วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553

The Birth of Venus

The Birth of Venus


The Birth of Venus ฝีมือของ ซานโดร บอตติเชลลี เขียนราวปี ค.ศ.1485 ปัจจุบันจัดแสดงที่อูฟฟิซี่ แกลลอรี่ (Uffizi Gallery) เมืองฟลอเรนซ์ อิตาลี

ภาพ กำเนิดวีนัส (Venus) เทวีแห่งความรัก หรือเรียกตามภาษากรีกว่า อโฟรไดต์ (Aphrodite) ตามตำนานกล่าวว่าเธอผุดขึ้นมาจากฟองน้ำในท้องทะเล ก่อนจะถูกคลื่นพัดเข้าสู่ฝั่งบริเวณเกาะไซปรัส ดินแดนแถบนี้จึงเป็นเสมือนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับนาง แต่ในมหากาพย์อีเลียด ของโฮเมอร์ เล่าว่านางเป็นธิดาของมหาเทพเซอุส ที่เกิดกับนางไดโอเน่ (Dione) ทำให้เรื่องของการกำเนิดของนางยังไม่แน่ชัดนัก แต่โดยทั่วไปจะถือว่านางเกิดจากฟองน้ำจากทะเลมากกว่า

จะ อย่างไรก็ตาม เทพีวีนัสก็ได้รับการยกย่องให้เลื่อนชั้นขึ้นเป็นเทพชั้นสูงบนเขาโอลิมปัส เล่ากันว่าเพียงแค่ก้าวแรกที่นางเหยียบเขาโอลิมปัส ทวยเทพต่างตะลึงงันในความงดงาม ทวยเทพทั้งหลายต่างหมายปองจะครอบครองนางไม่เว้นแม้แต่มหาเทพเซอุส แต่คนสวยเลือกได้ เทพีวีนัสไม่เล่นด้วย มหาเทพไม่พอใจอย่างมากก็เลยแก้เผ็ดด้วยการยกนางให้เป็นมเหสีของเทพ วัลแคน (Valcan) เทพนักประดิษฐ์ เพื่อเป็นรางวัลที่เทพวัลแคนสร้างมหาอาวุธให้กับพระองค์ แต่ว่าเทพวัลแคนไม่ได้เหมาะสมกับความงามของนางเลยซักนิด เพราะว่าวัลแคนมีรูปร่างอัปลักษณ์แถมยังขาเป๋อีกต่างหาก นี่กระมังจึงเป็นที่มาของคำที่เขาว่า คนสวยมักคู่กับคนไม่หล่อ

เนื่อง ด้วยได้สามีไม่หล่อ เทพีวีนัสจึงแอบไปเป็นกิ๊กกับเทพมาร์ส (Mars) เทพเจ้าแห่งสงคราม ซึ่งทั้งสองก็มีบทบาทอยู่หลายครั้งในมหาสงครามกรุงทรอย ทั้งสองมีบุตรแลธิดา 3 องค์ องค์ที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดก็คือ คิวปิด (Cupid) หรือกามเทพนั่นเอง และด้วยที่คิวปิดเป็นเด็กติดแม่มาก เราก็เลยมักจะเห็นภาพคิวปิดในร่างของเด็กน้อยอยู่เสมอ และเมื่อมีบุตรเป็นเทพสื่อรักนี่เอง นางจึงมักจะใช้คิวปิดไปทำโน่นทำนี่เกี่ยวกับเรื่องรักๆ ใคร่ๆ จนสร้างเรื่องวุ่นๆ อยู่หลายหน

ผู้เขียนภาพนี้คือ ซานโดร บอตติเชลลี่ (Sandro Botticelli 1445-1510) ศิลปินชาวอิตาเลี่ยน เมื่อยังเด็ก บอตติเชลลี ได้รับการฝึกฝนเป็นช่างทอง แต่ว่าเขาสนใจการเขียนรูปมากกว่า

เมื่อ โตขึ้นก็ไปเป็นลูกศิษย์ของ ฟิลิปปโป ลิปปี้ จิตรกรเอกของฟลอเรนซ์ ต่อมาก็ได้ไปฝึกฝีมือกับ เวโรคชิโอ (Verrocchio) และได้รู้จักกับ เลโอนาโด ดา วินชี (leonardo Da Vinci) บอตติเชลลีชื่นชอบการเขียนสีฝุ่น ผลงานของเขาเคยมีคนวิจารณ์ว่าผิดแบบแผนเรื่องของกายวิภาค แต่บอตติเชลลีบอกว่า ข้าไม่สนว้อย แล้วเขาก็เขียนรูปในแบบฉบับของเขา โดยไปเน้นที่การใช้สีและอารมณ์ของภาพเสียมากกว่า งานที่โดดเด่นของเขาได้แก่ Primavera และ Adoration of the Magiลองเข้าไปชมผลงานของบอตติเชลลีได้ที่นี่

http://www.artchive.com/artchive/B/botticelli.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ