วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553

สมุดภาพโบราณตำนานรัตนโกสินทร์....

สมุดภาพโบราณตำนานรัตนโกสินทร์....











ตะวันลับ ดับลง ตรงวัดแจ้ง
พอสิ้นแสง สีสัน ก็พลันหาย
เพียงรอท่า ราตรี จักคลี่คลาย
อรุณฉาย ทายทัก จักคืนคง






รัชกาลที่ ๒ ทรงพระราชปรารถจะสถาปนาพระปรางค์องค์เดิมซึ่งสูง ๘ วา (๑๖ เมตร) ให้งดงาม แต่เมื่องลงมือขุดรากก็เสด็จ สวรรคต รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงดำเนินการต่อจนเสร็จ วัดรอบฐานได้ ๕ เส้น ๑๘ วา(๒๔๓ เมตร)สูง ๑ เส้น ๑๓ วา ๑ ศอก ๑ คืบ ๑นิ้ว (๘๑ เมตร)ยกยอลำพุขัน (นภศูล) เสริมยอดด้วยมงกุฏ แต่ยังมีได้ทำการฉลองก็เสด็จสวรรคต รัชกาลที่ ๔ได้ทรงสร้างมณฑปเพิ่ม เติมอีกเป็นอันเสร็จสมบูรณ์ในรัชกาลนี้

ลักษณะทั่วไป จากพื้นฐานขึ้นไปถึงยอดสุด รอบๆ พื้นฐานมีตุ๊กตาจีนสลักด้วยศิลาเป็นรูปคนและ สัตว์ประดับเรียงรายรอบ ล้อมด้วยกำแพง ด้านตะวันออกมี ๓ ประตู ด้านตะวันตก ๒ ประตู ที่ประตู ประดิษฐานพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๑,๒,๓,๔ และ๕ ตามลำดับ มีที่สังเกตช่วงที่แยกเป็น ฐานซ้อนฐาน ๔ ช่วงด้วยกัน ฐานชั้นล่างสุด มีปรางค์เล็กประจำอยู่ ๔ มุม ถัดขึ้นไป เป็น ฐานชั้นที่สอง มีมณฑปประจำอยู่ ๔ ทิศ แต่ละมณฑปมีพระพุทธรูปเนื่องในพุทธประวัติ ประดิษฐานอยู่ภายใน ทิศเหนือเป็นปางประสูติ ทิศให้เป็นปางปฐมเทศนา ทิศตะวันออกเป็นปาง ตรัสรู้ และทิศตะวันตกเป็นปางปรินิพพาน ฐานชั้นที่ ๓ มีซุ้มรูปกินนร เหนือซุ้มทำเป็นรูปกระบี ่โดยรอบ ฐานชั้นบนสุด มีซุ้มประจำทิศทั้ง๔ เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ภายในซุ้ม เป็นรูปพรพายทรงม้าขาว เหนือขึ้นไปโดยรอบทำเป็นคุฑแบก พระนารายร์แบก ยอดเป็นนภศูลเสริมยอด ด้วย พระมหามงกุฎปิดทอง ทั้งปรางค์เล็ก ปรางค์องค์ใหญ่ มณฑป กำแพงแก้ว ล้วนแล้วแต่ประดับ ด้วยกระเบื้องเคลือบลวดลายสีต่างๆ







วัดอรุณฯ เดิมทีมาแต่กรุงศรีอยุธยา ชื่อเดิมว่า "วัดมะกอกนอก" แล้วเปลี่ยนมา เป็น "วัดแจ้ง" เมื่อ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๑ ได้ทรงสร้างพระอุโบสถใหม่ในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ ครั้น ขึ้นครองราชย์แล้วได้พระราชทานนามว่า "วัดอรุณราชธาราม" ภาย หลังเปี่ยนใหม่เป็น "วัดอรุณราชวราราม" ถึง ปี พ.ศ. ๒๔๓๘ เกิดเพลิงไหม้พระอุโบสถ รัชกาลที่ ๕ จึงได้ปฏสังขรใหม่เกือบทั้งหมด องค์พระประธานที่ประดิษฐาน อยู่ในพระอุโบสถ ณ วัดแห่งนี้มีพระนามว่า "พระพุทธธรณิศรราชโลกนาถดิลก" ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๓ ศอก คืบ หล่อในรัชกาลที่ ๒ กล่าวกันว่า พระพักตร์เป็นฝีมือพระหัตถ์ของพระองค์ด้วย ในพระพุทธอาสน์บรรจะพระบรม อัฐิรัชกาลที่ ๒ รอบพระอุโบสถและพระระเบียงเรียงรายด้วยตุ๊กตาจีน (ดังที่เห็นในภาพ) ที่นำมากับเรือสำเภาค้าฃ ขายกับจีนในรัชกาลที่ ๒ และ ๓





บุษบกหรือมณฑปขนาดเล็กนี้สร้างขึ้นระหว่าง ประตูเข้าทั้งสองข้างของพระอุโบสถด้านหน้า ตัวบุษบก จำหลักลายวิจิตรปิดทองประดับกระจก ภายในประดิษฐาน พระพุทธรูปนฤมิต เป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์ รัชกาลที่ ๒ ลักษณะทรงยืนปิดทองอย่างงดงาม รัชกาลที่ ๔ จำลองแบบจากในหอพระสุสาไลยพิมานในพระบรม มหาราชวัง รัชกาลที่ ๕ ทรงนำมาประดิษฐานไว้

ประตูทางเข้าบุษบกเป็นยอดซุ้มทรงมงกุฎลายปูนปั้น มียักษ์ ๒ ตน ยืนเฝ้า ที่เป็นสีขาวชื่อ สหัสเดชะ อีก ตนหนึ่งสีเขียวชื่อ ทศกัณฐ์ ทำด้วยปูนปั้นประดับกระเบื้องเคลือบเป็นฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๓ และก็ไป ตรงกันกับประตูหนึ่งของบริเวณโบสถ์วัดพระแก้ว ซึ่งทำไว้เหมือนกันแต่เป็นช่างต่างสมัย






วัดอรุณฯ หรือที่ปากชาวบ้านมักจะเรียกกันว่า "วัดแจ้ง" เป็นวัดที่มีความสำคัญในอดีจอย่างมาก เพราะเป็น วัดที่มีพระปรางค์ที่งดงามที่สุด นอกเหนือไปจากนั้น รอบๆ บริเวณวัดยังมีพระสถูปลวดลายสิ่งประดิษฐ์ที่เกี่ยวเนื่อง ในพระศาสนาเรียงรายอยู่โดยรอบพระอาราม

สิ่งอันมีค่าล้ำเหล่านี้เป็นสิ่งที่เชิดหน้าชูตาบ่งบอกให้ตระหนักในวัฒนธรรม ประจำชาติอย่างชัดแจ้ง









ตามระเบียงวัด อรุณฯ ที่เสริมสร้างจากฝีมือช่างในยุคต้นรัตนโกสินทร์ที่สร้างคุณค่าอย่างสูงส่ง ด้วยวัตถุถาวรเหล่านี้ แม้ตุ๊กตาจีนที่ยืนเฝ้ายามเชิงบันไดที่ทอดไปสู่ชั้นบนของวัด กระเบื้องที่ห่อหุ้ม สีสันอันงามอย่างล้ำค่า ความละเอียดของการประดิดประดอย ที่เป็นฝีมือช่าง ล้วนแล้วเป็นร่องรอย ของอดีตที่จะจารึกให้อนุชนรุ่นหลังได้ชื่อนชมกับงานของช่างบรรพบุรุษเหล่า นี้




วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือชาวบ้านเรียก "วัดพระแก้ว" รัชกาลที่ ๑ ทรงสร้างขึ้นพร้อม กับการสถาปรากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อพ.ศ. ๒๓๒๕ มาแล้วเสร็จปี ฑ.ศ. ๒๓๒๗ และมีพระบรมราช โองการให้เป็นวัดในเขตพระราชฐานเสมือนอย่างวัดพระศรีสรรเพชญตามแบบกรุง ศรีอยุธยา

วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดคู่กรุงไม่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา ใช้สำหรับบวชนาคหลวง ประชุมข้าทูลละอองพระบาทถือน้ำพิพัฒน์สัตยา และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต

ทางราชการจัดให้มีการบูรณะทั่วพระอารามทุก ๕๐ ปี เริ่มแต่รัชกาลที่ ๓ รัชกาลที่ ๕ รัชกาลที่ ๗ แล้วครั้งสุดท้ายในวาระสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี ในรัชกาลปัจจุบัน



สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๕ เมื่อพ.ศ. ๒๔๑๙ หลังเสด็จประพาสสิงค์โปร์ เป็นปราสาท ๓ ชั้น ๓ องค์ เรียงกัน มีมุขกระสันเชื่อมต่อกัน ลักษณะผสมแบบศิลปะไทยกับยุโรป คือองค์พระที่นั่งเป็๋นแบบสถาปัตบกรรม ยุโรป แต่หลังคาเป็นยอดปราสาทแบบไทย ๓ ยอด ยอดทรงมณฑปซ้อน ๗ ชั้น มีมุมไม้สิบสองทั้ง ๔ มุม หลัง คาเป็นหลังคาชั้นลด ๒ ชั้น มุงกระเบื้องเคลือบสี มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์

ลักษณะอาคารที่ปรากฏในรัชกาลปัจจุบันมีรายละเอียดดังนี้ :

องค์กลาง - ชั้นบน เป็นหอพระบรมอัฐิ มีมุขเด็จสำหรับเสด็จออกด้านหน้า ชั้นกลาง เป็นท้องพระโรงหน้า ผนัง ห้องพระโรงหน้า ผนังห้องแขวนพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ชั้นล่าง เป็นกองรักษาการณ์มหาดเล็กรักษาพระองค์

องค์ตะวันออก (ซ้ายมือในภาพ) - ชั้นบน ประดิษฐานปูชนียวัตถุ ชั้นกลาง เป็นห้องรับรองพระราชอาอันตุกะ ผนัง ห้องแขวนพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ ๕ ร่วมกับสมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระบรมราชโอรสที่ ๕ ชั้นล่าง เป็นห้องรับแขก

องค์ตะวันตก - ชั้นบน ประดิษฐานพระอัฐิพระมเหสีและพระบรมราชวงศ์ ชั้นกลาง เป็นห้องรับแขก ชั้นล่าง เป็นห้องสมุด

มุขกระสันด้านตะวัน ออก - ชั้นบน เป็นเฉลียงเชื่อม ชั้นกลาง เป็นห้องโถงแบ่งเป็นสองตอน ตอนในเป็นห้องรับรอง ผนัง ประดับพระบรมฉายาลักษณ์พระราชินีในรัชกาลที่ ๔,๕ และ ๗ ชั้นล่าง เป็นห้องโถง

ท้องพระโรงกลาง - อยู่ต่อจากท้องพระโรงหน้า สำหรับเสด็จออกให้คณะทูตานุทูตเข้าเฝ้าฯ และใช้ ประกอบพระราชพิธีการกุศล หรือพระราชกรณียกิจอื่นๆ ในรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็นที่เสด็จออกขุนนางด้วย ภายใน ประดิษฐานพระแท่นพุดตานถน ซึ่งเป็นพระราชบัลลังก์ประจำพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท มีภาพเขียนประวัติ ความเจริญทางพระไมตรีของไทยกับอังกฤษและฝรั่งเศส

ท้องพระโรง หลัง - อยู่หลังถัดจากท้องพระโรงกลาง ในรัชกาลที่ ๕ เป็นที่สำหรับฝ่ายในเข้า เฝ้าในพระราชพิธีที่จัดในท้องพระโรงกลาง








จุดสนใจอย่างหนึ่งที่ อาคันตุกะชาวต่างประเทศหลั่งไหลกันเข้ามาชมในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม คือความ งามของลวดลายที่จำหลักอยู่รอบพระอุโบสถ ศิงปะจากการสร้างการสลักเสลาเกลากลึงตามแบบของช่างที่ ทำหน้าที่สืบต่อกันมาไม่ขาดสายนั้น ชาติไทยยังคงรักษาศิงปะอันงดงามนี้ไว้อย่างถาวร ทั่วโลกต่างเล็งเห็นว่างาน รังสรรค์ของช่างชาวสยามมิได้น้อยหน้าแม้แต่น้อย




ประตูเข้าสู่พระอุโบสถวัดพระ แก้วฯ ประตูหนึ่งๆ มีสิงห์หล่อด้วยสำริดวางตั้งไว้คู่หนึ่ง รวมทั้ง หมด ๑๒ ตัว ได้แบบมาจากเขมรคู่หนึ่ง แล้วหล่อเพิ่มอีก ๑๐ ตัว




ตำนานรัตนพิมพวงศ์กล่าวความว่าได้ค้นพบพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรภายในสถูป องค์หนึ่งใน เมืองเชียงราย เมื่อปีพ.ศ. ๑๙๗๓ ภายหลังที่สถูปแห่งนี้ถูกอสุนีบาตฟาดลง ชาวเมืองเชียงรายได้ เห็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองสำคัญว่าเป็นพระพุทธรูปสามัญจึงอัญเชิญไป ประดิษฐานไว้ในวิหารแห่งหนึ่ง ต่อมาราว ๓ เดือนปรากฎว่า ปูนปั้นลงรักปิดทองนั้นได้กะเทาะออก ที่ปลายพระนาสิกเป็นเป็นแก้วส ีเขียวงดงาม เจ้าอาวาสจึงงได้กะเทาะปูนนั้นออกทั้งสององค์ จึงเป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นพระพุทธรูป แก้วทึบบริสุทธิ์ทั้งแท่ง ทำให้ประชาชนทั้งปวงพากันมาสักการะ

หลังจากนั้นพระพุทธรูปมหามณีรัตนปฏิมากรได้รับการเคลื่อนย้ายไปประดิษฐาน ณ เมือง ต่างๆ ดังนี้

เมืองลำปาง เป็นระยะเวลา ๓๒ ปี เมืองเชียงใหม่ ๘๔ ปี เมืองหลวงพระบาง ๑๒ ปี และเมือง เวียงจันทร์ ๒๑๔ ปี

จนกระทั่งถึงแผ่นดินกรุงธนบุรี ในปีพ.ศ. ๒๓๒๑ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้โปรดให้สมเด็จ เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็นจอมทัพยกขึ้นไปตีกรุงศรีสัตนาคนหุต ได้เมืองเวียงจันทร์แล้ว จึงอัญ เชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากรกลับมายังสยามประเทศอีกครั้งหนึ่ง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้โปรด ให้ประดิษฐานไว้ ณ โรงพระแก้วในพระราชวังเดิมกรุงธนบุรี ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงผ่านพิภพสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี แล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างพระอารามหลวงขึ้นในพระบรม มหาราชวัง แล้ว จึงได้โปรดให้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรมาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระ ศรีรัตนศาสดาราม ณ วันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๔ ค่ำ ปีมะโรง พุทธศักราช ๒๓๒๗

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงสร้างเครื่องทรงคิมหันตฤดูและ วสันตฤดู และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างเครื่องเหมันตฤดูถวายพระ พุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ส่วนพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปลี่ยนเครื่องทรง ของพระพุทธ มหามณีรัตนปฎิมากรถวายเป็นประจำทุกฤดูกาล

ปัจจุบันพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากรหรือพระแก้วมรกต เป็นพระพุทธปฏิมาประธานในการพระราช พิธีทั้งปวงที่กระทำในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อาทิ พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พระราช พิธีมาฆบูชา วิสาขบูชา อาสาฬหบูชา รวมทั้งพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลอื่นๆ ถือเป็นพระพุทธรูปคู่ บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพสักการะสูงสุดของประชาชนคนไทย และพุทธศาสนิกชนทั่วไป








ในภาพนี้มีสิ่งสำคัญ ๓ องค์ ได้แก่ พระศรีรัตนเจดีย์ พระมณฑป และปราสาทพระเทพบิดร พระ ศรีรัตนเจดีย์ สร้างในรัชกาลที่ ๔ ตรงกับปี พ.ศ. ๒๓๙๘ โปรดให้ถ่ายแบบเจดีย์ ๓ องค์ จากวัดพระ ศรีสรรเพชญ พระนครศรีอยุธยา เป็นรูปทรงกลมแบบทรงลังกา สูง ๑ เส้น มีซุมเข้า ๔ ทิศ และ มีเจดีย์เล็กๆ อยู่ ๔ มุม บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงประดับกระเบื้องเคลือบสีทอง

พระมณฑป เดิมคือหอมณเฑียรธรรม ตั้งอยู่กลางสระ แต่ได้ถูกไฟไหม้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๒ ยกย้าย เอาตู้ประดับมุขทรงมณฑป พร้อมทั้งพระไตรปิฎหฉบับทองใหญ่ซึ่งได้ทำการสังคายนาในสมัยรัชกาล ที่ ๑ ออกมาได้ จึงโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎก โดยถมสระเดิมแล้วสร้างฐานขึ้น ใหม่ ทำเครื่องยอดด้วยไม้ประดับกระจก มีซุ้มประตูเข้า ๔ ด้าน เชิงฐานมีรูปยักษ์ ครุฑ และเทพนม ประดับกระจก อยู่บนฐานสิงห์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง





สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๔ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๘ เดิมชื่อว่า พุทธปรางค์ปราสาท ลักษณะเป็นปราสาท จตรุมุข ยอดเป็นพระปรางค์ นภศูงมีมงกุฎเสริมยอด ประดับกระเบื้องเคลือบ เป็นปราสาทยอดปรางค์ องค์เดียวในประเทศไทย เมื่อแรกนั้นรัชกาลที่ ๔ มีพระราชประสงค์จะอัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ แต่ เห็นว่าคับแคบไม่เหมาะแก่การพระราชพิธี ถึงปี พ.ศ. ๒๔๔๖ พระเจดีย์ได้ละลายหายสูญ จึงให้ซ่อม แซม แล้วให้เปลี่ยนนามเป็น ปราสาทพระเทพบิดร โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมรูปพระบูรพกษัตริย์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทั้ง ๕ มาไว้ ปัจจุบันเพิ่มถึงรัชกาลที่ ๘ แล้ว




สร้างในรัชกาลที่ ๔ อยู่บาลานพระมณฑปด้านเหนือ โปรดให้พระยาสามภพพ่ายไปจำลองแบบมา จากนครวัดในเสียมราฐเมื่อ ๒/ กุมภาพันธ์ ๒๔๐๙ สร้างด้วยศิลาล้วนๆ







วิหารมุขเป็นส่วนหนึ่งในเขตพุทธาสาววัด ราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ซึ่งประกอบด้วย พระอุ โบสถ พระเจดีย์ วิหารคด และศาลาทราย ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วสูง ๑ เมตร มีการวางผัง ที่แปลกไปอีกแบบหนึ่ง กล่าวคือ วิหารมุขอยู่หน้าพระอุโบสถ คั่นด้วยพระเจดีย์ ความวิจิตรอยู่ที่ การใช้กระเบื้องเคลือบลายเบญจรงค์ พระอาจารย์แดงช่างเขียนรัชกาลที่ ๕ เป็นผู้ออกแบบลาย แล้วส่งไปทำเป็นกระเบื้องที่เมืองจีนนำมาประดับหมดทุกอย่าง

รัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างวัดนี้ขึ้นเฉลิมพระเกียรติให้เป็นวัดประจำพระองค์ และเป็นวัดสุดท้ายที่ ถือเป็นคติสร้างประจำพระองค์ ต่อมารัชกาลที่ ๗ ทรงรับภาระปฏิสังขรณ์เสมือนวัดประจำพระองค์ด้วย





ภาพนี้โชว์ฝีมือการใช้กระเบื้องเคลือบ ประดับลวดลาย มุมหนึ่งของพระอุโบสถวัดราชบพิธฯ จะ เห็นประตูเข้าเป็น ๓ ช่อง มีซุ้มเป็นยอดทรงมงกุฏอันอ่อนช้อย และมีการสลักเป็นตัวเซี่ยวกางยืน เฝ้าอยู่ข้างประตูทุกช่อง




การแห่พระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตรา มีทั้งทางบกและทางเรือ แต่กระบวนต่างกันทั้งสอง อย่าง คือ พยุหตราทางสถลมารคนั้น มีใหญ่อย่างหนึ่ง น้อยอย่างหนึ่งกระบวนการแห่พระกฐินโดย พยุหยาตราอย่างใหญ่มีแบบมาตั้งแต่กรุงเก่า ถือเป็นกระบวนแห่ใหญ่อย่างเป็นพระ เกียรติยศงดงาม ถึง เอารูปริ้วกระบวนแห่อย่างนี้

กระบวนพระกฐินพยุหยาตราทางชงมารคนั้นก็เป็นอย่างใหญ่อย่างน้อยเหมือนกัน แต่กระบวนแห่ ผ้าไตรกับกระบวนเสด็จ เป็นกระบวนเดียวกัน ชั่วแต่มีเรือเอกไชยทรงผ้าไตรพระกฐินนำหน้าเรือพระ ที่นั่งไป กระบวนอย่างใหญ่กับอย่างน้อยแต่ก่อนมาไม่สู้ผิดกันมากนัก





พระเสด็จโยแดนชล ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย พายอ่อนหยับจับงามงอน
นาวาแน่นเป็นขนัด ล้วนรูปสัตว์แสนยากร
เรือริ้วทิวธงสลอน สารคลั่นครั่นครื้นฟอง

บทกาพย์เห่เรือนี้เป็นของเก่าที่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ หรือเรียกกันว่าเจ้าฟ้ากุ้งมหาอุปราชแผ่นดิน พระเจ้าบรมโกศทรงพระราชนิพนธ์








วัดนี้เดิมชื่อ วัดโพธาราม สร้าง แต่สมัยกรุงศรีอยุธยา รัชกาลที่ ๑ ใช้เวลาปฏิสังขรณ์ถึง ๑๒ ปี พระราช ทานนามว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส รัชกาลที่ ๕ ทรงเปลี่ยนเป็นวัดเชตุพนวิมลมังคลาราม คนทั่วไป เรียกว่า วัดโพธิ์ ได้ รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในรัชกาลที่ ๓ ถึง ๑๖ ปี เพื่อให้เป็น "มหาวิทยาลัย สำหรับประชาชน" เพราะมีศิลาจารึกเกี่ยวกับความรู้เก่าๆ อยู่ ๘ หมวด คือ ประวัติวัด ตำรายา สุภาษิตทำเนียบ และพุทธศาสนา

ซุ้มประตูเข้าสู่อารามนี้ เป็นซุ้มยอดทรงมงกุฏ ประดับลายด้วยกระเบื้องถ้วยฝีมือวิจิตรยิ่ง





ณ พระระเบียง วัดพระเชตัพนฯ ได้ ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์สำคัญๆ ที่เคลื่อนย้ายมาจากที่ต่างๆ นับ ได้ว่าเป็นพุทธพิพิธภัณฑ์อันควรแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้นบริเวณรอบนอกยังมีรูปปั้นฤาษี ดัดตน บอกลักษณะของท่าทางที่รักษาโรคเมื่อยขบไว้เป็นแบบอย่าง ซึ่งไม่มีที่วัดอื่นใด

วัดโพธิ์ จึงเป็นวัดที่มีชาวต่างประเทศเข้าไปเที่ยวชมจำนวนมาก





มหากวีเอกของกรุงสยาม สุนทรภู่ได้กล่าวรำพึงรำพันถึงวัดโพธิ์ไว้ตอนหนึ่งว่า

"โอ้ วัดโพธิ์ เป็นวัด กษัตริย์สร้าง
ไม่โรยร้าง รุ่งเรือง ดังเมืองสวรรค์"








ลักษณะหลังคาจตุรมุขทำ ด้วย กระเบื้องเคลือบสี ชายคาเป็นรูปเทพนม มีช่อฟ้า ใบระการ หาง หงส์ ลงรักปิดทอง หน้าบันสลักลวดลายทั้ง ๔ ทิศ ด้านตะวันออกเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ ด้านตะวัน ตกเป็นรูปอุณาโลม มีบุษบกอยู่กลาง ด้านเหนือเป็นช้างเอราวัณ และด้านใต้เป็นรูปเสมาธรรมจักร ถาย ในประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลอง รัชกาลที่ ๕ โปรดฯ ให้จำลองมาจากองค์จริง ซึ่งประดิษฐานอยู่ ที่จังหวัดพิษณุโลก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ พระพุทธชินราชจำลององค์นี้หล่อด้วยโลหะทองผสมหนัก ๓๙๔๐ ชั่ง เพดาน ประดับด้วยรูปดาวน้อยใหญ่ ๒๔๓ ดวง ตระการตายิ่งนัก และโปรดให้สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถด้วยกินอ่อน




รอบๆ ระเบียงแห่งวัดเบญจมบพิตรฯ นั้น มีพระพุทธรูปปางต่างๆ ประดิษฐานเรียงรายไว้หลายปาง
ดังภาพที่เห็นเด่นชัดคือ ปางทุกรกริยา และปางห้ามญาติ ปางห้ามสมุทร





เริ่มสร้างในรัชกาลที่ ๑ ด้วยมี พระราชประสงค์จะให้เหมือนพระเจดีย์ที่วัดภูเขาทอง จังหวัด พระนครศรีอยุธยา สำหรับชาวอยุธยาได้ไปนมัสการและประชุมรื่นเริงโดยทางเรือ เพื่อเล่นเพลง และสักวาในเทศกาลประจำปี

เดิมทีวัดสระเกศก็มีลำคลองล้อมรอบเหมือนวัดภูเขาทอง จึงโปรดฯให้สมเด็จพระบรมมหาพิชัย ญาติ (ทัต บุนนาค) ครั้งยังเป็นพระยาศรีพิพัฒน์รัตราชโกษา เป็นแม่กองสร้าง แต่เนื่องจากดินอ่อน ตัวมากเพราะเป็นที่ลุ่ม พระเจดีย์ที่สร้างจึงทรุดแล้วทรุดอีก จนต้องหยุดสร้างทิ้งกองอิฐไว้ปล่อยให้ต้น ไม้ขึ้นปกคลุม เมื่อแรกสร้างพระราชทานนามว่า พระเจดีย์ภูเขาทอง รูปทรงเป็นฐานไม้สิบสอง ด้าน หนึ่งยาว ๕๐ วา

ถึงรัชกาลที่ ๔ หลังจากที่มีการทำ บรมบรรพตประกอบพระราชพิธีเก็บพระอัฐิขึ้นที่ท้องสนามหลวง แล้ว ก็ทรงปรารถถึงพระเจดีย์ใหญ่ที่วัดสระเกศ จึงโปรดให้พระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) ผู้บุตรสม เด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) เป็นแม่กองสร้างซ่อมแปลงภูเขาและก่อพระเจดีย์ไว้ บนยอด ได้เสด็จไปวางศิลาฤกษ์เมื่อ ๑๔ พฤษภาคม ๒๔๐๘ โปรดให้เปลี่ยนนามพระเจดีย์ภูเขาทอง ใหม่ว่า บรมบรรพต

ใน รัชกาลที่ ๕ ได้ตัดถนนเข้าสู่ลานบรมบรรพต ๒ สาย ถมคลองด้านหน้าวัดทำถนนและกำแพง วัด มีการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๒ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๐ บรรจุในพระเจดีย์ใหญ่บน บรมบรรพต ครั้งที่สอง มิสเตอร์วิลเลี่ยม แคลกตัน เปปเป ชาวอังกฤษ ขุดอัฐิธาตุได้ที่เมืองกบิลพัสด์ ซึ่งเป็นส่วนที่กษัตริย์ศากยราชได้รับแบ่งปันไว้นำมาถวาย โปรดแบ่งให้พม่า ลังกา ญี่ปุ่น และไซบีเรีย ที่ เหลือนำมาบรรจุไว้ในพระเจดีย์ทองสัมฤทธิ์ แล้วจึงบรรจุในพระเจดีย์บนยอดบรมบรรพต เมื่อ ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๔๒ และ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เรียกชื่อว่า "บรมบรรพต" แก้การเรียกผิด เป็นภูเขาทองบ้าง สุวรรณบรรพตบ้าง

ภาพถ่ายนี้อยู่ในรัชกาล ที่ ๗ จึงคงรูปแบบไม่ต่างจากของเดิม ต่อมาได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ใน รัชกาลที่ ๙ ถึง ๒ ครั้ง ครั้งแรกโดยสมเด็จพระสังฆราช ญาโนทยมหาเถระ ได้มีการตั้งเสาคอนกรีต เสริมเหล็กฝังในฐานให้มั่นคง เริ่ม พ.ศ. ๒๔๙๓ แล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๗๙ ส่วนครั้งล่าสุด เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ โดยรัฐบาลสมัยนั้นได้บุโมเสกสีทองที่องค์พระเจดีย์ และสร้างเจดีย์เล็กอีก ๔ มุม แล้ว กราบบังคมทูลให้ในในหลวงทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในลูกแก้วยอดพระเจดีย์ เมื่อ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๐๙ รูปทรง จึงเปลี่ยนเป็นเช่นปัจจุบัน มีบันไดเวียนขึ้น ๒ ทาง คือใช้ขึ้นทาง ลงทาง ฐานโดยรอบวัดได้ ๘ เส้น ๕ วา ส่วนสูง ๑ เส้น ๑๙ วา ๒ ศอก








ละครหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ
การฝึกฝนตัวโขนละคร ไม่ว่าจะเป็นตัวพระ ตัวนาง หรือตัวยกษ์ และลิงตัวนั้นจะต้องใช้เวลาไม่ น้อยกว่าสองปี
ครูละครในยุดนั้น ครูผู้เลือกได้แก่ พระยานัฎกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) และคุณหญิง เทศ นัฎกานุรักษ์ (เทศ สุวรรณภารต)





สะพานพระพุทธยอดฟ้า (สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์) ได้สร้างขึ้นในโอกาสที่กรุงรัตนโกสินทร ์มีอายุครบ ๑๕๐ ปี ในพ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชวินิจฉัยว่านอก จากจะเป็นสะพานที่ทอดข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อเชื่อมให้กรุงเทพฯกับกรุงธนฯ เป็นผืนแผ่นเดียวกันแล้ว สมควรจะสร้างพระพบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชองค์ปฐมบรม กษัตริย์มหา ราชวงศ์จักรีไว้เป็นอนุสรณ์

บริษัทดอร์แมนลอง เป็นผู้ประมูลได้ สัญญาการก่อสร้างสะพานตามแบบรายละเอียดได้กระทำ เมื่อวันที่ ๓ๆ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ ที่กรุงลอนดอนในจำนวนเงิน ๒๕๕,๑๔๑ ปอนด์ ๗ ชิลลิง กับ ๑ เพนนี

สัญญานี้ระบุว่าจะต้องกระทำการให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายในวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๔
วันที่ระลึกมหาจักรีที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๖ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จ พระราชดำเนินทรงเปิดสะพานพุทธยอดฟ้า ท่ามกลางประชาชนที่แห่กันเฝ้าชมพระบารมีอย่างแน่น ขนัดทั้งฝั่งพระนครและธนบุรี





สถานีรถไฟกรุงเทพฯ หรือสามัญเรียกกันว่า "สถานี รถไฟหัวลำโพง" สร้างเสร็จและเปิดใช้ เมื่อ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๕๙ในรัชกาลที่ ๖ ลักษณะการก่อสร้างเป็นรูปโดมแบบ Italian Renaissance เดิม เป็นสถานีรวม มีทั้งกิจการคนโดยสารและขนถ่ายสินค้า ต่อมาการขยายตัวในด้านการโดยสารและ สินค้ามีมากขึ้น แต่พื้นที่ย่านสถานีซึ่งมีเพียง ๑๒๐ ไร่ ไม่สามารถขยายออกได้อีก ประกอบกับความคับ คั่งของการจราจรในท้องถนนหน้าสถานีทวีขึ้นด้วย การรถไฟแ่งประเทศไทยจึงได้พิจารณาย้ายกิจการ สินค้าไปอยู่ย่านสินค้าพหลโยธิน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓ และดำเนินการปรับปรุงย่านสถานีรถไฟกรุงเทพฯ ใหม่ แต่ยังคงอนุรักษ์รูปแบบไว้คงเดิม







การสร้างพระบรมรูปทรงม้า ได้ตกลงว่าจ้างขาวฝรั่งเสส โดยบริษัท ซุซเซอร์ เฟรสฟอร์เดอร์ ในโอกาส ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอย่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ พระองค์เสด็จประทับ ให้ช่างปั้น เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พระบรมรูปสำเร็จเรียบร้อยส่งเข้ามายังกรุงเทพฯ เมื่อวันพุธที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๑ อันเป็น เวลาพอดีกับงานพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระบรมรูปทรงม้าขึ้นประดิษฐ์บน แท่นรอง หน้าพระราชวังดุสิต




ตั้งอยู่บนฐานไพที (หรือแท่น) ๒ ชั้น ที่ฐานไพ่ทีชั้นล่างตั้งถะ (หรือเจดีย์แบบจีน) ๖ ชั้น ด้าน ละ ๗ ถะ รวม ๒๘ ถะ มีความหมายถึงพระพุทธเจ้า ๒๘ องค์ ที่มุมกำแพงแก้วชั้นบนและชั้นล่างมีม้า สำริดตั้งประจำมุมละ ๑ ตัว ตัววิหารสร้างแบบรัตนโกสินทร์ตอนต้น ถ่ายแบบมาจากวัดมงคลบพิตร อยุธยา มี ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เสาเหลี่ยมมีบังหัวเสา ด้านหน้าและด้านหลัง มีประตูเข้าด้านละ ๓ ประตู บาน ประตูแกะสลักในไม้แผ่นเดียวเป็นรูปสัตว์และป่าหิมพานต์ สลักฉลุซ้อนกันลงไปหลายชั้นวิจิตรงดงามมาก กล่าว กันว่า บานประตูคู่กลางด้านหน้าเป็นฝีพระหัตถ์รัชกาลที่ ๒ ต่อมาถูกไฟไหม้จึงถอดเก็บเข้าไว้ในพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ แล้วถอดเอาบานประตูคู่หลังมาติดแทน โดยให้ช่างทางกรมศิงผ์ทำของใหม่มาแทน

ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นทรงเรือนแก้ว บานหน้าต่างเดิมเขียนลายรดน้ำชิงดวง ภายในประดิษฐานพระศรี ศากยมุนี ซึ่งเป็นที่บรรจุพระบรมราชสริรังคารของรัชกาลที่ ๘ ไว้ตรงผ้าทิพย์ด้านหน้าพระพุทธบัลลังก์ มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือช่างรัชกาลที่ ๒ และ ๓





เป็นประเพณีของชาวไทยในการทำบุญตักบาตรอันเป็นกิจวัตรที่พึงปฆิบัติเป็น ประเพณีที่สืบเนื่อง กันมาแต่โบราณกาล เมื่อพระสงฆ์ออกบิณฑบาตรในตอนเช้าตรู่ ชาวไทยทั่วทั้งประเทศซึ่งมีจิตใจ เลื่อมในศรัทธาในพระบวรศาสนาก็จะเตรียมข้าวปลาอาหารมารอใส่บาตร








หลังจากที่รัชกาลที่ ๑ ได้โปรดย้ายพระนครมาสร้างทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาและ ขุดคลองคูพระนครล้อมรอบตัวเมือง สร้างป้อมปราการเรียบร้อยแล้ว ในปี พ.ศ. ๒๓๒๘ ได้โปรด ให้ขุดคลองต่อจากคลองคูตรงข้างเหนือวัดสะแก ตรงไปทางตะวันออกอีกคลองหนึ่ง พระราชทาน นามว่าคลองมหานาค ตามแบบอย่างคลองมหานาคที่วัดภูเขาทองนอกเขคพระนครที่กรุงเก่า ต่อมา เมื่อสถาปนาวัดสระแกเป็นพระอารามหลวง จึงพระราชทานนามใหม่ว่า วัดสระเกศ จุดประสงค์ การขุดคลองนี้ก็เพื่อให้ชาวประชาได้ใช้เล่นเพลงเรือดอกสร้อยสักวา

ปีพ.ศ. ๒๓๔๔ ในรัชกาลที่ ๑ โปรดให้แต่งคลองมหานาคตอนริมวัดสระเกศ และคลองเดิมข้าง หน้าให้กว้างขวาง และให้ทำเป็นเกาะหลายเกาะสำหรับเป็นที่ชาวพระนครประชุมเรือ เล่นนักขัต ฤกษ์ในฤดูน้ำเพ็ญเดือน ๑๒ เมื่อการสำเร็จในปีนั้นก็โปรดให้มีมหกรรมฉลองวัดสระเกศ แล้วยัง โปรดให้พระราชวงศ์แต่งเรือประพาสร้องดอกสร้อยสักวา

เมื่อรัชกาลที่ ๔ ขยายตัวพระนคร ได้ขุดคลองผดุงเกษมให้เป็นคลองคูเมืองชั้นนอก จึงบรรจบ กับคลองมหานาค ซึ่งต่อจากคลองนี้ตรงไปก็จะเป็นคลองบางกะปิที่เลียบวังสระปทุมวัน เชื่อมต่อเป็น คลองแสนแสบ

มีที่สังเกตปากคลองมหานาคก็คือ ป้อมมหากาฬที่สร้างแต่รัชกาลที่ ๑ แล้วในรัชกาลที่ ๖ ได้สร้าง สะพานมหาดไทยอุทิศตรงบริเวณปากคลองด้วย แต่ก่อนคลองอำนวยความสะดวกในการสัญจรและค้า ขายทางน้ำ ในภาพจึงคับคั่งด้วยเรือแพนาวา ปัจจุบันได้เปลี่ยนไป หาดูอย่างในภาพนี้ไม่ได้อีกแล้ว





พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายในระบอบราชาธิปไตย และทรงเป็นพระองค์แรกในระบอบประชาธิปไตย

ริ้วขบวนแหร่พยุหยาตราทางสถลมารคของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ยังความชื่นชมโสมนัส แก่ชาวสยามที่รอเฝ้ารับเสด็จสองข้างทางด้วยความปลาบปลื้มยินดี เป็นสักขีแห่งองค์พยานในความ ร่มเย็น เป็นสุขของมงลชนโดยทั่วหน้า





เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๕ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า ในอาณาเขต ของย่านสำเพ็งนั้นเริ่มคับแคบ เพราะผู้คนคับคั่งมากขึ้นด้วย เป็นสถานที่ค้าขายสินค้า ประชาชนเข้า มาอยู่กันแออัด จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนเยาวราช โดยให้ผู้เป็นเจ้าของที่ดินอาคารบ้านเรือนได้ ีรับความเดือดร้อนน้อยที่สุด ถนนเยาวราชสำเร็จลงด้วยดีทุกประการ มีความยาว ๑,๕๓๒ เมตร กว้าง ๒๐ เมตร นับเป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้








ถนนเจริญกรุง สร้างเมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๔ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์และพระอิน ทราธิบดีสีหราชรองเมืองเป็นแม่กอง จากถนนตกผ่านมาสามแยกถึงประตูยอดเรียกว่า ถนนเจริญ กรุงตอนนอก โดยตัดถนนกว้าง ๕ วา ๒ ศอก

ภนนเจริญกรุงตอนในโปรดให้เจ้าพระยายมราช(ครุฑ) เป็นแม่กอง พระพรหมบริรักษ์ เป็น นายงาน ลงมือตัดถนนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๕ จากหน้าวัดพระเชตุพนฯ ผ่านสะพานมอญ สี่กั๊กพระยาศรี มาถึงประตูสามยอด





ละครในนั้นมีที่มาในสมัยดึกดำบรรพ์ จากในขอบรั้วริมวังของพระมหากษัตริย์ หรือเจ้านายชั้น สูงที่โปรดการฟ้อนรำ แม้เจ้าผู้ครองนครต่างๆ ก็จะมีสาวสวยผู้ผ่านการฝึกรำมาแล้วอย่างดียิ่ง คอย ฟ้อนรำประจำทุกวังทุกคุ้ม เพราะลีลาการรำอันอ่อนช้อย ละมุนตาระรื่นใจ เพลงที่ใช้ประกอบการรำ นั้นก็ไหเราะเยือกเย็น นุ่มนวลเสนาะโสต

ศิลปะแห่งการรำของละครนั้นจึงมีแบบอย่างแต่ละท่าซึ่งจะสำแดงถึงบทต่างๆ ในท่ารำนั้นโดย ไม่ต้องมีบทเจรจา





สร้างเป็นปราสาทแบบไทย ตั้งอยู่กลางสรพน้ำ งามเด่นเป็นสง่าแก่พระราชวังบางปะอิน ภาย ในมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ขนาดเท่าพระองค์ จริง ในฉลองพระองค์ชุดจอมทัพบกประดิษฐานอยู่

มูลเหตุที่จะทรงสร้างพระที่นั่งองค์นี้ กล่าวว่าขณะที่สร้างพระราชวัง คนงานขุดสระได้พบเสา ๑๒๐ ต้น และมียอดปราสาทฝังจมดินอยู่ เชื่อว่าบริเวณนั้นแต่เดิมเป็นพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ของพระเจ้า ปราสาททอง ซึ่งทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๕ ฉะนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างปราสามแบบไทยด้วยเครื่องไม้ทั้งองค์ อุทิศถวายพระเจ้าปราสาททองและ พระราชทานนามว่าไอศวรรย์ทิพยอาสน์เหมือนเดิม









ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พ.ศ. ๒๑๓๔ ตรัสให้ชักพระมงคลบพิตร ซึ่งประดิษฐานอยู่ ฝ่ายตะวันออกมาไว้ฝ่ายตะวันตก แล้วก่อพระมณฑปถวาย

ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือ พ.ศ. ๒๒๔๓ อสุนีบาตตกลงมาต้องยอดพระมณฑปพระมงคล บพิตรเพลิงไหม้เครื่องบนโทรมลงมาต้องเศียรพระมงคลบพิตรหัก ตรัสให้รื้อพระมณฑปสร้างใหม่ แปลง เป็นพระวิหาสูงใหญ่ โดยยาว ๑ เส้นเศษ

ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ พ.ศ. ๒๒๘๕ ตรัสสั่งให้กรมพระราชวังบวรเป็นแม่งานทำการ ปฏิสังขรณ์วัดพระศรีสรรเพชญ อนึ่ง พระเศียรพระมงคลบพิตรซึ่งหักตกอยู่นั้นยกต่อกับพระองค์ให้บริ บูรณ์ดีดังเก่า





ตามคำสันนิษฐานเรื่องพระปฐมเจดีย์นั้น เดิมเป็นพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นแต่เมื่อครั้งพระเจ้าอโศก มหาราชจัดส่งสมณทูตมาประกาศพระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ ครั้นจำเนียรกาลผ่านมานานได้ ทิ้งร้างจนทรุดโทรมปรักหักพัง แล้งได้มีการสร้างเสริมขึ้นใหม่หลายครั้งหลายหน

ครั้งสุดท้าย ก่อนบูรณะในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ปรากฎเป็นรูปพระปรางค์ตั้ง อยู่บนเนินพระสถูปเก่า ชาวบ้านเรียกว่า พระประทม เล่ากันว่าพระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาบรรทมที่ นั้น แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงพบในหนนังสือเก่าๆ เรียกว่า "พระปฐมเจดีย์" หมาย ความว่าเป็นพระเจดีย์องค์แรกที่ได้สร้างขึ้นในดินแดนส่วนนี้ รูปเดิมคงจะเป็นพระสถูปรูปโอคว่ำ อย่างสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระปรางค์นั้นคงจะได้สร้างขึ้นในชั้นหลังเมื่อองค์พระสถูปเดิมได้ ปรักหักพังลงแล้ว พระปฐมเจดีย์ตามที่เป็นอยู่เดิมนั้น ส่วนสูงวัดแต่พื้นดินถึงสุดยอด ๒ เส้นกับ ๒ ศอก

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดให้สร้างพระมหาสถูปสวมพระปฐมเจดีย์องค์เดิมไว้ ส่วน สูงวัดแต่พื้นดินไตลอดยอดมงกุฏได้ ๓ เส้น ๑ คืบ ๖ นิ้ว เป็นพระเจดีย์ที่สูงกว่าพระเจดีย์ใดๆ บรร ดามีในประเทศนี้





เมื่อเกือบ ๑๐๐ ปีก่อนนั้น ถนนหนทางในกรุงสยามมีย้อยสาย การดำรงชีวิตของประชาชนทั่ว ไปนั้นสัญจรกันตามลำน้ำเป็นส่วนใหญ่ แม้ในบางกอก การตดต่อค้าขาย การไปมาหาสู่ก็ใช้ เรือแจว และเรือพาย ดังนั้นการสร้างบ้านตามริมคลองและแม่น้ำจึงเป็นความนิยมของชาวกรุง จนกรุงสยาม ได้รับสมญานามว่าเป็น เวนิสแห่งตะวันออก เพราะชาวต่างประเทศได้มาเห็น "เรือแพ" เรือนใน น้ำของชาวสยามสมัยนั้นปรากฎอยู่ทั่วไปเหนือน่านน้ำ







ในสมัยที่ป่าไม้ยังอุดมสมบูรณ์ สัมปทานการทำป่าไม้อยู่ในมือของชาวต่างประเทศที่ประกอบกิจ การทางภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่ พาหนะที่ใช้แรงงานในป่าไม้ทางภาคนี้จึงอาศัยชางและควาญทำงาน อย่างหนักเพื่อชักลากไม้ไปสู่โรงเลื่อย




ในสมัยโบราณแต่ก่อนมาชาวไทยทุกถาคส่วนมาก จำใช้การตำข้าวด้วยครกกระเดื่อง เพราะยัง ไม่มีโรงสีที่จะกลั่นข้าวเปลือกเป็นข้าวสารได้ ข้าวที่ใช้ตำนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมาก เพราะ ข้าวที่ใช้วิธีตำข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร เรียกว่า ข้าวแดงหรือข้าวซ้อมมือนี้ ยิ่งเป็นความนิยมของผู้ บริโภคจำนวนมากเหมือนกัน




การทำนา แม้จะเป็นงานหนักที่เหน็ดเหนื่อยเพียงใด ชาวนาของเราก็ก้มหน้าก้มตา ทำกันด้วย ความพากเพียร เพลิดเพลินกับงานในชีวิตสืบเนื่องมาจากปู่ย่าตายาย พอใจในธัญญาหารที่ตกกล้าตาม ฤดูกาล ดังจะเห็นได้จากเมื่อเกี่ยวข้าวสำเร็จสมประสงค์แล้ว ก็จะมีการเล่นเพลง

บท เกี่ยวข้าว

เกี่ยวเถิดหนาพ่อเกี่ยว ข้าวตกรวงพรูอยู่เชียว
ช่วยกันเก็บเกี่ยวไป เอยฯ
เงินจะนองเนืองมา บ้านเมืองรุ่งเรืองสมหน้า
ก็เพราะชาวนาไทย เอยฯ
พันธุ์ข้างของเราดี เมล็ดสะพรั่งดั่งมณี
รัฐบาลก็มีปัน เอยฯ
เกษตรกรรมชลประทาน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ
ช่วยกันเป็นงานใหญ่ เอยฯ








เมื่อฝนตกต้องตามฤดูกาลเพราะป่าไม้สมบูรณ์ ปราศจากอุทกภัย แม้จะมีภัยธรรมชาติก็มิได้ก่อ ความเสียหายร้ายแรงใดๆ ต่อการทำนาผืนนาอิ่มเอมด้วยน้ำหล่อเลี้ยง อันเหมาะสมที่ช่วยให้ข้าวชู ยอดและแตกรวงสะพรั่ง

ข้าวที่งอกงามและมีพื้นที่ทำนามากที่สุดคือ จังหวัดต่างๆ ทางภาคกลางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา รองลง ไปคือภาคพายัพและอีสาน ข้าวที่เหลือบริโภคถูกสส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ

ภาพในอดีตจะเป็นกระจกเงาบานใหญ่ที่ส่องให้เราได้เห็นว่าผืนดินเดียวกันนี้จะ ยังดำรงความ ชุ่มฉ่ำ ช่วยให้พืชกล้าของเรายืนต้นขึ้นอย่างสง่างาม นำความอิ่มท้องและเอมใจให้แก่เราไปถึงอนา คตหรือไม่ ถ้าเราได้ยึดมั่นคุณธรรมอันดีงามที่บรรพบุรุษของเราได้อบรมไว้





จังหวัดเพชรบุรี เป็นจังหวัดที่มีปุชนียสถานเก่าแก่ มีประวัติความเป็นมาอย่างน่าศึกษาเป็นอัน มาก พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสยามได้เสด็จไปหลายพระองค์ และได้ทรงสร้างสิ่งล้ำค่าไว้เป็นอนุ สรณ์หลายแห่ง

ภายในถ้ำเขาหลวง เป็นสถานที่อีกแห่งปนึ่งซึ่งผู้ที่ได้มาถึงเพชรบุรีจะต้องผ่านเข้าไปชมสภาพ ของถ้ำที่วิจิตรพิสดารด้วยหินย้อยงามจับตา ธรรมชาติได้ปรุงแต่งไว้อย่างน่าพิศวง และประดับด้วย พระพุทธรูป เจดีย์ที่เรียงรายไว้อย่างดงามน่าเลื่อมใส



ลิงค์ หัวข้อ: http://www.trytodream.com/topic/12754

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ