทแมนคนใหม่จึงตกเป็นของคุณหมอ เสน่ห์แรงจากซี่รี่ส์ดัง ER จอร์จ คลูนี่ย์ ที่มีมาดสุขุม มีบุคลิกที่เป็นผู้ใหญ่ จนชูมัคเกอร์ออกปากชมว่า แบทแมนที่คลูนี่ย์เล่นนั้นเป็นผู้ใหญ่สมวัย แต่แบทแมนที่คิลเมอร์เล่นนั้นเป็นแบทแมนแบบเด็กๆ ส่วนบทโรบินยังเป็นของ คริส โอดอนเนลล์ เหมือนเดิม บทตัวร้ายนั้นก็เด่นไม่แพ้ของเดิมหรืออาจจะเด่นกว่าด้วยซ้ำไป นั่นคือบท มร.ฟรี ซ ที่ได้ อาร์โนลด์ ชวาร์ซเนกเกอร์ มารับบทร้ายเป็นครั้งแรก ตามด้วย อูม่า เธอร์แมน ดาราคนสวยมารับบท พอยซั่นไอวี่ ยัง … ยังไม่พอ ยังมี แบ ทเกิร์ล เข้ามาอีกราย บทนี้ตกเป็นของ อลิเซีย ซิลเวอร์สโตน
แบ ทแมนภาคสี่ใช้ชื่อว่า “Batman and Robin” ออกฉายในปี ๑๙๙๗ ปรากฏว่าถูกนักวิจารณ์และผู้ชมก่นด่าเสียจมดิน บทหนังกลวงโบ๋ ใส่สีสันมากจนเป็นการ์ตูน (มากกว่าภาคก่อนเสียอีก) ตัวละครมากเกินจำเป็น แถมคนดูยังตั้งข้อสังเกตว่าแบทแมนและโรบิน มีอะไรลึกซึ้งกันเกินกว่าคู่หูรึเปล่าเนี่ย สรุปได้ว่า Batman and Robin ได้รับเสียงด่ามากกว่าเสียงชม ซึ่งถ้าจะว่ากันจริงๆ แล้วมันก็ไม่ได้เสียหายอะไรมากมาย ซ้ำยังดูเพลินสนุกๆ เสียอีก แต่ด้วยความที่เนื้อเรื่องมันออกทะเลมากไปหน่อยเท่าน หนังปิดตัวในอเมริกาที่ ๑๐๐ ล้านเหรียญ น้อยที่สุดเท่าที่สร้างแบทแมนมาสามภาค แถมยังเข้าชิงหนังสุดเห่ยถึง ๑๑ รางวัล…น่าภูมิใจซะไม่มี
ใบปิด Batman Forever ไปๆ มาๆ ตัวละครอื่นกลับดูน่าสนใจกว่าพระเอกซะอีก
วาล คิลเมอร์ รับบทแบทแมนเป็นคนที่สองต่อจาก คีตัน เขาเล่นแค่ตอนเดียวแล้วก็ขอบ๋ายบาย
ใบปิด Batman and Robin แบบแรกไม่โดนเท่าไหร่
แบบที่สองก็ให้ผู้ร้ายเด่นกว่าพระเอก (อีกแล้ว)
ก็เพราะชื่อของอาร์นี่ขายได้มากกว่าน่ะสิ แถวยังฟันค่าตัวคนเดียวถึง ๒๐ ล้านเหรียญ
จอร์จ คลูนี่ย์ วางมีดผ่าตัดใน ER มาสวมชุดค้างคาวปราบเหล่าร้าย … ก่อนถูกด่าเละ
หนูอลิเซียที่ต้องลุ้นแทบตายว่าเธอ จะใส่ชุดนี้ได้หรือไม่ ก็ตอนนั้นเธอ…เอ่อ…บวมซะ
ส่วนคริส โอดอนเนลล์ ยังพอถูไถไปได้กับบทโรบิน
วายร้ายทั้งสี่ที่เด่นกว่าพระเอก ทั้งนอกจอและในจอ
เฉพาะสองคนกลางก็ฟันค่าตัวไปรวมกัน ๔๐ ล้านเหรียญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
อารายเหรอ