วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ย้อนรอย“ไทยรุ่ง” จากสามล้อถีบ สู่นายห้างพันล้าน

ย้อนรอย“ไทยรุ่ง” จากสามล้อถีบ สู่นายห้างพันล้าน




ภาพ : นายวิเชียร เผอิญโชค ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ (มหาชน) จำกัด



ไทยรุ่ง ยูเนี่ยนคาร์ หนึ่งบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่มีความเป็นไทยแท้ 100% ด้วยสโลแกน

“ภูมิใจที่เป็นไทย”

กว่าจะมาเป็นบริษัทขนาดใหญ่เช่นนี้ได้ ต้องผ่านอะไรต่อมิอะไรมาอย่างมากมาย รวมถึงผู้ก่อตั้ง
“นายห้างวิเชียร เผอิญโชค” ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็น “คนถีบสามล้อ” แต่ใครจะรู้บ้างว่า สามล้อถีบ
ผู้นั้นคือผู้มีคุณูประการอย่างยิ่งยวดต่อประเทศไทย เพราะเขาคือ
ผู้คิดค้นรถสามล้อเครื่องที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน อันเป็นสัญลักษณ์เด่นชิ้นหนึ่งของประเทศไทย
เมื่อรู้เช่นนี้แล้วเรามาทำความรู้จักไทยรุ่งฯ กันดีกว่า
การก่อกำเนิดของไทยรุ่งนั้นต้องขอเริ่มต้นที่ การถือกำเนิดของนายห้าง วิเชียร เสียก่อนเป็นลำดับแรก โดย
นาย วิเชียร เผอิญโชค เป็นชาวจีนแต้จิ๋ว มีบรรพบุรุษ อยู่ในเองซัวเถา ลงเรือสำเภาข้ามน้ำข้ามทะเล
อพยพจากจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่มโพธิสมภารผ่านดินสยามพร้อมกับแม่และ น้องสาวตั้งแต่เล็ก

เช่นเดียวกับคนจีนโพ้นทะเลจำนวนมากในสมัยนั้นที่ต้องการแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ในชีวิต

ขณะที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประเทศจีน ชื่อเดิมของนายห้างวิเชียร คือ “จึงเอี่ยวเชียง” หรือ
เอี่ยวเชียง แซ่จึง เป็นเด็กชายที่อาภัพ ไม่รู้กระทั่งวันเกิดแท้จริงของตัวเอง ทราบแต่ว่าเป็นปี 2459

“จึงเอี่ยวเชียง” เมื่อมาปักหลักในเมืองไทย ต้องหาเลี้ยงครอบครัวทุกวิถีทาง

จึงเริ่มต้นอาชีพด้วยการรับจ้างขายของ พายเรือขายเต้าหู้ ขายฝรั่งดอง จนถึงซ่อมจักรยาน
แต่ด้วยความที่เป็นคนช่างคิดช่างสังเกต หมั่นศึกษาหาความรู้จากสิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัวอยู่ตลอดเวลา
เขาจึงสามารถเพิ่มพูนความรู้รอบตัวได้อย่างมากมายแม้จะไม่รู้หนังสือเลยก็ ตาม



ภาพ : สภาพถนนหนทางของกรุงเทพฯ ในสมัยนั้น


เมื่ออายุได้ 22 ปี ในขณะที่มีอาชีพขี่จักรยานสามล้อรับจ้าง

พรสวรรค์ในการประดิษฐ์คิดค้นของ “จึงเอี่ยวเชียง” ก็เริ่มฉายแวว
เมื่อสามารถตกแต่งดัดแปลงรถสามล้อเครื่องด้วยตนเอง
จนเป็นต้นแบบสามล้อเครื่องอย่างที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ โดยนำมอเตอร์ไซค์เก่าๆ
มาดัดแปลงเป็นสามล้อรับส่งผู้โดยสารเป็นคนแรกของเมืองไทย ซึ่งนับเป็นการคันพบตัวเองครั้งยิ่งใหญ่
เป็นแรงบันดาลใจให้เขามุ่งหน้าไปสู่ทิศทางที่เป็นรากฐานของความเจริญก้าว หน้าในเวลาต่อมา

“อาเชียง” ในวัยหนุ่มนอกจากมีคุณสมบัติและพรสวรรค์อันยอดเยี่ยมในการดัดแปลงเครื่อง ยนต์กลไกต่างๆ

แล้ว ยังเป็นนักขายฝีมือฉกาจอีกด้วย และด้วยนิสัยชอบช่วยเหลือผู้อื่น
รักการบริการพอใจที่จะทำให้ผู้อื่นมีความสุข มีความพึงพอใจ
เขาจึงสร้างความประทับใจให้กับผู้คนที่รู้จักติดต่อค้าขายด้วยกันตลอดมา

ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 “อาเซียง” มีประสบการณ์ทำงานร่วมกับนายจ้างชาวไต้หวันและญี่ปุ่น

พร้อมกับมีความเชี่ยวชาญด้านจัดหาอะไหล่ในย่านเชียงกงอย่างหาตัวจับยาก
ซึ่งเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีของคนในวงการค้าของเก่าสมัยนั้น จนมีผู้ตั้งฉายาให้กับเขาว่า
“ลื้อชวนเลี้ยง”

ซึ่งหมายความถึง “ผู้วิเศษที่เนรมิตอะไรก็ได้”

เพราะเมื่อใดที่ใครไม่สามารถซ่อมแซมเครื่องยนต์หรือจัดหาอะไหล่ให้แก่รถยนต์ รุ่นใดได้
ก็จะมาหานายห้างวิเชียร หรือ “อาเชียง”
ซึ่งเขาจะสรรหาของที่ต้องการมาให้หรือไม่ก็แก้ไขปัญหาจนลุล่วงได้ทุกคราวไป

ความเก่งทำให้เถ้าแก่ไต้ล้ง(บิดาของนายถาวร พรประภา) ชักชวนวิเชียรเข้าไปทำงานเป็นลูกจ้างร้าน

ตั้งท่งฮวด (ต้นกำเนิดของกลุ่มบริษัท สยามกลการ อดีตผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์นิสสัน)

ภายหลังสงคราม ขณะที่วิเชียรทำงานเป็นช่างฟิตให้กับ ตั้งท่งฮวดอยู่นั้น

เขามีโอกาสได้ทำงานซ่อมรถยนต์เก่าของสหประชาชาติ
ซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศมาจำหน่ายในเมืองไทยทำให้เริ่มมีประสบการณ์ในการ ซ่อมแซมดัดแปลงรถยนต์ขนาดใหญ่
และนั่นเป็นการเจียระไนให้เพชรในตมอย่างวิเชียรเริ่มเปล่งประกายแวววาวขึ้น ทีละน้อยโดยที่เขาไม่รู้ตัว



สภาพของอู่ซ่อมและดัดแปลงรถในยุคก่อตั้งครั้งแรก


จากนั้นเมื่อนายถาวร พรประภา

ทายาทรุ่นลูกของห้างตั้งท่งฮวดได้แยกตัวออกมาก่อตั้งบริษัทสยามกลการขึ้น
วิเชียรจึงได้เข้าร่วมงานกับทางสยามกลการซึ่งเริ่มเป็นตัวแทนจำหน่ายรถ บรรทุกนิสสัน
โดยวิเชียรได้กำกับดูแลงานออกแบบต่อเติมตัวถังรถในฐานะนายช่างใหญ่

ทำงานกับสยามกลการได้ 6 ปี เขาก็ลาออกมาร่วมงานกับบริษัท มิตซูบิชิ (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้นำเข้าและจำหน่ายรถบรรทุกอีซูซุในขณะนั้น โดยนายโมริตะ ผู้บริหารของมิตซูบิชิเวลานั้น
เป็นผู้ชักชวนให้วิเชียรมาเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์อีซูซุรายแรกในประเทศไทย ในราวปี พ.ศ.2500

ประเด็นเกิดจากการที่นายโมริตะ

ถูกชะตากับนายวิเชียรและเห็นว่านายวิเชียรเป็นคนขยันขันแข็งจึงอยากให้มา ช่วยงาน
ประกอบกับนายวิเชียรกำลังมีปัญหาเรื่อง การไม่มีดีกรีทางการศึกษาใดๆ
อาจจะก้าวหน้าได้ยากในบริษัทที่ทำงานแบบสมัยใหม่ จึงตอบตกลงในทันทีหลังจากได้รับคำชักชวน

ด้วยความตั้งใจที่จะเข้ามาเป็นพนักงาน แต่ชะตาฟ้าได้เขียนให้นายวิเชียรต้องเป็นเจ้าของกิจการ

ไม่ใช่แค่ลูกจ้าง เนื่องจากเมื่อเจ้าสัวถาวร รู้ว่านายวิเชียร ลูกน้องคนสำคัญลาออกไปอยู่กับมิตซูบิชิ
ซึ่งอยู่ในตึกของตนเองแท้ๆ เจ้าสัวถาวร จึงได้โทรศัพท์ไปต่อว่านายโมริตะว่า ทำเช่นนี้ได้อย่างไร
นายโมริตะซึ่งเกรงใจเจ้าสัวถาร เป็นอย่างมากและเพื่อไม่ให้เจ้าสัวโกรธ จึงตอบกลับไปว่า นายวิเชียร
เป็นฝ่ายมาหาตนและต้องการที่จะเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์อีซูซุ ดังนั้น
นายวิเชียรจึงต้องตกกระไดพลอยโจนเป็น ตัวแทนขายรถยนต์อีซูซุ
เพื่อรักษาคำพูดของนายโมริตะที่ให้ไว้กับเจ้าสัวถาวร

และนี่คือจุดกำเนิดธุรกิจค้าขายและดัดแปลงรถยนต์ของวิเชียร เผอิญโชค

การเข้าร่วมงานกับอีซูซุด้วยความรู้ความสามารถรอบด้าน
โดยเฉพาะทางด้านช่างวิศวกรรมซึ่งฝึกฝนขึ้นมาจากประสบการณ์ในการทำงานล้วนๆ
ส่งผลให้นายห้างวิเชียรได้รับความไว้วางใจจากนายโมริตะอย่างยิ่ง จนทั้งคู่กลายเป็นเพื่อนสนิทกัน
และความสัมพันธ์ดังกล่าวได้ปูรากฐานสายสัมพันธ์ทางธุรกิจอันดีระหว่างกลุ่ม ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์กับทางอีซูซุตลอดมา

สำนักงานบริษัทชัย เจริญกิจ มอเตอร์ จำกัด ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์อีซูซุแห่งแรกในประเทศไทย



หลังจากที่นายห้างวิเชียร ได้ตกลงรับปากว่าจะ เป็นเอเย่นต์ขายรถยนต์อีซูซุ ให้กับนายโมริตะแล้ว ก็มีปัญหาตามมาคือ เรื่องสถานที่และเงินทุน ส่วนการขายนั้นนายห้างวิเชียรคิดว่าทำได้อย่างแน่นอน และแล้วปัญหาด้านสถานที่หมดไปเมื่อนายห้างวิเชียรตัดสินใจใช้ ลานวัดโคกเป็นโชว์รูม นับเป็นความคิดที่ไม่มีใครคาดถึง

ส่วนเรื่องเงินทุนนั้นสุดท้ายใช้วีธี “ใจซื้อใจ” เนื่องจากนายห้างวิเชียรไม่สามารถหาแบงค์การันตีมาได้ แต่นายโมริตะต้องให้นายห้างวิเชียรเป็นเอเย่นต์โดยไว เนื่องจากทางมิตซูบิชิมีสัญญาที่จะต้องส่งมอบรถให้กองทัพเรือตามกำหนด ซึ่งขณะนั้นรถอีซูซุส่งมาถึงเมืองไทยแล้วแต่ยังใช้ไม่ได้เพราะมีแต่หัวรถ โล้นๆ ไม่มีตัวถัง จำเป็นต้องหาคนมาทำหัวและตัวถังแล้วประกอบขึ้นเป็นรถบัสสำเร็จรูป แน่นอนว่า งานนี้รอความสามารถและฝีมือของ “วิเชียร เผอิญโชค”ล้วนๆ

หลังจากที่ธุรกิจขายรถยนต์อีซูซุ ดำเนินมาได้ระยะหนึ่ง ในชื่อของ ชัยเจริญกิจมอเตอร์ โดยสามารถขยายเอเย่นต์ได้ถึง 19 รายทั่วประเทศ นายห้างวิเชียร ก็ได้ย้ายโชว์รูมมาอยู่ที่ถนนสุรวงค์ บางรัก ซึ่งถือเป็นโชว์รูมอย่างเป็นทางการแห่งแรกของนายห้างวิเชียร และของรถยนต์อีซูซุ ในเมืองไทย ช่วงนี้เองที่ชัย เจริญกิจ มอเตอร์ มีโอกาสผลิตอะไหล่บางชิ้นป้อนให้กับอีซูซุในญี่ปุ่นซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้น ที่สำคัญที่ทำให้วิเชียรสามารถขยายธุรกิจด้านผลิตอะไหล่รถยนต์ได้อย่างกว้าง ขวาง




ยุคบุกเบิกของนาย ห้างวิเชียรที่สำนักงานบนถ.สุรวงศ์



แม้ในช่วงปีแรกๆ ของกิจการจะสามารถทำยอดขายได้เป็นอย่างดี ถึงปีละ 3 ล้านบาท แต่การขายรถญี่ปุ่นในสมัยนั้นเป็นเรื่องยากเนื่องจากยังไม่เป็นที่รู้จักของ คนไทยและสังคมยังมีความนิยมรถที่มาจากยุโรปมากกว่า ประกอบกับมีปัญหาในด้านการเก็บเงินจากลูกค้าไม่ได้ ทำให้ธุรกิจเริ่มมีปัญหา จึงเป็นที่มาของบุคคลสำคัญอีกท่านหนึ่งของ ไทยรุ่งฯ นั่นก็คือ
ปราณี(ดร.ปราณี ในปัจจุบัน) เผอิญโชค ภรรยา คู่ทุกข์คู่ยากของนายห้างวิเชียร

ซึ่งขณะนั้น ชัยเจริญกิจ มอเตอร์ มีหนี้สินสูงมากนับสิบล้านบาท และทางผู้บริหารฝ่ายญี่ปุ่นของอีซูซุได้เปลี่ยนจากนายโมริตะ เป็นนายนากามูระ ซึ่งยึดถือกฎระเบียบต่างๆ อย่างเคร่งครัด ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาหนี้สินดังกล่าวของชัยเจริญกิจ มอเตอร์ ทางญี่ปุ่นจึงได้ยื่นข้อเสนอยกหนี้ทั้งหมดให้พร้อมกับแถมเงินให้ก้อนหนึ่ง เพื่อเป็นการตอบแทนที่ได้ร่วมบุกเบิกธุรกิจร่วมกันมา โดยแลกกับการเลิกเป็นตัวแทนจำหน่ายอีซูซุอย่างเด็ดขาดของชัยเจริญกิจ มอเตอร์

แต่แน่นอนคำตอบของนายห้างวิเชียรคือ ไม่ยอมและจะขอสู้ต่ออีกครั้ง นั่นจึงเป็นที่มาของการเข้ามาช่วยงานสามีของ ปราณี ซึ่งเข้ามาดูแลในส่วนของการจัดการด้านบัญชีรายรับรายจ่ายและการบริหารบุคคล ส่วนนายห้างวิเชียรจะดูแลเรื่องการผลิตที่ตนเองถนัดเพียงอย่างเดียว

และเมื่อเข้ามาทำงานร่วมกันทำให้ ปราณีได้ค้นพบว่า สามีของตัวเองนั้นมีพรสวรรค์ในการดัดแปลงรถยนต์มากเพียงไร รวมถึงจิตใจที่มีความรักรถยนต์มากเป็นอันดับหนึ่ง นอกเหนือจากความชู้และเจ้าสำราญที่เกือบทำให้เธอคิดสั้นฆ่าตัวตายหนีปัญหามา แล้ว




ดร.ปราณีเคียงคู่กับ นายห้างวิเชียรในธุรกิจของไทยรุ่งวิศวกรรมตลอดมา



หลังจากนั้น ชัยเจริญกิจ มอเตอร์ เริ่มฟื้นตัวได้แต่ปัญหาหนึ้สินเดิมยังไม่สามารถปลดเปลื้องไปได้ง่ายๆ ทำให้สถานการณ์ไม่ต่างอะไรกับคนไข้ไอซียูที่ถอดเครื่องช่วยหายใจเมื่อไหร่ก็ กลับบ้านเก่าเมื่อนั้น และในท่ามกลางวิกฤตนี้ ทางญี่ปุ่นให้คำแนะนำว่า นายช่างวิเชียรอาจจะไม่ประสบความสำเร็จในการเป็นตัวแทนจำหน่ายก็จริง แต่ฝีไม้ลายมือในการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่และการออกแบบดัดแปลงรถยนต์ยังเป็นที่ ยอมรับของญี่ปุ่นอยู่

น่าจะเปลี่ยนแนวธุรกิจใหม่หันมาเปิด โรงงานต่อตัวถังรถบรรทุกและผลิตชิ้นส่วนรถยนต์อย่างเดียวดีกว่า เพราะ การเป็นตัวแทนจำหน่ายรถโดยไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันกับธนาคารเป็นเรื่องยาก ลำบากมาก ยิ่งเมื่อจัดเก็บเงินไม่ได้ปัญหาหนี้สินยิ่งเป็นดินพอกหางหมูไปเรื่อยๆ

ดังนั้นด้วยความเชื่อมันในฝีมือเชิงช่างของตัวเองส่วนหนึ่งกับคำแนะ นำของทางญี่ปุ่นอีกส่วนหนึ่งทำให้นายห้างวิเชียร เปลี่ยนเป้าหมายหันมาทุ่มเทงานด้านการผลิตชิ้นส่วนและรับจ้างทำตัวถังรถ บรรทุกให้มากขึ้นในช่วงท้ายๆ ของการดูแลชัยเจริญกิจให้พอมีลมหายใจต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง ก่อนจะปิดตัวลง




สำนักงานบริษัทไทย รุ่งวิศวกรรมยุคแรกๆ เมื่อปี พ.ศ.2513 เป็นเพียงอาคารห้องแถวเล็กๆ ไม่กี่คูหา




ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2509 บริษัท อีซูซุ (ประเทศไทย) ได้ตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ขึ้นเอง สนองตามนโยบายของรัฐบาลในสมัยนั้นที่ให้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่อุตสาหกรรม ต่างๆ เพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศ

ปี พ.ศ.2510 นายห้างวิเชียร จึงตัดสินใจครั้งสำคัญที่สุดในชีวิต ด้วยการก่อตั้ง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยรุ่งวิศวกรรม ขึ้นมาเพื่อมุ่งผลิตชิ้นส่วนและตัวถังรถยนต์เป็นหลัก ตอบสนองนโยบายของรัฐในช่วงปี 2510-2520 ที่ต้องการให้มีการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศเพื่อลดการนำเข้า เพื่อช่วยลดการขาดดุลการค้าทางหนึ่ง หลังจากที่ประเทศไทยขาดดุลการค้าอย่างรุนแรงถึง 11,000 ล้านบาทในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม ทำไว้ช่วงปี พ.ศ. 2508-2509

การก่อตั้งบริษัทในครั้งนั้นนายห้างวิเชียร มีเงินสดลงทุนเพียง 80,000 บาท นอกนั้นล้วนเป็นเงินกู้ที่ไปหยิบยืมเขามาทั้งสิ้น โดยบริษัทแห่งนี้ตั้งขึ้นด้วยทุนจดทะเบียนสูงถึง 5 ล้านบาท เพื่อรับผลิตชิ้นส่วน แม่พิมพ์ และตัวถังรถยนต์ พร้อมทั้งรับประกอบกระบะท้ายรถบรรทุกและประกอบตัวถังรถบัส ซึ่งนายห้างวิเชียร รับผิดชอบด้านควบคุมโรงงานและการออกแบบ ส่วนปราณีดูแลงานบริหารทั้งหมด โดยเฉพาะด้านบัญชีและการขายเหมือนเช่นเคย



และครั้งนี้เองที่ชื่อของ ไทยรุ่งฯ ได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ

หลังจากที่ล้มลุกคลุกคลานอยู่นาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ