วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553

-:- ภาพประวัติศาสตร์ไทยเมื่อ 100 กว่าปีก่อน......





http://www.navy22.com/smf/index.php/topic,15701.0.html


ภาพ ถ่ายโดยพระบรมราชานุญาต ร.4 - ร.5



ฉาย ณ เกย พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท พระบรมมหาราชวังในการพระราชพิธีโสกันต์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกของสยามประเทศ เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2433 (117 ปีก่อน)




พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยืนหันพระปฤษฎางค์ให้กล้องในการพระราช พิธีโสกันต์ ณ เขาไกรลาส
ในสวนขวา พระบรมมหาราชวัง มีน้ำตกบ่อน้ำ และสัตว์ส่วนหนึ่ง ที่มีคติความเชื่อว่าอยู่บนเขาไกรลาส ในป่าหิมพานต์ คือ ม้าราชสีห์ ช้าง และ โค สัตว์เหล่านี้หล่อด้วยโลหะและมีน้ำพุ่งออกจากปาก เพื่อสรงน้ำพระราชโอรส พระราชธิดาที่ทรงรับพระราชทานโสกันต์ เมื่อปี พ.ศ.2433

(117 ปีก่อน)




ช้างต้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีปกกระพองและภู่ขนจามรีห้อยหน้าหู พร้อมผ้าเยียรบับคลุมหลัง มีควาญคอและควาญท้าย ขณะเดินอยู่ในสวนสราญรมย์ ประมาณ พ.ศ.2411
(139 ปีก่อน)





ภาพมุมสูงในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2429 ซึ่งเป็นวันที่ 4 ของการพระราชพิธีมหาพิไชยมงคล ลงสรงสนานรับพระปรมาภิไธย ในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าพระราชกุมารพระองค์ใหญ่ (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ) (121 ปีก่อน)




สนามหลวงและวัดพระแก้ว





พระราชวังบางปะอินได้ก่อสร้างขึ้นบน พื้นที่ซึ่งประกอบด้วยเกาะกลางน้ำ มีสะพานลักษณะหลากหลาย เป็นทางเดินเชื่อมฝ่ายหน้าและฝ่ายใน
เช่น สะพานไม้ ที่ออกแบบให้เป็นลูกคลื่น เป็นที่พอพระทัยของเจ้านายองค์เล็กๆ เมื่อปี พ.ศ.2433
(117 ปีก่อน)





ส่วนหนึ่งของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม บริเวณปราสาทพระเทพบิดร พระมณฎปซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระไตรปิฎก และพระศรีรัตนเจดีย์ ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พ.ศ.2423 (127 ปีก่อน)





ซุ้มประตูยอดมงกุฎทางเข้าพระอุโบสถวัด อรุณราชวราราม หรือ วัดแจ้ง มีทวาราบาลยักษ์ คือ ทศกัณฐ์ด้านซ้าย และสหัสเดชะด้านขวา
ปี พ.ศ.2410
(140 ปีก่อน)



















ภาพน้ำท่วมครั้งใหญ่ พ.ศ. 2485 สมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา



อนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย น้ำท่วม ตุลาคม2485



กระทรวง สาธารณสุข น้ำท่วม ตุลาคม2485




ภาพที่เห็นคือขบวนแห่พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2468



ภาพที่หายากภาพหนึ่ง
พระบรมฉายาลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว
ฉายโดยช่างภาพชาวสกอต ชื่อ จอห์น ทอมสัน ซึ่งเดินทางมาสยาม เมื่อพ.ศ. 2408




ขบวน แห่ในพระราชพิธีเดียวกัน



คนจีนหาบของขาย หมวกที่ใส่เรียกว่าหมวกกุยเล้ย



สนามหลวง เมื่อปลายรัชกาลที่ 5



วัดพระแก้ว จากมุมด้านกระทรวงยุติธรรม ประมาณปลายรัชกาลที่ 5



พระสงฆ์รับบาตรจากชาวบ้านขอให้สังเกตอิริยาบถของชายที่ใส่บาตรเขาย่อตัวลง ต่ำ เพื่อแสดงความนอบน้อมต่อบรรพชิตเขาย่อตัวลงต่ำ เพื่อแสดงความนอบน้อมต่อบรรพชิตแต่งกายเรียบร้อยมิดชิดผ้าที่ชายชาวบ้านห่ม เฉวียงบ่า เป็นการห่มแบบแสดงคารวะ



พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามไม่ระบุปี พ.ศ.



บริเวณด้านข้างพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว)ไม่ระบุ ปี พ.ศ.ที่เห็นเรียงรายอยู่ทางซ้ายของภาพ น่าจะเป็นตุ๊กตาจีน และตุ๊กตาตัวละครในรามเกียรติ์ ไม่ใช่คน



ภาพสมัยรัชกาลที่ ๔ ขบวนเสด็จของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จไปทอดกฐินหลวง ณ วัดพระเชตุพน ถ่ายโดยชาวต่างประเทศ เมื่อ ค.ศ. ๑๘๖๖ (พ.ศ. ๒๔๐๙)



กระทรวงกลาโหม



ทหารไทยเมื่อ 100 ปีก่อนแต่งตัวกันอย่างนี้



พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงฉายคู่กับพระคู่หมั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวัลลภาเทวี พระวรกัญญาปทาน



บริเวณที่ทำการของ ยู.เอ็น.



สะพานพุทธ เข้าใจว่าสมัยรัชกาลที่ 7



หน้าตาของสะพานพระราม 6 ประมาณรัชกาลที่ 7



เรือนแพ สุขจริง...อิงกระแสธารา ช่วงปลายรัชกาลที่ 8 หรือต้นรัชกาลที่ 7



เจ้านายจากยุโรปที่เสด็จมาทรงร่วมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔

แถว หลัง จากซ้ายไปขวา
เจ้าชายแอกเซลแห่งเดนมาร์ก
เจ้าชายฟูชิมิ-โน-มิยา แห่งญี่ปุ่น
เจ้าชาย Aage แห่งเดนมาร์ก (ใครช่วยบอกหน่อยนะคะว่า Aage ออกเสียงว่าอะไร เอจ? อาจ?)
เจ้าชายอีริคแห่งเดนมาร์ค
แถวหน้า จากซ้ายไปขวา
เจ้าชายอเลกซานเดอร์แห่งเทค( เอิร์ลแห่งอัธโลน)จากอังกฤษ
แก รนด์ดยุคบอริส วลาดิมิโรวิช แห่งรัสเซีย
เจ้าหญิงมารีแห่งสวีเดน
เจ้า หญิงอลิศ พระชายาเจ้าชายอเลกซานเดอร์แห่งเทค(เคานเตสแห่งอัธโลน)
เจ้าชาย วัลดีมาร์แห่งเดนมาร์ค
เจ้าชายวิลเฮล์มแห่งสวีเดน




พระบรมฉายาลักษณ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อจะเสด็จโดยพระยานุมาศ ไม่ทราบวันเดือนปี และเหตุการณ์ ค่ะ แต่เห็นจากฉลองพระองค์ อาจจะเป็นวันบรมราชาภิเษก



ภาพวังบูรพาภิรมย์ ตรงที่ที่เรียกว่า "วังบูรพา" ในปัจจุบันเดิมเป็นวังของสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ต้นราชสกุล ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา ต่อมาทายาทได้ขาย ผู้ซื้อรื้อวังลง เพื่อนำที่ดินไปใช้ในด้านพาณิชย์จนถึงปัจจุบัน



พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเชียงใหม่ ประทับไปในขบวนรับเสด็จ จากสถานีรถไฟ



สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินสมัยต้นรัชกาลที่ 5





พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม




























หญิงสาวแต่งตัวเรียบร้อย รวมกลุ่มกันเล่นกีฬาในร่ม ดิฉันไม่แน่ใจว่าเป็นสกาหรือเปล่า ใครดูออกว่าเป็นอะไรช่วยบอกด้วยค่ะ ขอให้สังเกตการห่มผ้าแถบของแท้ดั้งเดิม เขาพันร่างกายท่อนบนแล้วเหน็บไว้เฉยๆ ค่อนข้างหลวม ไม่เหน็บกันแน่นเหมือนในละครทีวี ไม่มีกระดุม ไม่มีเข็มกลัดช่วยยึด ผ้าแถบอยู่ติดตัวได้ก็เพราะความชำนาญของคนห่ม รู้ว่าจะเคลื่อนไหวยังไงถึงจะไม่หลุด

ภาพรวมๆ ประเทศไทย ในอดีต

ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ แต่ไม่รู้ถึง 100 ปีป่ะ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ



























ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ มีไม่ถึง 100 ปี อิอิ ..


















รูปนี้ก็ไม่ถึงร้อยปีค่ะ





บันทึกการเข้า










ภาพวัดโรมันคาทอลิก จังหวัดจันทบุรี

ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า









ภาพขณะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฉาย รูปร่วมกับข้าราชการและบริพารที่สนองพระบรมราโชบายพัฒนาแผ่นดิน

*** ภาพเก่าหรือไม่ ให้สังเกตุจาก "ธงสยาม" (Siam flag) หรือ "ธงช้าง"
(Thong Chang) ***














" รถไฟ เรือเมล์ ลิเก ตำรวจ สจ๊วต ทหาร(เรือ) สตรีพึงระวัง "







ชาวสงขลามารับเสด็จ รัชกาลที่ 5 หน้าประตูเมืองแห่งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2448
ภาพจากหอจดหมาย เหตุแห่งชาติ เอนก เชื่อว่าถ่ายเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2448





เห็นหอนาฬิกา ซึ่ง เอนก นาวิกมูล ตีความจากเรื่องนาฬิกาได้ว่า ตั้งอยู่หน้าหอคองคอเดีย (ศาลาสหทัยสมาคม ตรงสนามหญ้าหน้าวัดพระแก้ว) อยู่ระหว่างทิมดาบกับโรงทอง ข้างบนทำอย่างหลังคาตัด มีลูกกรง
ในหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ 25 กล่าวว่า รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้กรมขุนราชสีหวิกรม (ต้นสกุล ชุมสาย) คิดแบบ เป็นหอสูง 10 วา มีนาฬิกาทั้ง 4 ด้าน รื้อเสียเมื่อจะสร้างทิมดาบใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5
ภาพจากหนังสือ Ein Welt-und Forschungsreisender mit der Kamera 1844-1920 ภาษาเยอรมัน
รวบ รวมผลงานถ่ายภาพของ วิลเฮล์ม เบอร์เกอร์ (Wilhelm Burger) ซึ่งเข้ามาเมืองไทยพร้อมคณะฑูตเมื่อ พ.ศ.2412




ท้องพระโรงในรัชกาล ที่ 4 ในพระที่นั่งอนันตสมาคม (รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างในหมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์ หลังพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ รื้อหมดแล้วเมื่อกลางสมัยรัชกาลที่ 5)
ภาพจากหนังสือ Ein Welt-und Forschungsreisender mit der Kamera 1844-1920 ภาษาเยอรมัน
รวบรวมผลงาน ถ่ายภาพของ วิลเฮล์ม เบอร์เกอร์ (Wilhelm Burger) ซึ่งเข้ามาเมืองไทยพร้อมคณะฑูตเมื่อ พ.ศ.2412




พระที่นั่งภูวดล ทัศไนย (หอนาฬิกา) ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ หีบผลงานของหลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี)
ทางซ้ายสุดคือพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ถัดมาคือประตูเทวาพิทักษ์ กับพระที่นั่งภูวดลทัศไนย สูง 5 ชั้น มีนาฬิกา 4 ด้าน ส่วนทางขวาสุดคือป้อมสิงขรขัณฑ์




สกุณวัน (เก๋งกรงนก) ริมพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ถ่ายสมัยรัชกาลที่ 4 ก่อน พ.ศ. 2411 แต่ไม่ทราบปีใดแน่
สกุณวันเป็นกรงนก มีเก๋งจีน 4 หลัง ตั้งอยู่โดยรอบ จึงรวมเรียกว่า เก๋งสกุณวัน เคยเป็นที่รัชกาลที่ 4 เสด็จออกว่าราชการและให้ขุนนางเข้าเฝ้า รื้อหมดแล้ว กลายเป็นสนามหญ้าหน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท





โรงกระสาปน์ (อยู่ตรงมุมบริเวณมหาปราสาท) รัชกาลที่ 4 โปรดให้สร้างโรงเครื่องจักรสำหรับทำเงินเหรียญขึ้นที่หน้าพระคลังมหาสมบัติ (ที่ทำเงินพดด้วงแต่ก่อน) ตรงมุมถนนออกประตูสุวรรณบริบาลข้างตะวันตก พระราชทานนามว่า โรงกระสาปน์สิทธิการ เริ่มทำการตั้งแต่ปีจอ พ.ศ. 2405 จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 โรงกระสาปน์เล็กไปไม่พอแก่การ จึงสร้างโรงกระสาปน์ใหม่ข้างประตูด้านตะวันออก ส่วนโรงกระสาปน์เก่าใช้เป็นโรงหมอกับคลังทหาร กระทั่ง พ.ศ.2440 เกิดไฟไหม้ตึกโรงกระสาปน์เก่าหมดทั้งหลัง จึงแก้ไขซ่อมแซมเป็นคลังชาวที่




ท่าราชวรดิฐ (ถ่ายในรัชกาลที่ 5 แต่พระที่นั่งของเดิมยังอยู่บริบูรณ์) ซ้ายสุดเห็นหอนาฬิกาเพียงราง ๆ ถัดมาทางขวาเป็นพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท (ยอดเดียว) กับพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท (3 ยอด)



มองไปทางกรุงเทพฯ ถ่ายจากพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามฝั่งธนบุรี ไปทางพระบรมมหาราชวัง ฝั่งกรุงเทพฯ
ซีกขวาล่างบริเวณที่มีรั้วเหล็กหล่อล้อมเป็นแนว มีประตูเหล็กและมีตุ๊กตาหินสองตัวยืนอยู่ข้างหน้าคือบริเวณภูเขาจำลองที่เคย อยู่ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อสมัยรัชกาลที่ 1 แล้วรัชกาลที่ 3 โปรดให้นำมาไว้ที่วัดนี้




อนุสาวรีย์ชัย สมรภูมิ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2489
ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ถ่ายโดยปีเตอร์ วิลเลี่ยมส์ ฮันท์ (หลังสงครามโลก ครั้งที่ 2) ช่างภาพประจำกองทัพอากาศอังกฤษ พ.ศ. 2489 จุดประสงค์ของการถ่ายภาพกรุงเทพฯ และประเทศไทยอย่างละเอียดครั้งนั้น เพื่อสำรวจพื้นที่เกษตรกรรมของไทยว่าจะสามารถชดใช้ข้าวเป็นค่าปฏิกรรมสงคราม ได้มากน้อยเพียงไร (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2)
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2484 เป็นอนุสรณ์แก่ผู้พลีชีพเพื่อชาติในกรณีพิพาทกับอินโดจีนของฝรั่งเศส
ด้าน ซ้ายแลเห็นถนนราชวิถี (มุ่งไปทางทิศตะวันตก) ถนนด้านขวาบนคือทางหลวงแผ่นดินสายเหนือหรือถนนพหลโยธิน ขวาล่างคือถนนราชวิถีด้านไปดินแดง




วัดประทุมวันใน รัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างพร้อม ๆ กับที่ให้สร้างสระบัวหรือปทุมวันสำหรับเสด็จประพาส (ปัจจุบันบริเวณสระบัวกลายเป็นศูนย์การค้าเวิลด์เทรด เซนเตอร์หมดแล้ว)










คลองในบางกอกเมื่อ ยามน้ำลง นึกถึงคลองมหานาคที่เคยเป็นตลาดน้ำใหญ่ของกรุงเทพฯ สะพานตรงกลางน่าจะเป็นสะพานรถไฟที่แล่นผ่านวัดบรมนิวาส (เอนก)



บริเวณกรมอากาศยาน ตำบลดอนเมือง ถ่ายจากเครื่องบิน ถ่ายในสมัยรัชกาลที่ 6 ไม่ระบุวันเดือนปี เป็นภาพประกอบเรื่อง ?ความเจริญแห่งการบินกรุงสยาม? ในดุสิตสมิต ฉบับพิเศษ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2466
ดุสิตสมิตให้ความรู้ว่า ทหารไทยนำเครื่องบิน 3 ลำแรกที่ซื้อจากฝรั่งเศส มาถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2456 โรงเก็บเครื่องบินชั่วคราวอยู่ที่โรงเรียนพลตำรวจพระนครบาล ต.ปทุมวัน
วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2457 ย้ายที่ตั้งกองบินจากปทุมวันไปตั้งที่ดอนเมือง




กองทหารไทยในดินแดน เยอรมนี ภาพจากดุสิตสมิต ฉบับพิเศษ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2466
คือคราว ที่ไทยส่งทหารอาสาไปร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2461




พระที่นั่งจักรีมหา ปราสาทกับบริเวณโดยรอบ ถ่ายจากเครื่องบิน ไม่ระบุวันเดือนปีและชื่อผู้ถ่าย คงอยู่ในช่วง พ.ศ. 2465
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท คือที่เห็นมีสนามหญ้าวงรีเหมือนสนามฟุตบอลเล็ก ๆ อยู่ข้างหน้า มี 3 ยอด สร้างเมื่อต้นรัชกาลที่ 5 มองไปทางมุมซ้ายล่าง เห็นพระอุโบสถวัดพระแก้ว ถนนเหนือพระอุโบสถที่พาดเฉียงขึ้นไปคือถนนสนามชัย ขอบบนสุดคือพระอุโบสถวัดโพธิ์ ถนนทางขวาสุดเรียกว่าถนนมหาราช




พระที่นั่งอนันต สมาคม ถ่ายจากเครื่องบิน ไม่ระบุวันเดือนปีและชื่อผู้ถ่าย คงถ่ายช่วง พ.ศ. 2465
พระที่นั่งอนันตสมาคมสร้างเมื่อปลายสมัยรัชกาลที่ 5 โดยเริ่มปรับพื้นที่และทำรากเมื่อ พ.ศ. 2449 จากนั้นในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 รัชกาลที่ 5 จึงเสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์ (วันเดียวกับที่ทรงเปิดอนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า) สร้างเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระราชพิธิเฉลิมพระราชมณเฑียรระหว่างวันที่ 7 ? 11 มกราคม พ.ศ. 2459




คลองหน้าวัดราชบพิธ (มองเห็นสุสานหลวง) หมายถึงคลองคูเมืองเดิมที่ขุดเมื่อสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี
สุสานหลวงอยู่ ทางด้านทิศตะวันตกของวัด รัชกาลที่ 5 โปรดให้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศพระราชกุศลแก่พระบรมราชเทวี พระราชเทวี เจ้าจอมมารดา ตลอดจนพระราชโอรสธิดา ทำเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ ทั้งเจดีย์ พระปรางค์ (อย่างที่เห็นทางซ้าย) และอาคารแบบยุโรป อนุสาวรีย์บางส่วน พระบรมวงศานุวงศ์สร้างในสมัยหลัง ปัจจุบันทางวัดเปิดให้ประชาชนเข้าไปเดินชมได้อย่างสะดวก









วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร (วัดใหญ่) ในอดีต








1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ22 พฤษภาคม 2553 เวลา 01:52

    เป็นภาพที่หากดูได้ยากและเป็นสิ่งที่ควรให้ลูกหลานไทยได้เห็นและได้สัมผัสว่ากว่าที่จะได้เป็นเมืองไทยที่สวยงามมาจนทุกวันนี้ต้องใช้เวลาและเสียสละสิ่งต่าง ๆ มากมาย ช่วยกันคนละไม้ละมือนะพี่น้องชาวไทยทุกคน

    ตอบลบ

อารายเหรอ