วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ความเป็นมาของ กล้องโลโม่ (LOMO) กล้องฟิล์มที่หลายคนอาจลืม..

ความเป็นมาของ กล้องโลโม่ (LOMO) กล้องฟิล์มที่หลายคนอาจลืม..

หาก เพื่อนๆ เป็นนักเล่นกล้องมือโปร ที่หลงใหลในเสน่ห์ของภาพที่ได้จากกล้องฟิล์ม คงไม่มีใครที่จะไม่รู้จักล้องโลโม่ (LOMO) เมื่อเอ่ยถึงชื่อนี้ หลายคนต้องรู้จักกันดี หลังจากที่กล้องดิจิตอล ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในวงการกล้องแทน ทำให้กล้องโลโม่ กลายเป็นชื่อที่ไม่ค่อยคุ้นหู และอาจสูญหายไปเมื่อนานวัน

แล้วเพื่อนๆ ทราบกันหรือไม่ว่า.. เสน่ห์ของกล้องโลโม่ นั้นมีดีที่ตรงไหน ก็คือ ภาพที่ได้จะมีสีสันที่แปลกตาและสื่ออารมณ์ได้ดีกว่ากล้องชนิดอื่น ทำให้บางคนเรียกการถ่ายภาพลักษณะเช่นนี้ว่า "การถ่ายภาพแนวโลโม่" ที่หลายคนเคยสงสัยว่าเป็นยังงัย

เดิมทีกล้องโลโม่ออกแบบมาเพื่อใช้ในหน่วยงานสายลับของกองทัพรัสเซีย โดย LOMO ย่อมาจาก "Leningrad Optical Machinery Organization" ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ผลิตเลนส์เพื่อใช้ในโครงการอวกาศของกิจการกอง ทัพ และผลิตเลนส์ที่ใช้ในกล้องโทรทัศน์ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2526

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคง และอุตสาหกรรมของสหภาพโซเวียตในขณะนั้น มีคำสั่งให้หน่วยงาน LOMO ผลิตกล้องเลียนแบบกล้องคอมแพคท์ของญี่ปุ่นขึ้นมาให้เร็วที่สุด ถูกที่สุดและมากที่สุด เพื่อแจกจ่ายให้พลเมืองรัสเซียทุกคนได้รู้จักการถ่ายรูป โดยมีคำขวัญว่า "คอมมิวนิสต์อันทรงเกียรติทุกคนควรมีกล้อง Lomo Kompakt Automat LC-A เป็นของตัวเอง" โดยผู้ผลิตกล้อง Lomo Kompakt Automat LC-A คือ Michail Aronowitsch Radionov อดีตสายลับ KGB[1]

ต่อมาเมื่อในปี พ.ศ. 2534 Matthias Fiegl และ Wolfgang Stranzinger หนึ่งในผู้บริหารบริษัท Lomographische AG เดินทางไปท่องเที่ยวที่เมืองปราก สาธารณรัฐเช็ก แต่ลืมนำกล้องถ่ายรูปไปด้วย จึงไปซื้อและได้รู้จักกับกล้อง Lomo Kompakt Automat โดยบังเอิญ และหลังจากได้ถ่าย และล้างรูปจากร้านล้างรูปธรรมดาในซุเปอร์มาร์เก็ต[1] ผลออกมา พบว่าภาพถ่ายมีสีสันจัดจ้านดูผิดเพี้ยน แต่มีความสวยงามจนทำให้พวกเขาได้หลงใหลกับภาพที่ปรากฏขึ้น และในปี 2535 Fiegl และเพื่อนได้จัดตั้งบริษัท Lomographische AG ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย หลังจากนั้นไม่นานกระแสความนิยมในโลโม่กระจายไปทั่วโลก ภายใต้แนวความคิดว่า "Lomography is an analog lifestyle product"

โลโม่กราฟีเน้นการถ่ายภาพจากระดับเอว การใช้สีจัดเกิน สิ่งปนเปื้อนบนเลนส์ และจุดตำหนิอย่างจงใจ เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นศิลปะ เป็นนามธรรม เหล่านี้เป็นสิ่งที่นักถ่ายภาพโลโมกราฟีนิยมชมชอบ ด้วยขนาดที่เล็ก ทำให้กล้องโลโมเป็นที่นิยมสำหรับการพกพา และใช้บันทึกภาพในชีวิตประจำวัน.

นอกจากนี้ ความสามารถในการถ่ายในที่ๆ มีแสงน้อยได้ ทำให้มันเป็นที่นิยมสำหรับการภาพทีเผลอ
(แคนดิด) การรายงานด้วยภาพ และภาพเหตุการณ์จริง (photo verit?, คำว่า verit? เป็นภาษาฝรั่งเศสแปลว่า ความจริง)

คติของโลโมกราฟีคือ "ไม่ต้องคิด ถ่ายไปเลย" ("don't think, just shoot")



http://blog.fukduk.tv/recommended?page=25

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ