วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

สุดยอดสมบัติจากเมืองโบราณจีน

- เครื่องปั้นดินเผาเขียนลายสัตว์เลื้อยคลาน ที่พบในซากแหล่งชุมชนหยางกงไจ้
เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์-จีนประกาศ 10 สุดยอดการค้นพบทางโบราณคดีทั่วประเทศจีน ประจำปี พ.ศ. 2552 เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา โดยมีซากโบราณสถาน “หยางกงไจ้” 杨公寨 ในมณฑลส่านซี ขึ้นแท่นอันดับหนึ่งของการค้นพบ ประจำปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ จีนได้จัดการพิจารณาคัดเลือก “10 สุดยอดการค้นพบใหม่ทางโบราณคดีทั่วประเทศ” มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 โดยครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 19 การคัดเลือกนี้ ได้กลายเป็นที่สนใจอย่างมากจากวงการโบราณคดีทั้งในและนอกดินแดน

ที่ซากโบราณสถานหยางกงไจ้แห่งนี้ กลุ่มนักโบราณคดีค้นพบหลักฐานชิ้นเด็ดของวัฒนธรรมยุคหินใหม่แห่งลุ่มแม่น้ำ เหลือง ที่เรียกว่า วัฒนธรรมเมี่ยวตี่โกว 庙底沟文化 (4,000-3,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) ได้แก่ ซากแหล่งที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ที่มีคูน้ำ ล้อมรอบ ทั้งมีความสมบูรณ์มากที่สุดในบรรดาซากวัฒนธรรมดังกล่าวที่มีการขุดค้นเจอใน ช่วงก่อนหน้า

ซากโบราณสถาน หยางกงไจ้ เป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีคูน้ำ ยาว 1,945 เมตร ล้อมรอบ พื้นที่ 245,790 ตารางเมตร ซึ่งมีขนาดใหญ่เท่ากับพื้นที่ของสนามฟุตบอล 40 แห่งรวมกัน นักโบราณคดียังสันนิษฐานว่า อดีตชุมชนใหญ่แห่งนี้ อาจเป็นศูนย์กลางแหล่งที่อยู่อาศัยของผู้คน และอาจเป็นเมืองเก่าแก่ ถึง 5,500 ปี ก่อนประวัติศาสตร์

นอกจากแหล่งชุมชนที่มีคูน้ำล้อมรอบนี้แล้ว กลุ่มนักโบราณคดียังพบซากสิ่งก่อสร้างได้แก่ถ้ำที่อยู่อาศัย หรือ “บ้านถ้ำ” นับเป็นสิ่งก่อสร้างที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ที่เก่าแก่ที่สุด ที่เท่าที่มีการศึกษาในขณะนี้ หลักฐานชิ้นนี้ยืนยันว่ามนุษย์ในยุคกว่า 5,000 ปีที่แล้ว ก็เริ่มอาศัยในถ้ำแล้ว

เศษเครื่องเคลือบดิน เผารูปหน้าคนพบในซากแหล่งชุมชนหยางกงไจ้
สำหรับโบราณวัตถุล้ำค่าที่พบได้ยากในบริเวณซากโบราณคดีแห่งนี้ ยังมี “ภาชนะก้นลึกแกะลายฉลุรูปหน้าคน” เจาะรูเป็นลูกตา รูปปาก ตรงกลางมีจมูกยื่นออกมา นับตั้งแต่มีการขุดค้นมา มีการค้นพบภาชนะรูปแบบนี้เพียง 2 ชิ้นเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีภาชนะเครื่องเคลือบดินเผาเขียนลายเป็นรูปสัตว์เลื้อยคลาน, ชิ้นส่วนโบราณวัตถุรูปใบหน้าคน ที่วาดด้วยสารซินนาบาร์ ซึ่งพบได้ยากมาก

ภาชนะก้นลึกแกะลาย ฉลุรูปหน้าคนพบในซากแหล่งชุมชนหยางกงไจ้
สำหรับวัฒนธรรม เมี่ยวตี่โกว เป็นตัวแทนวัฒนธรรมในช่วงกลางยุควัฒนธรรม หยั่งเสา ซึ่งชื่อเรียกวัฒนธรรมทั้งสองนี้ นักโบราณคดีได้เรียกตามแหล่งที่ค้นพบวัฒนธรรมดังกล่าวครั้งแรก ได้แก่ เมี่ยวตี่ เป็นชื่อธารน้ำ ในเขต ส่าน มณฑลเหอหนัน ส่วน “หยั่งเสา” เป็นเป็นชื่อหมู่บ้าน ในเขตเหมี่ยนฉือ มณฑลเหอหนัน

ซากแหล่งที่อยู่ อาศัยหยางกงไจ้ ที่อาจมีความเก่าแก่ถึง 5 พันปี
ซากโบราณคดีอีกแห่งในมณฑลส่านซี ที่ได้ขึ้นแท่นอันดับสี่ของการคัดเลือกครั้งนี้ ได้แก่ ซากวัดโจวกงแห่งฉีซัน (岐山周公庙)


แผ่นกระดูกจารึกตัว อักษร ที่พบในซากวัดโจวกง
ซากวัดโจวกงแห่งฉีซัน พื้นที่ 8 หมื่นตารางเมตร เป็นสุสานยุค “ซีโจว” (ศตวรรษที่ 11-771 ปี ก่อนค.ศ.)หรือ ราชวงศ์โจวตะวันตกขนาดใหญ่ และอลังการสูงส่งที่สุด เท่าที่มีการศึกษาในขณะนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังได้ค้นพบกำแพงเมืองซีโจว ความยาว 1,500 เมตร และที่น่าตื่นเต้นที่สุด คือแผ่นกระดูกเสี่ยงทาย จำนวน 7,651 ชิ้น มีตัวอักษรแกะสลักอยู่บนกระดูก กว่า 2,000 ตัวอักษร นับเป็นซากโบราณสถานที่มีการค้นพบแผ่นกระดูกเสี่ยงทายยุคซีโจวมากที่สุด

เครื่องประดับคอ ทำจากบรอนซ์ พบที่ซากหลุมฝังศพฉีเจีย
ซากสุสานวัฒนธรรมฉีเจีย ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านโหมวโกว เมืองหลินถัน มณฑลกันซู่ (甘肃临潭磨沟齐家文化墓地)โดย นักโบราณคดีจีนระบุให้อยู่ในยุคสำริด มีอายุระหว่าง 4,200 – 3,700 ปีก่อน ในบริเวณดังกล่าว นักโบราณคดีค้นพบสุสานถึง 240 แห่ง และยังประกอบด้วยเครื่องใช้ต่างๆอีกกว่า 2,000 ชิ้น ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา , เครื่องมือทำจากหิน , กระดูก ,เครื่องทองแดง และทองคำ

กลุ่มหลุมฝังศพของฉี เจีย ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
วัฒนธรรมฉีเจีย เป็นวัฒนธรรมโบราณทางภาคตะวันตกของจีน นับเป็นวัฒนธรรมสำคัญของอารยธรรมจีน

ซากแหล่งผลิตเกลือแห่งเมืองซวงหวัง เมืองโซ่วกวง มณฑลซันตง (山东寿光双王城盐业遗址群)นับเป็นแหล่งผลิต เกลือขนาดใหญ่ที่สุด เท่าที่มีการค้นพบในขณะนี้ ตั้งอยู่ที่เมืองโซ่วกวง มณฑลซันตง ซากแหล่งผลิตเกลือโบราณนี้ ครอบคลุมพื้นที่ 30 ตารางกิโลเมตร นักโบราณคดีค้นพบซากแหล่งผลิตเกลือเหล่านี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ประกอบด้วย แหล่งผลิตเกลือยุคต่างๆ ได้แก่ ยุคหลงซัน 3 แห่ง, ปลายยุคราชวงศ์ซังและต้นยุคราชวงศ์ซีโจว หรือโจวตะวันตก 76 แห่ง, ยุคตงโจว หรือโจวตะวันออก 4 แห่ง, ยุคจิน และ ยุคหยวน 6 แห่ง

ซากแหล่งผลิตเกลือ ที่ซวงหวังเฉิง


เครื่องมือยุคซัง โจว ที่พบในซากแหล่งผลิตเกลือซวงหวังเฉิง
ซากปากน้ำในตำบล เตี้ยนหนัน อำเภอเจี้ยนชวน มณฑลหยุนหนัน (ยูนนาน) (云南剑川海门口遗址)ครอบคลุม พื้นที่ 50,000 ตารางเมตร สิ่งที่ค้นพบในบริเวณซากโบราณแห่งนี้ ได้แก่ ซากบ้านเรือน, ที่ก่อไฟ, ไม้ฝืน, ก้อนหินสีขาวขุ่น, หลุมที่มีกระดูกคน, เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีสมบัติอื่นๆ กว่า 3,000 ชิ้น ได้แก่ เครื่องเคลือบดินเผา, เครื่องมือทำจากหิน, เครื่องมือทำจากกระดูกหรือเขาสัตว์, เครื่องมือทำจากโลหะ เช่น บรอนซ์ และเหล็ก ฯลฯ

ซากค่ายทหารพระราชินี หรงหยาง มณฑลเหอหนัน (河南荥阳娘娘寨遗址) ตั้งอยู่ที่ตำบลอี้ว์หลง เมืองหรงหยาง เขตเจิ้งโจว มีตำนานเล่าขานว่า เป็นค่ายทหารของราชินีอู่เวยแห่งราชวงศ์เหนือ ฐานของค่ายยังอยู่ในสภาพที่ดีมาก ในบริเวณซากโบราณสถานนี้ ยังพบซากเมืองโบราณยุคซีโจว ถึงยุคสงคราม (จ้านกั๋ว)

ซากเมือง เหอหลีว์ ตำบลอู๋ซีหูไต้ หมู่บ้านหูซัน มณฑล เจียงซู (江苏无锡阖闾城遗址) มณฑลเจียงซู ได้ประกาศซากเมืองโบราณแห่งนี้ เป็นสถานที่อนุรักษ์มาตั้งแต่ปี 2499 ต่อมาในปี 2547 เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์หนันจิงได้ขุดพบวัฒนธรรมหม่าเจีนปิน (马家浜文化), วัฒนธรรมหม่าเฉียว, และเศษเครื่องปั้นดินเผาสมัยชุนชิว และหัวลูกธนูทำจากบรอนซ์ อีก 1 ชิ้น

*เหอหลีว์ เจ้าครองแคว้นอู๋ (514-496 ก่อนค.ศ.) ตรงกับช่วงปลายยุคชุนชิว

ภาพหลุมฝังศพยุคชุชิ วหมายเลขหนึ่งแห่งเมืองปั้งปู้ มณฑลอันฮุย
หลุมฝังศพยุคชุชิวหมายเลขหนึ่งแห่ง เมืองปั้งปู้ มณฑลอันฮุย (安徽蚌埠双墩一号春秋墓) เป็นสิ่งก่อสร้างในยุคกลางและปลายสมัยชุนชิว ทำจากดิน 5 สี รูปวงกลม ปากหลุมกว้าง 20.2 เมตร ความลึก 7.5 เมตร ภายในหลุมศพ พบโบราณวัตถุมากมาย ทั้งติ่ง, อาวุธ, ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาเขียนลวดลายตะการตา เป็นต้น

เครื่องปั้นดินเผา ที่พบในหลุมฝังศพยุคชุชิวหมายเลขหนึ่งแห่งเมืองปั้งปู้ มณฑลอันฮุย


ภาชนะอุปกรณ์ที่พบใน หลุมฝังศพยุคชุชิวหมายเลขหนึ่งแห่งเมืองปั้งปู้ มณฑลอันฮุย


ซากสุสานฝังศพ ซินเจิ้งหูจวง มณฑลเหอหนัน(河南新郑胡庄墓地) นับเป็นสุสานที่สำคัญแห่งหนึ่ง ตกทอดจากยุคราชวงศ์ตงโจว หรือโจวตะวันออก

ซากถนนถังซ่ง แห่งเจียงหนันก่วน เมืองเฉิงตู มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) (四川成都江南馆街唐宋街坊遗址) ครอบคลุมพื้นที่ 5,000 ตารางเมตร สิ่งที่ค้นพบ ได้แก่ ร่องระบายน้ำ 16 สาย แห่งยุคถัง ซ่ง, ถนน 8 สาย, ซากบ้านเรือน 1 แห่ง และปากบ่อน้ำ 3 แห่ง


http://th.newspeg.com/%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99-30197192.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ