“แจ๊คกี้ คัลเลน” … ผู้หญิงที่อยู่ในโลกของผู้ชาย
ผู้หญิง ทุกวันนี้มีความสามารถทัดเทียมกับผู้ชาย จากในอดีตที่ผู้หญิงถูกวางให้มีบทบาทในสังคมเป็นรองผู้ชายอย่างเห็นได้ชัด ยิ่งในสังคมของบางประเทศด้วยแล้ว ผู้หญิงอาจเป็นเเพียงสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่เพศตรงข้ามและเป็นผู้ทำ หน้าที่อุ้มท้องเท่านั้น โชคดีที่สังคมทุกวันนี้มีการให้เกียรติสตรีเพศมากขึ้น ผู้หญิงจึงก้าวขึ้นมามีบทบาทในโลกเคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้ชาย และบางครั้งเธออาจจทำหน้าที่ได้เหนือกว่าด้วยซ้ำไป
หลาย ประเทศมีผู้หญิงเป็นผู้นำ อย่างฟิลิปปินส์เพื่อนบ้านของเราก็เคยมีสุภาพสตรีเป็นผู้นำ อย่าง นาง คอราซอน อาควิโน หรือในปัจจุบันก็คือ นางกลอเรีย อาราโย่ สหราชอาณาจักรครั้งหนึ่งก็เคยมีผู้นำทางการเมืองเป็นสตรี คือ นาง มาร์กาแร็ต แธตเชอร์ และมีสตรีอีกเช่นกัน ทำหน้าที่เป็นประมุขของประเทศ คือ สมเด็จพระนางเจ้าอลิธซาเบธที่ ๒ หรือสุภาพสตรีที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของการเรียกร้องประชาธิปไตยของพม่าอย่าง นางออง ซาน ซูจี นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ ที่สะท้อนให้เห็นได้ชัดเจนว่าโลกยอมรับผู้หญิงว่ามีความสามารถไม่น้อยไปกว่า ผู้ชายแล้ว
โลก ของมวย กีฬาที่ถูกมองว่าเป็นโลกของผู้ชาย ยากนักที่ผู้หญิงจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วยได้ แต่ก็มีผู้หญิงคนหนึ่งได้แหกกฏข้อนี้ทิ้งกระจุย เธอกลายมาเป็นผู้จัดการนักมวยอาชีพที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของวง การมวยโลก เธอชื่อ แจ๊คกี้ คัลเลน
บ้าน เราก็มีผู้หญิงในวงการมวยเหมือนกัน คุณอรทัย กาญจนชูศักดิ์ บุตรสาวของโปรโมเตอร์มวยคนดัง ส่ง กาญจนชูศักดิ์ คุณอรทัยก้าวขึ้นมาทำหน้าที่แทนหลังจากคุณส่งได้เสียชีวิตไป ความที่เธอคลุกคลีอยู่กับวงการมวยมาตั้งแต่ยังเล็ก เธอจึงซึมซับเอาความรู้ทุกอย่างจาก ผู้เป็นพ่อมาแบบชนิดที่เรียกว่าถอดแบบกันมา กลายเป็นโปรโมเตอร์หญิงคนแรกของบ้านเรา กระทั่งผันชีวิตสู่ถนนการเมืองในที่สุด แต่เมื่อเทียบกับ คัลเลน แล้ว เธอก้าวเข้าสู่วงการกำปั้นด้วยตัวของเธอเอง
เม็ก ไรอัน กลับมาสวยอีกครั้งใน Against the Ropes
ก่อน หน้านี้ผมแทบจะไม่รู้จักชื่อของคัลเลนมาก่อน จนมีโอกาสได้ชมภาพยนตร์เรื่อง Against the Ropes นำแสดงโดยสาวสวย เม็ก ไรอัน (Meg Ryan) ดูสนุกดีไม่หยอก จนมาตอนจบเรื่องมีคำบรรยายสรรพคุณของตัวละครว่าเธอเป็นผู้จัดการมวยที่ประสบ ความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของวงการ ก็เลยสงสัยว่าเธออาจจะมีตัวตนจริงๆ ก็ได้ และพอมาค้นหาข้อมูลดูก็พบว่าหนังเรื่องนี้สร้างขึ้นมาชีวิตจริงของเธอเอง แต่อาจจะมีการดัดแปลงเนื้อหาบ้างเพื่อความบันเทิง แต่ประเด็นหลักก็ยังอยู่ที่ความพยายามของเธอในการฝ่าฟันเข้ามาสู่โลกของ ผู้ชาย
ใน หนังนั้นเล่าว่าคัลเลนสนใจเรื่องหมัดมวยตั้งแต่ตัวกะเปี๊ยก แม้ว่าเธอจะเป็นผู้หญิงแต่ก็เชี่ยวชาญเรื่องมวยไม่แพ้ผู้ชาย เธอทำงานเป็นเลขาให้กับโปรโมเตอร์มวยเส็งเคร็งรายหนึ่ง ใช้ชีวิตกับงานห่วยๆ เจ้านายเห่ยๆ ไปวันๆ จนกระทั่งวันหนึ่งเธอเกิดระเบิดอารมณ์หลังจากถูกเจ้านายสบประมาทเข้าให้ เธอจึงมุ่งมั่นจะพิสูจน์ให้เห็นว่าเธอก็สามารถเอาดีในวงการนี้ได้เหมือนกัน (เว้ย) งานแรกของเธอก็คือหานักมวยฝีมือดีมาปั้นซักคนแต่ปัญหาก็คือนักมวยมีแววที่ เธอพบกลับเป็นเพียงไอ้กุ๊ยข้างถนนที่สงสัยว่า ผู้หญิงผิวขาวอย่างเธอมาทำอะไรใน โลกของผู้ชายแบบนี้ (วะ)
ในขณะ ที่ชีวิตของคัลเลนนั้นดูจะดีกว่าในหนัง คัลเลนเกิดในครอบครัวชนชั้นกลางธรรมดาๆ ทำงานเป็นผู้สื่อข่าวสายธุรกิจ เธอมีโอกาสได้สัมภาษณ์คนดังๆ หลายคน อย่างเช่น วงเดอะ โรลลิ่ง สโตน แฟร้งค์ ซินาต้า เอลวิส เพรสลี่ย์ ไม่เพียงแต่เป็นผู้สื่อข่าวธรรมดาเธอยังมีโอกาสรายงานข่าวของเธอเองอีกด้วย ก็เพราะหน้าตาของเธอจัดว่าสวยและขึ้นกล้องมากทีเดียว จนกระทั่งชีวิตเธอเริ่มพลิกผัน ในปี ๑๙๗๗ คัลเลนได้ไปสัมภาษณ์นักมวยดาวรุ่งคนหนึ่งในดีทร้อยต์ นักมวยคนนั้นชื่อ โธมัส เฮิร์นส์ ซึ่งต่อมา เฮิร์นส์ ได้สร้าง ประวัติศาสตร์เป็นนักมวยที่ครองเข็มขัดแชมป์โลกถึง ๕ เส้น และยังขึ้นชกกับยอดอัจฉริยะอย่าง เรย์ เลนนาร์ด ถึงสามไฟต์ นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้คัลเลนหันมาสนใจวงการกีฬา โดยเฉพาะกีฬามวย
หาก ใครเป็นแฟนหมัดมวยเข้าเส้นหรือมีโอกาสได้ชมภาพยนตร์เกี่ยวกับวงการมวยจะพอ ทราบได้ว่ากีฬาชนิดนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับนักกีฬาสองฝ่ายบนเวทีเท่านั้น องค์ประกอบรอบข้างล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจจะชี้ผลการแข่งขันได้ อีกทั้งต้องยอมรับกันว่าเดี๋ยวนี้มวยไม่ใช่กีฬาแบบเพียวๆ อีกต่อไปแล้ว (หมายรวมถึงกีฬาชนิดอื่นด้วย) แต่มันกลายเป็นเรื่องของธุรกิจและเรื่องของการพนันขันต่อ ลำพังนักมวยเก่งๆ ไม่สามารถก้าวขึ้นถึงจุดสูงสุดได้หากไม่มีองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยเกื้อหนุน ในขณะเดียวกันนักมวยธรรมดาๆ ก็อาจจะขึ้นสู่จุดสูงสุดได้ หากมีแรงผลักดันบางอย่างช่วยดันเขาคนนั้นให้กลายเป็นซูเปอร์สตาร์ได้
วงการ มวยในต่างประเทศกับวงการมวยไทยในบ้านเราก็แทบจะไม่ต่างกันนัก บรรดาเด็กหนุ่มต่างหวังจะใช้กำปั้นกรุยทางสู่อนาคตที่ดีกว่า แต่กว่าจะขึ้นสังเวียนได้ก็ต้องใช้เวลาอยู่นาน บางคนทำสำเร็จ บางคนทำได้แค่วิ่งตามความฝัน นักมวยบางคนมีแววดีเข้าตาแมวมอง ก็อาจจะถูกดันขึ้นชกอาชีพได้ แต่การจะเป็นระดับอาชีพนั้นก็ไม่ง่ายเอาเสียเลย ในต่างประเทศเขาจะมีการชกเพื่อไต่ระดับ คล้ายๆ กับการสอบเพื่อให้ได้ใบอนุญาต เมื่อได้ใบนี้มาแล้วทีนี้ก็จะสามารถขึ้นชกได้ในสังเวียนที่ได้รับการรับรอง จากทางหน่วยงานของรัฐ ซึ่งใบอนุญาตนี้ไม่ใช่ว่าให้แล้วให้เลย นักมวยต้องอยู่ในกฎระเบียบที่สมาคมตั้งเอาไว้ หากทำผิดกฎหรือทำตัวไม่เหมาะสม หรือมีคดีความ ก็อาจจะถูกริบใบอนุญาตชกอาชีพได้ นั่นหมายถึงว่าเขาจะไม่สามารถขึ้นชกในสังเวียนอย่างเป็นทางการได้ อย่างกรณีของ ไมค์ ไทสัน หาก จำกันได้ เขาก็เคยถูกริบใบอนุญาตชกมวยมาแล้วเหมือนกัน
การ ฝ่าฟันเพื่อเป็นนักมวยอาชีพว่ายากแล้ว แต่เส้นทางของคัลเลนยากยิ่งกว่านั้นอีก หลังจากที่เธอคลุกคลีอยู่กับวงการนี้ต่อเนื่องกว่าสิบปี โดยเธอผันตัวเองมาเป็นผู้สื่อข่าวกีฬามวยและยังทำงานร่วมกับ เฮิร์นส์ มาอย่างต่อเนื่อง เธอจึงเริ่มจะก้าวเข้ามาสู่แถวหน้าอย่างเต็มตัว แต่ ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เสียๆ หายๆ ไม่เว้นวัน ด้วยความเป็นผู้หญิงที่แม้แต่ผู้หญิงด้วยกันเองยังมองว่าเธอแส่ไม่เข้า เรื่อง เธอไม่มีวันเข้าไปสู่โลกของผู้ชายได้หรอก มันเป็นไปไม่ได้เด็ดขาด ไม่มีใครยอมรับเธอ ยิ่งพวกผู้ชายด้วยแล้วยิ่งดูถูกเธออย่างที่สุด แต่นั่นไม่ใช่ปัญหา มันกลับเป็นแรงกระตุ้นที่วิเศษทำให้เธอพยายามพิสูจน์ให้ โลกเห็นว่าเธอทำได้
สมัยที่ยังประคบประหงม เจมส์ โทนี่ จนก้าวขึ้นมาเป็นแชมป์โลก
กว่า ที่เธอจะทำสำเร็จก็ล่วงเข้าสู่ปี ๑๙๘๘ นักมวยคนแรกที่เธอเป็นผู้จัดการให้คือ บ็อบบี้ ฮิตซ์ เธอเล่าว่าในตอนนั้นเธอต้องต่อสู้กับกระแสรอบข้างอย่างมากพอๆ กับฮิตซ์เลยทีเดียว ทั้งคู่ร่วมกันฝ่าฟันจนสร้างชื่อได้สำเร็จ ถึงตรงนี้ชื่อของคัลเลนเริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น อาจเป็นเพราะความที่เธอเคยเป็นสื่อมวลชนมาก่อนเธอจึงรู้ดีว่าควรจะทำอย่างไร ให้คนสนใจ ควรจะตอบคำถามแบบไหน และควรสร้างจุดเด่นให้คนจดจำได้อย่างไร
ใน ภาพยนตร์นั้นเล่าถึงช่วงแรกของการเป็นผู้จัดการของเธอ เมื่อเธอตอบรับข้อเสนอของ HBO ในการสัมภาษณ์และติดตามถ่ายทำชีวิตส่วนตัวของเธอ นี่เองที่เธอก้าวพลาด เธอคิดว่าเธอรู้เรื่องของวงการสื่อสารมวลชนดีแต่มันยังไม่ดีพอ เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้เธอไม่ลงรอยกับนักมวยในสังกัดที่มองว่าเธอพยายามโป รโมทตัวเองมากกว่าที่จะสนใจมวยอย่างจริงจัง ท้ายสุด HBO ก็ทำเธอแสบเมื่อลงท้ายในบทสัมภาษณ์ว่าเธอเป็นเพียงสีสันของวงการที่เอาเข้า จริงก็คงไปไม่รอด ความหวังในการโปรโมทเธอและค่ายมวยกลับกลายเป็นระเบิดลูกใหญ่ที่หย่อนโครมลง มาทำลายเธอ ทำลายสิ่งที่เธอสร้างมากับมือจนกระจุยในพริบตา แต่คัลเลนตัวจริงนั้นตรงกันข้าม แม้เธอจะประสบเหตุการณ์ไม่ต่างกับในภาพยนตร์นักแต่เธอก็สามารถรับมือกับมัน ได้อย่างเป็นมืออาชีพ คัลเลนเป็นผู้หญิงที่ยิ้มแย้ม เข้ากับผู้คนได้ง่าย และด้วยความเป็นนักข่าวเก่าเธอจึงพอมีความสัมพันธ์อันดีกับบรรดาสื่อมวลชนพอ สมควร
บน สังเวียน บ็อบบี้ ฮิตซ์ นักมวยของเธอสามารถก้าวขึ้นมามีชื่อติดอันดับของประเทศ ในปี ๑๙๘๘ ฮิตซ์ ก็มีโอกาสขึ้นตะบันกับอดีตแชมป์โลก จอร์จ โฟร์แมน ที่เพิ่งจะหวนคืนสู่ผืนผ้าใบในวัย ๔๐ ปี แต่ก็เป็นบทพิสูจน์ฝีมือที่ดีสำหรับฮิตซ์ น่าเสียดายที่ฮิตซ์ยังห่างชั้นกับบิ๊กจอร์จอยู่มาก เขาถูกน็อคในยกแรกเท่านั้น จากนั้นเส้นทางบนถนนกำปั้นของฮิตซ์ก็ไปไม่รอด แต่เส้นทางของคัลเลนกลับไปได้สวย
ปี ๑๙๘๙ คัลเลนได้พบกับนักมวยดาวรุ่งคนหนึ่ง เขาชื่อ เจมส์ โทนี่ ที่เพิ่งเริ่มชกได้ไม่นานก่อนที่ผู้จัดการส่วนตัวจะเสียชีวิตลงอย่างกระทัน หัน คัลเลน จึงขอรับช่วงต่อทันที เพราะเธอเห็นว่าเจมส์มีแวว ด้วยสถิติการชก ๓ ไฟต์ ชนะน็อครวด
เจมส์ โทนี่ แชมป์โลกรุ่นมิดเดิ้ลเวทของสหพันธ์มวยนานาชาติ
แชมป์โลกในสังกัดคนแรกของคัลเลน
คัล เลนจับเจมส์เคี่ยวอย่างหนัก และเริ่มฉายแวว ภายในระยะเวลาไม่ถึง ๒ ปี เจมส์ขึ้นสังเวียนถึง ๒๐ ไฟต์ ชนะน็อคถึง ๑๐ ชนะคะแนน ๔ และเสมอ ๑ ไม่เคยแพ้ใคร นับว่าเป็นสถติที่สวยหรูทีเดียวสำหรับนักชกหน้าใหม่ ปี ๑๙๙๑ คัลเลนก็ดันเจมส์จนก้าวขึ้นเป็นแชมป์มิดเดิ้ลเวทของ IBC (International Boxing Council) ได้สำเร็จ และคราวนี้เจมส์ก็มีโอกาสขึ้นชิงแชมป์โลกสถาบันหลักได้อย่างเต็มภาคภูมิ ซึ่งคัลเลนวางเป้าหมายไว้ที่โคตรมวยอย่าง ไมเคิล นันน์ แชมป์โลกมิดเดิ้ลเวท IBF ในตอนนั้น
ทั้ง สองต่างถูกจับตามองเพราะเป็นมวยสดทั้งคู่และต่างมีสถิติสวยหรูคือยังไม่เคย แพ้ใคร แต่บรรดาเกจิทั้งหลายต่างเอนไปทางแชมป์โลกว่ามีภาษีดีกว่าเล็กน้อย เดือนพฤษภาคม ๑๙๙๑ เจมส์ โทนี่ ก็ได้รับโอกาสขึ้นชิงแชมป์โลกกับ ไมเคิล นันน์ ฝั่งผู้ท้าชิงยิ่งชกยิ่งดีในขณะที่แชมป์โลกเริ่มอ่อนแรง จนถึงยกที่ ๑๑ นันน์ถูกจับแพ้ทีเคโอ เจมส์ โทนี่ กลายเป็นแชมป์โลกคนใหม่ และทำให้คัลเลนกลายเป็นผู้จัดการแชมป์โลกคนใหม่ไปด้วย
หลัง จากที่เริ่มโด่งดัง ความสัมพันธ์ระหว่างคัลเลนและเจมส์ไม่ราบรื่นดังเคย ส่วนสาเหตุนั้นน่าจะมาจากเรื่องของธุรกิจมากกว่าเรื่องส่วนตัว ทั้งสองกลายเป็นคนดังแต่ว่ากลับห่างเหินกันแต่ทั้งคู่ก็ยอมรับซึ่งกันและกับ เจมส์บอกเสมอว่าเขายังให้ความเคารพคัลเลนเสมอ เพราะเธอเป็นผู้ผลักดันให้เขาประสบความสำเร็จในทุกวันนี้ ในขณะที่คัลเลนก็มักจะให้สัมภาษณ์ถึงเจมส์ว่าเป็นเหมือนลูกชายของเธอเลยที เดียว ทั้งคู่ยังคงปฏิบัติต่อกันอย่างมืออาชีพแม้ว่าจะไม่ลงรอยกันเท่าไหร่นักก็ ตาม
ซ้าย แจ๊คกี้ คัลเลน ในภาพยนตร์แสดงโดย เม้ก ไรอัน ขวาคือคัลเลนตัวจริง
คัล เลนกลายเป็นคนดังในวงการมวย เธอปั้นนักมวยดังๆ ขึ้นมาอีกหลายคนและเปิดค่ายมวยเป็นของตัวเอง เธอเป็นที่สนใจของคนทั่วไปเพราะเธอคือผู้จัดการนักมวยที่ประสบความสำเร็จมาก ที่สุดคนหนึ่งของวงการ เธอสนิทกับบรรดาผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการมวยหลายคน นัก ชกดังๆ สื่อมวลชนหลายแขนง วงการมวยโลกที่เคยสบประมาสเธอก็หันมาให้ความเชื่อถือเธอมากขึ้น คัลเลนเร่มโด่งดังอีกครั้งเมื่อเธอรับเป็นที่ปรึกษาให้กับรายการเรียลริตี้ โชว์ของ NBC ที่ชื่อ The Contender เป็นรายการที่คัดเอานักมวยดีๆ มาอาศัยและฝึกซ้อมร่วมกัน ก่อนจะมีการแข่งขันเพื่อหาผู้ชนะในท้ายที่สุด รายการนี้เป็นที่นิยมมากในอเมริกา เพราะมีตัวชูโรงดังๆ อย่างอดีตแชมป์โลกตัวจริง ชูการ์ เรย์ เลนนาร์ด และอดีตแชมป์โลกในภาพยนตร์ ซิลเวสเตอร์ สตอลโลน มารับบทเทรนเนอร์
ช่วง ปลายทศวรรษที่ ๙๐ คัลเลนต้องเข้ารับการรักษาอาการโรคหัวใจและโรคมะเร็ง มันเกือบจะคร่าชีวิตเธอไปแต่แล้วเธอก็ต่อสู้จนเอาชนะมันได้ และกลับมามีสุขภาพดีพร้อมจะปั้นนักมวยดังๆ ประดับวงการอีกครั้ง
เป็นที่รู้จักดีในหมู่คนดัง ภาพซ้ายถ่ายคู่กับ สตอลโนและเลนนาร์ด ส่วนภาพขวาถ่ายคู่กับไทสัน
ภาพยนตร์เรื่อง Against the Ropes หยิบเอาชีวิตของเธอมาสร้างซึ่งแม้จะมีการเสริมแต่งบ้างแต่ก็ทำออกมาได้ไม่ เลว เม็ก ไรอัน ได้รับการยอมรับจากคัลเลนว่าสามารถถ่ายทอดตัวตนของเธอได้อย่างยอดเยี่ยม ตัวละคร ลูเธอร์ ชอว์ นักมวยโนเนมที่ก้าวขึ้นมาเป็นแชมป์ โลกก็อาจจะเป็นตัวแทนของ เจมส์ โทนี่ ที่เธออุตส่าห์ปลุกปั้นจนประสบความสำเร็จในที่สุด ในหนังเล่าเรื่องราวเบื้องลึกเบื้องหลังของวงการมวยโลกที่ไม่ได้ถูกต้องตาม กติกาไปเสียทุกเรื่อง อย่างตอนที่ ชอว์ ได้รับโอกาสขึ้นชิงแชมป์โดยที่เขาทราบข่าวล่วงหน้าเพียง ๓ สัปดาห์ ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะเตรียมร่างกายให้ทัน แต่เพราะความเขี้ยวของโปรโมเตอร์ที่พยายามจะทำลายชอว์และคัลเลนให้จมดิน เลยออกข่าวว่าคู่ชกเดิมบาดเจ็บหนักจนชกไม่ได้ จึงเลื่อนให้ชอว์ขึ้นชิงแชมป์ในฐานะมวยแทน ดังนั้นเชื่อเถอะว่าในโลกแห่งความเป็นจริง เวลาเราได้ข่าวว่านักมวยคนนั้นบาดเจ็บหรือมีปัญหาใดๆ บางทีมันอาจจะเป็นเพียงข่าวลือหรือแผนสกปรกที่เกิดจากพวกโปรโมเตอร์ก็ได้
หากจะ ดูเอาสนุกไม่คิดมากก็น่าจะพอได้ แต่ถ้าจะเอาจริงจัง Against the Ropes ก็มีช่องโหว่มากมายเต็มไปหมด แต่ใครจะสนเมื่อจุดสนใจไปอยู่ที่ เม็ก ไรอัน ที่เรื่องนี้เธอดูสวยจริงๆ (ถึงตาจะช้ำไปนิดก็เถอะ) ก็เลยยอมให้อภัยกับบทหนังที่ออกจะหลวมไปซักหน่อย
บทสรุปของเรื่องราวนี้ก็คงสอนเรา ว่า “จงเฮ็ดในสิ่งที่เชื่อ” เถิด แล้วจะดีเอง เหมือนที่เธอเคยให้สัมภาษณ์ไว้
“…คุณสามารถทำได้ทุกอย่างแหละ ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่ จะเป็นชายหรือหญิง จะชาติไหน ไม่มีอะไรที่จะเป็นไปไม่ได้ ขอเพียงแต่คุณเชื่อในสิ่งที่คุณทำ คุณต้องศรัทธาในตัวคุณเอง ฉันรักมวย ฉันจึงไม่สนใจคำพูดของใครๆ ที่บอกว่าฉันไม่มีทางทำมันได้หรอก เพราะฉันรู้ว่าฉันทำได้…”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
อารายเหรอ