เวอร์จิล กริฟฟิธ (Virgil Griffith) จบการศึกษาด้านคอมพิเตอร์และเป็นแฮกเกอร์ เป็นผู้คิดค้น "โปรแกรมวิกิสแกนเนอร์" ขึ้นมา เพื่อตรวจสอบว่าใครเป็นผู้ให้และแก้ไขข้อมูล "วิกิพีเดีย" ซึ่งโปรแกรมของเขาสามารถจับ "ไอพีแอดเดรส" ของคอมพิวเตอร์ที่เป็นผู้แก้ข้อมูลได้ว่า
ผู้ที่แก้ข้อมูลใน "วิกิพีเดีย" มีทั้งซีไอเอ สำนักวาติกัน และนักการเมือง
"ซีไอเอ" หรือ "หน่วยสืบราชการลับของสหรัฐ" เป็นผู้แก้ไขข้อมูลใน "วิกิพีเดีย" กว่า 300 เรื่อง ทั้งเรื่องของประธานาธิบดีอิหร่าน กองทัพเรืออาร์เจนตินา และอาวุธนิวเคลียร์ของจีน ซึ่งซีไอเอได้ให้ข้อมูลแผนการในอนาคตในการครองอำนาจของประธานาธิบดีมาห์มู้ด อาห์มาดีนจาด ของอิหร่าน ไว้ด้วย
ขณะที่นายจอร์จ ลิตเติ้ล โฆษกซีไอเอ ไม่สามารถยืนยันได้ว่า ซีไอเอเป็นผู้แก้ไขข้อมูลใน "วิกิพีเดีย" ได้แต่กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ของซีไอเอทำงานด้วยความรับผิดชอบ
สำหรับ ผู้ก่อตั้ง "วิกิพีเดีย" นั้น ยังไม่ทราบว่าเป็นกลุ่มคนใด แต่กลุ่มคนนั้นต้องเป็นผู้รู้ข้อมูลก่อนผู้อื่น และเป็นผู้แก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาดหรือไม่ถูกต้อง
มีบุคคล ใดบุคคลหนึ่งในพรรคเดโมแครต เปลี่ยนคำจำกัดความของ "นายรัช ลิมโบห์" นักจัดรายการวิทยุชื่อดังจาก "ตลก" เป็นคำว่า "ดันทุรัง" และเห็นว่าผู้ที่ฟังรัช ลิมโบห์ เป็นคน "ปัญญาอ่อน" นายดัฟ ธอร์นเนล โฆษกเดโมแครต กล่าวแต่เพียงว่า ไม่ทราบและคอมพิวเตอร์ของเดโมแครตทำงานด้วยความรับผิดชอบ (เหตุผลอย่างเดียวกับของซีไอเอเป๊ะเลย)
Virgil Griffith
"วิ กิสแกนเนอร์" ยังจับได้ว่า คอมพิวเตอร์จากพรรครีพับลิกัน เปลี่ยนคำว่า "กองกำลังที่เข้าครอบครอง" เป็น "กองกำลังปลดปล่อยเพื่อเสรีภาพ" เมื่อเข้าไปค้นหาว่า "พรรคบาธ" ซึ่งการเปลี่ยนแปลงคำนี้มีขึ้นหลังจากกองทัพสหรัฐบุกอิรัก
คอมพิวเตอร์ ของสหประชาชาติเป็นผู้แก้ไขข้อมูล โดยเรียกนักข่าวอิตาเลียนว่า "คนหัวรุนแรงไม่เลือกที่" ส่วนคอมพิวเตอร์ของวุฒิสภาสหรัฐ เปลี่ยนแฟ้มประวัติของ เฮเลน โธมัส นักข่าวประจำทำเนียบประธานาธิบดีว่า เป็นคนที่ชอบขัดจังหวะและน่ารำคาญ คอมพิวเตอร์ของบีบีซีเปลี่ยนชื่อกลางของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช จาก "วอล์กเกอร์" เป็น "แวงเกอร์" คอมพิวเตอร์ของรอยเตอร์เติมคำว่า "ฆาตกรฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ลงไปในประวัติของบุช
"วิกิพี เดีย" นอกจากจะเป็นแหล่งข้อมูลแล้ว
ยังเป็นแหล่งที่มีผู้ต้องการ "บิดเบือน" ข้อมูล พร้อมๆ กันไปด้วย
matichon
วิกิพีเดีย คือ สารานุกรมที่ร่วมกันสร้าง ขึ้นโดยผู้อ่าน มีคนหลายๆ คนร่วมกันปรับปรุงวิกิพีเดียอย่างสม่ำเสมอ แม้แต่คุณก็แก้ได้ โดยบทความจะสมบูรณ์ยิ่งขึ้นทุกๆ การแก้ไขโดยการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติ ซึ่งจะเก็บไว้ทุกครั้งและตลอดไป
จะช่วยในงานและชีวิตประจำวันได้อย่างไร
คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้หลากหลายอย่าง หาอะไรที่สามารถปรับปรุงได้ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา การเขียนและการใช้ภาษา หรือว่าการจัดรูปแบบ ถ้าอ่านแล้วรู้สึกติดขัด อาจจะขัดเกลาภาษาเพิ่ม เมื่ออ่านแล้วรู้สึกว่าควรเติมเนื้อหา คุณสามารถเพิ่มเติมได้อย่างง่ายดาย และไม่ต้องห่วงเลยว่าจะทำให้วิกิพีเดียเสียหาย เพราะว่าทุกอย่างสามารถแก้ไขหรือปรับปรุงไปได้เรื่อย ๆ ดังนั้น เริ่มทำได้ มาช่วยกันแก้บทความ และทำให้วิกิพีเดียเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดในอินเทอร์เน็ตกันเถอะ ลองดูส่วนหนึ่งที่คุณช่วยวิกิพีเดียได้ในหน้า คุณช่วยเราได้ และอย่ากลัวที่จะแก้ไขบทความบนวิกิพีเดีย — สารานุกรมที่ใครก็สามารถช่วยเขียนได้ และยิ่งไปกว่านี้ ทางเรายังสนับสนุนให้ผู้ใช้ กล้าแก้ไข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
อารายเหรอ