วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553

การแต่งกายของสตรีไทยตาม ประวัติศาสตร์โบราณคดีจนถึงปัจจุบัน

การแต่งกายของสตรีไทยตาม ประวัติศาสตร์โบราณคดีจนถึงปัจจุบัน



สมัย ทวาราวดี พุทธศตวรรษที่ 11-16
เครื่องแต่งกาย ตลอดจนลีลาท่ารำ กรมศิลปากรค้นคว้าได้จากทรากปฎิมากรรม โบราณสถานต่างๆ ซึ่งขุดค้นได้จาก ต.คูบัว ราชบุรี และ อ.อู่ทอง ราชบุรี ซึ่งเป็นรูปแบบในการนำมาประยุกต์เป็นชุดการแสดง ในชุด "ระบำทวาราวดี"


สมัย ศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13-18
เครื่องแต่งกาย ตลอดจนลีลาท่ารำ กรมศิลปากรค้นคว้าได้จากปฎิมากรรม เทวรูป โบราณวัตถุซึ่งค้นพบบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย เป็นรูปแบบในการนำมาประยุกต์เป็นชุดการแสดง ในชุด "ระบำศรีวิชัย"


สมัย เชียงแสน พุทธศตวรรษที่ 17-25
เครื่องแต่งกาย ตลอดจนลีลาท่ารำ กรมศิลปากรเป็นผู้ประดิษฐ์ คิดค้นขึ้นจากจิตรกรรม ปฎิมากรรมพระพุทธรูปสำริด และโบราณวัตถุ ซึ่งขุดค้นได้ที่บริเวณภาคเหนือของไทย เป็นรูปแบบในการนำมาประยุกต์ เป็นชุดการแสดงในชุด "ระบำเชียงแสน"


สมัย สุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 19-20
เครื่องแต่งกาย ตลอดจนลีลาท่ารำ กรมศิลปากรค้นคว้าได้จากปฎิมากรรม พุทธรูปสำริด แผ่นศิลา และโบราณวัตถุที่ขุดได้ที่บริเวณภาคเหนือของไทย จังหวัดสุโขทัย เป็นรูปแบบในการนำมาประยุกต์ เป็นชุดการแสดงในชุด "ระบำสุโขทัย"


สมัย อยุธยา พุทธศตวรรษที่ 19-23
ในระหว่าง พ.ศ. 1893-2310 สมัยกลางของกรุงศรีอยุธยา อยู่ในช่วงที่ศิลปวัฒนธรรมเจริญสูงสุด บ้านเมืองค่อนข้างสงบ แต่ประชาชนทั้งชายหญิงก็ต่างเตรียมพร้อม ที่จะป้องกันภัยสงครามที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเมืองทุกเวลา


สมัย ลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 16-19
เครื่องแต่งกาย ตลอดจนลีลาท่ารำ กรมศิลปากรเป็นผู้ประดิษฐ์ค้นคิดขึ้นจาก ปฎิมากรรมฐานสำริดอัปสร โบราณวัตถุ ซึ่งขุดค้นได้ที่บริเวณภาคอิสานของไทย อ. กุจินารายณ์ กาฬสินธ์ ซึ่งเป็นรูปแบบในการนำมาประยุกต์เป็นชุดการแสดง ในชุด "ระบำลพบุรี"


สมัย รัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 23
ในระหว่าง พ.ศ. 2325-2369 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าปราบดาภิเษก เริ่มรัชกาลที่ 1 สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ บ้านเมืองอยู่ในลักษณะสงบเรียบร้อย ในช่วงรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 พม่าได้เข้ามาทำสงครามอยู่เนืองนิจ ในปี พ.ศ. 2369 ได้กำเนิดวรีกรรมท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม)


สมัย รัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24
ในระหว่าง ปี พ.ศ. 2394 เริ่มรัชกาลที่ 4 บ้านเมืองอยู่ในลักษณะสงบเรียบร้อย มีการติดต่อทำสัมพันธไมตรีกับชาวตะวันตกมากขึ้น ตลอดจนมีการรับเอาอารยธรรมตะวันตกเข้ามาใช้



สมัย รัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24
ในระหว่าง ปี พ.ศ. 2453 เริ่มสมัยรัชกาลที่ 6 ชาวไทยรับอารยะธรรมตะวันตกมากยิ่งขึ้น การแต่งกายของชาวรัตนโกสินทร์ จึงเป็นการผสมผสานระหว่างตะวันตก กับรัตนโกสินทร์ตอนต้น


สมัย รัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 25
ในรัชกาลปัจจุบัน (รัชกาลที่ 9) ปกครองบ้านเมืองระบอบประชาธิปไตย บ้านเมืองอยู่ในลักษณะสงบสุข การแต่งกายในลักษณะที่บ่งบอกถึงความมีเอกลักษณ์ประจำชาติ ในชุดไทยจักรพรรดิ์


รัชกาล ที่ 1-3
หญิงชาวบ้านนิยมนุ่งผ้าโจงกระเบน ห่มสะไบเฉียงทับเหมือนอย่างอยุธยา ผมยังตัดไว้เชิงสั้นอยู่ หรือไว้ผมปีก (ไว้ผมยาวเฉพาะบนกลางศีรษะ)


รัชกาล ที่ 1-3
หญิงชาววัง นิยมนุ่งผ้าจีบ ห่มสะไบเฉียงทับเหมือนอย่างอยุธยา ไว้ผมปีกปล่อยจอนที่ข้างหู






รัชกาล ที่ 4

หญิงนุ่งผ้าลายโจงกระเบน ใส่เสื้อคอปิดแขนยาว ห่มสะไบเฉียง (อบร่ำ) ทับตัวเสื้ออีกชั้นหนึ่ง ทรงผมนิยมไว้ปีกผม


รัชกาล ที่ 5
ปลายรัชกาลที่ 5 หญิงไทยเลิกนุ่งผ้าจีบ เปลี่ยนมาโจงกระเบนแทน เสื้อเป็นแบบผรั่งคอตั้งสูง แขนยาวมีลูกไม้ตกแต่งเป็นระบายหลายชั้น สวมถุงเท้า รองเท้าส้นสูง ผมยาวประบ่า



รัชกาล ที่ 5

ผู้หญิงเริ่มหันไปนิยมเสื้อของอังกฤษ คือ เสื้อคอตั้งแขนยาว ต้นแขนพองคล้ายขาหมูแฮม แต่ยังคงมีผ้าห่มเป็นแพรแบบสะไบเฉียง นุ่งผ้าจีบไว้ชายพก ผมไว้ทรงดอกกระทุ่ม


รัชกาล ที่ 6
ต้นรัชกาลที่ 6 ผู้หญิงยังคงนุ่งโจงกระเบน แต่สวมเสื้อลูกไม้แบบตะวันตก คอเสื้อลึก แขนยาวเสมอข้อศอก มีผ้าแพรบางๆ สะพายทับ ผมนิยมไว้ยาวเสมอต้นคอ


รัชกาล ที่ 6
ผู้หญิงนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อตัวยาวหลวมๆ ส่วนมากใช้ผ้าลูกไม้ฝรั่ง ปักเป็นลวดลายด้วยลูกปัด และไข่มุก ผมเกล้ามวยแบบฝรั่ง หรือดัดเป็นลอน ดัดผมแบบ ทรงซิงเกิ้ล


รัชกาล ที่ 7-8
ผู้หญิงเลิกใช้สะไบแพรปัก นิยมนุ่งผ้าซิ่นแค่เข่า เสื้อทรงกระบอกตัวยาว ตัดแบบตะวันตก ไว้ผมบ็อบ ใส่ต่างหูและกำไล สวมสร้อยคอ


รัชกาล ที่ 7-8
ผู้หญิงเลิกใช้สะไบแพรปัก นิยมนุ่งซิ่นแค่เข่า เสื้อทรงกระบอกตัวยาว ตัดแบบตะวันตก ไว้ผมบ็อบ ใส่ต่างหูและกำไล สวมสร้อยคอ


รัชกาล ที่ 9
ผู้หญิงแต่งแบบไทยพระราชนิยม "ไทยจักรพรรดิ" ใช้ซิ่นไหมข้างหน้า มีชายพกเอวจีบห่มสะไบ ปักงดงาม ใช้แต่งในโอกาสพิเศษ


http://www.trytodream.com/topic/1569

1 ความคิดเห็น:

อารายเหรอ