ความเครียดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าเมื่อคุณตื่นขึ้นต้องเจอกับรถติด คนขับรถปาดไปปาดมา ทะเลาะเบาะแว้งกับคนในครอบครัว เลิกกับแฟน สามีนอกใจ มาทำงานเจอเจ้านาย ทำงานไม่เอาไหน มีลูกน้องขี้นินทา เพื่อนร่วมงานขี้อิจฉา งานหนัก เงินน้อย ไม่พอใช้ โอ๊ย ! อื่นๆอีกมากมาย สาธยายจนเต็มหน้ากระดาษก็คงไม่หมด ปัญหาเหล่านี้เป็นเพียงปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้คนเราเกิดความเครียด ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นกับการประเมินสถานการณ์ของแต่ละบุคคล ถ้าคุณเป็นคนมองโลกในแง่บวก มีทักษาและความสามารถจัดการกับปัญหาต่างๆ ได้ตรงจุด และลุล่วงไปได้โดยง่าย ก็ถือว่าคุณเป็นคนที่โชคดีคนหนึ่งไม่ค่อยเครียด หรือ บางท่านก็อาจจะเป็นประเภทที่ไม่ใส่สนใจกับสิ่งรอบข้าง หลบหลีก หนีปัญหาที่เกิดขึ้นหรือโยนปัญหาให้กับผู้อื่น ไม่รู้ผิดชอบกับการกระทำของตนเอง อย่างนี้ก็คงไม่เครียดเหมือนกัน (แต่คนที่อยู่รอบข้างคงจะเครียดแทน) ส่วนบางท่านที่ทองโลกเป็นสีดำมืดอยู่เสมอ ๆ มองสิ่งต่างๆ ในแง่ลบ คิดว่าตัวเองเป็นผู้ถูกกระทำ (เหยื่อ) อยู่ตลอดเวลา เอาจริงเอาจังกับชีวิตจนเกินไป แน่นอนท่านย่อมเกิดความเครียดได้โดยง่ายแม้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพียง ปัญหาแค่เล็กน้อย แต่ใช่ว่าความเครียดจะเป็นสิ่งที่ไม่ดีเสมอไป ถ้าท่านมีความเครียดในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง มันก็จะทำให้ท่านมีความกระตือรือร้น ใส่ใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น มีพลังในการดำเนินชีวิตให้ถึงจุดมุ่งหมาย เส้นโลหิตสูบฉีด แต่ถ้าเมื่อใดท่านมีความเครียดมากจนเกินไป เกินกว่าที่ตัวท่านจะควบคุมมันได้ คงจะต้องหาเวลาหยุดตัวเองซักนิดเพื่อผ่อนคลายความเครียดที่เกิดขึ้นออกไปไม่ เช่นนั้นแล้ว มันอาจเป็นสิ่งที่ทำร้ายตัวท่านเองและคนรอบข้างได้ เช่น มันอาจทำให้ท่าน เป็นคนหงุดหงิดง่าย ฟุ้งซ่าน ขี้บ่น ชวนทะเลาะ ปากร้าย ตัดสินใจไม่แน่นอน ทำให้งานผิดพลาด ซึมเศร้า เก็บกด ขาดความสุขในชีวิต ติดเหล้า ติดบุหรี่ คงไม่มีใครอยากอยู่ใกล้ท่านเป็นแน่ถ้าท่านมีพฤติกรรมที่แย่ๆ เหล่านี้ และมันอาจส่งผลถึงสุขภาพทางกายได้ด้วย เช่น ปวดหัว ความดันโลหิตสูง ท้องอือเฟ้อ เป็นโรคกระเพาะ ประจำเดือนมาไม่ปกติขาดสมรรถภาพทางเพศ
เราลองมาดูกันซิว่าคุณเป็นคนที่มีระดับความเครียดอยู่ในเกณฑ์ใด
(พัฒนา โดย นายแพทย์สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะโรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข)
ให้คุณอ่านหัวข้อข้างล่างนี้ แล้วสำรวจดูว่าในระยะ 6 เดือน ที่ผ่านมามีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นกับคุณบ้างถ้าข้อไหนไม่ได้เกิดขึ้นให้ข้ามไป ไม่ต้องตอบ แต่ถ้ามีเหตุการณ์ในข้อใดเกิดขึ้นกับคุณให้ประเมินว่าคุณมีความรู้สึก อย่างอย่างไรต่อเหตุการณ์นั้น ให้คะแนนความเครียดตามช่องที่คุณประเมิน โดย
คะแนนความเครียด 1 คะแนน หมายถึง ไม่รู้สึกเครียด
คะแนนความเครียด 2 คะแนน หมายถึง รู้สึกเครียดเล็กน้อย
คะแนนความเครียด 3 คะแนน หมายถึง รู้สึกเครียดปานกลาง
คะแนนความเครียด 4 คะแนน หมายถึง รู้สึกเครียดมาก
คะแนนความเครียด 5 คะแนน หมายถึง รู้สึกเครียดมากที่สุด
เมื่อคุณทำแบบสำรวจเสร็จแล้ว ลองนับคะแนน ดูซิว่าคุณมีระดับความเครียดขนาดไหน
การแปลผล
คะแนน 0-23 เครียดน้อย
คะแนน 24-41 เครียดปานกลาง
คะแนน 46-61 เครียดสูง
คะแนน 62 ขึ้นไป เครียดรุนแรง
โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ความเครียดในระดับต่ำ (Mild Stress) หมายถึงความเครียดขนาดน้อย ๆ และหายไปในระยะเวลาอันสั้นเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ความเครียดระดับนี้ไม่คุกคามต่อการดำเนินชีวิต บุคคลมีการปรับตัวอย่างอัตโนมัติ เป็นการปรับตัวด้วยความเคยชินและการปรับตัวต้องการพลังงานเพียงเล็กน้อยเป็น ภาวะที่ร่างกายผ่อนคลาย
2. ความเครียดในระดับปานกลาง (Moderate Stress) หมายถึง ความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิต ประจำวันเนื่องจากมีสิ่งคุกคาม หรือพบเหตุการณ์สำคัญ ๆ ในสังคม บุคคลจะมีปฏิกิริยาตอบสนองออกมาใน ลักษณะความวิตกกังวล ความกลัว ฯลฯ ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติทั่วไปไม่รุนแรง จนก่อให้เกิดอันตรายแก่ ร่างกายเป็นระดับความเครียดที่ทำให้บุคคลเกิดความกระตือรือร้น
3. ความเครียดในระดับสูง (Height Stress) เป็นระดับที่บุคคลได้รับเหตุการณ์ให้ก่อให้เกิดความเครียดสูงไม่สามารถปรับ ตัวให้ลดความเครียดลงได้ในเวลาอันสั้นถือว่าอยู่ในเขตอันตราย หากไม่ได้รับการบรรเทานำไปสู่ความเครียดเรื้อรัง เกิดโรคต่าง ๆ ในภายหลังได้
4. ความเครียดในระดับรุนแรง (Severe Stress) เป็นความเครียดระดับสูงที่ดำเนินติดต่อกันมา อย่างต่อเนื่องจนทำให้บุคคลมีความล้มเหลวในการปรับตัวจนเกิดความเบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดแรง ควบคุมตัวเองไม่ได้ เกิดอาการทางกายหรือโรคภัยต่างๆ ตามมาได้ง่าย
ตอนนี้คุณคงพอจะทราบแล้วว่าคุณมีระดับความเครียดอยู่ในเกณฑ์ใด ถ้ามันสูงจนเกินไป ถึงเวลาแล้วที่คุณควรจะผ่อนคลายมันออกไปบ้าง วิธีคลายเครียดก็มีอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล เช่น บางคนชอบเล่นกีฬา ก็ออกไปเล่นกีฬาที่คุณชอบ บางคนชอบที่จะเข้าวัดเข้าวาฟังธรรมะ สงบจิต สงบใจ ทำสมาธิ อันนี้ก็ดีไม่ใช่น้อย บางคนชอบที่จะทำครัว (ข้อนี้ดีกับตัวเองและคนรอบข้าง) ส่วนตัวผู้เขียนเองชอบนอนอยู่บ้าน หาหนังมาดูซักเรื่องสองเรื่อง พร้อมขนม แค่นี้ก็สามารถผ่อนคลายความเครียดได้เยอะแล้วลองพยายามหากิจกรรมที่คุณชอบ และเหมาะสมกับตัวคุณ
ช่วงนี้การทำสปากำลังเป็นที่นิยมในบ้านเรา ถ้าท่านใดพอจะมีสตางค์ ก็น่าจะไปลองดู ได้ยินมาว่าช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดได้ดีเหมือนกัน (ผู้เขียนเองยังไม่เคยไปเลย) ถ้าท่านไม่ค่อยมีสตางค์ ก็มีเทคนิคการนวดตัวเองอย่างง่าย นั่งทำงานอยู่ที่โต๊ะก็สามารถทำได้
คำเตือนก่อนปฏิบัติ
- อย่าลืมทำความสะอาดมือและใบหน้า
- ไม่ควรใส่แหวนและต่างหูเพราะอาจขูดใบหน้าท่านได้
- งดการนวดเมื่อใบหน้าเป็นสิว หรือเป็นโรคผิวหนัง
1) ท่าเสยผมใช้นิ้ว ชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง กดขอบกระบอกตาบนให้แน่นพอควร ทำทั้งสองข้างพร้อมๆกัน ค่อยๆ ดันนิ้วทั้งสามขึ้นไปเรื่อยๆ บนศีรษะจนถึงท้ายทอยแบบเสยผม ทำ 10-20 ครั้ง
2) ท่าทาแป้งใช้นิ้วกลางทั้งสอง กดตรงหัวตา (โคนสันจมูก)ให้แน่นพอควร แล้วดันนิ้วขึ้นไปจนถึงหน้าผาก จากนั้นใช้นิ้วทั้งหมด (ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ) กดเบาๆที่หน้าผากแล้วลูบลงไปข้างแก้มมายังคาง ทำ 10-20 ครั้ง
3) ท่าเช็ดปากใช้ หลังมือขาวทาบใต้คาง แล้วลากมือกดแน่นกับปากพอสมควร ลากมือไปทางขวาให้สุด เปลี่ยนมือซ้ายแล้วทำแบบเดียวกัน นับเป็น 1ครั้ง ทำ 10-20 ครั้ง
4) ท่าเช็ดคางใช้ หลังมือขวาทาบใต้คาง แล้วลากมือจากทางซ้ายไปทางขวาให้หลังมือกดแน่นกับใต้คางพอควร เปลี่ยนใช้มือซ้ายทำแบบเดียวกัน นับเป็น 1 ครั้ง ทำ 10-20 ครั้ง
5) ท่ากดใต้คางใช้ นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้าง กดใต้คางโดยให้ปลายนิ้วตั้งฉากกับคาง ใช้แรงกดพอควร และกดนานประมาณ 10 วินาที หรือ 1-10 อย่างช้าๆ เลื่อนจุดกดให้ทั่วใต้คาง เฉพาะด้านหน้า ทำ 5 ครั้ง
6) ท่าถูหน้าและหลังหูใช้ มือแต่ละข้าง คีบหูโดยกางนิ้วกลางและนิ้วชี้คีบอย่างหลวมๆ วางมือให้แนบสนิทกับแก้ม ถูขึ้นลงแรงๆนับเป็น 1 ครั้ง ทำ 20-30 ครั้ง
7) ท่าตบท้ายทอยใช้ ผ่ามือปิดหู ให้นิ้วทั้งหมดอยู่ตรงท้ายทอย และปลายนิ้วกลางจรดกัน กระดิกนิ้วให้มากที่สุดแล้วตบที่ท้ายทอยพร้อมกันทั้งสองมือ ด้วยความแรงพอควร 20-30 ครั้ง
เมื่อครั้งสมัยยังเป็นเด็ก เวลาเรียนวิชาพุทธศาสนา คุณครูได้สอนเรื่องทางสายกลาง ก็ได้แต่นั่งเขียน นั่งท่อง ตามที่ครูบอก ไม่ได้มีความเข้าใจ ใส่ใจกับสิ่งที่ครูพูดชักเท่าใด เมื่อโตขึ้นได้มีโอกาสเจอะเจอคนหลากหลาย ได้เห็นเพื่อนบางคนเครียดซะจนสติแตก หรือแม้แต่กระทั่งตัวเองบางครั้งก็ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความ เครียด
จึงเกิดความเข้าใจ กับคำว่าทางสายกลางมากขึ้น และพบว่าในทางปฏิบัตินั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าใดนัก เพราะยังมีองค์ประกอบอีกหลายๆ อย่างที่เราไม่สามารถควบคุมมันได้ แต่สิ่งที่ดีที่สุดที่เราจะทำได้น่าจะเป็นการ จัดการกับตัวเองและไม่ปล่อยให้เครียดเข้ามาควบคุมเรา คงไม่มีใครช่วยคุณได้ดีที่สุดเมื่อเกิดความเครียดได้เท่ากับตัวคุณเอง
ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กับ วิชาการดอทคอม
ขอขอบคุณผู้เขียน : คุณอนุตตรา นวมถนอม
เองสาร อ้างอิง
1) คู่มือคลายเครียด กรมสุขภาพจิต (2543) กระทรวงสาธารณสุข2) คู่มือการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพข้าราชการพลเรือน (2540) การกีฬาแห่งประเทศไทย
โครงการเคมี
กรม วิทยาศาสตร์บริการ
โทร 0 2201 7232-33
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
อารายเหรอ