วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หุ่นยนต์ คุณหมอพระราชทาน

หุ่นยนต์ คุณหมอพระราชทาน

หุ่นยนต์ คุณหมอพระราชทาน โดย ศาสตราจารย์ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต และคนอื่นๆ
หุ่นยนต์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะใช้ได้ในอนาคต หุ่นยนต์จะใช้แทนมนุษย์สัตว์ เครื่องมือ ฯลฯ เพื่อให้ทำงานในที่ที่มนุษย์เข้าไปไม่ได้ เช่น ในที่ที่มีความร้อนสูงหรือมีความเย็นจัด มนุษย์หรือสัตว์ไม่สามารถเข้าไปได้ แต่หุ่นยนต์เข้าไปได้ รวมทั้งโต้น้ำหรือในอวกาศ หรือในที่ที่มีการติดเชื้ออย่างรุนแรง

หุ่นยนต์อาจจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ หรือมีรูปร่างอย่างโดก็ได้ แล้วแต่ความประสงค์ของผู้ใช้งาน หรือจะใช้บังคับจากที่โดที่หนึ่งที่อยู่ไกลๆ ก็ได้ เช่น การผ่าตัดข้ามโลกด้วยหุ่นยนต์แทนศัลยแพทย์ผู้ชำนาญ ใช้ไนการสู้รบและทำลายศัตรูก็ได้ เมื่อเข้าไปใกล้ศัตรู หุ่นยนต์ก็จะถูกกดปุ่มให้ระเบิดตัวเอง ทำให้ศัตรูถูกระเบิดไปด้วยประโยชน์ ของหุ่นยนต์มีอีกมากมาย เพราะหุ่นยนต์ทำงานซ้ำๆ กันได้โดยไม่ผิดพลาด ไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยหรือง่วงนอน และสามารถสร้างความสนใจได้ ประการสุดท้ายคือ หุ่นยนต์ สามารถทำงานตามคำสั่งได้อย่างดียิ่ง


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงเข้าพระทัยในเรื่องนี้ เป็นอย่างดีว่าหุ่นยนต์ก็คือ ยอดของ “ไอที” นั่นเอง พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะปลูกฝังให้สร้าง “หุ่นยนต์” ขึ้นไนประเทศไทย เพื่อจะได้นำไปใช้ในกิจการต่างๆ ทั้งในการสื่อสาร การเรียนการสอนการอุตสาหกรรม การแพทย์ ฯลฯ ซึ่งสถานที่ที่จะปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ได้ดีที่สุดคือ สถานศึกษา

เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ ไปทรงเปิดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนได้ แสดงผลงาน ความรู้ความสามารถ และได้แลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างนักเรียนและนักศึกษาตลอดจนได้ทำงานร่วม กัน อันเป็นเหตุให้เกิดความสามัคคี และได้ช่วยกันพัฒนาความรู้ศิลปวิทยา และศิลปหัตถกรรมให้เจริญก้าวหน้าเมื่อ พระองค์ทรงเปิดงานเรียบร้อยแล้ว ได้เสด็จทอดพระเนตรผลงานของนักเรียน นักศึกษาด้วยความสนพระทัย และที่ทรงสนพระทัยมากคือ รถยนต์ขนาดใหญ่บังคับด้วยวิทยุ ที่สามารถใช้งานได้จริงๆ ซึ่งเป็นผลงานของวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ (ปัจจุบันคือ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ) แล้วมีพระราชกระแสรับสั่งถาม อาจารย์สนั่น สุมิตร ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ในขณะนั้นว่า “ทำหุ่นยนต์ที่เดินได้ ได้ไหม”อาจารย์สนั่น จึงกราบบังคมทูลตอบไปว่า “ได้ พะย่ะค่ะ” ทรงรับสั่งถามต่อไปว่า “จะต้องใช้เงินเท่าใด” อาจารย์สนั่น สุมิตร กราบบังคมทูลว่า “ประมาณ๒๐,๐๐๐ บาท พะย่ะค่ะ”


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งว่า “จะให้เขาจัดเงินให้” ต่อมาไม่นานนัก พระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัวก็พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์แก่วิทยาลัย เทคนิคกรุงเทพฯ จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างหุ่นยนต์ตามพระราชประสงค์



อาจารย์สนั่น สุมิตร ได้ปรึกษากับอาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ หัวหน้าเผนกวิทยุ วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นผู้สร้างรถยนต์บังคับด้วยวิทยุ ว่าจะทำอย่างไรจึงจะสร้างหุ่นยนต์ได้ตามพระราชประสงค์ อาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ ก็รับรองว่าสร้างได้แน่นอนจึงได้เริ่มลงมือสร้างทันที โดยมีอาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ เป็นแม่งาน

ในขณะนั้น งานด้านอิเล็กทรอนิกส์ยังไม่ก้าวหน้านัก เครื่องวิทยุยังใช้หลอดอยู่ แต่เนื่องจากอาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ เชี่ยวชาญทั้งด้านอิเล็กทรอนิกส์ และด้านแมกแคนิกส์อีกทั้งช่างวิทยุมีเครื่องกลึงและเลื่อยสายพานที่สามารถ ใช้ตัดโลหะได้ทุกอย่าง จึงได้ใช้เลื่อยตัดอะลูมิเนียมให้เป็นตัวหุ่นยนต์และแขนขาหุ่นยนต์ ส่วน หัว หน้า และมือ ใช้วิธีปั้นและทาสี ซึ่งทำได้เหมือนคนมาก เครื่องรับส่งและเครื่องบังคับวิทยุจะอยู่ที่ท้องของ หุ่น แล้วใส่แบตเตอรี่และสายพานที่เท้าหุ่น ทำให้หุ่นเดินได้ เครื่องส่งและอุปกรณ์ที่จะบังคับให้หุ่นเดิน ยกมือไหว้ พูด ฟัง โต้ตอบ และทำงานได้อีกหลายอย่างจะอยู่นอกตัวหุ่น หุ่นจะเดินได้ด้วยการบังคับจากภายนอก เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงนำมาทดลองใช้งานดู เมื่อเห็นว่าใช้ได้ อาจารย์สนั่นจึงได้นำความกราบบังคมทูลให้ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่าหุ่นยนต์ ได้สร้างเสร็จแล้วตามพระราชประสงค์ โดยที่ส่วนประกอบทุกชิ้นสร้างในแผนกวิทยุของวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ


การนำหุ่นยนต์ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบว่า ได้สร้างหุ่นยนต์เสร็จเรียบร้อย แล้วจึงมีพระราชกระแสรับสั่งกำหนดวันและเวลา ให้ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ นำหุ่นยนต์เข้าถวายให้ทอดพระเนตร อาจารย์สนั่น สุมิตร อาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ พร้อมด้วยอาจารย์แผนกวิทยุ และนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ที่ได้ช่วยกันสร้างหุ่นยนต์จึงเข้าเฝ้าฯ และได้บังคับหุ่นยนต์ให้ทอดพระเนตรตามพระราชประสงค์ ปรากฏว่า เป็นที่พอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง และได้ทรงพระเมตตาพระราชทานแนวพระราชดำริในการปรับปรุงแก้ไขให้หุ่นยนต์มี ความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อีกทั้งได้มีพระราชกระแสรับสั่งไห้สวมเสื้อผ้าให้หุ่นยนต์ด้วย โดยให้สวม เสื้อกาวน์เป็นหุ่นยนต์คุณหมอที่หน้าอกติดกาชาดสีแดง


การปรับปรุงหุ่นยนต์ตามแนวพระราชดำริ

อาจารย์สนั่น สุมิตร และอาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ ได้ถวายบังคมลาและนำ หุ่นยนต์กลับมาแก้ไขตามแนวพระราชดำริโดยด่วน เช่น เสริมโครงสร้างให้แข็งแรงขึ้น จัดโปรแกรมการเดินและการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้น โดยใช้โปรแกรมจากความถี่ต่างๆ ซึ่งเทียบได้กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน หุ่นยนต์ที่ได้รับการแก้ไข แล้ว มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและมั่นคงแข็งแรงขึ้น เสียงที่พูดโต้ตอบชัดเจนขึ้น แต่งกายแบบคุณหมอสวมเสื้อกาวน์สีขาวยาวคลุมตัวหุ่น หน้าอกติดกาชาดสีแดง และมีเครื่องฟังของคุณหมอที่ใช้ตรวจคนไข้ด้วย ทุกอย่างได้จัดตามแนวพระราชดำริที่ได้รับพระราชทานมา


ความสามารถของหุ่นยนต์คุณหมอ

หุ่นยนต์คุณหมอสามารถเดินได้ ยกมือได้ไหว้ได้ ฟังได้ พูดได้ โต้ตอบได้ ทำงานบางอย่างแทนคนได้ วินิจฉัยโรคได้ (ถ้ามีแพทย์คอยควบคุม) ข้อสำคัญคือ ทำงานแทนคุณหมอในที่ที่มีการติดเชื้อโรคได้ โดยการควบคุมจากระยะไกล


การแสดงหุ่นยนต์คุณหมอในงานกาชาด

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งให้นำหุ่นยนต์คุณหมอไปแสดง ในงานกาชาด ที่สถานเสาวภา ปรากฏว่า หุ่นยนต์คุณหมอพระราชทานช่วยประชาสัมพันธ์งานได้อย่างดียิ่ง ทั้งยังให้คำ แนะนำในเรื่องการรักษาสุขภาพอนามัยแก่ประชาชนที่มาชมงาน ตลอดจนตอบปัญหาทางจิตได้เป็นอย่างดี โดยมีอาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ คอยควบคุมและบางครั้งก็มอบหมายให้ นายอุดม จะโนภาษ และอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ แผนกวิทยุช่วยควบคุมและตอบปัญหาต่างๆ





พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จฯ ทอดพระเนตรหุ่นยนต์ ซึ่งเป็นผลงานของวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ (ปัจจุบันคือสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ)



การเรียนการสอนวิชาวิทยุ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นแผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์) ที่วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ




หุ่นยนต์คุณหมอพระราชทานผลงานของวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ





หุ่นยนต์คุณหมอที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ตามแนวพระราชดำริ




พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับราชยานยนต์คันแรกในประเทศไทย


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับราชยานยนต์คันแรกในประเทศไทย


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงมีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติและประชาชนชาว ไทย ทรงสนพระทัยเกี่ยวกับเรื่องรถยนต์เป็นอย่างมาก พระองค์ทรงโปรดเกล้าให้มีการตัดถนนในกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นหลายสาย...

วัน ที่ 23 ตุลาคมของทุกปี ถือเป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติ เป็นวันที่เศร้าสลดอย่างใหญ่หลวงของพระบรมวงศานุวงศ์และปวงชนทั่วประเทศ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" รัชกาลที่ 5 ทรงเป็นกษัตริย์ที่เคารพรักของหวยราษฎร์ ทรงประชวร เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการทั้งในการปกครองบ้านเมืองและพระราช ทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า จึงได้ถวายพระนามว่า "พระปิยมหาราช" หรือ "พระพุทธเจ้าหลวง"

พระองค์ทรงเป็นนักปกครองที่ ทรงพระปรีชาสามารถยิ่งทรงประเพณีการ ปกครองของไทยอย่างเก่าแต่โบราณมาผสมผสานกับประเพณีการปกครองอย่างนิยมกันใน ทวีปยุโรป แล้วทรงปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็นลำดับ ตามลำดับ ตามสถานการณ์และความเหมาะสม ซึ่งเป็นพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ทรงมีพระราชกรณียกิจที่สำคัญยิ่ง คือ "การเลิกทาส" เมื่อปี พ.ศ. 2448 ได้ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้น เรียกว่า "พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124" (พ.ศ. 2448) เลิกเรื่องลูกทาส ในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด เด็กที่เกิดจากทาส ไม่เป็นทาสอีกต่อไป การซื้อขายทาสเป็นโทษทางอาญา

พระองค์ ทรงห่วงใยในสภาพความเป็นอยู่ของราษฎร จึงโปรดให้ริเริ่มกิจการหลายอย่างเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ระหว่างกรุงเทพฯ และนครราชสีมา และได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์เพื่อประเดิมการสร้างทางรถไฟไป นครราชสีมา นับว่าเป็นการสร้างทางรถไฟครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย การสร้างสะพาน, ถนน, การขุดคลอง, ไปรษณีโทรเลข, การแพทย์ และกิจการโรงพยาบาล ทรงก่อตั้งโรงพยาบาลขึ้นที่บริเวณพระราชวังหลัง เดิมชื่อโรงพยาบาลวังหลัง ต่อมาพระราชทานนามใหม่ว่า "ศิริราชพยาบาล"


พระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงมีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติและประชาชนชาว ไทย ทรงสนพระทัยเกี่ยวกับเรื่องรถยนต์เป็นอย่างมาก พระองค์ทรงโปรดเกล้าให้มีการตัดถนนในกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นหลายสาย ในปี พ.ศ. 2447 เสด็จกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ได้เสด็จไปรักษาพระองค์จากอาการประชวนที่กรุง ปารีส ประเทศฝรั่งเศสและได้ทรงมีรับสั่งให้บริษัทเยอรมันในกรุงปารีสทำการประกอบ รถยนต์ส่วนบุคคลยี่ห้อ Mercedes ซึ่งนับได้ว่าเป็นรถยนต์ชั้นยอดในเวลานั้น


รถ ยนต์ Mercedes คันดังกล่าวปรากฏหลักฐานการสั่งซื้อผ่านสถานเอกอัครราชทูตสยามประจำกรุง ปารีส โดยทำการสั่งซื้อจากออโตโมบิลยูเนียน ปารีส ตั้งอยู่เลขที่ 39 ถนนณองส์ เอลิเซ่ ซึ่งเป็นบริษัทขายรถยนต์ของนายเอมิล เยลลิเน็ค และมาถึงสยามประเทศโดยการบรรทุกมาทางเรือเมื่อวันที่ 19 ​ธันวาคม พศ 2447 ระบุในใบส่งของว่าผู้รับปลายทางคือพระมหากษัตริย์แห่งกรุงสยาม เป็นรถยนต์รุ่น 28 HP 4 สูบเครื่องยนต์ 35 แรงม้าหมายเลขแชสซีส์ 2397 และหมายเลขเครื่องยนต์ 4290 ในขณะนั้นเสด็จกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงทำการเร่งการประกอบรถยนต์คันนี้ แทบทุกวัน พอรถเสร็จก็ทรงว่าจ้างคนขับชาวอังกฤษขับรถคันนี้พาพระองค์ท่าน พร้อมด้วย ม.จ. อมรทัต กฤดากร ,หลวงสฤษดิ์ สุทธิวิจารณ์( ม.ร.ว.ถัด ชุมสาย) ตะเวณไปทั่วยุโรปภาคกลางเพื่อเป็นการทดสอบเครื่องยนต์และตัวรถ จากนั้นจึงวนกลับไปยังนครปารีส เมื่อเสด็จกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์เสด็จกลับถึงยังเมืองไทยแล้ว ก็ได้ทรงนำรถยนต์คันนี้ขึ้นทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวซึ่งเป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่งนัก และแล้วรถยนต์ Mercedes หมายเลขแชสซีส์ 2397 และหมายเลขเครื่องยนต์ 4290 ก็กลายเป็นรถยนต์พระที่นั่งคันแรกในประวัติศาสตร์ไทยซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่ สารถีก็คือ เสด็จกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์นั่นเอง

พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานรถยนต์พระที่นั่งมาก เพราะความสะดวกสบายและสามารถเสด็จพระราชดำเนินได้เร็วกว่ารถม้าพระที่นั่ง มาก และยามใดที่พระองค์ทรงว่างเว้นจากพระราชกรณียกิจก็มักเสด็จพระราชดำเนิน เยือนพื้นที่ต่างๆด้วยรถยนต์พระที่นั่งคันดังกล่าวเสมอ ต่อมาทรงเห็นว่ารถยนต์เพียงคันเดียวไม่เพียงพอที่จะใช้งานตามพระราชประสงค์ อันเนื่องมาจากพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในก็ทรงโปรดปรานรถยนต์ กันแทบทุกพระองค์และมักจะตามเสด็จไปด้วยในการเดินทางรอบพระนคร จึงได้ตัดสินพระทัยซื้อรถยนต์พระที่นั่งอีกคันหนึ่ง ในครั้งนี้เสด็จกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ได้เป็นผู้แทนพระองค์ในการส่ังซื้ออีกครั้ง และทรงเลือกรถ Mercedes เหมือนเดิมโดยสั่งนำเข้าจากเยอรมันโดยตรง เป็นรถเก๋งสีแดงรุ่นปี 2448 เครื่องยนต์ 4 สูบ 28 แรงม้าสามารถวิ่งได้เร็วถึง 73 กิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งในสมัยนั้นถือได้ว่าเป็นรถยนต์ที่เร็วมากและพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามแก่รถยนต์พระที่นั่งคันที่ สองว่า แก้วจักรพรรดิ์ ในทำนองเดียวกันกับโบราณราชประเพณีที่มีการพระราชทานนามให้แก่ช้างเผือกคู่ พระบารมี คำว่า แก้วจักรพรรดิ์ มีความหมายเปรียบประดุจหนึ่งในแก้วเจ็ดประการ อันเป็นของคู่พระบารมีแห่งองค์พระมหากษัตริย์


เมื่อรถยนต์เริ่ม เป็น ที่นิยมและแพร่หลายในหมู่พระราชวงค์ตลอดจนคหบดี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระดำริว่าสมควรจะจัดงานเฉลิมฉลองสักครั้งหนึ่ง จึงทรงกำหนดให้วันที่ 7 ตุลาคม พศ 2448 เป็นวันชุมนุมรถยนต์ครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ และปรากฏว่ามีรถยนต์ไปร่วมชุมนุมในบริเวณพระบรมมหาราชวังเป็นจำนวนถึง 30 คัน และพระองค์ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับเจ้าของรถทุกพระองค์และทุกคน เมื่อถึงเวลาประมาณบ่ายสี่โมงเย็นก็ได้เคลื่อนขบวนรถไปตามถนนสามเสน เลี้ยวเข้าสู่สวนดุสิตโดยตลอดสองข้างทางมีผู้คนยืนเรียงรายชมขบวนรถด้วยความ ตื่นตาตื่นใจ ปีพ ศ 2451ในวาระเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 56 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้นำรถยนต์จากประเทศ ฝรั่งเศสเข้ามายังสยามประเทศอีกครั้งเป็นจำนวน 10 คัน เพื่อพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนข้าราชการชั้นสูงเพื่อใช้ในราชการ แผ่นดิน รถยนต์ทั้งสิบคันได้รับพระราชทานนามให้สอดคล้องกันเป็นที่ไพเราะจับใจได้แก่ มณีรัตนา ทัดมารุต ไอยราพตกังหัน ราชอนุยันต์ สละสลวย กระสวยทอง ลำพองทัพ พรายพยนต์ กลกำบัง และ สุวรรณมุขี

เมื่อมีการสร้างถนนใน กรุงเทพมหานครมากขึ้นเรื่อยๆ รถยนต์จึงกลายเป็นพาหนะในการเดินทางที่สะดวกสบายและมีจำนวนเพิ่มขึ้น ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล รถโดยสารทั้งประจำทางและไม่ประจำทางวิ่งกันขวักไขว่ไปมาบนท้องถนนในพระนคร ทำให้การจราจรเริ่มติดขัดเนื่องจากรถเหล่านั้นวิ่งกันไม่เป็นระเบียบและเกิด อุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง ประกอบกับในสมัยนั้นยังไม่มีทะเบียนรถเป็นหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ จึงเกิดปัญหาการลักขโมย และก่อให้เกิดความวุ่นวายตามมามากมาย เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจึงมีการออกกฏหมายตราพระราชบัญญัติรถยนต์ฉบับแรกใน ประเทศสยามขึ้น เมื่อปีพศ 2452 ภายใต้พระบรมราชโองการ ดังนี้


"ทุก วันนี้มีผู้ใช้รถยนต์ที่เรียกกันว่า ออโตโมบิล ขับไปมาอยู่ตามถนนหลวงมากขึ้น สมควรที่จะมีพระราชบัญญัติสำหรับการเดินรถและขับรถขึ้นไว้ เพื่อป้องกันเหตุการณ์อันตรายต่างๆ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตราพระราชบัญญัติสืบไป"

พระ ราชบัญญัติฉบับนี้ กำหนดให้เจ้าของรถจดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทยโดยเสียค่าธรรมเนียมคันละ10บาท ซึ่งในช่วงเวลานั้นมีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถบรรทุกทั้งในบางกอกและตามหัว เมืองต่างๆทั่วประเทศที่จดทะเบียนรวมทั้งหมด 412 คัน จากพระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าฯรัชกาลที่่ 5 ที่ทรงมีต่อไพร่ฟ้าประชาชนจากการที่ทรงมีพระราชดำริให้สร้างถนนหนทางและการ ออกพระราชบัญญัติจราจร ทำให้คนไทยนิยมการใช้รถยนต์เพื่อการเดินทางเพิ่มมากขึ้น หลังจากนั้นก็เริ่มมีบริษัทรถยนต์จากต่างประเทศ ทยอยเข้ามาเปิดกิจการกันเป็นจำนวนมาก ในยุคนั้นร้านรวงในย่านการค้าของเมืองหลวงจะมีการขึ้นป้ายปิดประกาศเปิด กิจการเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์รายใหม่แทบจะทุกสัปดาห์ รถยนต์ที่นำเข้ามาในประเทศไทยมีมากมายหลายยี่ห้อ ทั้งจากเยอรมัน ฝรั่งเศล สหรัฐอเมริกา และอิตาลี รวมไปถึงธุรกิจการจำหน่ายรถยนต์มือสอง จวบจนถึงปี พศ 2474 มีรถยนต์ที่จดทะเบียนทั้งหมดถึง 3222 คัน

เอกสารอ้างอิง
สมุดภาพรัชกาลที่ 5 สำนักพระราชวัง
Silver Star Chronicle 100 Year Mercedes Benz Thailand
วิวัฒนาการยานพาหนะทางบกของไทย

ที่รักเธอ..ฉันรัก...ที่เธอเป็น



ที่รักเธอ..ฉันรัก...ที่เธอเป็น
ไม่ได้เห็น..แล้วรัก..อย่างใครเขา
ฉันรักเธอ..ที่เป็นเธอ..อย่างทุกคราว
แล้วเธอเล่า..รักฉัน..เพราะเหตุใด

ฉันรักเธอ..ก็เพราะเธอ..นั้นน่ารัก
ไม่ได้อยาก..ให้เป็น..เหมือนคนไหน
ฉันรักเธอ..เพราะรัก..จากหัวใจ
ไม่ได้รัก..เพราะเหมือนใคร..ที่ว่าดี

เพราะเป็นเธอ..ฉันจึงรัก..อย่างมากยิ่ง
รักในสิ่ง..ที่เธอเป็น..ทุกวันนี้
ฉันรักเธอ..เพราะเธอ..นั้นแสนดี
สรุปที่..รักเธอ..อย่างเธอเป็น


Fwd.

รถโรงเรียนของนายธนาคาร บัณฑูร ล่ำซำ

รถโรงเรียนของนายธนาคาร บัณฑูร ล่ำซำ





ในยุคน้ำมันแพง ค่าแรงถูก คนที่ห้อยโหนรถเมล์ได้รับผลกระทบไปเต็มๆ จากการปรับขึ้นค่าโดยสาร ยังไม่นับรวมค่ามอเตอร์ไซด์รับจ้าง เรือด่วนเจ้าพระยา เรือโดยสารข้ามฟาก เรือด่วนคลองแสนแสบ เลยไปถึงเรือบินที่ทยอยปรับขึ้นราคาให้คนไทยหน้าเที่ยวเล่น

ไม่รู้ว่าป่านนี้สารพัดรถขนส่ง อย่างรถมูลนิธิต่างๆ รถโรงพยาบาล หรือรถโรงเรียน จะเกาะกระแสขอขึ้นราคาด้วยหรือเปล่า อืม... น่าคิดเหมือนกันแฮะ

แต่รถอะไรจะแข่งกันปรับราคาอย่างน้อยก็ยังมีรถนักเรียน ที่ใช้ชื่อ "โครงการรถนักเรียนไทย" ของ "คุณปั้น-บัณฑูร ล่ำซำ" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย ที่ไม่เคยเก็บค่าน้ำมันกับน้องๆ หนูๆ สักวันเดียว

ไม่ใช่เจ้าของโครงการและเจ้าของเงินอย่างคุณปั้น เพิ่งจะใจดีออกแพ็กเกจเอาใจผู้ปกครองช่วงค่าครองชีพสูง แต่นี่เป็นโครงการที่เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2543 สมัยที่เจ้าตัวยังหนุ่มๆ ค่าน้ำมันลิตรละ 20 กว่าบาท

บัณฑูรเคยเล่าให้ทีมงานฟังว่า เช้าวันหนึ่งขณะที่เดินทางไปทำงาน สายฝนกระหน่ำลงมาอย่างหนัก และติดไฟแดงอยู่ในรถเมื่อเหลียวมองออกไปนอกหน้าต่าง คนที่รอไฟเขียวข้างๆ กลับเป็นเด็กนักเรียนตัวเล็กๆ ที่นั่งเปียกปอนหลังอานมอเตอร์ไซด์รับจ้าง

"ประเทศไทยไม่เคยให้ความสำคัญด้านการการศึกษา ทุกวันเด็กต้องไปโรงเรียนและตื่นแต่เช้า แต่ปรากฏว่าเด็กส่วนใหญ่ไม่ได้รับการดูแลแม้แต่การเดินทางที่ปลอดภัยไป โรงเรียน ทำไมไม่มีรัฐบาลใดสนใจเรื่องเด็กและการศึกษา เด็กต้องนั่งมอเตอร์ไซด์รับจ้าง ตากแดด ตากฝน ไปโรงเรียน มอเตอร์ไซด์กี่เป็นมอเตอร์ไซด์รับจ้าง คนขับเป็นใครก็ไม่รู้ ไม่ใช่พ่อแม่ด้วยซ้ำ" บัณฑูร ระบุ

คำถามก็คือ ผู้ใหญ่แต่ละคนที่ดูแลนโยบาย นั่งในรถเบนซ์คันงามจะตระหนักหรือไม่ เคยตื่นเช้ามาเห็นภาพเด็กต้องเร่งรีบไปโรงเรียน ไม่ได้รับประทานอาหารเช้าอย่างเต็มที่ ทั้งที่เป็นอนาคตของสังคมไทย

"ผมได้เห็น และสิ่งที่ผมทำไม่ได้ต้องการอะไร ผมทำรถโรงเรียนของผมให้เด็กนักเรียนเพื่อให้เขาตื่นมา เดินทางปลอดภัยมีสภาพชีวิตที่ดีในแต่ละวันตอนเช้า" บัณฑูร กล่าว

จากภาพเด็กตากสายฝน จึงกลายเป็นโครงการรถนักเรียนไทย ที่ใช้เงินส่วนตัวของคุณปั้น ซึ่งทุกขั้นตอนเจ้าตัวจะดูรายละเอียดซ้ำอีกครั้ง หลังจากผ่านมันสมองและสองมือของทีมงาน ซึ่งเป็นพนักงานธนาคารที่เป็นอาสาสมัครเข้ามาช่วยเหลือแม้ตอนนี้พนักงานบาง คนก็ได้ลาออกไปแล้ว บางคนก็เกษียณ ออกไปทำงานองค์กรพัฒนาชุมชน (เอ็นจิโอ) อย่างจริงจัง แต่โครงการนี้ก็ยังอยู่

ปี้น ปี้น...รถนักเรียนไทยมาแล้ว น้ำมันแพงก็ขึ้นฟรีคร้าบบ

ทีมงานโครงการรถนักเรียนไทย กล่าวว่า พนักงานธนาคารเหล่านี้ไม่ได้รายได้เพิ่ม ล้วนทำด้วยหัวใจที่ผู้ใหญ่กลุ่มก้อนหนึ่งพอจะให้เด็กๆ ได้ เพราะจุดประสงค์ของการจัดทำรถโรงเรียนครั้งนี้ก็เพื่อเด็กๆ ที่ไม่มีโอกาสเดินทางไปโรงเรียนอย่างสะดวกเหมือนลูกหลานบ้านอื่น ที่มีผู้ปกครองขับรถคันโก้ราคางามไปส่งถึงหน้าประตูโรงเรียน

ฉะนั้น เด็กที่มีสิทธิจะขึ้นรถโรงเรียนโครงการนี้จึงถูกคัดเฉพาะเด็กที่ครอบครัวมีปัญหา ผู้ปกครองอาจมีรายได้น้อย ไม่ได้อยู่กับลูกฝากไว้กับญาติและไม่สามารถเดินทางไปส่งที่โรงเรียนได้ ต้องใช้บริการมอเตอร์ไซด์รับจ้างเท่านั้น

"คำถามหนึ่งซึ่งเป็น จุดประสงค์หลักของเจ้าของโครงการ ที่ไม่เคยรอคำตอบจากรัฐบาลไม่ว่าจะชุดใดก็ตาม นั่นก็คือ เหตุใดเด็กนักเรียนไทยตัวเล็กๆ ต้องตื่นเช้าผจญกับอันตรายบนห้องถนน ซ้ำคนที่พาเด็กไปส่งจุดหมายปลายทางยังโรงเรียน กลับเป็นคนขับมอเตอร์ไซด์เสื้อส้ม ใครที่ไหนก็ไม่รู้" พนักงานในโครงการนี้กล่าว

นี่ยังไม่ต้องพูดถึงความปลอดภัยรายทางจากการไม่สวมหมวกนิรภัยให้กับเด็ก

ฉะนั้น คนที่พอมีเงินเหลือแบ่งปันให้กับสังคมจึงอาจรอคอยความหวังจากรัฐบาลในประเทศ นี้ไม่ได้ แต่อย่างน้อยสิ่งที่จะทำให้หัวใจผู้ให้ชุ่มชื่น จากการได้ทำดีให้กับสังคมคือ การลงมือทำอย่างตั้งใจจริง โดยมองข้ามผลตอบแทน อย่างทีมงานโครงการรถนักเรียนไทยก็ขอสงวนชื่อ เพราะอยากมีความสุขอย่างสมถะ


ย้อนรอยแรงบันดาลใจ

ระหว่างพูดคุย ทีมงานคนนี้ได้นำอัลบั้มรูปโครงการรถนักเรียนไทย ที่ถ่ายไว้ตั้งแต่ปี 2543 มาปัดฝุ่นนระลึกความหลังอีกครั้ง

หลายครั้งเราแอบเห็น รอยยิ้มของผู้ร่วมขบวนการส่งความสุขให้กับเด็กๆ ระหว่างชี้รูปนู้น พลิกไปรูปนี้ เพราะรูปทุกภาพมีความหมายตั้งแต่การ เปิดประมูลซื้อรถ ผู้ผลิตนำรถมาส่งมอบให้กับทีมงาน ยังมีรูปคุณปั้นอยู่ระหว่างตรวจสอบสภาพภายในรถ หรือกระทั่งรูปเด็กๆ ที่กำลังขึ้นรถ

กระทั่งรูป โลโก้รถโรงเรียน ที่เป็นรูปเครื่องบินตัวอ้วนสีฟ้ายิ้มแฉ่ง มีชื่อโครงการรถนักเรียนไทยล้อมอยู่ด้านบน ก็มาจากไอเดียของทีมงานทุกคนที่ช่วยกับคิดช่วยกันทำ

ที่ทีมงานต้องเก็บรายละเอียดมากขนาดนี้เพราะ กว่าจะได้รถนักเรียน 1 คัน ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะรถแต่ละคันต้องดัดแปลงพิเศษรองรับ 20 ที่นั่ง เก้าอี้ต้องขนาดสำหรับก้นเด็ก เพื่อให้สายรัดเข็มขัดนิรภัยโอบรัดตัวเด็กได้พอดี อุปกรณ์ภายในรถต้องมีตู้ยา ค้อนทุบกระจกกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินและเบอร์โทรศัพท์โรงพยาบาลละแวกใกล้เคียง





กว่ารถโรงเรียนจะผ่านมือทีมงานก็ต้องผ่านการปรับแก้หลายรอบ ยังไม่รวมขั้นตอนทางราชการปรับแก้หลายรอบที่กฏหมายไม่อนุญาติให้เอกชนจัด สร้างรถโรงเรียน สนนราคาเบ็ดเสร็จกว่าจะได้รถหนึ่งคันคิดเป็นค่าใช้จ่าย 2 ล้านบาท

ปัจจุบันรถนักเรียนไทยมีอยู่ 4 คัน คันแรกรับผิดชอบโรงเรียนวัดแจงร้อน ส่วนอีกคันจะรับส่งเด็กโรงเรียนวัดสน บ้านของเด็กๆ กลุ่มนี้จะอยู่บริเวณรอบนอก ถนนราษฏร์บูรณะออกไปอีกหน่อย ที่เหลืออีก 2 คัน รถคันหนึ่งถูกจัดเตรีมสำรองกรณีรถเสีย ส่วนอีกคันธนาคารเอาไปไว้รับ-ส่ง เด็กในมูลนิธิคุ้มครองเด็ก ที่อยู่ในการดูแลของครูยุ่น "มนตรี สินทวิชัย" จังหวัดสมุทรสงคราม

ยิ่งช่วงน้ำมันแพง ค่าใช้จ่ายรถ 4 คันปัจจุบันต่อเตือนก็เฉียด 1 แสนบาท จากปี 2543 ที่ตอนนั้นเพิ่งมีรถ 2 คัน ค่าใช้จ่ายต่อเดือน 10,705 บาท ยังไม่นับรวมค่าใช้จ่ายในการดูแลรถจิปาถะอื่นๆ แต่ก็ยังไม่ได้ยินเสียบ่นจากเจ้าของโครงการ


สร้างบรรยากาศสนุกสนานยามเช้า



เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสย้อนวัย งานนี้เรายอมขยี้ตาพยุงความงัวเงียขอขึ้นรถโรงเรียนไปกับน้องๆ ก่อนล้อหมุนเวลา 07.00 น. จุดเริ่มต้นของเรา และรถอยู่ที่ ธนาคารกสิกรไทยราษฏร์บูรณะ เพื่อมุ่งหน้าไปยังโรงเรียนวัดแจงร้อน

เรากลายเป็นแขกกิตติมศักดิ์ ไม่มีที่นั่งรองรับ ต้องนั่งเบาะชนหลังกับคนขับ เด็กทุกคนจึงต้องเผชิญหน้ากับเรา แต่กลายเป็นว่าหลังจากขาเล็กๆ ของเด็กตัวน้อยก้าวขึ้นบนรถ แต่ละคนก็ไม่มีใครสนใจผู้ใหญ่แปลกหน้าอย่างเรา เพราะสายตาใสๆ แต่ละคู่พลันหย่อนก้นลงเบาะ ต่างก็จับจ้องไปที่จอทีวีด้านหน้า นั่นไง... เจ้าตัวการ์ตูนช้างน้อยกำลังเริงร่า เหมือนรู้ภารกิจสร้างความสุขประจำวันผ่านจอตู้ให้กับเด็กๆ

วันนี้การ์ตูนช้าง น้อย พรุ่งนี้อาจเป็นเจ้ากุ๊กไก่หรือเจ้าผีน้อย แล้วแต่ว่าพี่คนขับรถ และพี่เลี้ยงคุมเด็กจะสลับสับเปลี่ยนหาแผ่นซีดีมาให้น้องๆ หนูๆ ได้ดูกัน

นอกจากทีวีจอใหญ่ การตกแต่งภายในรถ ก็จะมีตัวหนังสือ ก.เอ๋ย ก.ไก่ ตัวหนังสือ A, B, C พร้อมภาพการ์ตูนประกอบแปะอยู่ขอบผนังรถ งานนี้รับประกันไม่มีโลโก้ธนาคารแอบประชาสัมพันธ์ช่อนไว้ในตัวการ์ตูน
รถคันที่เรานั่งเป็นรถรับ-ส่งโรงเรียนวัดแจงร้อนจะวิ่งรอบบริเวณ ธนาคาร ละแวกราษฏร์บูรณะซึ่งผู้ปกครองของหนูๆ จะรู้ว่าต้องพาเด็กมาขึ้นรถประจำจุดตรงไหน เวลาอะไร

จุดริ่มแรกหลังจากล้อเคลื่อน คือ ป้ายรถเมล์หน้าสำนักงานใหญ่ธนาคาร เพื่อรับน้องเอมอร หลานคุณป้าวาสนา แม่ค้าขายน้ำแผงลอยที่อยู่ระหว่างง่วนกับการจัดร้านพี่เลี้ยงคุมรถใจดี เล่าให้เราฟังคร่าวๆ ว่า น้องชายของป้าวาสนา ได้ทิ้งน้องเอมอรไว้ให้พี่สาวเลี้ยง แต่ลำพังป้าต้องขายของหาเช้ากันค่ำ ไม่มีเวลาไปส่งน้องเอมอรที่โรงเรียน ทำให้ต้องพึ่งพามอเตอร์ไซด์รับจ้างไปส่งเป็นประจำ จนครูประจำชั้นเห็นว่า น้องเอมอรเข้าข่ายน่าจะได้ขึ้นรถโรงเรียนไทย จึงใส่ชื่อของน้องเอมอรให้ผู้อำนวยการโรงเรียนพิจารณาและได้ขึ้นรถโรงเรียน ในที่สุด

รถเคลื่อนตัวไปช้าๆ จากจุดแรกไปยังจุดที่สองปลายทางอยู่หน้าปากซอยถนนราษฏร์บูรณะฝั่งตรงข้าม ธนาคาร จุดนี้ถือว่าเรียกความสนใจคนขับรถผ่านไปมาได้ไม่น้อย เพราะน้องๆ หนูๆ ยืนต่อแถว รอขึ้นรถอย่างเป็นระเบียบ จำได้ว่าบริเวณนั้นเป็นซอยชุมชนอะไรสักอย่าง

ความรู้สึกของเราเหมือนรถกำลังประคองเด็กน้อยใช้ความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจนมาถึงปลายทาง "โรงเรียนวัดแจงร้อน" เด็กทุกคนมาทันเคารพธงชาติ ทำให้เรามีโอกาสพูดคุยกับผู้อำนวยการโรงเรียน "คนอง คชานาวีน" และคุณครูผู้คัดเลือกเด็ก "ครูจตุพร เกตุสิงห์สร้อย" จึงรู้ว่า ยังมีเด็กนักเรียนจำนวนมากที่ต้องการขึ้นรถนักเรียนไทย แต่ไม่ผ่านเกณฑ์


มีกรณีที่ผู้ปกครองบางรายไม่เข้าใจ ต่อว่าครูคัดเลือกเด็กลำเอียง ถึงขั้นขู่จะร้องเรียนลงหนังสือพิมพ์หัวสี
ใช่ว่าเด็กต้องยากจนถึงจะได้ขึ้นรถนักเรียนไทยเพราะหากจะวัดความยา กน เด็กโรงเรียนนี้คงเข้าข่าย 80% แต่เนื่องจากการพิจารณาจากโรงเรียนต้องลงรายละเอียดเป็นเด็กเล็กที่ไม่ สามารถดูแลตัวเองได้ แล้วยังมาโรงเรียนกับคนขับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง ส่วนใหญ่ก็จะเป็นชั้นอนุบาล 1 หรือประมาณ 7-8 ขวบ ซึ่งถ้าเด็กคนนี้ได้ขึ้นรถโรงเรียนจนโตถึงระดับหนึ่ง ก็ต้องผลัดเปลี่ยนให้น้องใหม่ที่เล็กกว่าเข้ามาแทนที่

หลายครั้งที่ครูจตุพรต้องเผชิญความลำบากใจเพราะผู้ปกครองก็อยากให้ลูกขึ้นรถ นักเรียนฟรี งานเล็กของคนหัวใจโตจึงมีอุปสรรคบ้างในบางครั้งยิ่งภาวะค่าครองชีพปรับตัว สูงขึ้น จึงเป็นธรรมดาที่ผู้ปกครองต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายการเดินทาง อย่างป้าวาสนา ก็บอกเราว่า ถ้าน้องเอมอรไม่ได้ขึ้นรถนักเรียนไทย ก็ต้องฝากมอเตอร์ไซด์รับจ้างให้ไปส่ง ค่ารถไปกลับวันละ 30 บาท ซึ่งตอนนี้ก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้

แต่จนป่านนี้ป้าวาสนา ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า รถนักเรียนมีชื่อโครงการอะไร แล้วเจ้าของโครงการแท้จริงที่ออกค่าใช้จ่ายชื่อเสียงเรียงนาม หน้าตาเป็นแบบไหน

ที่ป้ารู้คือ หลานนั่งรถของธนาคาร "ถ้าเจ้าของเขาได้อ่าน ก็ฝากบอกเขาด้วยว่าขอบคุณมาก ขอให้มีรถนักเรียนตลอดไป ช่วยคนจน" ถึงบรรทัดนี้หากคนรวยจากภาษีชาวบ้านในรัฐบาล ได้ยินได้ฟังบ้างก็คงดี...



ข้อมูลและภาพประกอบจาก

ความเชื่อผิด ๆ และความจริงของ "การละเมิดทางเพศ"

ความเชื่อผิด ๆ และความจริงของ "การละเมิดทางเพศ"

ความเชื่อผิด ๆ และความจริงของ "การละเมิดทางเพศ" (มูลนิธิเพื่อนหญิง)

มี ความเชื่อผิด ๆ มากมายเกี่ยวกับการทำร้ายทางเพศ ความเชื่อเหล่านี้ฝังรากลึกอยู่ในวัฒนธรรม ศาสนา หรือการยึดถือคุณค่าทางสังคม เราจงมาช่วยกันลบล้างความเชื่อผิดๆ เหล่านี้ เพื่อขจัดการทำร้ายทางเพศให้หมดไป

วามเชื่อผิด ๆ

- การทำร้ายทางเพศเป็นความผิดทางกฎหมายที่เกิดจากความรู้สึกทางเพศ
- การทำร้ายทางเพศเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับคนอื่น ไม่ใช่ฉัน!
- มีแต่เด็กสาวที่หน้าตาสวยเท่านั้น ที่จะถูกทำร้ายทางเพศ
- ผู้หญิงที่ถูกทำร้ายทางเพศคงจะ แส่หาเรื่องเอง
- ผู้ชายที่ลงมือทำร้ายทางเพศเพราะไม่สามารถควบคุมตนเองได้
- ผู้ชายที่ลงมือทำร้ายทางเพศเพราะมีปัญหาทางอารมณ์หรือจิตใจ
- การทำร้ายทางเพศมักเกิดจากคนแปลกหน้า
- ผู้หญิงมักถูกทำร้ายทางเพศตอนกลางคืนในซอยเปลี่ยวๆ ในสวนสาธารณะ
- ผู้หญิงที่ไม่มีร่องรอยของการถูกทุบตีหรือฟกช้ำไม่ได้ถูกข่มขืนจริง
- ผู้หญิงที่ไม่ได้แจ้งความทันทีเพราะไม่ได้ถูกข่มขืนจริง
- ผู้หญิงมักอ้างว่าถูกข่มขืนเพื่อเป็นการแก้แค้น หรือต้องการแบล็กเมล์เงินจากผู้ชาย

วามจริง

- การทำร้ายทางเพศ เป็นความผิดทางกฎหมายในการกระทำรุนแรง โดยใช้การร่วมเพศเป็นอาวุธ
- ถ้าเราไม่สามารถขจัดการทำร้ายทางเพศให้หมดไปจากสังคมเราได้ ก็ไม่มีผู้หญิงคนไหนมั่นใจในความปลอดภัยจากการถูกทำร้ายทางเพศได้
- ผู้หญิงที่ถูกทำร้ายทางเพศมีทุกวัย
- ไม่มีผู้หญิงคนไหนชอบถูกทำร้ายทางเพศ
- ผลการศึกษาผู้ชายที่ข่มขืน ผู้หญิงพบว่า การลงมือทำร้ายทางเพศส่วนใหญ่มีการวางแผนล่วงหน้า ผู้ชายสามารถควบคุมความต้องการทางเพศของตนเองได้ และเป็นหน้าที่ของผู้ชาย
- มีงานวิจัยยืนยันว่า ผู้ชายที่ลงมือทำร้ายทางเพศ คือคนปกติในสายตาของเพื่อนและเพื่อนร่วมงาน
- ผู้ที่ลงมือทำร้ายทางเพศส่วนใหญ่เป็นคนที่ผู้หญิงรู้จัก เช่น เพื่อนบ้าน หรือแม้กระทั่งญาติพี่น้อง
- การถูกข่มขืนหรือทำร้ายทางเพศเกิดได้ทั้งที่บ้าน โรงเรียน โรงพยาบาล ที่ทำงาน ฯลฯ
- การไม่มีร่องรอยของการฟกช้ำหรือ บาดเจ็บไม่ได้หมายความว่าผู้หญิงไม่ได้ถูกข่มขืนจริง บ่อยครั้งที่การข่มขู่ว่าจะใช้ความรุนแรงทั้งกับตัวผู้หญิงเองหรือกับญาติ พี่น้อง ทำให้ผู้หญิงที่ถูกกระทำไม่กล้าต่อสู้
- ความอับอาย ความกลัวที่จะถูกแก้แค้น ทำให้ผู้หญิงมักไม่กล้าไปแจ้งความทันทีเมื่อเกิดเหตุ
- การกล่าวอ้างว่าถูกข่มขืนเป็นกรณีที่พบการกล่าวเท็จได้เหมือนกับความผิดตามกฎหมายอื่นๆ ไม่ได้มีอะไรแตกต่างกัน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

มูลนิธิเพื่อนหญิง



วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

รถมอเตอร์ไซด์สมัยสงความโลกครั้งที่ 2

(รูปภาพด้านบนถูกย่อขนาดลง คลิ๊กที่นี่เพื่อดูภาพขนาดจริง)

Thanks: ฝากไฟล์รูปฝาก ตรวจสอบมูลค่าเว็บ
(รูปภาพด้านบนถูกย่อขนาดลง คลิ๊กที่นี่เพื่อดูภาพขนาดจริง)

Thanks: ฝากไฟล์รูปฝาก ตรวจสอบมูลค่าเว็บ
(รูปภาพด้านบนถูกย่อขนาดลง คลิ๊กที่นี่เพื่อดูภาพขนาดจริง)

Thanks: ฝากไฟล์รูปฝาก ตรวจสอบมูลค่าเว็บ
(รูปภาพด้านบนถูกย่อขนาดลง คลิ๊กที่นี่เพื่อดูภาพขนาดจริง)

Thanks: ฝากไฟล์รูปฝาก ตรวจสอบมูลค่าเว็บ
(รูปภาพด้านบนถูกย่อขนาดลง คลิ๊กที่นี่เพื่อดูภาพขนาดจริง)

Thanks: ฝากไฟล์รูปฝาก ตรวจสอบมูลค่าเว็บ
(รูปภาพด้านบนถูกย่อขนาดลง คลิ๊กที่นี่เพื่อดูภาพขนาดจริง)

Thanks: ฝากไฟล์รูปฝาก ตรวจสอบมูลค่าเว็บ
(รูปภาพด้านบนถูกย่อขนาดลง คลิ๊กที่นี่เพื่อดูภาพขนาดจริง)

Thanks: ฝากไฟล์รูปฝาก ตรวจสอบมูลค่าเว็บ
(รูปภาพด้านบนถูกย่อขนาดลง คลิ๊กที่นี่เพื่อดูภาพขนาดจริง)

Thanks: ฝากไฟล์รูปฝาก ตรวจสอบมูลค่าเว็บ
(รูปภาพด้านบนถูกย่อขนาดลง คลิ๊กที่นี่เพื่อดูภาพขนาดจริง)

Thanks: ฝากไฟล์รูปฝาก ตรวจสอบมูลค่าเว็บ
(รูปภาพด้านบนถูกย่อขนาดลง คลิ๊กที่นี่เพื่อดูภาพขนาดจริง)

Thanks: ฝากไฟล์รูปฝาก ตรวจสอบมูลค่าเว็บ
(รูปภาพด้านบนถูกย่อขนาดลง คลิ๊กที่นี่เพื่อดูภาพขนาดจริง)

Thanks: ฝากไฟล์รูปฝาก ตรวจสอบมูลค่าเว็บ
(รูปภาพด้านบนถูกย่อขนาดลง คลิ๊กที่นี่เพื่อดูภาพขนาดจริง)

Thanks: ฝากไฟล์รูปฝาก ตรวจสอบมูลค่าเว็บ
(รูปภาพด้านบนถูกย่อขนาดลง คลิ๊กที่นี่เพื่อดูภาพขนาดจริง)



เครดิต sanook.com

ฮ่องเต้ขายวังในกวางเจา




พบคนแต่งตัวเป็นฮ่องเต้นั่งคุกเข่าประกาศขายวังที่กวางเจาประเทศจีน สร้างความฉงนแก่ผู้สัญจร
ไปมา สำนักข่าวจึงได้เฝ้าสังเกตุการณ์อย่างใกล้ชิด

5 อันดับงานพิเศษสุดฮิตของเด็กไทย

5 งานพิเศษสุดฮิตของเด็กไทย



1. พนักงานร้านฟาสต์ฟู้ด

จาก ที่เคยเดินไปสั่งซื้อพิซซ่า ซื้อแฮมเบอร์เกอร์ ดื่มไอซ์ที แล้วนั่งเม้าท์กับเพื่อนฝูงเป็นชั่วโมง ปิดเทอมนี้ลองเปลี่ยนไปรับออเดอร์บ้างเป็นไง นอกจากไม่ต้องจ่ายเงินแล้ว ยังได้เงินค่าจ้างรายวันกลับมาด้วย แถมบางทีให้หม่ำมือกลางวันฟรีอีกต่างหาก

เท่าที่ทราบ ไม่ว่าจะเป็น แมคโดนัลด์ เคเอฟซี เชสเตอร์กริลล์ ฯลฯ ต่างอ้าแขนรับลูกค้าวัยโจ๋ให้มาทำงานพิเศษเป็นพนักงาน Part-time ช่วงปิดเทอมอยู่แล้ว
จ็อบนี้จึงดูเข้ากับไลฟ์สไตล์ของเด็กเซ็น เตอร์พ้อยท์เป็นที่สุด เรียกว่าสมัครงานปุ๊บ ต่อให้ไม่มีพี่เลี้ยง ก็สามารถเริ่มงานได้เลย ว่างั้นเถอะ

2. เด็กเสริฟ

ตำแหน่ง เด็กเสริฟ ฟังแล้วไม่เท่ แต่เอาเข้าจริงๆ นี่เป็นจ็อบที่มีคะแนนโหวตสูงสุดตลอดกาลในหมู่นักเรียนนักศึกษาเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นงานที่เข้าง่าย-ออกง่าย ไหนๆ ลูกจ้างตัวจริงก็อยู่ไม่ค่อยทน เจ้าของร้านส่วนใหญ่จึงเทใจให้กับเด็ก Part-time ซะเลย นอกจากจะได้เด็กมาช่วยงานร้านในอัตราค่าจ้างไม่สูงเหมือนลูกจ้างประจำแล้ว ใครรู้ใครเห็นก็อาจจะพลอยชื่นชมว่าร้านนี้ใจดี ให้โอกาสเด็กๆ ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์อีกต่างหาก

ที่แน่ๆ ลูกค้ารุ่นพี่ป้าน้าอา มักจะใจอ่อนเวลาเห็นเด็กเสิร์ฟในเครื่องแบบนักเรียนนักศึกษา จากที่ไม่เคยทิปก็อาจจะควักกระเป๋าให้ง่ายๆ หรือที่เคยแจกทิปอยู่แล้วก็อาจจะโปะเพิ่มให้อีก ขอแค่อย่าซุ่มซ่ามไปทำจานแตกหรือเดินชนโต๊ะจนแก้วน้ำกระเด็นใส่หัวลูกค้า เป็นใช้ได้

3. พนักงานห้าง

ชอบ เดินห้างนักใช่ไหม ปิดเทอมนี้เลือกเลยจ๊ะว่าอยากไปอยู่ห้างไหน สาขาไหน จะเอ็มโพเรียม พารากอน เซ็นทรัล เดอะมอลล์ หรือโรบินสัน แทบทุกแห่งมีนโยบาย สนับสนุนให้นักเรียนนักศึกษาทำงานพิเศษในช่วงปิดเทอมอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าจะหมุนเวียนไปยังแผนกอะไร เพราะมีตั้งแต่เดินบิล ห่อของขวัญ นั่งเคาร์เตอร์ ฯลฯ

จากที่เคยโฉบไปห้างนั้น 3 ชั่วโมง ห้างนี้ 4 ชั่วโมง คราวนี้แหละได้เวลาปักหลักอยู่ห้างเดียวเป็นวันๆ แถมอาจมีเวลาชะแว้บไปช้อปได้แค่ช่วงพัก ถ้าสมัครใจ จ็อบนี้ก็ดูแสนสบายเพราะได้อยู่ในห้างแช่แอร์ทั้งวัน แต่ถ้ากลัวต่อมช็อปปิ้งระเบิด ขอแนะนำให้ถามใจตัวเองดีๆ อีกทีจ๊ะ

4. มือแจกใบปลิว


เดี๋ยว นี้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ นิยมทำการตลาดแบบเข้าถึงตัวลูกค้า เดินไปทางไหนก็มักจะมีคนยื่นแผ่นกระดาษใส่มือให้ตลอด หยิบขึ้นมาดูมีตั้งแต่ใบปลิวขายขนม โฆษณาโรงเรียนสอนภาษา โปรชัวร์ธนาคาร ตารางมิดไนท์เซลส์ เต็นท์รถ เรื่อยไปถึงแคตตาล็อกคอนโดมิเนียม

ถ้า ไม่หวั่นในวัน(มีใบปลิว)มามาก จ็อบนี้เหมาะกับคนชอบอยู่ไม่สุข(แจกใบปลิวมือเป็นระวิง) เหมาะกับใครที่ชอบพบปะผู้คน(เผชิญหน้ากับคนมากมาย) เหมาะกับคนที่มีเวลาไม่แน่นอน(แจกใบปลิวจนกว่าจะหมด)



5. รับส่ง E-mail (ผ่านอินเตอร์เนต)

งานกระจาย สื่อประชาสัมพันธ์ผ่านอินเตอร์เนต คล้ายๆกับข้อ4 เพียงแต่แค่ไม่ต้องออกไปพบปะผู้คน เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบโลกไซเบอร์เป็นชีวิตจิตใจ และไม่มีเเวลาว่างทั้งวันสำหรับออกไปยืนแจกใบปลิว

หนังไทยเรื่องแรก

คนไทยรู้จักภาพยนต์มาตั้งแต่ปี 2440 แล้วครับ แต่เดิมยังเรียกตามฝรั่งว่า ซีมาโตแครฟ
โดยครั้งแรกที่มาฉายให้คนไทยได้ชมที่โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ โดยคำขอของคณะราษฎร
เหมือนกับการไปดู นวตกรรมใหม่ คือเป็นรูปที่สามาถกระดิกได้ ต่อมาคนไทยเห็นว่า
มีลักษณะคล้ายหนังใหญ่ หรือหนังตะลุง ที่ เล่นกัน คือต้องใช้ไฟส่องผ่านมายังฉาก
จึงเรียก นวตกรรมใหม่ นี้ว่า หนังฝรั่ง แทนที่ ซีมาโตแครฟ ซึ่งเรียกยากสำหรับคนไทย



ภาพจากภาพยนต์เรื่อง โหน่ง เท่ง นักเลงภูเขาทอง

แม้ว่าระหว่าง ปี 2450-2465 จะเป็นช่วงที่มีกิจการของภาพยนต์ในสยามคึกคักมาก
โดยในปี 2470 มีโรงภาพยนต์ทั่วประเทศ กว่า 68 โรง
ในพระนคร มี 12 โรง ต่างจังหวัด 56 โรง ปี 2476
เกิดโรงหนังที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้นคือ ศาลาเฉลิมกรุง
แต่ที่ฉายก็ล้วนเป็นหนังฝรั่ง



ในปี 2440 ได้มีการตั้ง “กองภาพยนตร์เผยแพร่ข่าว “
ซี่งก็เพียงเป็นการถ่ายภาพข่าว ภาพกรณียกิจ หรือประชาสัมพันธ์งานของรัฐ

ต่อมาในปี 2465 ได้มีคณะสร้างภาพยนต์จาก ฮอลลีวู้ด นำโดยนาย เฮนรี แมกเร
เดินทางขอพระบรมราชานุญาต ถ่ายภาพยนต์ ที่สะท้อนเรื่องราว ของสยามยุคใหม่
ซึ่งก็ได้รับราชานุญาต จาก รัชกาลที่ 6 จนสำเร็จลุล่วงไปได้



ตั้งชื่อเรื่องว่า นางสาวสุวรรณ ( Suvarna of Siam )
โดยมีผู้แสดงสำคัญในหนังเรื่องนี้ได้แก่ นางสาวเสงี่ยม นาวีเสถียร นางรำในกรมมหรสพหลวง
แสดงเป็น นางสาวสุวรรณ ขุมรามภรตศาสตร์ (ยม มงคลนัฎ) ตัวโขนพระรามของกรมศิลปากร
แสดงเป็น นายกล้าหาญ ตัวพระเอก และหลวงภรตกรรรมโกศล (มงคล สุมนนัฎ) สมุหบาญชี
แสดงเป็น นายก่องแก้ว ซึ่งเป็นตัวโกง
สถานที่ถ่ายทำ นอกจากในกรุงเทพฯแล้ว ยังเดินทางไปถ่ายทำที่หัวหิน
เพื่ออวดสถานที่ตากอากาศของกรุงสยามอีกด้วย และเดินทางไปถ่ายทำที่เชียงใหม่อีกแห่ง
เพือแสดงภาพการทำป่าไม้

เมื่อนำออกฉายในปี 2466 ก็ได้รับความสำเร็จ ผู้คนเข้าชมอย่างล้นหลาม
จนถือว่าเป็นความภาคภูมิใจของชาติเลยทีเดียว

ในปี พ.ศ. 2468 คณะสร้างภาพยนตร์จากฮอลลีวู้ดอีกคณะ
เดินทางเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ในสยาม โดยใช้ผู้แสดงเป็นชาวสยามทั้งหมดเช่นกัน
าพยนตร์เรื่องนี้ให้ชื่อว่า "ช้าง"
ภาพยนตร์เรื่อง ช้าง กำกับและถ่ายทำโดย มาเรียน ซี คูเปอร์ และ เออร์เนส บี โชคแส็ค
ใช้เวลาถ่ายทำทั้งสิ้นปีครึ่ง สิ้นเงินประมาณ 2 แสนบาทไทยขณะนั้น สถานที่ถ่ายทำคือจังหวัดน่าน
พัทลุง ตรัง สงขลา และชุมพร ออกฉายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2570 ที่โรงภาพยนตร์ในนครนิวยอร์ค
สหรัฐอเมริกา และฉายครั้งแรกในประเทศไทยเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2471

ปี 2469 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และสยามก็ได้รับผลกระทบ
รัฐบาลในยุค รัชกาลที่ 7 ได้ปลดข้าราชการออกส่วนหนึ่ง ทำให้ หลวงสุนทรอัศวราช
ได้รวบรวมพรรคพวกที่มีฝีมือด้าน การแสดงและเขียนบท มาก่อตั้งบริษัทถ่ายภาพยนต์
มีชื่อว่า บริษัทถ่ายภาพยนต์ไทย โดยกลุ่มคนทั้งหมดนี้ประกาศจะสร้างหนังเรื่องแรก
ที่เป็นฝีมือของคนไทยเรื่องแรกออกมา

แต่แล้ว 'บริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทย' ก็ถูกตัดหน้าซะก่อน โดยผู้สร้างหนังอีกรายหนึ่ง
คือ กลุ่มพี่น้องสกุลวสุวัต กับพรรคพวกในคณะหนังสือพิมพ์สยามราษฎร์และศรีกรุง
ได้จัดตั้งเป็นคณะสร้างหนังเรื่องแสดงขึ้นบ้าง ในนาม กรุงเทพภาพยนตร์บริษัท
โดยประกาศสร้างหนังเรื่อง โชคสองชั้น และสามารถสร้างสำเร็จภายใน 2 เดือน
นำออกฉายได้ก่อนบริษัทแรก จากนั้น อีก 2 เดือน บริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทย
จึงนำหนัง "ไม่คิดเลย " ของตัวเองออกฉาย







โชคสองชั้น และออกฉายที่โรงภาพยนต์ พัฒนากร เมื่อ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2470
ผลปรากฏว่าได้รับการตอบรับมากจนบางส่วนไม่สามารถเข้าชมได้ มากกว่า
คนที่ชม นางสาวสุวรรณ

หลังจากนั้นก็มีบริษัทถ่ายภาพยนต์ เกิดขึ้นอีกหลายบริษัท
และเป็นหนังเงียบทั้งสิ้น

ดังนั้น คนรุ่นหลังจึง ยกให้ โชคสองชั้น เป็นหนังไทยเรื่องแรก
ที่สร้างโดยบริษัทของคนไทยครับ




ถึงกับมีการจัดทำเป็นแสตมป์




เครดิต
http://www.oknation.net

เป็ด ย่าง ที่ประเทศจีน สมัยก่อน



































เครดิต
http://history.huanqiu.com/photo/2010-04/785788.html