หุ่นยนต์ คุณหมอพระราชทาน โดย ศาสตราจารย์ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต และคนอื่นๆ
หุ่นยนต์อาจจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ หรือมีรูปร่างอย่างโดก็ได้ แล้วแต่ความประสงค์ของผู้ใช้งาน หรือจะใช้บังคับจากที่โดที่หนึ่งที่อยู่ไกลๆ ก็ได้ เช่น การผ่าตัดข้ามโลกด้วยหุ่นยนต์แทนศัลยแพทย์ผู้ชำนาญ ใช้ไนการสู้รบและทำลายศัตรูก็ได้ เมื่อเข้าไปใกล้ศัตรู หุ่นยนต์ก็จะถูกกดปุ่มให้ระเบิดตัวเอง ทำให้ศัตรูถูกระเบิดไปด้วยประโยชน์ ของหุ่นยนต์มีอีกมากมาย เพราะหุ่นยนต์ทำงานซ้ำๆ กันได้โดยไม่ผิดพลาด ไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยหรือง่วงนอน และสามารถสร้างความสนใจได้ ประการสุดท้ายคือ หุ่นยนต์ สามารถทำงานตามคำสั่งได้อย่างดียิ่ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงเข้าพระทัยในเรื่องนี้ เป็นอย่างดีว่าหุ่นยนต์ก็คือ ยอดของ “ไอที” นั่นเอง พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะปลูกฝังให้สร้าง “หุ่นยนต์” ขึ้นไนประเทศไทย เพื่อจะได้นำไปใช้ในกิจการต่างๆ ทั้งในการสื่อสาร การเรียนการสอนการอุตสาหกรรม การแพทย์ ฯลฯ ซึ่งสถานที่ที่จะปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ได้ดีที่สุดคือ สถานศึกษา
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ ไปทรงเปิดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนได้ แสดงผลงาน ความรู้ความสามารถ และได้แลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างนักเรียนและนักศึกษาตลอดจนได้ทำงานร่วม กัน อันเป็นเหตุให้เกิดความสามัคคี และได้ช่วยกันพัฒนาความรู้ศิลปวิทยา และศิลปหัตถกรรมให้เจริญก้าวหน้าเมื่อ พระองค์ทรงเปิดงานเรียบร้อยแล้ว ได้เสด็จทอดพระเนตรผลงานของนักเรียน นักศึกษาด้วยความสนพระทัย และที่ทรงสนพระทัยมากคือ รถยนต์ขนาดใหญ่บังคับด้วยวิทยุ ที่สามารถใช้งานได้จริงๆ ซึ่งเป็นผลงานของวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ (ปัจจุบันคือ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ) แล้วมีพระราชกระแสรับสั่งถาม อาจารย์สนั่น สุมิตร ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ในขณะนั้นว่า “ทำหุ่นยนต์ที่เดินได้ ได้ไหม”อาจารย์สนั่น จึงกราบบังคมทูลตอบไปว่า “ได้ พะย่ะค่ะ” ทรงรับสั่งถามต่อไปว่า “จะต้องใช้เงินเท่าใด” อาจารย์สนั่น สุมิตร กราบบังคมทูลว่า “ประมาณ๒๐,๐๐๐ บาท พะย่ะค่ะ”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งว่า “จะให้เขาจัดเงินให้” ต่อมาไม่นานนัก พระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัวก็พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์แก่วิทยาลัย เทคนิคกรุงเทพฯ จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างหุ่นยนต์ตามพระราชประสงค์
อาจารย์สนั่น สุมิตร ได้ปรึกษากับอาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ หัวหน้าเผนกวิทยุ วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นผู้สร้างรถยนต์บังคับด้วยวิทยุ ว่าจะทำอย่างไรจึงจะสร้างหุ่นยนต์ได้ตามพระราชประสงค์ อาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ ก็รับรองว่าสร้างได้แน่นอนจึงได้เริ่มลงมือสร้างทันที โดยมีอาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ เป็นแม่งาน
ในขณะนั้น งานด้านอิเล็กทรอนิกส์ยังไม่ก้าวหน้านัก เครื่องวิทยุยังใช้หลอดอยู่ แต่เนื่องจากอาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ เชี่ยวชาญทั้งด้านอิเล็กทรอนิกส์ และด้านแมกแคนิกส์อีกทั้งช่างวิทยุมีเครื่องกลึงและเลื่อยสายพานที่สามารถ ใช้ตัดโลหะได้ทุกอย่าง จึงได้ใช้เลื่อยตัดอะลูมิเนียมให้เป็นตัวหุ่นยนต์และแขนขาหุ่นยนต์ ส่วน หัว หน้า และมือ ใช้วิธีปั้นและทาสี ซึ่งทำได้เหมือนคนมาก เครื่องรับส่งและเครื่องบังคับวิทยุจะอยู่ที่ท้องของ หุ่น แล้วใส่แบตเตอรี่และสายพานที่เท้าหุ่น ทำให้หุ่นเดินได้ เครื่องส่งและอุปกรณ์ที่จะบังคับให้หุ่นเดิน ยกมือไหว้ พูด ฟัง โต้ตอบ และทำงานได้อีกหลายอย่างจะอยู่นอกตัวหุ่น หุ่นจะเดินได้ด้วยการบังคับจากภายนอก เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงนำมาทดลองใช้งานดู เมื่อเห็นว่าใช้ได้ อาจารย์สนั่นจึงได้นำความกราบบังคมทูลให้ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่าหุ่นยนต์ ได้สร้างเสร็จแล้วตามพระราชประสงค์ โดยที่ส่วนประกอบทุกชิ้นสร้างในแผนกวิทยุของวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ
การนำหุ่นยนต์ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การปรับปรุงหุ่นยนต์ตามแนวพระราชดำริ
ความสามารถของหุ่นยนต์คุณหมอ
การแสดงหุ่นยนต์คุณหมอในงานกาชาด
การเรียนการสอนวิชาวิทยุ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นแผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์) ที่วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ
หุ่นยนต์คุณหมอพระราชทานผลงานของวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ
หุ่นยนต์คุณหมอที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ตามแนวพระราชดำริ