วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

"เรือรบ ล่องหน"

"เรือรบล่องหน"





Concept ของเครื่องบินรบล่องหนเริ่มขึ้นมาตั้งแต่ทศวรรศที่ 80 แล้ว แต่สำหรับการประยุกต์เทคโนโลยี Stealth แบบสมบูรณ์เข้ากับเรือรบนั้นเพิ่งมาเริ่มเอาในทศวรรศที่ 90 ปลาย ๆ นี่เอง

ณ ปัจจุบัน มีเรือรบที่ถือได้ว่ามีเทคโนโลยี Stealth ที่สมบูรณ์แบบอยู่ 3 ชั้นคือ เรือคอร์แวตต์ชั้น Visby ของราชนาวีสวีเดน เรือฟริเกตชั้น La Fayette ของกองทัพเรือฝรั่งเศส และ เรือคอแวตต์ชั้น MEKO A ของกองทัพเรือเยอรมัน






La Fayette Class Frigate




เรือ ฟริเกตชั้น ลา ฟาเย็ตเต้ ลำแรกเข้าระจำการในปี 1996 และลำสุดท้ายในปี 2001

ตัว เรือมีน้ำหนัก 3,500 ตัน ด้านข้างของเรือลาดเอียง 10 องศาเพื่อลดการสะท้อนเรด้าห์กลับสู่แหล่งกำเนิด ส่วนนอกถูกเคลือบด้วยสีที่ดูดซับคลื่นเรด้าห์ จึงทำให้มีภาคตัดขวางเรด้าห์ (Radar Cross Section: RCS) ค่อนข้างต่ำ ตัวเรือออกแบบปืนใหญ่เพื่อลดการสะท้อนเรด้าห์
(ลบเหลี่ยมหรือรูปทรงที่สามารถสะท้อนเรด้าห์ได้)


La fayette ติดตั้งขีปนาวุธพื้นสู่พื้นแบบ Exocet MM40 Block II จำนวน 8 ท่อยิง มีระยะยิงไกล 70 กม. และคาดว่าจะได้รับการติดตั้ง Exocet MM40 Block III ที่เพิ่มพิสัยยิงได้ไกลกว่า 180 กม.

La Fayette ติดตั้ง SAM รุ่น Crotale Naval CN2 ระยะยิงไกล 13 กม.

La Fayette ติดตั้งปืนใหญ่เรือขนาด 100 มม. 1 กระบอก ปืน 20 มม. 2 กระบอก สามารถรองรับเฮลิคอปเตอร์หนัก 10 ตันได้ โดยเรือชั้น La Fayette มีทั้งหมด 5 ลำคือ (ในวงเว็บคือรหัสเรือ)

La Fayette (F710)
Surcouf (F711)
Courbet (F712)
Aconit (F713)
Guépratte (F714)

มีอีก สามประเทศที่สั่งซื้อเรือชั้น La Fayette ไว้ใช้งานคือซาอุดิอารเบีย (Al Riyadh class) ไต้หวัน (Kang Ding class) และสิงคโปร์ (Formidalbe class) ซึ่งการติดอาวุธจะแตกต่างออกไปจากที่ติดตั้งในกองทัพเรือฝรั่งเศส



RSS Formidable


แต่เรือชั้น Formidable จะแตกต่างออกไปจาก La Fayette ตัวต้นแบบเล็กน้อย โดยกองทัพเรือสิงคโปร์ได้ออกแบบ Formidable ให้มีขนาดเล็กลง สะท้อนเรด้าห์ต่ำลง ลดเสียง อินฟาเรด และคลื่นแม่เหล็กที่แผ่ออกจากตัวเรือลง เพิ่มระบบอัตโนมัติมากขึ้น ทำให้ใช้ลูกเรือน้อยลงคือเพียงแค่ 70 คน ในขณะที่ La Fayette ใช้ถึง 164 คน

กองทัพสิงคโปร์สั่งซื้อ Formidable 6 ลำ โดย 1 ลำต่อที่ฝรั่งเศส ส่วนอีก 5 ลำต่อที่สิงคโปร์ พร้อมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยจะเข้าประจำการและพร้อมรบอย่างเป็นทางการในปี 2007







MEKO A



เรือ ตระกูล MEKO A ถือได้ว่าเป็นเรือที่มีขนาดไม่ใหญ่แต่มีประสิทธิภาพสูง โดยมีสองชั้นใหญ่ ๆ คือ MEKO A-100 และ MEKO A-200 (อันที่จริง ชื่อ MEKO นี้ไม่ใช่ชั้นเรือครับ แต่เป็นชื่อองค์ประกอบที่จะมาเป็นเรือชั้นหนึ่ง ๆ นั้งเอง)

MEKO A มีตัวเรือที่มีเหลี่ยมมุมเพื่อลดการสะท้อนเรด้าห์ โดยซ่อนทางเดินทางกราบเหมือนกับ La Fayette ด้วย ตัวเรือสามารถลดการปล่อยรังสีอินฟราเรดได้ถึง 75% ของที่ปล่อยออกมาจริง โดยถอดปล่องปล่อยไอเสียออกไป โดยไอเสียจะผ่านเข้าสู่กระบวนการทำให้เย็นโดยฉัดนี้ทะเลเข้าไป และปล่อยออกในระดับน้ำทะเล

รังสีอินฟราเรดเป็นตัวการสำคัญที่จะทำ ให้จรวดที่พุ่งเข้ามาสามารถจับตำแหน่งของเรือได้ ฉะนั้น มีได้ยิ่งน้อยยิ่งดีครับ

ในที่นี้ จะขอพูดถึง MEKO A-100 ครับ

มาเลเซีย สั่งซื้อ MEKO A-100 จำนวน 6 ลำ โดยจะต่อที่เยอรมันส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งต่อในมาเลเซียเอง และจะต่อให้ได้ถึง 27 ลำ

MEKO A-100 ของมาเลเซียในขั้นต้นจะติดตั้งเฉพาะปืนใหญ่เรือ 76/62 และปืน 30 mm. ของ Oto Melara เท่านั้นตามหลักการของเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง แต่ในอนาคต (เมื่อมีงบประมาณและจำเป็น) มาเลเซียอาจจะติดตั้งระบบ SAM แบบ RIM-116A RAM (Rolling Airframe Missile) ระบบ SAM แบบ Umkhonto ติดตั้งในท่อยิงทางดิ่ง (Vertical Launching System: VLS) จำนวน 16 ท่อยิง และขีปนาวุธพื้นสู่พื้นแบบ Exocet MM40

ทั้งใน ในยามสงบ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (OPV) จะทำหน้าที่ลาดตระเวนทางทะเลต่อภัยคุกคามต่ำเช่นการทำผิดทางทะเล โจรสลัด สินค้าหนีภาษี แต่เมื่อจำเป็นหรือเมื่อเกิดสงคราม OPV ก็สามารถติดตั้งอาวุธแบบเรือฟริเกตและเข้าร่วมกับกองเรือได้อย่างดี

ส่วน MEKO ที่สั่งต่อโดยประเทศอื่น ๆ ก็จะมีระบบอาวุธต่างกันออกไป โดยมีผู้สั่งซื้อคือ โปแลนด์ (A-100) แอฟริกาใต้และตุรกี (A-200 ทั้งคู่)








Visby Class Corvette




สุด ท้าย และสุดยอดที่สุด คือเรือคอร์แวตตชั้น Visby ของราชนาวีสวีเดน โดยเรือลำแรกคือ HMS Visby จำเข้าประจำการในปีนี้ และอีก 4 ลำในปี 2007 โดย 4 ลำแรกจะทำภารกิจปราบเรือดำน้ำและกวาดทุ่นระเบิด ส่วนลำสุดท้ายจะทำภารกิจปราบเรือผิวน้ำ และมี option ต่อเพิ่มอีก 1 ลำ

เรือ ชั้นนี้ใช้เทคโนโลยี Sealth ที่สมบูรณ์แบบที่สุดเมื่อเทียบกับสองชั้นก่อนหน้า โดยตัวเรือลดรังสีอินฟราเรด เสียง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ลดความดันและภาคตัดขวางขอเรด้าห์ ซึ่งในสภาวะอากาศปกติเรือจะถูกตรวจจับได้ที่ระยะไกล 13 km (ไกลกว่า 13 กม.จับไม่ได้) และในพายุที่ 22 กม. แต่ถ้าเปิดระบบ Jamming ก็จะสามารถลดระยะการถูกตรวจจับลงไปได้ที่ 8 กม.ที่อากาศปกติ และ 11 กม.ในพายุ


ใน ภาพแสดงการสะท้อนของเรด้าห์เมื่อตกกระทบที่ผิวของเรือ สังเกตุว่าเรด้าห์จะสะท้อนตามเหลี่ยมมุมของเรือออกไปในทิศทางคนละด้านกับแหล่งกำเนิด


Visby ติดตั้งขีปนาวุธพื้นสู่พื้นประสิทธิภาพสูงแบบ RBS-15 ของสวีเดนจำนวน 8 นัด ซึ่งจะเก็บเอาไว้ใน bay ภายในตัวเรือเพื่อป้องกันการถูกตรวจจับได้ พร้อมตอปิโดและจรวดปราบเรือดำน้ำ

ตัวเรือติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 57 mm ของ Bofors ซึ่งมีอัตราการยิงสูงถึง 220 นัดต่อนาทีที่ระยะไกล 17 กม. และตัวปืนนั้นถูกปรับให้มีคุณสมบัติ Stealth เช่นเดียวกับตัวเรือ

สิ่ง ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือเรือชั้น Visby ใช้ระบบขับเคลื่อนแบบ Water Jet
แบบเดียวกับเรือชั้น fearless ของสิงคโปร์


'ระบบขับเคลื่อนด้วย เครื่องพ่นน้ำใช้แรงผลักของเครื่องพ่นน้ำในการขับเคลื่อนเรือ โดยการดูดน้ำจากนอกตัวเรือผ่านปั๊มแรงดันสูง และพ่นออกมาด้วยความเร็วสูงเพื่อให้เกิดแรงผลักในทิศตรงกันข้าม ระบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องพ่นน้ำเป็นระบบขับเคลื่อนที่ไม่ใช้ใบจักรและหาง เสือ แต่ใช้การควบคุมทิศทางน้ำที่พ่นออกมา ซึ่งเป็นการควบคุมทิศทางที่ให้ความคล่องตัวสูง และการที่ระบบขับเคลื่อนแบบนี้ไม่มีใบจักรและชุดเฟืองทดจึงสามารถลดอัตรากิน น้ำลึกของเรือ ประหยัดพื้นที่ใช้สอย ลดเสียงและการสั่นสะเทือน และยังไม่เกิดปัญหาความเสียหายของใบจักรเมื่อเรือเข้าที่ตื้น หรือปัญหาการเกิดโพรงอากาศหรือคาวิเตชั่น (Cavitation) ที่ใบจักรเมื่อใช้ความเร็วสูง ระบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องพ่นน้ำเริ่มมีใช้ในเรือความเร็วสูงขนาดเล็กมาหลาย สิบปีแล้ว และในปัจจุบันเริ่มมีการพัฒนาระบบขับเคลื่อน
ด้วยเครื่องพ่นน้ำในเรือขนาด กลางและขนาดใหญ่'




Visby ถือเป็นหน้าใหม่ของประวัติศาสตร์เรือรบที่มีคุณสมบัติ Stealth อย่างสมบูรณ์แบบ และในอนาคตเทคโนโลยี Stealth ก็จะเป็นเทรนใหม่ของเรือรบที่จะต่อในอนาคตต่อไป

จาก...พันทิป




ภาคผนวก


ยัง มีเรืออีกชั้นหนึ่งทีน่าสนใจคือเรือชั้น Hamina
ซึ่งมีคุณสมบัติกึ่งล่องหน (semi stealth)
ของกองทัพเรือฟินแลนด์


เรือ ชั้น Hamina เป็นเรือ Missile Boat ติดปืนใหญ่เรือแบบ 40/70 ปืนกล 12.7 mm. 2 กระบอก SAM รุ่น Umkhonto ติดตั้งในท่อยิงทางดิ่ง (VLS) มีขีปนาวุธพื้นสู่พื้นคือ RBS-15 4 นัด จรวดปราบเรือดำน้ำ และอุปกรณ์วางทุ่นระเบิด แต่ขนาดแค่ 250 ตันเท่านั้น เป็นเรือที่มีเทคโนโลยี Stealth อยู่เหมือนกัน แต่จะไม่เท่ากับสามลำข้างบน

อย่าง ไรก็ตาม เรือของกองทัพเรือฟินแลนด์ล้วนทำสีอย่างนี้ทั้งสิ้น เป็นการพรางจากการตรวจการณ์ด้วยสายตา ทำให้รูปร่างของวัตถุเปลี่ยนรูปไปเมื่อมองด้วยตา แต่เรือที่มีเทคโนโลยี Stealth
นั้นคงมีเพียงเรือชั้นนี้เท่านั้น

กองทัพเรือสหรัฐก็มีการ วิจัยเรือรบล่องหนเช่นกันในเรือที่ชื่อว่า Sea Shadow ตามภาพข้างล่าง



สำหรับ กองทัพเรือไทยใช้เทคโนโลยี Stealth ครั้งแรกในการสั่งต่อเรือชั้นนเรศวรจากจีน โดยส่วนหนึ่งได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา แต่การ Stealth นั้นยังไม่เท่าเรือทั้งสามชั้นที่กล่าวมา



เรือ ชั้นล่าสุดที่ทร.ได้รับคือเรือชั้นปัตตานีก็มีเทคโนโลยี Stealth เช่นกัน โดยดูได้ง่าย ๆ
จากรูปทรงของเรือซึ่งมีการตัดเหลี่ยมมุมบางส่วนออกไป



และเป็นที่น่ายินดีว่าทั้งเรือชั้นนเรศวรและเรือชั้น ปัตตานีนั้นราชนาวีไทยเป็นผู้ออกแบบเองทั้งสิ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ