| ลูกหยีแม่หนูดำ ของฝากชื่อดังจากเมืองพัทลุง | | | “ลูก หยีแม่หนูดำ” เป็นของฝากขึ้นชื่อจากเมืองพัทลุง สืบทอดสูตรความอร่อยมากว่าครึ่งศตวรรษ และส่งทอดภูมิปัญญามาถึงทายาทธุรกิจ รุ่น 2 อย่าง “นางสาลี ชนะสิทธิ์” วัย 60 ปี ซึ่งได้พัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการผลิต จนเป็นที่ถูกอกถูกใจลูกค้ายิ่งขึ้น |
นางสาลี เล่าว่า คุณหนูดำ เยาวนานนท์ ซึ่งเป็นป้าแท้ๆ ของเธอ คือ ผู้บุกเบิกอาชีพนี้ เมื่อกว่า 50 ปีที่แล้ว ในวัยเยาว์ ตัวเธอจะคอยเป็นลูกมือให้คุณป้า ทำให้ซึมซับเคล็ดลับและวิธีการแปรรูปลูกหยีเรื่อยมา “ดิฉัน ช่วยคุณป้าทำลูกหยีมาตั้งแต่อายุ 8 ขวบ โดยทำกันในครัวเรือน ตั้งวางขายที่หน้าบ้าน ซึ่งได้รับความนิยมมาก มีลูกค้าขาประจำทั้งในจังหวัดพัทลุงและใกล้เคียง ซึ่งคุณป้าก็ยึดอาชีพนี้เรื่อยมา กระทั่ง ท่านอายุมากขึ้น กว่า 82 ปี ร่างกายไม่ไหวแล้ว ก็อยากให้อาชีพนี้ตกทอดเป็นสมบัติของครอบครัวต่อไป ในฐานะที่ดิฉันเป็นหลานสาว ซึ่งคลุกคลีกับการทำลูกหยีมาตลอด จำเป็นต้องรับอาสามาสืบทอดอาชีพอย่างจริงจัง ตั้งแต่ประมาณปีพ.ศ.2542” ทายาทธุรกิจ อธิบาย นอก จากจะเข้ามาสานต่อแล้ว นางสาลีได้ต่อยอดสินค้า ด้วยการพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐานองค์การอาหารและยา (อย.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) และปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัย เหมาะจะซื้อกลับไปเป็นสินค้าของขวัญของฝาก รวมถึง ผลักดันให้สินค้าได้รับเลือกเป็นสินค้าโอทอป ระดับ 5 และสินค้าเด่นประจำจังหวัด หรือ GOOD PATTHALUNG LOCAL PRODUCTS อย่าง ไรก็ตาม แม้ว่าหน้าตาภายนอกจะเปลี่ยนโฉมไป แต่รสชาติความอร่อยยังเป็นสูตรดั้งเดิม ที่แม้เวลาจะผ่านไปกี่สิบปี ลูกค้าที่เคยชิมก็ยังบอกว่าอร่อยเหมือนเดิม ซึ่งเคล็ดลับสำคัญอยู่ที่ประสบการณ์ในการปรุงรสลูกหยีให้ได้รสชาติที่กลม กล่อม และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของลูกหยีแม่หนูดำ ซึ่งสูตรดังกล่าวไม่สามารถกำหนดเป็นอัตราส่วนตายตัวได้ เพราะลูกหยีสดที่รับซื้อมาแต่ละครั้ง รสชาติจะต่างกันไป ดังนั้น ในการปรุงรสทุกครั้ง เจ้าของธุรกิจคนนี้ จะเป็นคนชิมด้วยตัวเอง แล้วใช้ประสบการณ์ ตรวจวัดให้ได้รสชาติตามแบบต้นฉบับ “ลูก หยีสดที่ซื้อแต่ละครั้ง จะมีรสชาติต่างกันไป เช่น บางปีจะหวาน บางปีก็เปรี้ยว ดังนั้น การปรุงให้ลูกหยีมีรสชาติอร่อย ก็ต้องต่างกันไปด้วย ในอดีตคุณป้าจะเป็นคนดูแลคอยชิมเอง แต่ปัจจุบัน ดิฉันเข้ามารับหน้าที่นี้แทน ซึ่งสูตรมันเกิดจากความคุ้นเคยที่กินรสของคุณป้ามาตั้งแต่เด็ก เมื่อชิมแล้วจะรู้ได้ว่าควรจะเพิ่มรสหวาน เปรี้ยว หรือเค็มอย่างไรให้ได้รสชาติตามต้องการ” นางสาลี อธิบายเสริม |
| ลูกหยีแกะเปลือกแล้ว | | | สำหรับขั้นตอนการแปรรูปลูกหยีนั้น เริ่มจากเคี่ยวน้ำตาล น้ำผึ้ง และแปะแซ จนเหนียว ใส่ลูกหยีที่เเกะเปลือกทำความสะอาดแล้ว คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปั้นเป็นเม็ดกลม เหมาะพอดีคำ ตามด้วยตากแดดอีกประมาณ 20 นาที สุดท้ายห่อกระดาษ และใส่ลงบรรจุภัณฑ์ สามารถเก็บไว้รับประทานได้นานถึง 3 เดือน |
| นำลูกหยีคลุกเคล้ากับน้ำตาลเคี่ยว | | | ในด้านการผลิตนั้น เจ้าของกิจการระบุว่า เป็นลักษณะอุตสาหกรรมในครัวเรือน ช่วยกันในหมู่ญาติพี่น้อง และว่าจ้างแม่บ้านในท้องถิ่นประมาณ 5-10 คน เพื่อมาเป็นลูกมือ ช่วยให้แม่บ้านเหล่านี้มีรายได้เสริม ราวคนละ 2,000-3,000 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ สินค้ามีให้เลือก 3 ประเภท คือ ลูกหยีกวน ลูกหยีสด และลูกหยีเคลือบน้ำตาล ราคาแตกต่างกันไปตามขนาด และบรรจุภัณฑ์ เฉลี่ยที่ขีดละ 40 บาท โดยช่องทางจำหน่ายนั้น มี หน้าร้านที่ ถ.ประชาบาล อ.เมือง จ.พัทลุง รวมถึง วางขายในสนามบินหาดใหญ่ และห้างเทสโก้โลตัส สาขาพัทลุง ที่แบ่งพื้นที่โซนโอทอปโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ นอกจากนั้น ส่งสินค้าทางไปรษณีย์ทั่วประเทศ ส่วนในกรุงเทพ วางขายที่ร้านโครงการหลวง ใกล้โรงพยาบาลศิริราช |
| ปั้นเป็นเม็ดกลม พอดีคำ | | | เมื่อถามถึงปัญหาและอุปสรรค คือ ขาดแคลนวัตถุดิบลูกหยีสด เนื่องจากเป็นผลไม้ป่าหายาก ขึ้นอยู่ตามป่าในจังหวัดทางภาคใต้ เช่น พัทลุง ตรัง และปัตตานี เป็นต้น หนึ่งปีจะให้ผลผลิตแค่ครั้งเดียวระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม บางปีประสบภัยธรรมชาติ ดินฟ้าอากาศไม่อำนวย ผลลูกหยีสุกจะออกน้อย ยิ่งปัจจุบันคนมักจะตัดต้นหยีไปใช้ประโยชน์ อีกทั้ง ทางภาคใต้มีกลุ่มผู้ผลิตลูกหยีแปรรูปจำนวนมาก เฉพาะแค่ใน จ.พัทลุง มีมากกว่า 10 ราย ส่งผลให้ผลลูกหยีสดหายากขึ้น และราคาแพงมาก จากในวัยเยาว์ที่จำความได้ ซื้อขายกันกิโลกรัมละ 12 บาท กระทั่งเมื่อตอนมารับช่วงกิจการ ราคากระโดดมาที่กิโลกรัมละ 100 กว่าบาท และปัจจุบันถีบตัวสูงถึงกิโลกรัมละ 260 บาท “ทุก วันนี้ ในแง่ตลาดแทบจะไม่มีปัญหาเลย เพราะลูกค้ามีความต้องการสูงจนผลิตไม่ทัน แต่เรามีวัตถุดิบลูกหยีไม่มากพอ จากที่ทุกๆ ปีจะสั่งซื้อได้ประมาณ 10,000 กิโลกรัมต่อปี แต่ปีนี้สั่งซื้อได้เพียง 5,000 บาท เนื่องจากกลุ่มผู้ผลิตอื่นๆ ก็ต้องการวัตถุดิบเช่นกัน จึงเกิดปัญหาต้องแย่งกันซื้อ ราคาก็ขึ้นสูงตามไปด้วย” นางสาลี เผยปัญหา |
| มีหลากหลายขนาด และบรรจุภัณฑ์ | | | อย่างไรก็ตาม เพื่อไขปมดังกล่าว เตรียมแผนว่า ปีหน้า (พ.ศ.2553) จะสร้างโรงเก็บลูกหยีสดที่ได้มาตรฐาน สามารถเก็บ ลูกหยีสดไว้ใช้งานได้นานกว่า 2-3 ปี เพื่อป้องกันปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบในอนาคต และ แม้ปีนี้ ต้นทุนวัตถุดิบต่างๆ ทั้งลูกหยี และน้ำตาลจะเพิ่มขึ้น แต่ยังคงขายในราคาเท่าเดิม แม้หักต้นทุนแล้วแทบจะไม่เหลือกำไรเลย แต่ก็ยินดีที่ลงมือทำ เพราะเป็นความสุขที่ได้ทำกิจการนี้ และยังเป็นความรับผิดชอบต่อลูกค้าที่อยากลิ้มรสลูกหยีแปรรูปที่อร่อย คุณภาพดี และขายในราคาเหมาะสม @@@@@@@@@@@@@@@@@@ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
อารายเหรอ