วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

อีกสองร้อยปีฉันรวยแน่ ความจริงที่ไม่ได้ฝัน ของชายวัย 73

อีกสองร้อยปีฉันรวยแน่ ความจริงที่ไม่ได้ฝัน ของชายวัย 73

... สัมผัส ความรวยแท้ๆ และยั่งยืน ของชายชราสุดแสนธรรมดา สามัญคนหนึ่ง ที่ไม่สามารถตีมูลค่าทรัพย์สินเป็น " เงิน" ได้ เพราะ เงินไม่ใช้พระเจ้าสำหรับเขา ......

.....................................................

.......................................................
... .. สองฟากถนนที่ลัดเลาะไปตามเนินเขา สลับกับที่ราบ ตามชุมชนทางภาคใต้ ไม่ใช่เรื่องแปลก ที่เราจะเห็นสวนยางพาราที่ยืนต้นเรียงรายเป็นแนวยาวสุดลูกหู
ลูกตา พืชเศษฐกิจสำคัญของชาวใต้ซึ่งปัจจุบันราคาพุ่งสูงเฉียด 100บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อไม่นาน ราคาดิ่งลดเหลือไม่ถึง 50บาท แต่ถึงอย่างไรคนใต้ ก็ยังคงต้องพึ่งพายางพารา พืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวชนิดนี้ ที่ทำกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ จนถึงปัจจุบันแม้แต่ที่นายังถูกปรับพื้นที่ปลูกยางพารากันเกือบหมด ....


.... แต่ที่บ้านโหล๊ะบอน ต.วังใหญ่ อ.เทพา จ.สงขลา มีชายชราคนหนึ่งที่ไม่หลงไปตามยุคสมัย หรือปล่อยชีวิตให้ผันผวนไปตามราคายางพารา บนพื้นที่กว่า 40ไร่ ของเขาซึ่งมีลำคลองสายเล็กๆไหลผ่าน ทึบ ครื้มไปด้วยไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่แข่งกันขยายลำต้นเขียวขจี สร้างความงุนงงสงสัยและชวนหาคำตอบต่อผู้ผ่านไปมาบนเส้นทาง หน้าบ้าน ว่าใครกันนะคือผู้เนรมิตสวนป่าแห่งนี้สวนกระแสยุคราคายางแพง ....


..... นายวิชาญ สุขปุนพันธ์ ที่ชาวบ้านรู้จักกันดีในนามครูวิชาญ หรือ ลุงห้วน ชายชราวัย 73 ปี อดีตครูบ้านนอกตลอดชีวิต ที่หน้าที่พ่อพิมพิ์ของชาติ วนเวียนอยู่แต่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตั้งแต่ปี 2501 ก่อนที่จะอำลาชีวิตเรือจ้าง โดยเกษียณอายุราชการให้แก่ตัวเอง เมื่อปี 2537 ขณะอายุได้ 55 ปึ แม้วัยจะล่วงกลางคนมาแล้วแต่ เรี่ยวแรงยังคงมีอยู่เหลือเฟือ ลุงห้วนลงมือลงสานฝันให้ตนเองที่เคยวาดหวังไว้เมื่อครั้งเป็นครูตั้งแต่บัด นั้น จนกลายเป็นความจริงที่สามารถจับต้องได้

ในทุกวันนี้.....

... ลำคลองสายเล็กๆที่ไหลผ่านสวนป่า ในช่วงหน้าแล้ว น้ำเริ่มแห้งขอด เพราะป่าต้นน้ำถูกทำลาย เช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆของภาคใต้ ....


...... ลุงห้วนเล่าให้ฟังว่า ตั้งใจจะสร้างสวนป่าให้เป็นมรดกของธรรมชาติแก่ลูกหลานยุคต่อ ๆไปในอนาคต และรวมไปถึงชาวโลก เพื่อทดแทนผืนป่าที่ถูกทำลาย ซึ่ง หลายคนที่ได้มีโอกาสเข้ามาวิสาสะและสัมผัสเมื่อครั้งแรกเริ่ม อาจมองแนวคิดของลุงห้วนว่าเป็นเรื่องเพ้อฝัน สุดโต่ง ว่าผืนดินแค่เพียง 40 กว่าไร่จะช่วยลดภาวะวิกฤตโลกร้อนที่มวลมนุษยชาติ กำลังเผชิญอยู่ได้อย่างไร แม้ไม่มีใครพูดให้เข้าหู แต่ชายชราที่ผ่านโลกมาอย่างโชกโชน คนบ้านนอกธรรมดาๆคนหนึ่ง ที่ยังคงยึดมั่นกับแนวทางของตนเองกลับมีมุมมองที่ต่าง แต่ไม่โต้แย้งเพียงแต่ยืนยันเจตนารมณ์เดิมว่าต้องทำให้ได้แม้จะเป็นเพียงเศษ เสี้ยวเล็ก ๆ หากมองถึงภาพรวมทั้งโลก แต่ก็ยังดีกว่า ไม่ได้ทำอะไรเลย


......... ฉาน(ฉัน) ไม่ได้หวังว่าจะแก้ปัญหาให้คนทั้งโลก ต้นไม้ที่ฉันปลูกหวังเพียงแค่เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยฟอกอากาศให้โลก ผืนป่าของฉาน ได้เป็นที่อยู่อาศัยของไก่เถื่อน (ไก่ป่า) และนกกาที่มาสร้างรังหรือแม้แต่สัตว์เลื้อยคลานนานาชนิดได้มาหลบภัยจากน้ำ มือมนุษย์ แค่นี้ฉานก็พอใจแล้ว...............
ปี 2537 ลุงห้วนลงมือสร้างป่า จุดประกายคำว่า มรดกธรรมชาติ .......การปลูกต้นไม้ของลุงห้วน เริ่มต้นต่างจากการปลูกยางพารา หรือการสร้างสวนผลไม้ทั่วไปของชาวใต้ที่ต้องมีการจัดระบบต่าง ๆ ตามหลักเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ แต่วิธีการของลุงห้วนกลับยึดหลักธรรมชาติที่ว่าสรรพสิ่งในโลกนี้ย่อมพึ่งพากัน ฉะนั้นจึงไม่มีการทำลายต้นไม้เดิมที่มีอยู่ แต่ใช้หลักการปลูกเพิ่ม โดยใช้พันธุ์ไม้ท้องถิ่นภาคใต้ เช่น ตะเคียน ตำเสา สะเดา พะยุง หลุมพอ หมาก พลูตั๊กแตน และไม้อื่น ๆ นอกจากนี้ยังได้ทดลองปลูกไม้มะฮอกกานีอีกด้วย หากจะนับจำนวนต้นไม้ที่มีอยู่ในสวนป่าผืนนี้คงต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะรวบ รวมได้หมด .....


ลุงห้วนบอกว่า.......ไม่ต้องนับกันให้เหนื่อย เท่าที่ฉานสุ่มนับดูคร่าวๆมีไม่ต่ำกว่า 50,000 ต้น ....


...... ช่วงแรกที่ลงมือปลูกต้นไม้ ลุงห้วนต้องฝ่าฟันกับอุปสรรคมากมาย ทั้งการปรับพื้นที่ จากสภาพดินเดิมซึ่งเป็นดินทรายที่ปลูกต้นไม้ไม่ค่อยได้ผล และสายตาของผู้คนรอบข้างที่มองมาอย่างแปลกๆระคนความสงสัยเนื่องจากพื้นเพ เดิมลุงห้วนไม่ใช่คนที่นี่มาแต่กำเนิด แต่ด้วยความอดทนเป็นที่ตั้ง ประกอบกับความรู้ทางการเกษตรร่ำเรียนมาทำให้การแก้ปัญหาผ่าน พ้นไปด้วยดี ....


.....“ขี้วัวนั่นแหละคือปุ๋ยอย่างดี ไม่ต้องไปซื้อหาที่ไหน เพราะฉานมันเลี้ยงไว้เต็มคอก” ลุงห้วนสรุปสั้น ๆ ส่วนพันธุ์ไม้ก็ตระเวนขอไปทั่วทุกที่ที่มีการ เพาะพันธุ์ต้นกล้าแจก โชคดีที่เมื่อครั้งยังเป็นครูลุงห้วนเป็นคนที่มีเพื่อนฝูงเยอะหลายวงการจึง ทำให้สามารถหาพันธุ์ไม้ได้ไม่ยากนัก หลังจากปลูกมาระยะหนึ่งต้นไม้ที่ปลูกก็ผลิดอกออกผล ลุงห้วนก็นำเมล็ดมาเพาะ ขยายพันธุ์ไปเรื่อย ๆ จนมีต้นไม้เต็มผืนดินสองฝั่งคลอง ต้นไม้ทุกต้นได้รับการดูแลเอาใจใส่ ใช่เพียง

การให้น้ำให้ปุ๋ยเท่านั้น ทุกวันลุงห้วนจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงทั้งการเจริญเติบโต และความผิดปกติ หากถามบุคลิกลักษณะความเปลี่ยนแปลงของพันธ์ไม้แต่ละชนิดลุงห้วนจะตอบได้แทบทุกคำถาม แม้อัตราการขยายตัวของเส้นรอบวง ที่ลุงห้วนจะวัดทุกปี โดยข้อมูลที่บันทึกไว้สรุปได้ว่าต้นมะฮอกกานีขยายเส้นรอบวงหรือลุงห้วนเรียกว่าอ้วนขึ้นปีละ 10 เซนติเมตร ขณะที่ตะเคียนทองจะโตช้ากว่าครึ่งต่อครึ่ง ซึ่งเป็นธรรมดาของไม้เนื้ออ่อนกับไม้เนื้อแข็งที่อัตราการเจริญเติบโตจะแตก ต่างกัน ....

....... ผ่านมา 16 ปี จากอดีตเรือจ้าง ที่ละทิ้งชอล์กในมือซึ่งเคยสร้างศิษย์ หันมาจับจอบสร้างป่า ถึงวันนี้.......ผืนป่าที่เขียวขจี กำลัง

เป็นที่สนใจของผู้คนหลายแวดวงที่แวะเวียนมาดู งานอยู่เสมอ เป็นเรื่องธรรมดา ของธรรมชาติ คนที่เคยเป็นครูมาค่อนชีวิต ก็ย่อมต้องมีจิตวิญญานแห่งความเป็นครูอยู่วันยัง ค่ำ แต่ครานี้....ผิดกันที่ห้องเรียนไม่ใช่อยู่ในอาคาร ห้องสี่เหลี่ยมแคบๆ และไม่มีกระดานดำ โต๊ะเขียนหนังสือ หรือแม้แต่ตำรา แต่เป็นห้องเรียนธรรมชาติที่โอบล้อมไปด้วยต้นไม้ ใหญ่น้อย อยู่รอบตัว แทนกระดานดำได้เป็นอย่างดี ประสบการณ์ของลุงห้วนคือชอล์คที่เขียนไม่มีวัน หมด ตราบใดที่สมองของชายคนนี้ยังจดจำ ซึมซับ เรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้และลองผิด ลองถูก มาด้วยตนเอง ....


..... จากการทุ่มเทในงานที่ตนเองรัก และไม่ได้หวังผลตอบแทนให้ออกมาเป็นตัวเงิน ทำให้ลุงห้วนได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็น “ คนดีศรีสงขลา” ในปี2550 นอกเหนือจากรางวัล และใบประกาศเกียรติอีกจำนวนมาก ที่หน่วยงานต่างๆนำมามอบให้เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในฐานะผู้นำชุมชนต้นแบบที่ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยไม่จำเป็นต้องส่งผลงาน เข้าประกวดแข่งขันเลยแม้แต่รางวัลเดียว....

..... “ เดี๋ยวนี้คนมาดูป่าฉานบ่อยขึ้น เลยต้องตัดหญ้ารกๆ ในสวนให้เขาเดินกันสะดวกหน่อย ทางการเขามาทำป้ายบอกชื่อต้นไม้แต่ละชนิด เหมือนป้าย ชื่อนักเรียน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีทำให้คนได้รู้จักต้นไม้มากขึ้น แต่คนที่มาที่นี่อย่าหวังจะได้เห็นรีสอร์ทสวย ๆ กลางป่า หรือพบความสะดวกสบายเหมือนที่อื่น เพราะฉันไม่ได้ สร้างสรรค์ที่ดินตามจินตนาการของคนทั่วไป ฉันทำตามธรรมชาติ ธรรมชาติจริง ๆ ตอนซึ้อที่ดินแปลงนี้ใหม่ๆมียางพาราเจ้าของเดิมอยู่ด้วย แต่ฉานก็ไม่ให้ใครมาตัด(กรีด) ปล่อยให้รกๆอยู่อย่างนั้น ต้นไหนตายก็ปล่อยให้เน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยให้ต้นไม้ที่ยังอยู่ .....

...... ลุงห้วนบอกพร้อมกับชี้ให้ดูป่าอีกด้านที่มีต้นไม้หลายชนิดที่อยู่รวมกัน ทั้งไม้ที่ลุงห้วนปลูกเองและไม้อื่น ๆ ที่มีอยู่บ้างแล้ว ลมยามเย็นพัดวูบ อากาศสดชื่นไร้มลพิษที่สัมผัสได้ ทันที ที่ทีมงานของเราข้ามสะพานไม้ไผ่หรือสะพานลิง ที่ลุงห้วนนำไผ่ตงมาทำไว้อย่างหยาบๆเมื่อครั้งน้ำท่วมปีที่แล้ว มาถึงอีกฝั่งคลองที่เป็นสวนป่าธรรมชาติ แค่นี้ก็เกินคุ้มแล้ว สำหรับผู้มาเยือน คนส่วนใหญ่มักถามว่าลุงห้วนคิดจะตัดไม้มาใช้ประโยชน์ หรือตัดขายบ้างไหม สำหรับชายชราใจมุ่งมั่นคนนี้มีกลวิธีปกป้องผืนป่าที่ แยบยล แกบอกว่าได้ทำพินัยกรรมมอบมรดกผืนป่าแห่งนี้ให้ทายาทไว้แล้ว แต่ไม่บอกว่าเป็นใคร เพียงแต่บอกเนื้อหาในพินัยกรรมว่าใครก็ตามที่ดูแลสวนป่าแห่งนี้ต่อจากตนเอง จะต้องไม่ตัดไม้ทุกต้นที่มีอยู่แม้มันจะล้มตายตามธรรมชาติก็ปล่อยมันไว้ อย่างนั้นเพราะนี่คือสมบัติของแผ่นดิน คนที่รับมรดกเป็นเพียงแค่ผู้มาสานต่อ

เจตนารมย์ของตนเท่านั้น .....
..... เมื่อถามอีกว่า หากใครจะมาขอซื้อต้นไม้เหล่านี้ในราคาสูงมากๆ ลุงจะว่าอย่างไร แทบไม่ต้องคิดลุงห้อนตอบกลับมาอย่างไม่ต้องคิดว่า อีกสองร้อยปี ค่อยมาคุยกัน .....


...... ซึ่งเป็นที่มาของประโยคเด็ดที่ว่า อีกสองร้อยปีฉานรวยแน่ .....


..... การพูดคุยเริ่มออกรสชาติ ลุงห้วนขยายความว่า


..... แม้จะรู้ว่านี่คือกุศโลบาบอันแยบยลในการต้องการพิทักษ์ผืนป่าแห่งนี้ ซึ่งก็ใช้ได้ผลอย่างน้อย เป็นการตัดปัญหา คนเห็นแก่ได้บางคน ที่แวะเวียนมาขอตัดไม้


...... ยามตะวันโพล้เพล้ พวกเราข้ามสะพานลิง กลับมายังบ้านลุงห้วนอีกครั้ง คราวนี้ภาพที่น่าประทับใจปรากฏขึ้นตรงหน้า

ฝูง ไก่ป่านับร้อยกำลังคุ้ยเขี่ยดิน กินข้าวเปลือกที่ป้าไลหรือคุณครูจุไรรัตน์ สุขปุนพันธ์ ภรรยา คู่ทุกข์คู่ยาก ของ ลุงห้วน ปัจจุบันยังคงรับราชการครู อยู่ที่โรงเรียนบ้านคลองยอ ซึ่งห่างจากบ้านประมาณ 3กิโลเมตร กำลังโปรยให้ เรื่องราวของไก่เถื่อนหรือไก่ป่าสีสวยที่สร้างสีสันให้กับผืนป่า ป้าไลเล่าให้ฟังด้วยใบหน้าที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มและความ เมตตาว่า แรกที่เพิ่งมาอยู่ที่นี่ใหม่ ๆ มีไก่ป่ามาลอบ ๆ มองๆสองสามตัว ก็เลยให้อาหาร เมื่อรู้ว่าที่นี่ปลอดภัย ไม่นานมันก็พาญาติพี่น้องมาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ พร้อม ออกลูก ออกหลานเต็มป่า ซึ่งฝูงไก่เหล่านี้ แม้จะมีการผสมพันธุ์กับไก่แจ้ที่เลี้ยงอยู่เดิม เพื่อให้คุ้นเคยกับมนุษย์ แต่สันชาตญาณสัตว์ป่ายังมีอยู่ครบ เมื่อกิน

อาหาร อิ่มแล้วพวกมันจะบินขึ้นไปนอนบนต้นจิกนาหน้าบ้าน เต็มไปหมด ...


...... ทุกวันไก่ฝูงนี้จะตื่นตั้งตีห้า หลังโก่งคอขันปลุกชาวบ้านชาวช่องเสร็จก็จะพากันไปหากินในป่าหลังกระท่อม ตัวเมียที่ออกไข่กลับไปกกไข่ในกอหญ้า รอลูกเจี๊ยบออกมาดูโลก ป้าไลบอกว่าช่วงนี้เป็นระยะอันตรายของแม่ไก่ เพราะจะถูกงูเห่ามากัด กินไข่ที่กำลังฟักและลูกตัวเล็กๆ ซึ่งเราเข้าใจดีว่านี่คือวงจรธรรมชาติที่มีทั้งการพึ่งพา และการเข่นฆ่าเพื่อความอยู่รอด ซึ่งไก่ป่าที่อาศัยอยู่ที่นี่ไม่มีชาวบ้านมาดักหรือยิงเพราะคนในชุมชนใกล้ เคียงต่างเข้าใจดีว่าเป็นไก่ป่าที่ลุงห้วนอนุรักษ์ เอาไว้ ....ของแกไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวแต่ก็เป็นคน ส่วนน้อยหากเทียบกับคนจำนวนมากที่ต่างแสดงความชื่นชม แวะเวียนเข้ามาเรียนรู้และ ยึดเป็นแบบอย่าง ในความเป็นนักอนุรักษ์ตัวยงของลุกห้วนที่ตลอดชีวิตไม่เคยเรียกอามิสและต้องการความช่วย เหลือจากใครๆ


..... นอกเหนือจากฝุงไก่ป่านับร้อยที่ แห่กันมาอาศัยอยู่เต็มผืนป่าของลุงห้วนแห่งนี้แล้ว บริเวณหน้าบ้านยังเป็นคอกวัวและแปลงอนุบาลกล้าไม้ โดยเฉพาะคอกวัวถือเป็นแหล่งผลิตปุ๋ยชั้นดี ที่ทุกเช้าลุงห้วนจะเข้ามาโกยขี้วัวไปใส่ตามโคนต้นไม้ วัวกว่า 10 ตัว ที่ลุงห้วนเลี้ยงไว้มีทั้งพันธุ์พื้นเมืองและวัวชน ซึ่งทุกตัวอ้วนท้วนสมบูรณ์ทุกตัว เนื่องจากลุงห้วนได้เลี้ยงดูอย่างดี หญ้าชนิดต่างๆที่ปลูกไว้ตลอดปี ทำให้วัวจึงมีกินไม่อดๆอยากๆ บางครั้งมีคนมาซื้อไปเลี้ยงต่อทำให้ลุงห้วนพอมีรายได้เสริมจากการขายวัว นอกเหนือจากได้รับผลประโยชน์จากขี้วัวไปใส่โคนต้นไม้....


..... และสิ่งคาดไม่ถึง ที่คนส่วนใหญ่ต่างแสดงความรังเกียจ ขยะแขยง แต่ลุงห้วนกลับต้องการที่จะได้ นั่นคือรถดูดส้วมที่รับจ้างขนสิ่งปฏิกูลจากบ้านเรือนของประชาชนในแถบนี้ เมื่อเต็มรถแล้วหาที่เททิ้งไม่ได้ จะนำไปทิ้งในที่ของชาวบ้านเขาก็ไม่ยอม แต่ลุงห้วนเต็มใจ ที่จะให้รถดูมส้วมเหล่านี้นำของเสียมาเททิ้งหน้าบ้านของแก เพื่อเป็นปุ๋ยให้แก่ต้นไม้อีกต่อหนึ่ง...

... ร่องรอยรถดูดส้วม นำสิ่งปฏิกูลมาปล่อยทิ้งให้ต้นไม้ หน้าบ้านลุงห้วน(ด้วยความเต็มใจ)....

........” แม้จะเหม็นอยู่บ้างก็แค่ไม่เกินชั่วโมง เห็นไหมต้นไม้พวกนี้ เติบโตดีไปเขียว ครึ้มไปหมด” ลุงห้วนพูดอย่างอารมณ์ดี พร้อมชี้ไปที่แนวป่าติดถนนหน้าบ้านที่เต็มไปด้วยต้น มะฮอกกานี ซึ่งน้อยคนนักที่จะรับรู้ว่า ลุงห้วนใช้ปุ๋ยชนิดใด ต้นไม้จึงขึ้นสวยงามอย่างนี้ ..... “ คิดดูแล้วกัน หากอีกสองร้อยปีข้างหน้า สมมุติว่าฉานยังอยู่ ต้นไม้เหล่านี้ฉานคิดเล่นคร่าวๆว่าน่าจะมีราคาต้นละ ไม่ต่ำกว่า สามแสนถึงห้าแสนบาท แล้วต้นไม้สี่ห้าหมื่นต้นเหล่านี้จะราคาเท่าไหร่ ไม่รวยให้มันรู้ไป ."....



...... ปี 2553 แม้สังขารจะร่วงโรยไปตามกาลเวลา จากการตรากตรำทำงานหนักมาตลอดชีวิต ประกอบกับมีโรคหืดหอบมาเยี่ยมเยียนในวัยชรา และเพิ่งลอก..ดวงตาที่เป็นต้อ ทำให้ลุงห้วนต้องหยุดพักฟื้นร่างกายเนื่องจากหมอห้ามไม่ให้ทำงานหักโหม เหมือนเช่นแต่ก่อน ภาระหนักเลยตกไปอยู่ที่ป้าไล และได้จ้างคนงานมาช่วยทำงานแทนลุงห้วน ทั้งรดน้ำต้นไม้ โกยขี้วัวและตัดหญ้า


..... วันนี้สวนป่าที่ลุงห้วนลงมือลงแรงมาทำตลอดชีวิต ได้เติบโตเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน จากเดิมที่หลายคนเคยปรามาส แต่ลุงห้วนก็ได้ทำความฝันของตัวเองให้เป็นความจริง ขึ้นมาแล้ว ในช่วงชีวิตของคนๆหนึ่งแม้จะอยู่ไม่ถึงสองร้อยปี ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า แต่ผลงานที่ลุงห้วนสร้างไว้ นั้นอยู่เกินสองร้อยปีแน่นอน หากคนยุคต่อไปยังคงยืน หยัดมั่นในอุดมการณ์ มรดกทางธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ที่ชายชราตัวเล็กๆคนหนึ่งทิ้งไว้ให้เป็นแบบอย่างแห่งการอนุรักษ์ แม้จะเป็นเพียงเศษเสี้ยวหากมองภาพรวมทั้งโลก แต่มันก็ได้เกิดขึ้นแล้ว ถึงชาตินี้ลุงห้วนจะไม่รวยเหมือนคนอื่น แต่รับรองอีกสองร้อยปีลุงห้วนรวยแน่


..... ซึ่งความรวยนั้น คือรวยธรรมชาติ รวยความดี ที่ไม่ได้ผุกร่อนไปตามกลาลเวลา ......

.... ชมกิจกรรม " พาลูกเป็ดเดินป่า " ที่สวนป่าลุงห้วน ย้อนหลังได้ ที่ .

อ่าน ต่อ


..... อาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว ความมืดเริ่มเข้ามาแทนที่ บรรยากาศรอบบ้านของลุงห้วนที่ปกคลุมด้วยป่าใหญ่ เริ่มมีเสียงของสัตว์หากินกลางคืนออกมาบรรเลงเพลงกล่อมไพร กล่อมลุงห้วน ป้าไลให้นอนหลับหลังตรากตรำงานมานานแสนนาน ก่อนจากกันวันนั้น ลุงห้วนได้มอบคาถาบทสำคัญให้แก่เรา ว่า งานทุกอย่างจะสำเร็จลงได้คือ " ลงมือทำจริง ไม่เบียดเบียนสังคม และ อย่าเห็นแก่ตัว อย่าเห็นแก่ตัว อย่าเห็นแก่ตัว "



http://www.oknation.net/blog/singslatan/2010/03/02/entry-1


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ