วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

รีโมตถอยไป!เทคโนโลยี ใหม่สั่งเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยสมอง



รีโมตถอยไป!เทคโนโลยี ใหม่สั่งเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยสมอง

Brain-computer interfaces offer liberating  possibilities like faster 'thought typing'. (Credit: Copyright  Presenccia)

อีกไม่นาน สวิตช์แสง, รีโมททีวี หรือแม้แต่กุญแจบ้านอาจจะต้องเข้าพิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณแล้ว เมื่อล่าสุดมีการคิดค้นเทคโนโลยีสั่งการคอมพิวเตอร์ด้วยสมอง ( brain-computer interface : BCI) ในยุโรป โดยผู้ใช้เพียงแค่สั่งการด้วยการนึกคิดของสมองเท่านั้น

เทคโนโลยีนี้ถูกนำมาจัดแสดงที่ CeBIT ในฮันโน เวอร์ เยอรมนี เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยเป็นนวัตกรรมใหม่ที่สามารถควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านได้อย่างชาญฉลาด ตลอดจนสามารถช่วยเหลือผู้พิการทางร่างกายได้อีกด้วย

"เทคโนโลยี BCI นี้ช่วยให้คนเปิดไฟ เปลี่ยนช่องทีวี หรือเปิดประตูได้แค่นึกถึงมันเท่านั้น" Christoph Guger ซีอีโอของบริษัทวิศวกรรมการแพทย์ g.tec ของ ออสเตรียผู้พัฒนาเทคโนโลยีนี้กล่าวไว้

ทีมพัฒนาของ g.tec ประกอบไปด้วยนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยหลายชาติและจากสถาบันวิจัยต่างๆที่เป็นสมาชิกของโครงการ Presenccia ที่ร่วม มือกันเพื่อสร้างเทคโนโลยี BCI ขึ้นมา โดยมีการสร้างบ้านจำลองแบบ virtual reality (VR) ที่มีอุปกรณ์ภายในบ้านครบครันรวมอยู่ในโครงการนี้อีกด้วย

"ห้องครัว ห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น ... ก็ทุกห้องที่บ้านทั่วไปมีนั่นแหละ คนสามารถเคลื่อนที่ไปยังที่ๆต้องการจะไปได้เพียงแค่นึกถึงสถานที่นั้นขึ้นมา เท่านั้นเอง"

ในการ ทดลองนี้ จะใช้ Electroencephalogram (EEG) ตรวจดูคลื่นสมองผ่านทางขั้ว ไฟฟ้าที่ติดกับศีรษะของผู้ใช้ หลังจากได้ฝึกซ้อมปฏิบัติการแล้ว ระบบสามารถเรียนรู้เพื่อแยกแยะได้ว่าลักษณะทางประสาทของผู้ใช้มีลักษณะแตก ต่างกันอย่างไรเมื่อมีการสั่งงานที่แตกต่างกัน เช่นนึกถึงการเดินก้าวเท้าไปข้างหน้า, เปิดสวิตช์ไฟ หรือเปิดปิดวิทยุ เป็นต้น

เนื่องจากว่าการเคลื่อนย้าย และควบคุมวัตถุใน VR นี้เกิดจากพลังนึกคิดของสมองเท่านั้น จึงเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการนำอุปกรณ์ชนิดนี้มาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ พิการทางร่างกาย เช่น สามารถช่วยให้ผู้พิการสามารถเปิดปิดโคมไฟเองได้ หรือควบคุมรถเข็นของตัวเองไปยังที่ต่างๆได้อย่างสะดวก

"ในการใช้งานจริงก็อาจจะใช้กับผู้พิการทางร่าง กายให้สามารถควบคุมรถเข็นไฟฟ้าได้โดยใช้การสั่งการคอมพิวเตอร์ด้วยสมอง" เมล สลาเตอร์ หนึ่งในผู้เริ่มต้นโครงการนี้เปิดเผย

"และก็น่าจะปลอดภัยกว่าถ้าผู้พิการเหล่านี้จะ เรียนรู้การใช้งานเครื่องนี้ผ่านทาง VR ก่อนจะนำไปใช้งานในสิ่งแวดล้อม จริงๆ ซึ่งหากมีข้อผิดพลาดก็อาจจะทำให้ความพิการนั้นรุนแรงขึ้นได้อีก"

นอกจากนั้น g.tec ยังนำ เทคโนโลยีนี้ไปควบคุมหุ่นยนต์ขนาดเล็กให้ทำงานตามที่คนสั่งได้ด้วยการใช้ ระบบแบบเดียวกัน โดยได้มีการสาธิตกล่องที่มีหลอดไฟ 4 อันอยู่แต่ตั้งให้มีความถี่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นวิธีที่รู้จักกันในชื่อ Steady State Visual Evoked Potentials (SSVEP)

"ตัวอย่าง เช่นไฟดวงบนสุดนี้นะ ถูกตั้งไว้ที่ความถี่ 10 เฮิร์ตซ์ ถ้าผู้ใช้จ้องมาที่ไฟดวงนี้ เครื่อง EEG ก็จะตรวจสองความถี่ของคลื่นสมอง ผู้ใช้ แล้วก็จะไปสั่งงานหุ่นยนต์ให้เดินไปข้างหน้า หรือหากมองไปที่ไฟดวงอื่นที่มีความถี่ต่างกัน ก็จะทำให้หุ่นยนต์เดินไปทางซ้ายหรือทำอะไรอย่างอื่น" กูเกอร์อธิบาย

g.tec ยังนำ เทคโนโลยีนี้มาปรับใช้กับการอำนวยความสะดวกในการพิมพ์ โดยผู้ใช้สามารถพิมพ์ข้อความได้ผ่านการนึกคิดของสโมสร โดยให้ผู้ใช้มานั่งอยู่หน้าตารางตัวอักษรและตัวเลขบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ แล้วเมื่อผู้ทำการทดลองบอกให้ผู้ใช้พิมพ์ตัวไหนก็ให้ผู้ใช้จ้องมองที่ตัว อักษรนั้น ระบบก็จะวิเคราะห์ดูว่าพฤติกรรมของสมองเมื่อมองอักษรนั้นเป็นอย่างไร และก็จะนำมาประมวลผล

ห"จาก ประสบการณ์ที่ผ่านมา คนสามารถเรียนรู้วิธีการพิมพ์ให้เร็วได้ เฉลี่ยอยู่ที่ 1 ตัวอักษรต่อระยะเวลา 0.8 วินาที ซึ่งเป็นความเร็วที่ใกล้เคียงกับการพิมพ์ด้วยนิ้วเพียงนิ้วเดียว"

"สองปีที่แล้วนี่ต้องใช้เวลา เป็นนาทีเลยนะกว่าจะพิมพ์ออกมาได้ 1 ตัวอักษร และต้องใช้เวลาเป็นวันเลยกว่าจะฝึกให้คนๆหนึ่งพิมพ์ได้ ตอนนี้เราสามารถเรียนรู้วิธีการใช้ระบบนี้ภายในเวลาเพียงแค่ 5 นาทีเท่านั้น" กูเกอร์กล่าว

ปัจจุบัน ความเที่ยงตรงของเทคโนโลยี BCI นี้กำลัง อยู่ในช่วงปรับปรุง โดย g.tec พบว่า 82 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้ทั้งหมดสามารถใช้งานระบบนี้ได้อย่างเที่ยงตรง

"5 ปีที่แล้ว มีเพียงแค่คนเดียวในโลกที่สามารถใช้ระบบนี้ได้อย่างเที่ยงตรง" กูเกอร์หมายเหตุเอาไว้

คาดว่าซี อีโอของ g.tec จะนำเทคโนโลยี BCI นี้เข้ามาใช้งานในทางการแพทย์ก่อน เพื่อช่วยเหลือผู้พิการและรักษาผู้ที่พักฟื้นจากการบาดเจ็บ อย่างไรก็ตาม เขาก็เชื่อว่าอีกไม่นานเทคโนโลยีนี้ก็คงจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำ วันได้ และหลังจากที่ได้ทดสอบใน VR มาแล้วนั้น บ้านแห่งอนาคตของ g.tec ก็เข้ามา อยู่ในส่วนหนึ่งของโครงการ SM4all จนได้ และได้รับการสนับสนุนจากทาง EU ให้ทำการวิจัยทดลองต่อไปอย่างเต็ม ที่อีกด้วย

g.tec ก่อตั้ง ขึ้นโดย hristoph Guger and Günter Edlinger ในปี 1999 ในฐานะร้านขายของที่ผลิตจาก Graz University of Technology เท่านั้น โดยจะขายเทคโนโลยีที่ได้รางวัลต่างๆให้กับบริษัทผู้ผลิตต่างๆ, มหาวิทยาลัย และสถานบันวิจัยอีก 55 ประเทศ

แปลจาก : http://www.sciencedaily.com/releases/2009/05/090511091733.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ